ข้ามไปเนื้อหา

เอ็มบีเคเซ็นเตอร์

พิกัด: 13°44′40″N 100°31′49″E / 13.744471°N 100.530288°E / 13.744471; 100.530288
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก มาบุญครอง)
ศูนย์การค้าเอ็มบีเค เซ็นเตอร์
MBK Center
ภาพภายนอกของศูนย์การค้าในปี 2566
แผนที่
ที่อยู่444 ถนนพญาไท แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330
เปิดให้บริการ7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2528 (ศูนย์การค้ามาบุญครอง เซ็นเตอร์)
5 พฤษภาคม พ.ศ. 2539 (ไฟไหม้) (ปรับปรุงครั้งแรก)
พ.ศ. 2542 (ปรับปรุงครั้งที่ 2)
9 พฤษภาคม พ.ศ. 2543 (ศูนย์การค้าเอ็มบีเค เซ็นเตอร์)
พ.ศ. 2559 (ปรับปรุงครั้งที่ 3)
21 ธันวาคม พ.ศ. 2564 (ดอง ดอง ดองกิ)
ชื่อเดิมศูนย์การค้ามาบุญครอง เซ็นเตอร์ (7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2528 - 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2543)
จุฬาคอมเพล็กซ์ (ชื่อโครงการในช่วงก่อสร้างอาคาร)
ผู้พัฒนาบริษัท เอ็มบีเค จำกัด (มหาชน)
พื้นที่ชั้นขายปลีก89,000 ตารางเมตร
จำนวนชั้น8 ชั้น
ขนส่งมวลชน สนามกีฬาแห่งชาติ
บริษัท
ชื่อทางการค้า
บริษัท เอ็มบีเค จำกัด (มหาชน)
ชื่อเดิม
  • บจก.มาบุญครองอบพืชและไซโล
  • บจก.เอ็มบีเคพรอพเพอร์ตีส์แอนด์ดีเวลอปเมนต์
  • บมจ.เอ็มบีเคพรอพเพอร์ตีส์แอนด์ดีเวลอปเมนต์
  • บมจ.เอ็มบีเคดีเวลอปเมนต์
ประเภทบริษัทมหาชน
การซื้อขาย
SET:MBK
อุตสาหกรรมอสังหาริมทรัพย์และก่อสร้าง
รูปแบบพัฒนาอสังหาริมทรัพย์
ก่อตั้ง25 กรกฎาคม พ.ศ. 2517
ผู้ก่อตั้งศิริชัย บูลกุล
สำนักงานใหญ่ชั้น 8 เอ็มบีเคเซ็นเตอร์
444 ถนนพญาไท แขวงวังใหม่
เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร[1]
บุคลากรหลัก
บริการ
  • ศูนย์การค้า
  • โรงแรมและการท่องเที่ยว
  • อสังหาริมทรัพย์
  • อาหาร
  • การเงิน
  • การประมูล
  • ธุรกิจสนันสนุนองค์กร
เว็บไซต์www.mbk-center.co.th
เอ็มบีเคเซ็นเตอร์ โซนเอ (Atrium)

ศูนย์การค้าเอ็มบีเค เซ็นเตอร์ (อังกฤษ: MBK Center) เดิมชื่อ ศูนย์การค้ามาบุญครอง เซ็นเตอร์ (อังกฤษ: Mahbunkhrong Center) เป็นศูนย์การค้าขนาดใหญ่ในเขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร เปิดให้บริการในชื่อ ศูนย์การค้ามาบุญครอง เซ็นเตอร์ เมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2528 ก่อนที่จะเปลี่ยนชื่อศูนย์การค้าเป็นเอ็มบีเค เซ็นเตอร์ และ ดำเนินงานโดยบริษัท เอ็มบีเค จำกัด (มหาชน) บนพื้นที่ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ภายในเป็นบริเวณมุมตะวันตกเฉียงใต้ของสี่แยกปทุมวัน ในย่านสยาม มีพื้นที่ใช้ทั้งหมด 270,685.57 ตารางเมตร ซึ่งส่วนหนึ่งจัดเป็นพื้นที่เช่าค้าขาย จำนวนกว่า 2,500 ร้านค้า โดยมีสินค้าและบริการเพื่อรองรับนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทย และชาวต่างชาติ นับเป็นศูนย์การค้าแห่งแรกของประเทศไทยที่มีศูนย์อาหารฟู้ดคอร์ท[3]

ประวัติ

[แก้]

