กลุ่มเซ็นทรัล
บทความนี้อาจต้องปรับปรุงให้มีมุมมองที่เป็นกลาง เนื่องจากนำเสนอมุมมองเพียงด้านเดียว ดูหน้าอภิปรายประกอบ โปรดอย่านำป้ายออกจนกว่าจะมีข้อสรุป |
ลิงก์ข้ามภาษาในบทความนี้ มีไว้ให้ผู้อ่านและผู้ร่วมแก้ไขบทความศึกษาเพิ่มเติมโดยสะดวก เนื่องจากวิกิพีเดียภาษาไทยยังไม่มีบทความดังกล่าว กระนั้น ควรรีบสร้างเป็นบทความโดยเร็วที่สุด |
ประเภท | กลุ่มธุรกิจเอกชน |
---|---|
อุตสาหกรรม | ธุรกิจค้าปลีกและบริการ |
ก่อตั้ง | พ.ศ. 2490 |
ผู้ก่อตั้ง | เตียง จิราธิวัตน์, สัมฤทธิ์ จิราธิวัฒน์ |
สำนักงานใหญ่ | 22 อาคารสำนักงานเซ็นทรัลชิดลม ชั้น 15 ซอยสมคิด ถนนเพลินจิต แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร |
บุคลากรหลัก | ทศ จิราธิวัฒน์ ประธานกรรมการบริหาร และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร (Executive Chairman and CEO) |
ผลิตภัณฑ์ |
|
พนักงาน | 80,000 คน |
บริษัทในเครือ | บริษัท เซ็นทรัล รีเทล คอร์ปอเรชัน จำกัด (มหาชน) SET:CRC บริษัท เซ็นทรัลพัฒนา จำกัด (มหาชน) SET:CPN บริษัท โรงแรมเซ็นทรัลพลาซา จำกัด (มหาชน) SET:CENTEL |
เว็บไซต์ | www.centralgroup.com |
กลุ่มเซ็นทรัล (Central Group) เป็นผู้นำด้านธุรกิจค้าปลีกและบริการทั้งในประเทศไทย และต่างประเทศ ดำเนินธุรกิจหลากหลายแขนง อาทิ ธุรกิจห้างสรรพสินค้า, ธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์, ธุรกิจบริหารและการตลาดสินค้าแฟชั่น, ธุรกิจโรงแรมและ รีสอร์ท, ธุรกิจร้านอาหาร รวมไปถึงธุรกิจดิจิทัลไลฟ์สไตล์ ด้วยยุทธศาสตร์ นิวเซ็นทรัล นิวอีโคโนมี ในฐานะสุดยอดเทคคอมปานี และผู้นำด้านดิจิ-ไลฟ์สไตล์แพลตฟอร์มอย่างเต็มรูปแบบ[1]
ประวัติ
[แก้]บริษัทเซ็นทรัลเทรดดิ้ง หรือชื่อการค้า ห้างเซ็นทรัล ก่อตั้งในปี พ.ศ. 2490 โดย เตียง จิราธิวัฒน์ (เตียง แซ่เจ็ง) และ สัมฤทธิ์ จิราธิวัฒน์ (ฮกเส่ง แซ่เจ็ง) บุตรชายคนโต เป็นร้านค้าตึกแถวครึ่งตึกครึ่งไม้ 2 ชั้นขนาด 1 คูหา ปากตรอกกัปตันบุช (ปัจจุบันคือซอยเจริญกรุง 30) ย่านสี่พระยา จำหน่ายหนังสือ รวมทั้งเสื้อผ้าสำเร็จรูป รองเท้า และเครื่องสำอาง ทั้งสินค้าในประเทศและสินค้านำเข้าจากต่างประเทศเป็นหลัก โดยเซ็นทรัลเป็นกิจการใหม่ที่สานต่อจากกิจการร้านชำ เข่งเซ่งหลี ย่านบางขุนเทียน ของเตียง
5 กรกฎาคม พ.ศ. 2493 บริษัทเซ็นทรัลเทรดดิ้ง ย้ายที่ตั้งไปยังตึกแถว 3 คูหา ย่านสุริวงษ์ ปากตรอกชาร์เตอร์แบงก์ ในปี พ.ศ. 2499 เตียง ได้ร่วมทุนกับบุตรชายทั้งสามคน อันได้แก่ สัมฤทธิ์, วันชัย และ สุทธิพร เปิดทำการห้างสรรพสินค้าเต็มรูปแบบที่ย่านวังบูรพา โดยใช้ชื่อว่า เซ็นทรัล วังบูรพา ต่อมาจึงเปิดสาขาใหม่ที่ย่านราชประสงค์ในปี พ.ศ. 2507 สาขาสีลมในปี พ.ศ. 2511 และ พ.ศ. 2517 เปิดห้างสรรพสินค้าแบบจุดเดียวเสร็จสรรพ (one stop) ที่ชิดลม ต่อมา พ.ศ. 2524 จึงขยายกิจการตั้งสาขาลาดหญ้า ในฝั่งธนบุรี และเปิดสาขาลาดพร้าว ในปี พ.ศ. 2526 ซึ่งสมบูรณ์และใหญ่ที่สุดในบรรดาห้างสรรพสินค้าไทยในสมัยนั้น ในปี พ.ศ. 2535 ได้ขยายสาขาไปต่างจังหวัด ที่อุทยานการค้ากาดสวนแก้ว จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งเป็นครั้งแรกที่ห้างสรรพสินค้าในกรุงเทพฯ ขยายสาขาไปสู่ต่างจังหวัด
กลุ่มธุรกิจของบริษัท
