ความเอียงของวงโคจร
ความเอียงของวงโคจร (อังกฤษ: inclination) เป็นหนึ่งในองค์ประกอบของวงโคจร หมายถึงมุมระหว่างระนาบของวงโคจรกับระนาบอ้างอิง
ความเอียงของวงโคจร เป็นหนึ่งใน 6 องค์ประกอบของวงโคจร ใช้อธิบายถึงรูปร่างและทิศทางของวงโคจรของวัตถุท้องฟ้า นับเป็นระยะเชิงมุมของระนาบวงโคจรเทียบกับระนาบอ้างอิง (โดยมากมักใช้เส้นศูนย์สูตรหรือเส้นสุริยวิถีของดาวฤกษ์แม่ในระบบ และมีหน่วยเป็นองศา)[1]
สำหรับระบบสุริยะ ความเอียงของวงโคจร (คือ i ในภาพด้านข้าง) ของดาวเคราะห์ดวงหนึ่งๆ จะเท่ากับมุมระหว่างระนาบของวงโคจรของดาวเคราะห์นั้นกับเส้นสุริยวิถี ซึ่งเป็นระนาบที่เป็นเส้นทางโคจรของโลก[2] นอกจากนี้ยังสามารถวัดได้โดยเปรียบเทียบกับระนาบอื่นๆ เช่น เทียบกับเส้นศูนย์สูตรของดวงอาทิตย์ หรือเทียบกับระนาบโคจรของดาวพฤหัสบดี แต่การใช้เส้นสุริยวิถีในการอ้างอิงจะเหมาะสมกับผู้สังเกตการณ์บนโลกมากกว่า วงโคจรของดาวเคราะห์ส่วนใหญ่ในระบบสุริยะของเรามีค่าความเอียงของวงโคจรค่อนข้างน้อย ไม่ว่าจะเปรียบเทียบกันเองหรือเทียบกับเส้นศูนย์สูตรของดวงอาทิตย์ก็ตาม มีข้อยกเว้นก็เพียงในบรรดาดาวเคราะห์แคระ เช่น พลูโต และ เอริส ซึ่งมีค่าความเอียงของวงโคจรเทียบกับสุริยวิถีสูงถึง 17 องศาและ 44 องศาตามลำดับ ดาวเคราะห์น้อยขนาดใหญ่เช่น พัลลัส ก็มีความเอียงของวงโคจรสูงถึง 34 องศา สำหรับดาวเคราะห์นอกระบบ ยังไม่ค่อยมีการวัดความเอียงของวงโคจร ทราบได้แต่เพียงมวลต่ำสุดของมันเท่านั้น ซึ่งหมายถึง ดาวเคราะห์นอกระบบบางดวงที่แท้อาจเป็นดาวแคระน้ำตาล หรือเป็นดาวแคระแดงที่จางมากๆ ก็ได้ มีแต่เพียงดาวเคราะห์ที่ตรวจพบการเคลื่อนผ่าน และที่ตรวจจับด้วยวิธีมาตรดาราศาสตร์ จึงสามารถทราบถึงความเอียงของวงโคจร และบางทีอาจทราบถึงมวลที่แท้จริงได้ ในช่วงคริสต์ทศวรรษ 2010 ข้างหน้านี้ น่าจะมีการตรวจวัดความเอียงของวงโคจรและมวลที่แท้จริงของดาวเคราะห์นอกระบบจำนวนมากได้เพิ่มขึ้น โดยใช้การสังเกตการณ์ในอวกาศผ่านปฏิบัติการต่างๆ เช่น ดาวเทียมไกอา, Space Interferometry Mission, และ กล้องโทรทรรศน์อวกาศเจมส์ เว็บบ์
ความเอียงของวงโคจร | |||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ชื่อ | ความเอียงวงโคจร เทียบกับสุริยวิถี (°) |
ความเอียงวงโคจรเทียบกับ เส้นศูนย์สูตรของดวงอาทิตย์ (°) |
ความเอียงวงโคจร เทียบกับ Invariable plane[3] (°) | ||||||||
ดาวเคราะห์คล้ายโลก | ดาวพุธ | 7.01 | 3.38 | 6.34 | |||||||
ดาวศุกร์ | 3.39 | 3.86 | 2.19 | ||||||||
โลก | N/A | 7.155 | 1.57 | ||||||||
ดาวอังคาร | 1.85 | 5.65 | 1.67 | ||||||||
ดาวแก๊สยักษ์ | ดาวพฤหัสบดี | 1.31 | 6.09 | 0.32 | |||||||
ดาวเสาร์ | 2.49 | 5.51 | 0.93 | ||||||||
ดาวยูเรนัส | 0.77 | 6.48 | 1.02 | ||||||||
ดาวเนปจูน | 1.77 | 6.43 | 0.72 |
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Chobotov, Vladimir A. (2002). Orbital Mechanics (3rd ed.). AIAA. pp. 28–30, . ISBN 1563475375.
{{cite book}}
: CS1 maint: extra punctuation (ลิงก์) - ↑ McBride, Neil; Bland, Philip A.; Gilmour, Iain (2004). An Introduction to the Solar System. Cambridge University Press. p. 248. ISBN 0521546206.
{{cite book}}
: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์) - ↑ "The MeanPlane (Invariable plane) of the Solar System passing through the barycenter". 2009-04-03. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-04-20. สืบค้นเมื่อ 2009-04-10. (produced with Solex 10 เก็บถาวร 2008-12-20 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน written by Aldo Vitagliano)