บริษัท มาบุญครองอบพืชและไซโล จำกัด จดทะเบียนก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2517[4]  ดำเนินกิจการให้บริการพัก เก็บ อบ และขนถ่ายผลิตผลทางการเกษตร และตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย อนุมัติให้จดทะเบียนเป็นหลักทรัพย์รับอนุญาต เมื่อปี พ.ศ. 2521[4]

จุดเริ่มต้นของของพื้นที่หมอน 51 ในช่วงปี 2516-2518 สำนักงานจัดการทรัพย์สิน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีแนวคิดในการสร้างคอมเพล็กซ์ เพราะมองว่าอาคารพาณิชย์รับคนไม่ได้มาก[5] ในปี พ.ศ. 2526 บริษัทฯ ดำเนินการเช่าที่ดินบริเวณสี่แยกปทุมวันกับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย แล้วก่อสร้างโครงการ ในตอนแรกนั้นใช้ชื่อว่า จุฬาคอมเพล็กซ์[6] ก่อนจะเปลี่ยนเป็น ศูนย์การค้ามาบุญครอง เซ็นเตอร์ จนกระทั่งแล้วเสร็จและศูนย์การค้ามาบุญครอง เซ็นเตอร์ เปิดบริการเมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2528 โดยพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ขณะดำรงพระอิสริยยศสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จพระราชดําเนินแทนพระองค์ทรงไปเปิดศูนย์การค้า[4] และศูนย์การค้ามาบุญครอง เซ็นเตอร์ นับเป็นศูนย์การค้าขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทยในเวลานั้น ซึ่งมีลักษณะเด่นที่ผนังอาคารทั้งหลัง บุด้วยหินอ่อนทั้งภายนอกและภายใน ทว่าบริษัทฯ ขอยุติการเป็นหลักทรัพย์รับอนุญาต เมื่อปี พ.ศ. 2530[4]

ต่อมาปี พ.ศ. 2533 มีการเปลี่ยนแปลงคณะผู้บริหาร[4] พร้อมทั้งชื่อใหม่เป็นบริษัท เอ็มบีเค พรอพเพอร์ตีส์ แอนด์ ดีเวลอปเมนต์ จำกัด ซึ่งเข้าจดทะเบียนแปรสภาพเป็นบริษัทมหาชนจำกัด เมื่อวันที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2537 เข้าเป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เมื่อวันที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2539 โดยใช้ชื่อย่อหลักทรัพย์ว่า MBK-PD และเริ่มซื้อขายหุ้นสามัญของบริษัทฯ ในตลาดหลักทรัพย์ฯ ตั้งแต่วันที่ 24 เมษายน ปีเดียวกัน[7]

ต่อมาในวันที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2543 เปลี่ยนชื่อศูนย์การค้าจากมาบุญครอง เซ็นเตอร์ เป็น เอ็มบีเค เซ็นเตอร์ พร้อมทั้งดำเนินการปรับปรุงอาคาร โดยเปลี่ยนวัสดุผนังภายนอก และปรับปรุงทางหนีไฟ จากนั้น ดำเนินการเปลี่ยนชื่อบริษัทฯ อีกสองครั้งเป็นบริษัท เอ็ม บี เค ดีเวลอปเมนต์ จำกัด (มหาชน) เมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2545 และเป็น บริษัท เอ็มบีเค จำกัด (มหาชน) รวมทั้งเปลี่ยนชื่อย่อหลักทรัพย์เป็น MBK เมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2546[7]

ต่อมาในวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2558 บมจ.เอ็มบีเค ได้รวมตัวกับสยามพิวรรธน์ในนามวันสยาม และกลุ่มธุรกิจสยามสแควร์ ภายใต้การกำกับดูแลโดยสำนักงานจัดการทรัพย์สิน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ก่อตั้งสมาคมการค้าพลังสยามขึ้น เพื่อพัฒนาศูนย์การค้าในย่านสยามให้เป็นย่านค้าปลีกระดับโลก[8][9] จากนั้น บมจ.เอ็มบีเค ก็ได้รับเงินจำนวน 1,000 ล้านบาท ในการใช้ปรับปรุงเอ็มบีเคเซ็นเตอร์ให้ทันสมัยขึ้น โดยปรับปรุงแล้วเสร็จในปลายปี พ.ศ. 2559[10][11]

การจัดสรรพื้นที่

[แก้]
ดอง ดอง ดองกิ

เอ็มบีเค เซ็นเตอร์ เป็นศูนย์การค้าครบวงจรภายใต้ Concept “One Stop Shopping” ตั้งอยู่บนพื้นที่กว่า 23 ไร่ โดยมีพื้นที่สำคัญดังนี้