[แก้]ปัจจุบันในปี พ.ศ. 2565 กลุ่มเซ็นทรัล แบ่งประเภทธุรกิจออกเป็น 6 ธุรกิจหลัก ได้แก่ ธุรกิจค้าปลีก และแบรนด์สินค้า, ศูนย์การค้า และอสังหาริมทรัพย์เชิงพาณิชย์, โรงแรมและร้านอาหาร, ธุรกิจโรงแรมและรีสอร์ท, บริการด้านการเงินและฟินเทค, เดอะ วัน, ธุรกิจใหม่ในยุคดิจิทัล
ศูนย์การค้า และอสังหาริมทรัพย์เชิงพาณิชย์ (Malls & Commercial Properties)
[แก้]รับผิดชอบในการบริหารอาคารอสังหาริมทรัพย์ ศูนย์การค้า และส่วนงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยปัจจุบันเซ็นทรัลพัฒนามีการแบ่งธุรกิจภายในดังนี้
บริหารศูนย์การค้า
[แก้]บริหารอาคารสำนักงาน
[แก้]- ลาดพร้าว
- ปิ่นเกล้า Tower A
- ปิ่นเกล้า Tower B
- บางนา
- เซ็นทรัลเวิลด์ ออฟฟิสเศส
- แจ้งวัฒนะ
- เดอะไนน์ ทาวเวอร์ส แกรนด์ พระราม 9
- จี ทาวเวอร์ แกรนด์ พระราม 9
- ยูนิลีเวอร์ เฮาส์ แกรนด์ พระราม 9
- เซ็นทรัล พาร์ค ออฟฟิศเซส แอท ดุสิต เซ็นทรัล พาร์ค (กำลังก่อสร้าง)
- ทีเพลส (CPN โดย สยามฟิวเจอร์ ดีเวลอปเม้นท์ เป็นเจ้าของโครงการ โดยให้ ยูนิเวนเจอร์ เป็นผู้บริหารอาคาร)
โครงการศูนย์การค้าขนาดเล็ก
[แก้]- มาร์เก็ตเพลส บางบอน
- มาร์เก็ตเพลส สุขาภิบาล 3
- มาร์เก็ตเพลส ประชาอุทิศ
- มาเช่ ทองหล่อ
- เจ อเวนิว (ทองหล่อ ซอย 15)
- มาร์เก็ตเพลส นวมินทร์
- เพชรเกษม พาวเวอร์ เซ็นเตอร์
- เอกมัย พาวเวอร์ เซ็นเตอร์
- ลา วิลล่า อารีย์
- ดิ อเวนิว รัชโยธิน
- พัทยา อเวนิว
- นวมินทร์ ซิตี้ อเวนิว 1
- นวมินทร์ ซิตี้ อเวนิว 2
- เหม่งจ๋าย (บี-ควิก)
- มาร์เก็ตเพลส นางลิ้นจี่
- มาร์เก็ตเพลส ดุสิต
- มาร์เก็ตเพลส กรุงเทพกรีฑา
โครงการศูนย์การค้าภายใต้การร่วมทุน
[แก้]โรงแรม
[แก้]- โรงแรมเซ็นทาราและคอนเวนชันเซ็นเตอร์ อุดรธานี ที่ เซ็นทรัล อุดร
- โรงแรมฮิลตัน พัทยา ที่ เซ็นทรัล พัทยา
- โรงแรมเซ็นทารา โคราช ที่ เซ็นทรัล โคราช
- โรงแรมโกโฮเทล บ่อวิน ที่ โรบินสัน ไลฟ์สไตล์ บ่อวิน
- โรงแรมเซ็นทารา อุบล ที่ เซ็นทรัล อุบล
- ดุสิตธานี กรุงเทพ ที่ ดุสิต เซ็นทรัล พาร์ค
โครงการที่พักอาศัยเพื่อเช่า
[แก้]- เซ็นทรัล ซิตี้ เรสซิเดนซ์ (CPN เป็นเจ้าของพื้นที่บางส่วนของโครงการ)
โครงการที่พักอาศัยเพื่อขาย (แนวสูง)
[แก้]- เอสเซ็นท์ เชียงใหม่
- เอสเซ็นท์ ขอนแก่น
- เอสเซ็นท์ ระยอง
- เอสเซ็นท์ วิลล์ เชียงใหม่
- เอสเซ็นท์ วิลล์ เชียงราย
- เอสเซ็นท์ นครราชสีมา
- ฟีล พหล 34
- เอสเซ็นท์ อุบลราชธานี
- เบ็ล แกรนด์ พระราม 9
- เอสเซ็นท์ พาร์ควิลล์ เชียงใหม่
- เอสเซ็นท์ ระยอง 2
- เอสเซ็นท์ โคราช
- เอสเซ็นท์ หาดใหญ่
- เอสเซ็นท์ วิลล์ อยุธยา
- ฟีล ภูเก็ต
- เอสเซ็นท์ วิลล์ สุราษฎร์ธานี
- เอสเซ็นท์ วิลล์ สุพรรณบุรี
- เอสเซ็นท์ วิลล์ ฉะเชิงเทรา
- เอสเซ็นท์ ตรัง
- เอสเซ็นท์ วิลล์ กำแพงเพชร
โครงการที่พักอาศัยเพื่อขาย (แนวราบ)
[แก้]- นิยาม บรมราชชนนี
- นินญา กัลปพฤกษ์
- เอสเซ็นท์ ทาวน์ พิษณุโลก
- นิรติ เชียงราย
- นิรติ บางนา
- นิรติ ดอนเมือง
- เอสเซ็นท์ อเวนิว ระยอง
- นินญา ราชพฤกษ์
- นิรติ เชียงใหม่
- นิรติ กำแพงเพชร
- บจก. เซ็นทรัลฟู้ดอเวนิว - ศูนย์อาหารภายในศูนย์การค้าเซ็นทรัล แจ้งวัฒนะ เซ็นทรัล ปิ่นเกล้า (บางส่วน) และเซ็นทรัล บางนา
- บจก. เซ็นทรัลพัฒนา พระราม 2 - เซ็นทรัล พระราม 2 และศูนย์อาหารภายในเซ็นทรัล พระราม 2
- บจก. เซ็นทรัลพัฒนา พระราม 3 - เซ็นทรัล พระราม 3 และศูนย์อาหารภายในเซ็นทรัล พระราม 3 และเซ็นทรัล ปิ่นเกล้า (บางส่วน)
- บจก. เซ็นทรัลพัฒนา เรียลตี้ - เซ็นทรัล ลาดพร้าว (บางส่วน) บริการสาธารณูปโภคในเซ็นทรัล ลาดพร้าว (บางส่วน) เซ็นทรัล ชลบุรี และศูนย์อาหารภายในเซ็นทรัล ชลบุรี
- บจก. บางนา เซ็นทรัล พร็อพเพอร์ตี้ - เซ็นทรัล บางนา อาคารสำนักงาน และสวนน้ำ ณ เซ็นทรัล บางนา โครงการที่พักอาศัย เซ็นทรัล ซิตี้ เรสซิเดนซ์
- บจก. เซ็นทรัลพัฒนา เชียงใหม่ - เซ็นทรัล เชียงใหม่ แอร์พอร์ต และศูนย์อาหารในเซ็นทรัล เชียงใหม่ แอร์พอร์ต
- บจก. เซ็นทรัลพัฒนา รัตนาธิเบศร์ - เซ็นทรัล รัตนาธิเบศร์ และศูนย์อาหารในเซ็นทรัล รัตนาธิเบศร์
- บจก. เซ็นทรัลเวิลด์ - เซ็นทรัล อุดร เซ็นทรัล พิษณุโลก เซ็นทรัล อุบล และเซ็นทรัล สมุย รวมทั้งศูนย์อาหารภายในศูนย์การค้าดังกล่าว โรงแรมเซ็นทาราและคอนเวนชันเซ็นเตอร์ อุดรธานี และโรงแรม โกโฮเทล บ่อวิน
- บจก. เซ็นทรัลพัฒนา ขอนแก่น - เซ็นทรัล ขอนแก่น และศูนย์อาหารภายในเซ็นทรัล ขอนแก่น
- บจก. เซ็นทรัลพัฒนา ดีเวลลอปเม้นท์ - เซ็นทรัล เชียงราย เซ็นทรัล สุราษฎร์ธานี เซ็นทรัล ลำปาง และศูนย์อาหารภายในศูนย์การค้าดังกล่าว
- บจก. เซ็นทรัลพัฒนา ไนน์ สแควร์ - ศูนย์การค้าและสำนักงานเซ็นทรัล พระราม 9
- บจก. ซีพีเอ็น ระยอง - เซ็นทรัล ระยอง และศูนย์อาหารในเซ็นทรัล ระยอง
- บจก. ซีพีเอ็น โคราช - เซ็นทรัล โคราช และศูนย์อาหารในเซ็นทรัล โคราช
- บจก. ซีพีเอ็น วิลเลจ - เซ็นทรัล วิลเลจ ลักซูรี่ เอาท์เล็ต และศูนย์อาหารภายในเซ็นทรัล วิลเลจ
- บจก. ซีพีเอ็น พัทยา - เซ็นทรัล พัทยา และโรงแรมฮิลตัน พัทยา
- บจก. ซีพีเอ็น เรสซิเด้นซ์ - พัฒนาโครงการที่พักอาศัยเพื่อขาย
- บจก. ซีพีเอ็น เรสซิเด้นซ์ แมเนจเมนท์ - บริหารงานนิติบุคคล อาคารชุด และบ้านจัดสรร
- บจก. ซีพีเอ็น เรซซิเด้นซ์ ขอนแก่น - พัฒนาอสังหาริมทรัพย์
- บจก. ซีพีเอ็น เอสเตท - พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ และโรงแรมเซ็นทารา โคราช
- บจก. ซีพีเอ็น โกบอล - พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ และลงทุนในบริษัทย่อยเพื่อประกอบธุรกิจในประเทศมาเลเซีย
- Global Retail Development & Investment Limited - พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ (ถือผ่าน บจก. ซีพีเอ็น โกบอล 99.94%)
- Central Plaza i-City Real Estate Sdn. Bhd. - พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ (ถือผ่าน บจก. ซีพีเอ็น โกบอล และ บจก. เซ็นทรัลพัฒนา เรียลตี้ 59.97%)
- CPN Venture Sdn. Bhd. - ให้คำปรึกษาด้านการบริหารและการจัดการอสังหาริมทรัพย์ (ถือผ่าน บจก. ซีพีเอ็น โกบอล 99.94%)
- Chipper Global Limited - พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ และลงทุนในบริษัทอื่นๆ
- Porto Worldwide Limited - ลงทุนในธุรกิจแกร็บ ประเทศไทย
- บจก. ดาราฮาร์เบอร์ - เซ็นทรัล ศรีราชา และศูนย์อาหารภายในเซ็นทรัล ศรีราชา โรงแรมโก โฮเทล ศรีราชา
- บจก. ซี.เอส.ซิตี้ - พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ (ถือผ่าน บจก. เซ็นทรัลพัฒนา เรียลตี้ 99.97%)
- บจก. ฟีโนมินอน ครีเอชั่น - พัฒนาโครงการธีมปาร์คภายในศูนย์การค้าเซ็นทรัล ภูเก็ต
- บจก. สแควร์ ริทซ์ พลาซา - พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ (ถือผ่าน บจก. เซ็นทรัลพัฒนา เรียลตี้ 12%)