  • Cool Shop ร้านค้าในเครือ ไอ.ซี.ซี,โอ.ซี.ซี และร้านซูรุฮะ
    • ห้างสรรพสินค้า At First
  • ดอง ดอง ดองกิ สร้างบนพื้นที่เดิมของห้างสรรพสินค้าโตคิว โดยเป็นสาขาแรกในกรุงเทพมหานครที่เปิดทำการตลอด 24 ชั่วโมง[12]
  • ร้านค้าในกลุ่มเซ็นทรัล
    • ท็อปส์
    • ซูเปอร์สปอร์ต แฟคทอรี เอาท์เล็ต
  • เซเว่น อีเลฟเว่น
    • คัดสรร เบเกอรี่ แอนด์ คอฟฟี่ โดยเซเว่น
  • สำนักงานสัญชาติและนิติกรณ์[13] และสำนักงานหนังสือเดินทางชั่วคราว ปทุมวัน[14] กรมการกงสุล
  • จุดบริการด่วนมหานคร สำนักงานเขตปทุมวัน[15] (ย้ายมาจากสถานีสยาม[16])
  • ศูนย์อาหารฟู้ด เลเจนส์ บาย เอ็มบีเค
  • ทีทีเอ สเปซ บาย ดราฟท์บอร์ด[17]
  • เอสเอฟ ทาวน์
    • โรงภาพยนตร์เอสเอฟ ซีเนม่า จำนวน 8 โรงภาพยนตร์ สาขาแรกของเอสเอฟ ซีเนม่า โดยสร้างบนพื้นที่เดิมของเอ็มบีเค ฮอลล์ ในจำนวนนี้มีโรงภาพยนตร์ Zigma CineStadium by C2 และซีเนคาเฟ่ (CineCafe) รูปแบบละ 1 โรง
    • อะนิเมท
    • มาเนะคิเนโกะ คาราโอเกะ
    • เกมเซ็นเตอร์
      • ฮีโร่ ซิตี้ เกมเซ็นเตอร์
      • Active-Z เกมเซ็นเตอร์
      • EX-10 เกมเซ็นเตอร์
  • โรงแรมปทุมวันปริ๊นเซส
    • ดิ โอลิมปิก คลับ
  • อาคารสำนักงานเอ็มบีเค

โดยมีสะพานลอยปรับอากาศเชื่อมศูนย์การค้ากับสยามสแควร์ผ่านอลาอาร์ตและสยามสเคปและไปเชื่อมกับรถไฟฟ้าบีทีเอส สถานีสนามกีฬาแห่งชาติ และสะพานลอยเชื่อมไปยังคณะสหเวชศาสตร์ และสถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจศศินทร์ แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

พื้นที่จัดสรรในอดีต

[แก้]
  • ห้างสรรพสินค้าโตคิว (ห้างสรรพสินค้าโตคิว เอ็มบีเคเซ็นเตอร์ เป็นสาขาที่ 2 ที่ย้ายมาจากสาขาอาคารศรีวราทาวเวอร์ รัชดาภิเษก ปัจจุบันคืออาคารซีดับเบิลยูและเปิดกิจการในประเทศไทย โดยประกาศยุติการดำเนินธุรกิจในประเทศไทยและปิดให้บริการเมื่อวันที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2564 และต่อมาถูกปรับปรุงเป็น ดอง ดอง ดองกิ สาขาที่ 4 ในประเทศไทยเปิดให้บริการเมื่อวันที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2564)
  • เอ็มบีเค ฮอลล์ (ฮอลล์จัดคอนเสิร์ตบนพื้นที่ชั้น 7 บริเวณโดมสีทองกลางอาคาร ปิดให้บริการเมื่อปี พ.ศ. 2542 และต่อมาถูกปรับปรุงเป็นโรงภาพยนตร์เอสเอฟ ซีเนม่า เปิดให้บริการในปี พ.ศ. 2542)
  • สวนสนุกแดนเนรมิต (ลานสวนสนุกบนดาดฟ้าชั้น 8 ของศูนย์การค้าโดยซื้อเครื่องเล่นต่อจากสวนสนุกแฮปปี้แลนด์ ปิดให้บริการเมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2539 เพราะเหตุไฟไหม้ของศูนย์การค้าและต่อมาถูกปรับปรุงเป็นอาคารสํานักงานเอ็มบีเค)
  • ดิจิตอลไลฟ์ สตูดิโอ โดยบีเอ็นเคโฟร์ตีเอต (ย้ายมาจากเอ็มควอเทียร์ และปิดให้บริการเมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2566[18] ต่อมาถูกปรับปรุงเป็นอนิไทม์ เอ็มบีเค เปิดให้บริการเมื่อวันที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2567)
    • บีเอ็นเคโฟร์ตีเอต คาเฟ่ (ย้ายมาจากเดอะมอลล์ บางกะปิ และสร้างบนพื้นที่เดิมของไทย-เดนมาร์ก มิลค์แลนด์)[19]