- บจก. สยาม รีเทล ดีเวลล็อปเม้นท์ - พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ (ถือผ่าน บจก. เซ็นทรัลพัฒนา เรียลตี้ 12% และ บจก. สแควร์ ริทซ์ พลาซา 3%)
- บจก. อยุธยาเกษตรธานี - พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ (ถือผ่าน บจก. เซ็นทรัลพัฒนา เรียลตี้ 11.85%)
- บจก. ซีพีเอ็น ซิตี้ - พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ (ถือผ่าน บจก. เซ็นทรัลเวิลด์ 99.99%)
- บจก. ซีพีเอ็น คอมเพล็กซ์ - พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ (ถือผ่าน บจก. เซ็นทรัลเวิลด์ 99.99%)
- บจก. ชนะคุณ ดีเวลลอปเม้นท์ - พัฒนาอสังหาริมทรัพย์
- บจก. ซินเนอร์จิสติก พร็อพเพอร์ตี้ ดีเวลลอปเมนท์ - พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ (กิจการร่วมค้ากับ โลตัส)
- บจก. ซีพีเอ็น แอนด์ เอชเคแอล - พัฒนาอสังหาริมทรัพย์
- กองทุนรวมธุรกิจไทย 4 โดย บมจ.หลักทรัพย์จัดการกองทุนกรุงไทย - ลงทุนในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ เซ็นทรัลเวิลด์
- ทรัสต์เพื่อการลงทุนในสิทธิการเช่า อสังหาริมทรัพย์ CPN รีเทล โกรท บริหารงานโดยบริษัท ซีพีเอน รีท แมเนจเมนท์ จำกัด - ลงทุนสิทธิการเช่า
- บจก. ซีพีเอ็น รีท แมเนจเมนท์ - ให้บริการจัดการกองทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์
- บจก. ซีพีเอ็น พัทยา โฮเทล - ผู้เช่าช่วงและประกอบธุรกิจโรงแรมฮิลตัน พัทยา ที่อยู่ภายใต้ CPNREIT
- กองทุนรวมสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์ CPN คอมเมอร์เชียล โกรท โดย บลจ.ไทยพาณิชย์ - ลงทุนในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ อาคารสำนักงาน ดิ ออฟฟิศเศส แอท เซ็นทรัลเวิลด์
- บมจ. แกรนด์คาแนล แลนด์ - เดอะ ไนน์ ทาวเวอร์
- บจก. สเตอร์ลิง อีควิตี้ - ยูนิลี
- บมจ. เสริมเย็น เอนเตอร์เทนเม้นท์ กรุ๊ป จำกัด มหาชน
- บจก. เบ็ล ดีเวลลอปเมนท์ - เบ็ล แกรนด์ พระราม 9
- บจก. เบ็ล แอสเซทส์ - พัฒนาโครงการที่พักอาศัย
- บจก. จี แลนด์ พร็อพเพอร์ตี้ แมเนจเม้นท์ - พัฒนาอสังหาริมทรัพย์
- บจก. พระราม 9 สแควร์ - จี ทาวเวอร์
- บจก. พระราม 9 สแควร์ โฮเต็ล - พัฒนาอสังหาริมทรัพย์
- บจก. รัชดา แอสเซทส์ โฮลดิ้ง - บจ. เบย์วอเตอร์ สัดส่วนร้อยละ 50
- บจก. เบย์วอเตอร์ - พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ (ถือตรง 50% ถือผ่าน บจก. รัชดา แอสเซท โฮลดิ้ง ซึ่งเป็นบริษัทย่อยของ บมจ. แกรนด์ คาแนล แลนด์ ซึ่งเป็นบริษัทย่อยของเซ็นทรัลพัฒนาอีก 50%)
- บมจ. ดุสิตธานี - ประกอบธุรกิจโรงแรม รับจ้างบริหารงานโรงแรม
- บจก. วิมานสุริยา - พัฒนาอสังหาริมทรัพย์
- บจก. สวนลุม พร็อพเพอร์ตี้ - พัฒนาอสังหาริมทรัพย์
- บจก. พระราม 4 เดเวลลอปเม้นท์ - พัฒนาอสังหาริมทรัพย์
- บจก. ศาลาแดง พร๊อพเพอร์ตี้ แมเนจเม้นท์ - พัฒนาอสังหาริมทรัพย์
- บมจ. สยามฟิวเจอร์ ดีเวลอปเมนท์ - พัฒนาอสังหาริมทรัพย์
- บจ. สยามฟิวเจอร์ พร็อพเพอร์ตี้ - ศูนย์การค้าเอสพละนาด รัชดาภิเษก
- บจ. สยามฟิวเจอร์ แมเนจเมนท์ - ดำเนินธุรกิจด้านการบริการศูนย์การค้ามาร์เก็ตเพลส นวมินทร์ (สุขาภิบาล 1)
- บจ. รัชโยธิน อเวนิว - ศูนย์การค้าดิ อเวนิว รัชโยธิน
- บจ. รัชโยธิน อเวนิว แมเนจเมนท์ - ดำเนินธุรกิจด้านการบริการศูนย์การค้าดิ อเวนิว รัชโยธิน
- บจ. เพชรเกษม พาวเวอร์ เซ็นเตอร์ - ศูนย์การค้าเพชรเกษม พาวเวอร์ เซ็นเตอร์
- บจ. เอกมัย ไลฟ์สไตล์ เซ็นเตอร์ - ศูนย์การค้าเอกมัย พาวเวอร์ เซ็นเตอร์
- บจ. เอสเอฟ ดีเวลอปเมนท์ - เมกาบางนา (กิจการร่วมค้ากับ อิคาโน่ เอเชีย แอนด์ เม็กซิโก)
- บจ. นอร์ธ บางกอก ดีเวลลอปเมนท์ - ศูนย์การค้าแห่งใหม่บริเวณรังสิต
- บจ. เวสต์ บางกอก ดีเวลลอปเมนท์ - พัฒนาอสังหาริมทรัพย์
- บจ. คอมมอนกราวน์ (ประเทศไทย) - ธุรกิจ Co-Working Space
- บจ. เจดับเบิ้ลยูดี สโตร์ อิท - ธุรกิจให้บริการสถานที่เก็บสินค้า
- บจ. เจดับเบิ้ลยูดี สโตร์ อิท (รามอินทรา) - ธุรกิจให้บริการสถานที่เก็บสินค้า
- บจ. สโตร์การ์ด - ธุรกิจให้บริการสถานที่เก็บสินค้า
ค้าปลีก และแบรนด์สินค้า (Retail & Brands)
[แก้]ธุรกิจค้าปลีก และแบรนด์สินค้า เป็นสายธุรกิจที่ใหญ่ที่สุดของกลุ่มเซ็นทรัล ครอบคลุมทั้งในเอเชีย และยุโรป โดยมีจุดแข็งอยู่ที่การมีแบรนด์ชื่อดังหลากหลายแบรนด์ ระบบการดำเนินงานที่ทันสมัย และบุคลากรที่มีประสบการณ์ และความสามารถ สามารถแบ่งออกเป็น 4 กลุ่มหลัก ได้แก่ กลุ่มฟู้ด, กลุ่มแฟชั่น, กลุ่มฮาร์ดไลน์ และ กลุ่มพร็อพเพอร์ตี้
กลุ่มแฟชั่น (Fashion Group)
[แก้]ในกลุ่มแฟชั่น จะประกอบไปด้วย 4 หมวดธุรกิจดังนี้
- ห้างสรรพสินค้าที่จดทะเบียนเข้าตลาดหลักทรัพย์
- ห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัล (Central)
- ห้างสรรพสินค้าโรบินสัน (Robinson)
- ห้างสรรพสินค้ารินาเชนเต (Rinascente)
- ห้างสรรพสินค้าที่ไม่ได้จดทะเบียนเข้าตลาดหลักทรัพย์ (ถือหุ้นในนามกลุ่มเซ็นทรัล)
- ห้างสรรพสินค้าอิลลัม (ILLUM)
- กลุ่มห้างสรรพสินค้าคาเดเว (KaDeWe GmbH)
- ห้างสรรพสินค้าคาเดเว (KaDeWe)
- ห้างสรรพสินค้าโอเบอร์โพลลิงเกอร์ (Oberpollinger)
- ห้างสรรพสินค้าอัลสแตร์เฮาส์ (Alsterhaus)
- ห้างสรรพสินค้าโกลบุส (Globus) (ถือหุ้นสัดส่วน 50.1 ต่อ 49.9 กับกลุ่มซิกน่า)
- ห้างสรรพสินค้าโกลเดนเนส ควอเทียร์ (Goldenes Quartier)
- กลุ่มห้างสรรพสินค้าเซลฟริดส์เจส (Selfridges Group) (ถือหุ้นสัดส่วน 60 ต่อ 40 กับกองทุนเพื่อการลงทุนสาธารณะ[3])
- ห้างสรรพสินค้าเซลฟริดส์เจส (Selfridges)
- ห้างสรรพสินค้าบราวน์ โธมัส และ อาร์นอตส์ (Brown Thomas & Arnotts)
- ห้างสรรพสินค้า ดี แบนคอร์ฟ (de Bijenkorf)
- ร้านค้าเฉพาะทาง
- ซี อาร์ ซี สปอร์ต (CRC Sports)
- ซูเปอร์สปอร์ต (Supersports)
- ฟิต สปอร์ต (Fitsports)
- คิส บิวตี้ สโตร์ (KIS Beauty Store)
- สินค้านำเข้า โดย เซ็นทรัล มาร์เก็ตติ้ง กรุ๊ป
เครือข่ายและผู้แทนจำหน่ายสินค้านำเข้าจากต่างประเทศผ่านเคาน์เตอร์จำหน่ายสินค้าในห้างสรรพสินค้าหลายแห่ง รวมถึงร้านค้าแบบเดี่ยว อาทิ
- Accessorize
- Casio G-Shock
- Mango
- Mango Touch
- H.E. by Mango
- Dorothy Perkins
- Combi
- Wallis
- Hush Puppies
- Lee
- Miss Selfridge
- Jurlique
- John Henry
กลุ่มฟู้ด (Food Group)
[แก้]รับผิดชอบในการบริหารส่วนร้านค้าสินค้าอุปโภค บริโภค ภายใต้การบริหารของ เซ็นทรัล ฟู้ด รีเทล
- ท็อปส์ (Tops)
- ท็อปส์ ไฟน์ ฟู้ด (Tops Fine Food)
- ท็อปส์ ฟู้ด ฮอลล์ (Tops Food Hall)
- ไทยเฟเวอริท (Thai Flavorites)
- ท็อปส์ (Tops)
- ท็อปส์ เดลี่ (Tops Daily)
- โก! โฮลเซลล์ (GO! Wholesale)
- อีตไทย (EATHAI)
- ท็อปส์ ไวน์ เซลลาร์ (Tops Wine Cellar)