อ้างอิง

[แก้]
  1. รายละเอียดบริษัท/หลักทรัพย์เซ็ทเทรดดอตคอม
  2. MBK แต่งตั้ง วิจักษณ์ ประดิษฐวณิช นั่งแท่น CEO คนใหม่ สานต่อความแข็งแกร่ง
  3. https://pmcu.co.th/wp-content/uploads/2017/12/100-pee-cu-small-for-web-download.pdf
  4. 4.0 4.1 4.2 4.3 4.4 "ประวัติเอ็มบีเคเซ็นเตอร์ (หน้าเว็บเก่า)". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-12-11. สืบค้นเมื่อ 2011-12-11.
  5. "PMCU History". PMCU.
  6. https://pmcu.co.th/wp-content/uploads/2017/12/100-pee-cu-small-for-web-download.pdf 100 ปีจุฬา
  7. 7.0 7.1 ประวัติเอ็มบีเค เซ็นเตอร์
  8. "3 ยักษ์ค้าปลีก ผนึก 'พลังสยาม' เทียบชั้นมหานครใหญ่". วอยซ์ทีวี. 2015-10-02. สืบค้นเมื่อ 2021-02-27.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  9. "พันธมิตรพลังสยามผนึกกำลังครั้งประวัติศาสตร์ ผลักดัน "ย่านสยาม" ยุทธศาสตร์สำคัญทางเศรษฐกิจการค้า". สมาคมการค้าพลังสยาม. 2015-09-30. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-07-23. สืบค้นเมื่อ 2021-02-27.
  10. "รู้หรือไม่ "MBK Center" เคยเป็นศูนย์การค้าแบรนด์เนม และเผยภารกิจใหญ่กับการเพิ่มลูกค้าไทย". Brand Buffet. 2016-09-13. สืบค้นเมื่อ 2021-02-27.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  11. "[SR] โฉมใหม่รับปีใหม่ : ไปถ่ายไฟที่ MBK Center กัน !! … ลุยยยย !!". พันทิป.คอม. 2016-12-31. สืบค้นเมื่อ 2021-02-27.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  12. kaset (2022-10-20). "ดองกิ MBK ประกาศเปิด 24 ชั่วโมง เริ่ม 21 ต.ค.นี้เป็นต้นไป". ประชาชาติธุรกิจ.
  13. Insight, The Bangkok. "รอเลย!! 'กรมการกงสุล' เปิดสำนักงานสัญชาติและนิติกรณ์เต็มรูปแบบ ที่ เอ็มบีเค 1 มี.ค. นี้ | The Bangkok Insight". LINE TODAY.
  14. "ทำพาสปอร์ตได้แล้ว สำนักงานหนังสือเดินทางชั่วคราว เอ็ม บี เค เซ็นเตอร์". ryt9.com.
  15. Sentangsedtee (2022-09-07). "จุดบริการด่วนมหานคร สนง.เขตปทุมวัน สะดวกง่ายๆ ที่ เอ็ม บี เค เซ็นเตอร์". เส้นทางเศรษฐี. สืบค้นเมื่อ 2023-02-23.
  16. 8 จุดบริการด่วนมหานคร Bangkok Express Sevice ทำบัตรประชาชน
  17. Center, M. B. K. "เปลี่ยน Work from home มา Work from here ชิลๆ กับ TTA Space by DraftBoard@เอ็ม บี เค เซ็นเตอร์ นั่งทำงานก็สะดวกสบาย คุยงานก็เพลิน Co-Working Space กลางกรุง ติดรถไฟฟ้า | MBK Center". mbk-center.co.th.
  18. 'เอ็มบีเค เสริมทัพแม่เหล็กฉีกออนไลน์หวังดึงลูกค้า'
  19. 'พาส่องความเปลี่ยนแปลง BNK48 Cafe จากเดอะมอลล์บางกะปิสู่ข้างตู้ปลา MBK'

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]

13°44′40″N 100°31′49″E / 13.744471°N 100.530288°E / 13.744471; 100.530288