- มัทสึคิโยะ (MatsuKiyo)
- โก! เวียดนาม (GO! Vietnam)
Hardline Group)
[แก้]รับผิดชอบในการบริหารส่วนร้านค้าสินค้าใหญ่ที่ไม่ใช่สินค้าเพื่อการอุปโภคและบริโภค
- ไทวัสดุ (Thai Watsadu)
- บีเอ็นบี โฮม (BnB Home)
- โก! ว้าว
- เพาเวอร์บาย (Power Buy)
- โก! เพาเวอร์
- ออฟฟิศเมท (Office Mate)
- ออฟฟิศเมท พลัส (Office Mate Plus)
- บีทูเอส (B2S)
- บีทูเอส ธิงค์สเปซ (B2S Think Space)
- เหงียนคิม (Nguyen Kim)
- เมพ คอร์ปอเรชั่น (MEB)
- ออโต้วัน (Auto 1)
กลุ่มพร็อพเพอร์ตี้ (Property)
[แก้]- มาร์เก็ตเพลส วงศ์สว่าง
- ไชน่าเวิลด์ วังบูรพา
- เซ็นทรัล เอ็มบาสซี
- แพลตฟอร์ม วงเวียนใหญ่
- เซ็นทรัล: ดิ ออริจินัล สโตร์
- กลุ่มศูนย์การค้า โรบินสัน ไลฟ์สไตล์ และโก! ไลฟ์สไตล์
- โก! มอลล์ ประเทศเวียดนาม
โรงแรมและร้านอาหาร (Hospitality)
[แก้]กลุ่มเซ็นทรัลเป็นเจ้าของ และบริหารงานโรงแรม และอสังหาริมทรัพย์ในเมืองสำคัญต่าง ๆ ทั้งในประเทศไทย และต่างประเทศ ครอบคลุมตั้งแต่โรงแรมหรูระดับพรีเมียม ไปจนถึงโรงแรมราคาย่อมเยา ภายใต้แบรนด์เซ็นทารา รีเซิร์ฟ, เซ็นทารา แกรนด์, เซ็นทารา บูติก คอลเลกชั่น, เซ็นทารา, เซ็นทรา บาย เซ็นทารา และ โคซี่ ตลอดจนแบรนด์โรงแรมต่างชาติอย่าง พาร์ค ไฮแอท กรุงเทพฯ และฮิลตัน พัทยา นอกจากนี้กลุ่มเซ็นทรัลยังได้ร่วมลงทุนโรงแรมในเครือสเตย์แฟกทอรี โฮเทล กรุ๊ป ซึ่งเป็นเจ้าของโรงแรมในประเทศญี่ปุ่น ได้แก่ โรงแรมฮิลลารีส์, โรงแรมรีลีฟ และโรงแรมสตอร์ค
นอกจากนี้ กลุ่มเซ็นทรัลยังเป็นผู้นำด้านเชนร้านอาหารในประเทศไทยที่ประสบความสำเร็จ เป็นผู้บริหารจัดการแบรนด์ร้านอาหารมากมายที่มีชื่อเสียงทั้งในระดับท้องถิ่น ภูมิภาค และสากล อาทิ มิสเตอร์โดนัท, เคเอฟซี, อานตี้ แอนส์, เปปเปอร์ ลันช์, ชาบูตง, เดอะ เทอเรส, โยชิโนยะ, โอโตยะ, เทนยะ, คัดสึยะ, เฟซท์, สลัด แฟคทอรี่ และบราวน์
บริการด้านการเงินและฟินเทค (Financial Services & FinTech)
[แก้]ตามยุทธศาสตร์ “นิวเซ็นทรัล นิวอีโคโนมี” บริการด้านการเงิน และฟินเทคของกลุ่มเซ็นทรัล จะเพิ่มความสะดวกสบายให้กับวงการค้าปลีก ทั้งสำหรับร้านค้า และผู้บริโภค ตลอดจนส่งเสริมประเทศไทยให้ก้าวสู่การเป็นสังคมไร้เงินสดในอนาคต บริการด้านการเงินและฟินเทคภายใต้กลุ่มเซ็นทรัล ประกอบด้วย
- บัตรเครดิต ได้แก่ เซ็นทรัล เดอะวัน เครดิตการ์ด, สินเชื่อเพื่อการใช้จ่าย และสินเชื่อส่วนบุคคล
- ผลิตภัณฑ์และบริการด้านการชำระเงิน ได้แก่ บัตรของขวัญ, อีเพย์เมนต์ และอีวอลเล็ท
- บริการโบรคเกอร์ประกันภัย ได้แก่ ประกันรถยนต์, ประกันสุขภาพ, ประกันภัยส่วนบุคคล, ประกันวินาศภัย และ ประกันชีวิตกลุ่ม [4]
กิจกรรมเพื่อสังคม
[แก้]โครงการ "เซ็นทรัล ทำ" (Central Tham)
[แก้]โครงการเพื่อความยั่งยืนของ กลุ่มเซ็นทรัล ดำเนินงานโดยมุ่งเน้นการลดความเหลื่อมลํ้า ให้โอกาสทุกคนในสังคมด้วยการ พัฒนาด้านการศึกษาสู่การเป็นศูนย์การเรียนรู้ ส่งเสริมอาชีพคนพิการ ควบคู่ไปกับการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชน สร้างอาชีพ สร้างรายได้ให้มั่นคง แบ่งปันความรู้ทักษะต่าง ๆ สนับสนุนช่องทางการสื่อสารทางการตลาด พร้อมกับการรักษาและดูแลสิ่งแวดล้อม มุ่งสู่โลกสีเขียว ขับเคลื่อนทุกภาคส่วนสู่การท่องเที่ยวยั่งยืน โดยมีโครงการที่น่าสนใจ ได้แก่
จริงใจ มาร์เก็ต จ. เชียงใหม่
[แก้]จริงใจ มาร์เก็ต จ.เชียงใหม่ ถือเป็นหนึ่งในโครงการแห่งความจริงใจและใส่ใจในเครือกลุ่มเซ็นทรัล ที่อยู่ภายใต้ เซ็นทรัล ทำ ได้เริ่มต้นตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2555 สร้างขึ้นภายใต้แนวคิดรักษ์โลก และ CSV (Creating Shared Values) รวมพื้นที่ทั้งหมดมากกว่า 28 ไร่ โดยภายในตลาดแบ่งออกเป็น 3 ส่วน ได้แก่ อาหาร, ศิลปะและงานออกแบบ, งานฝีมือ และยังมีร้าน Tops Green สโตร์สีเขียวแห่งแรก รวมไปถึงร้าน Good Goods สินค้าภูมิปัญญาท้องถิ่น เป็นผลิตภัณฑ์แบรนด์ไทยที่ผ่านการพัฒนาคุณภาพและออกแบบให้มีความร่วมสมัยที่เน้นสร้างความสุขอย่างยั่งยืนทั้งแก่ผู้คนในชุมชน และนักท่องเที่ยว
ศูนย์การเรียนรู้ชุมชนผ้าทอนาหมื่นศรี จ. ตรัง
[แก้]กลุ่มเซ็นทรัลให้การสนับสนุนก่อสร้าง “พิพิธภัณฑ์ผ้าทอนาหมื่นศรี” เพื่อรวบรวมผ้าทอมือโบราณที่มีประวัติยาวนานกว่า 200 ปี พร้อมทั้งสืบสานลายอัตลักษณ์โบราณ
ปัจจุบัน “ศูนย์การเรียนรู้ชุมชนผ้าทอนาหมื่นศรี” นับได้ว่าเป็นต้นแบบของศูนย์การเรียนรู้การอนุรักษ์เชิงวัฒนธรรม ในแต่ละเดือนจะมีหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและภาคเอกชน แวะเวียนไปดูงานอย่างสม่ำเสมอ และเพื่อให้นักท่องเที่ยวทราบแหล่งข้อมูลท่องเที่ยวในชุมชน ได้มีการจัดทำเส้นทางท่องเที่ยวและป้ายข้อมูล และอบรมความรู้เรื่องการท่องเที่ยวชุมชน ให้กับชุมชนเพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับต้อนรับนักท่องเที่ยว
ศูนย์การเรียนรู้พุทธนิเวศเกษตรอินทรีย์ ไร่เชิญตะวัน จ.เชียงราย
[แก้]เซ็นทรัล ทำ ร่วมมือกับพระเมธีวชิโรดม (ท่าน ว.วชิรเมธี) ผู้ก่อตั้งศูนย์วิปัสสนาสากลไร่เชิญตะวัน จังหวัดเชียงราย และภาคีเครือข่าย ต่อยอด โครงการพุทธนิเวศเกษตรอินทรีย์ ไร่เชิญตะวัน ผลักดันสู่ “ต้นแบบศูนย์การเรียนรู้ด้านนวัตกรรมการทำเกษตรอินทรีย์” เป็นแหล่งเรียนรู้สำหรับชาวไร่ชาวนาในการทำเกษตรแบบบริสุทธิ์ ปลอดสารเคมี และเน้นใช้เกษตรทฤษฎีใหม่ พัฒนาวิสาหกิจชุมชน เศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม เพื่อความยั่งยืน บนพื้นที่ 2 ไร่ เปิดสอนตั้งแต่ ปี 2556 มีทั้งหมด 13 รุ่น โดย เซ็นทรัล ทำ ตั้งเป้าในการพัฒนาพื้นที่เกษตรอินทรีย์เพิ่มเติม 13 ไร่ โดยแบ่งเป็นพื้นที่ปลูกไม้ผล พืชเศรษฐกิจ จำนวน 3 ไร่ และพื้นที่ปลูกผักสวนครัว สมุนไพรพื้นบ้าน จำนวน 10 ไร่
ชุมชนเกษตรอินทรีย์วิถีชีวิตยั่งยืนแม่ทา อ.แม่ออน จ.เชียงใหม่
[แก้]ร่วมกับ มูลนิธิสายใยแผ่นดิน และหน่วยงานมากมายในการส่งเสริมและสนับสนุนด้านต่าง ๆ ดำเนินโครงการพื้นที่วิถีชีวิตยั่งยืนแม่ทา เป็นโครงการต้นแบบ บนพื้นที่จำนวน 9 ไร่ ที่มุ่งหวังให้สมาชิกคนรุ่นใหม่รวมกลุ่มกันจัดสรรพื้นที่ให้เกิดประโยชน์ด้านต่าง ๆ และยังสนับสนุนโครงการพื้นที่ข่วงชีวิต วิถียั่งยืน
กาแฟรักษาป่า ภูชี้เดือน จ.เชียงราย
[แก้]การท่องเที่ยวชุมชนเชิงนิเวศ กาแฟอินทรีย์ รักษาป่า ภูชี้เดือน กาแฟอาราบิก้าออร์แกนิกบริสุทธิ์จากธรรมชาติ ปลูกด้วยความใส่ใจใต้ต้นไม้ที่เรารักษาไว้เพื่อร่มเงาที่เหมาะสม สำหรับการเติบโตของต้นกาแฟและเพื่อความยั่งยืนของสิ่งแวดล้อมกับชุมชน
เซ็นทรัล ทำ ได้เข้าไปส่งเสริมวิสาหกิจชุมชนกลุ่มกาแฟอินทรีย์รักษาป่าภูชี้เดือน จังหวัดเชียงราย สนับสนุนให้เกษตรกรในพื้นที่ภูชี้เดือนปรับเปลี่ยนวิธีการเพาะปลูกจากเกษตรแบบเชิงเดี่ยวและใช้สารเคมี มาเป็นการปลูกกาแฟสายพันธุ์อาราบิก้าแท้ โดยการคัดต้นพันธุ์แท้ ทริปปิก้า มัลเดอริ่ง จากต่างประเทศ มาปลูกในผืนป่าธรรมชาติบนพื้นที่ภูชี้เดือน เป็นการปลูกกาแฟรักษาป่ากว่า 1,500 ไร่
ชุมชนผ้าย้อมครามบ้านกุดจิก จ.สกลนคร
[แก้]ร่วมมือกับ กรมพัฒนาชุมชน เข้าไปสนับสนุนพัฒนากลุ่มทอผ้าบ้านกุดจิก โดยให้ความสำคัญกับความร่วมมือระหว่างชุมชนและองค์กร ร่วมกันหาจุดเด่น และเอกลักษณ์ ที่ทั้งฝ้ายและสีธรรมชาติ นั้นทำการปลูกเอง ครามก็ปลูกเอง ความสามารถที่แตกต่างของชุมชนนี้
ศูนย์การเรียนรู้พัฒนาผลผลิตการเกษตรและผลิตภัณฑ์ชุมชน บ้านเทพพนา อ.เทพสถิต จ.ชัยภูมิ
[แก้]ช่วยสร้างรายได้เพิ่มให้กับเกษตรกรในพื้นที่ ด้วยความตั้งใจที่จะปลูกพืชเศรษฐกิจ ผลผลิตหลักคือ อะโวคาโด พันธุ์แฮสส์ แมกซิโก ซึ่งเป็นสายพันธุ์ที่ดีที่สุดในโลก จุดเริ่มต้นจากการปลูกอะโวคาโด สายพันธุ์แฮสส์ สู่การทำเกษตรอย่างยั่งยืน ที่มีมูลค่าสูงและเป็นที่ต้องการของตลาดทั้งในประเทศ และต่างประเทศ และได้ทำการขยายผลเครือข่ายผู้ปลูกอะโวคาโด
ศูนย์การเรียนรู้พัฒนาชุมชนการศึกษาและการเกษตรกับผลิตภัณฑ์ชุมชน บ้านใหม่ฤทธิ์เจริญ อ.เมือง จ.กำแพงเพชร
ช่วยสร้างรายได้เสริมให้กับชาวบ้านเกษตรกร นักเรียน นักศึกษา ในพื้นที่ ด้วยความตั้งใจที่จะปลูกพืชเศรษฐกิจและทำเป็น หมู่บ้านเกษตรกรรมที่ยั่งยืน ผลผลิตหลัก คือ ข้าว พันธุ์ 41 และ 51 หอมมะลิ และ ไรซ์เบอรี่ รองลงมาคือ ข้าวโพด อ้อย และถั่ว ตามลำดับ จุดเริ่มต้นจากการปลูกข้าวสายพันธุ์ใหม่ ระหว่างหอมมะลิอินทรีย์ กับ ข้าวกล้องไรซ์เบอรี่ รวมเป็นพันธุ์ข้าวใหม่ ชื่อว่า พันธุ์ศรีเกษตร และยังมีการทำข้าวโพดหวานพันธุ์ ไทยมั่นคง
และมะม่วงที่ปลูกแล้วดัดแปลงพันธุกรรมเป็นมะม่วงสายพันธุ์ใหม่ขึ้น คือ มะม่วงประดิษฐ์ มีรสชาติ หวานอมเปรี้ยว เวลาสุกจะออกเป็นสีเหลืองอมม่วง รสชาติหวานมาก มีกลิ่นหอม เมื่อยามสุก โดยการคิดค้นขึ้นโดย คุณพ่อประดิษฐ์ รู้บุญ เกษตรกรผู้ทรงคุณวุฒิ ของตำบลคณฑี อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร ทำส่งขายออกสู่ตลาดโลก
โครงการ เซ็นทรัล ทำ ได้เข้าไปมีส่วนร่วมด้วยการ พัฒนาต่อยอดด้านท่องเที่ยวชุมชนเชิงวิถีเกษตรอินทรีย์ โดยจัดทำเส้นทางท่องเที่ยวร่วมกับสำนักงานท่องเที่ยวและกีฬา จ.กำแพงเพชร เพื่อรองรับนักท่องเที่ยวที่เพิ่มจำนวนมากขึ้นอย่างต่อเนื่องในทุกๆ ปี
อ้างอิง
[แก้]- ↑ เกี่ยวกับกลุ่มเซ็นทรัล
- ↑ CPN - Annual Report 2015
- ↑ "กลุ่มเซ็นทรัล ขยายค้าปลีกในยุโรป จับมือกองทุนซาอุ ซื้อหุ้น 'เซลฟริดเจส'". THE STANDARD. 2024-10-08.
- ↑ "บริการด้านการเงินและฟินเทค". www.centralgroup.com.
ดูเพิ่ม
[แก้]- รายชื่อศูนย์การค้าและห้างสรรพสินค้าของกลุ่มเซ็นทรัล
- รายชื่อห้างสรรพสินค้าในประเทศไทย
- ตระกูลจิราธิวัฒน์
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- Central Department store
- CPN - Property development & investment
- สาขาของเซ็นทรัลในปัจจุบัน เก็บถาวร 2005-04-09 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- เซ็นทรัลเวิลด์
- เซ็นทรัลพลาซา เก็บถาวร 2009-12-18 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- เซ็นทรัล เครดิตคาร์ด
- โครงการใหม่ล่าสุดของ CPN เก็บถาวร 2015-04-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน