ข้ามไปเนื้อหา

มนต์รักลูกทุ่ง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
มนต์รักลูกทุ่ง
กำกับรังสี ทัศนพยัคฆ์
เขียนบทมหศักดิ์ สารากร
บทภาพยนตร์มหศักดิ์ สารากร
อำนวยการสร้างรังสี ทัศนพยัคฆ์
นักแสดงนำ
กำกับภาพธีระ แอคะรัตน์
ตัดต่อพรรณรังษี
ดนตรีประกอบมหศักดิ์ สารากร
เพลงประกอบ
บริษัทผู้สร้าง
ผู้จัดจำหน่ายเสรีภาพยนตร์
วันฉาย15 พฤษภาคม พ.ศ. 2513
ความยาว146 นาที
ประเทศไทย
ภาษาไทย

มนต์รักลูกทุ่ง เป็นภาพยนตร์ไทยแนวเพลง-คอมเมดี-โรแมนติก ที่ออกฉายเมื่อปี พ.ศ. 2513 กำกับโดยรังสี ทัศนพยัคฆ์ นำแสดงโดยมิตร ชัยบัญชา และเพชรา เชาวราษฎร์ ประกอบด้วยเพลงลูกทุ่ง 14 เพลงที่ผสมผสานเข้ากับชีวิตชนบทในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย เรื่องราวความรักระหว่าง คล้าว หนุ่มชาวนา และ ทองกวาว หญิงสาวจากครอบครัวที่ร่ำรวย

ภาพยนตร์เข้าฉายวันที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2513 ภาพยนตร์ได้รับความนิยม เข้าฉายในโรงภาพยนตร์นานถึง 6 เดือน[1] และเป็นภาพยนตร์ไทย 1 ในจำนวน 25 เรื่องที่ได้ประกาศขึ้นทะเบียนมรดกภาพยนตร์ของชาติ ในปี พ.ศ. 2554[2]

ภาพยนตร์เรื่องนี้ได้รับการรีเมคโดยครูรังสีเมื่อปี 2525 แต่ไม่ประสบความสำเร็จ และในปี 2548 ก็ไม่ประสบความสำเร็จอีกเช่นเดียวกัน ถูกดัดแปลงเป็นละครยอดนิยมทางช่อง 7 ในปี 2538 นำแสดงโดยศรัณยู วงษ์กระจ่าง และณัฐริกา ธรรมปรีดานันท์[3] และถูกนำมาดัดแปลงเป็นภาพยนตร์และละครหลายครั้งเลยทีเดียว

เรื่องย่อ

[แก้]

คล้าว (มิตร ชัยบัญชา) หนุ่มชาวนาตกหลุมรัก ทองกวาว (เพชรา เชาวราษฎร์) ลูกสาวของทองก้อน (สมควร กระจ่างศาสตร์) และทับทิม (มนัส บุณยเกียรติ) เศรษฐีประจำหมู่บ้าน คล้าวบอกว่าถ้าเขาขายข้าวได้เขาจะขอทองกวาวแต่งงาน แต่ทองก้อนกับทับทิมไม่ชอบคล้าวเพราะว่าเขาจน

แต่ที่ดินของคล้าวถูกยึดเพราะเขาเป็นหนี้ จอม (สุวิน สว่างรัตน์) เศรษฐีอีกคนหนึ่งในหมู่บ้าน ขณะที่ทองกวาวถูกพ่อแม่ของเธอส่งไปอาศัยอยู่กับ ทองคำ (มาลี เวชประเสริฐ) ป้าของเธอที่กรุงเทพฯ พร้อมด้วยบุปผา (บุปผา สายชล) เพื่อนสนิทของเธอ

ทองกวาวได้รู้จักกับธรรมรักษ์ หลานของป้าทองคำ ซึ่งป้าทองคำหวังจะให้หลานทั้งคู่แต่งงานกัน เพื่อสมบัติจะได้ไม่ตกเป็นของคนอื่น คล้าวเศร้าโศกเสียใจที่น้ำท่วมทุ่งนาข้าวเสียหาย ได้พวกคอยปลอบ จึงบอกบุญเย็น (ไพรวัลย์ ลูกเพชร) ให้ตามหาทองกวาว บุญเย็นพบทองกวาวที่กรุงเทพและบอกเรื่องคล้าว ทองกวาวขอให้บุญเย็นบอกคล้าวว่าทองกวาวอยากให้คล้าวมาสู่ขอแต่พ่อแม่ของทองกวาวกลับเรียกค่าสินสอดสิบหมื่น

ธรรมรักษ์เสียการพนัน หวังจะหลอกเอาเงินป้าทองคำจึงทำเป็นชอบทองกวาว โดยให้เพื่อนชื่อ ธีระ หัวหน้าวงดนตรีมากันบุปผา ทั้งหมดเดินทางมาบ้านทองกวาว แต่ด้วยความคิดถึงทองกวาวรีบมาหาคล้าวกลับพบว่าคล้าวอยู่กับสายใจ ทำให้ทองกวาวเข้าใจผิด ทองกวาวจึงตกลงหมั้นกับธรรมรักษ์ แต่ธรรมรักษ์มีฤทัยเป็นภรรยาอยู่ บุญเย็นจึงพาฤทัยมาบ้านทองกวาว ธรรมรักษ์โกรธมาก บอกฤทัยเป็นนักร้องในวงธีระ ฤทัยแกล้งตีสนิทกับคล้าวเพื่อให้ธรรมรักษ์หึง แล้วป้าทองคำจึงไล่ธรรมรักษ์และเมียกลับไป

แต่ข่าวการหมั้นของทองกวาวกับธรรมรักษ์ที่ทองก้อนประกาศไปเข้าหูเสือทุม ได้จับตัวทองกวาวและป้าทองคำไปเรียกค่าไถ่ คล้าวและตำรวจตามไปช่วยไว้ทัน คล้าวกับพรรคพวกได้ช่วยเหลือทองกวาวและป้าทองคำให้พ้นจากคนร้าย ซึ่งทำให้พ่อทองก้อนและแม่ทับทิมไม่กล้าปฏิเสธ ทั้งคู่จึงได้แต่งงานกัน

นักแสดงหลัก

[แก้]

เพลงประกอบ

[แก้]
รายชื่อเพลง
ลำดับชื่อเพลงเนื้อเพลงขับร้องโดยยาว
1."มนต์รักลูกทุ่ง"ไพบูลย์ บุตรขันไพรวัลย์ ลูกเพชร 
2."สาวนาคอยคู่"สุรินทร์ ภาคสิริบุปผา สายชล 
3."อาลัย"ประดิษฐ์ อุตตะมังไพรวัลย์ ลูกเพชร 
4."หนุ่มพเนจร"สุรินทร์ ภาคสิริบรรจบ เจริญพร 
5."สิบหมื่น"สุริยา รุ่งตะวันเสน่ห์ เพชรบูรณ์ 
6."น้ำลงนกร้อง"ไพบูลย์ บุตรขันพรไพร เพชรดำเนิน 
7."นกร้องน้องช้ำ"ไพบูลย์ บุตรขันบุปผา สายชล 
8."น้อยใจรัก"ประดิษฐ์ อุตตะมังผ่องศรี วรนุช 
9."แม่ร้อยใจ"สมาน เมืองราชเสน่ห์ เพชรบูรณ์ 
10."น้ำตา น้ำตก"ธนันชัย โชคชัยบุปผา สายชล 
11."ใจเจ้าชู้"ประดิษฐ์ อุตตะมังบรรจบ เจริญพร 
12."รูปหล่อถมไป"ไพบูลย์ บุตรขันบุปผา สายชล 
13."รักร้าวหนาวลม"พงษ์ศักดิ์ จันทรุกขาบรรจบ เจริญพร 
14."รักลาอย่าเศร้า"พงษ์ศักดิ์ จันทรุกขาผ่องศรี วรนุช 

การสร้างใหม่

[แก้]

ละครโทรทัศน์

[แก้]

มีการนำกลับมาทำใหม่ในลักษณะละครโทรทัศน์ ในปี พ.ศ. 2538 ทางสถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7 โดย ดาราวิดีโอ ซึ่งมียอดผู้ชมมากมาย และเพลงประกอบละครก็ขายกันระเบิดเถิดเทิง ผู้ที่รับบท คล้าว กับ ทองกวาว คือ "ตั้ว" ศรัณยู วงษ์กระจ่าง กับ "น้ำผึ้ง" ณัฐริกา ธรรมปรีดานันท์ ซึ่งแจ้งเกิดได้อย่างสมใจ ส่วนแว่น กับ บุปผา คือ "เอ" อนันต์ บุนนาค กับ "ต้อม" รชนีกร พันธุ์มณี และได้เพิ่มตัวละครใหม่คือ เพชร

ต่อมาสถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7 ได้นำกลับมาสร้างใหม่ เมื่อ พ.ศ. 2548 โดย ดาราวิดีโอ ผู้รับบท คล้าว กับ ทองกวาว คือ "ป๋อ" ณัฐวุฒิ สกิดใจ กับ "กบ" สุวนันท์ คงยิ่ง ส่วนแว่น กับ บุปผา รับบทโดย "อู" ภาณุ สุวรรณโณ กับ "ยุ้ย" จีรนันท์ มะโนแจ่ม

ใน พ.ศ. 2553-2554 ทางสถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 ได้มีการนำกลับมาสร้างใหม่อีกครั้ง โดยมี "ปอ" ทฤษฎี สหวงษ์ และ "จ๊ะ" จิตตาภา แจ่มปฐม รับบทคู่พระนาง คล้าว กับ ทองกวาว ร่วมด้วย "กอล์ฟ" เบญจพล เชยอรุณ และ "ปุยฝ้าย" ณัฎฐพัชร์ วิภัทรเดชตระกูล ในบทแว่น กับ บุปผา

ในปี พ.ศ. 2567 ได้มีการนำนวนิยายสุดคลาสสิคเรื่องนี้มาปัดฝุ่นสร้างใหม่อีกครั้ง ออกอากาศทางช่อง 3 เอชดี โดยมี "มิว" ศุภศิษฏ์ จงชีวีวัฒน์ รับบท คล้าว และชาล็อต ออสติน รับบท ทองกวาว ร่วมด้วย "คิมม่อน" วโรดม เข็มมณฑา รับบท แว่น และ "เปา" กิ่งกาญจน์ ส่องสว่าง รับบท บุปผา[4]

ภาพยนตร์

[แก้]

รังสี ทัศนพยัคฆ์ ได้นำมนต์รักลูกทุ่งกลับมาสร้างใหม่ ออกฉายปี พ.ศ. 2525 สร้างโดย พูนทรัพย์โปรดักชั่น นำแสดงโดย ทูน หิรัญทรัพย์ และหทัยรัตน์ อมตวณิชย์[5] มีสายัณห์ จันทรวิบูลย์ เป็น ศรีไพร และ อำภา ภูษิต เป็น บุปผา ฉายครั้งแรกวันที่ 25 กันยายน 2525 ที่โรงภาพยนตร์โคลีเซียม-สเตลลา-ควีนส์-ออสการ์[6] แต่ก็ไม่ประสบความสำเร็จมากนัก

ต่อมาใน พ.ศ. 2548 ประสิทธิ์ วิจิตร์จินดา นำบทประพันธ์ มนต์รักลูกทุ่งมาสร้างเป็นภาพยนตร์อีกครั้ง [7] นำแสดงโดย นันทวัฒน์ อาศิรพจนกุล, ลักขณา วัธนวงส์ศิริ, ยิ่งยง ยอดบัวงาม, อาภาพร นครสวรรค์

ล่าสุดในปี พ.ศ. 2558 ปริภัณฑ์ วัชรานนท์ หรือ โต๊ะ พันธมิตร และสหมงคลฟิล์ม นำบทประพันธ์มนต์รักลูกทุ่งนำมาปัดฝุ่นสร้างเป็นภาพยนตร์ในชื่อ "มนต์เลิฟสิบหมื่น" ผู้ที่รับบท คล้าว กับ ทองกวาว คือ "นิว" ชัยพล จูเลี่ยน พูพาร์ต และ "แพรว" เฌอมาวีร์ สุวรรณภาณุโชค คู่พระนางจากมิวสิกวิดีโอเพลงภูมิแพ้กรุงเทพ และมีทีมนักพากย์พันธมิตร ร่วมแสดงด้วย เข้าฉายเมื่อ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

อนึ่ง รังสี ทัศนพยัคฆ์ เคยสร้างมนต์รักลูกทุ่งเป็นภาคต่อมาแล้ว ในชื่อ "จะกู่รักกอดน้องให้ก้องโลก" โดยเป็นเรื่องราวที่เกิดขึ้นอีก 20 ปีให้หลัง โดยใช้เพลงลูกทุ่งยอดฮิตเป็นส่วนสร้างอารมณ์เหมือนในมนต์รักลูกทุ่ง[8] ออกฉายในปี พ.ศ. 2535 นำแสดงโดย สันติสุข พรหมศิริ, จินตหรา สุขพัฒน์[9]

ละครเวที

[แก้]

ในปี พ.ศ. 2566 มีการนำมนต์รักลูกทุ่งมาสร้างเป็นละครเวทีเป็นครั้งแรก ในชื่อ มนต์รักลูกทุ่ง ทองกวาว เดอะมิวสิคัล ผลิตโดย บริษัท เวิร์คพอยท์ เอ็นเทอร์เทนเมนท์ จำกัด (มหาชน) จัดแสดงที่ โรงละครเคแบงก์สยามพิฆเนศ ชั้น 7 ศูนย์การค้าสยามสแควร์วัน ถนนพระรามที่ 1 แขวงปทุมวัน เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร ในวันที่ 2, 3 และ 9 - 11 ธันวาคม นำแสดงโดย เปาวลี พรพิมล, กิตติธัช แก้วอุทัย และ โย่ง เชิญยิ้ม (ต่อตระกูล จันทิมา แสดงแทนโย่ง เชิญยิ้ม ในบท พ่อทองก้อน) เขียนบทละครเวทีโดย วิชญ์วิสิฐ หิรัญวงษ์กุล กำกับการแสดงโดย นัฐพงศ์ วงษ์กวีไพโรจน์[10]

นักแสดงในครั้งต่าง ๆ

[แก้]
ปี พ.ศ. 2513 พ.ศ. 2525 พ.ศ. 2538 พ.ศ. 2548 พ.ศ. 2553-54 พ.ศ. 2558 พ.ศ. 2566 พ.ศ. 2567
ชื่อเรื่อง มนต์รักลูกทุ่ง มนต์เลิฟสิบหมื่น มนต์รักลูกทุ่ง
ทองกวาว เดอะ มิวสิคัล
มนต์รักลูกทุ่ง
รูปแบบการนำเสนอ ภาพยนตร์ ละครโทรทัศน์ ช่อง 7 ภาพยนตร์ ละครโทรทัศน์ ช่อง 3 ภาพยนตร์ ละครเวที เคแบงก์สยามพิฆเนศ ละครโทรทัศน์ ช่อง 3 เอชดี
ผู้สร้าง รังสี ทัศนพยัคฆ์ พูนทรัพย์โปรดักชั่น ดาราวิดีโอ ประสิทธิ์ วิจิตรจินดา
พี.เค.โปรดักชั่น
กอบสุข จารุจินดา สหมงคลฟิล์ม เวิร์คพอยท์ วโรดม ศิริสุข
บทการแสดง มหศักดิ์ สารากร มหศักดิ์ สารากร ยรรยง ตีกั่ว รวงข้าวเริงร่า ธันทวัช ยิ่งยศ ปัญญา ปริภัณฑ์ วัชรานนท์ วิชญ์วิสิฐ หิรัญวงษ์กุล วรวรรณ ชัยสกุลสุรินทร์
ผู้กำกับ รังสี ทัศนพยัคฆ์ รังสี ทัศนพยัคฆ์ สยาม สังวริบุตร
สำรวย รักชาติ
สำรวย รักชาติ ชาคริต พานิชกุล ณรงค์ จารุจินดา ปริภัณฑ์ วัชรานนท์ นัฐพงศ์ วงษ์กวีไพโรจน์ สำรวย รักชาติ
ตัวละคร
ไอ้คล้าว มิตร ชัยบัญชา ทูน หิรัญทรัพย์ ศรัณยู วงษ์กระจ่าง ณัฐวุฒิ สกิดใจ นันทวัฒน์ อาศิรพจนกุล ทฤษฎี สหวงษ์ ชัยพล จูเลียน พูพาร์ต กิตติธัช แก้วอุทัย ศุภศิษฏ์ จงชีวีวัฒน์
ทองกวาว เพชรา เชาวราษฎร์ หทัยรัตน์ อมตวณิชย์ ณัฐริกา ธรรมปรีดานันท์ สุวนันท์ คงยิ่ง ลักขณา วัธนวงส์ศิริ จิตตาภา แจ่มปฐม เฌอมาวีร์ สุวรรณภาณุโชค เปาวลี พรพิมล ชาล็อต ออสติน
ไอ้แว่น ศรีไพร ใจพระ สายัณห์ จันทรวิบูลย์ อนันต์ บุนนาค ภาณุ สุวรรณโณ ยิ่งยง ยอดบัวงาม เบญจพล เชยอรุณ แจ๊ส ชวนชื่น วงศธร สมศรี วโรดม เข็มมณฑา
บุปผา บุปผา สายชล อำภา ภูษิต รชนีกร พันธุ์มณี จีรนันท์ มะโนแจ่ม อาภาพร นครสวรรค์ ณัฎฐพัชร์ วิภัทรเดชตระกูล ชญาภา พงศ์สุภาชาคริต เขมจิรา วงษ์ทอง กิ่งกาญจน์ ส่องสว่าง
สายใจ สุมาลี ทองหล่อ ธิติมา สังขพิทักษ์ สุวัจนี ไชยมุสิก พรทิพย์ วงศ์กิจจานนท์ ไอริน จินดา เมย์ เฟื่องอารมย์ ปภาวริญจ์ กำจรเกียรติสกุล ปิ่นทิพย์ อรชร
เจิด แมน ธีระพล จีรศักดิ์ อิศรางกูร ฉัตรมงคล บำเพ็ญ กรรชัย กำเนิดพลอย อดิเทพ ชดช้อย วรฤทธิ์ เฟื่องอารมย์ พงศ์สิรี บรรลือวงศ์ เฉลิมรัฐ จุลโลบล โตนนท์ วงบุญ
ดวงใจ น้ำเพ็ญ จิระจันทร์ รัตนาวดี พยุง รุ่งรัตน์ ดวงขวัญ ชมพูนุช ปิยธรรมชัย ดาว มยุรี ลลิน ธนะภูมิ ลลิฉัตร์ วราวิโรจน์พล
จอม สุวิน สว่างรัตน์ สมภพ เบญจาธิกุล ดามพ์ ดัสกร กลศ อัทธเสรี กรุง ศรีวิไล สันติสุข พรหมศิริ ต่อตระกูล จันทิมา จตุรงค์ โกลิมาศ
แม่คอน สมจิตต์ ทรัพย์สำรวย วิไลวรรณ วัฒนพานิช น้ำเงิน บุญหนัก ดวงดาว จารุจินดา ธัญญรัตน์ โลหะนันท์ ชุดาภา จันทเขตต์ ชนิตสิรี สุทธิเกษม สายธาร นิยมการณ์
เชน บรรจบ เจริญพร พยัคฆ์ รามวาทิน สันติ ดวงสว่าง ตวงสิทธิ์ เรียมจินดา บอย ภักดีสมัย โกสินทร์ ราชกรม
ทองก้อน สมควร กระจ่างศาสตร์ ม.ล.รุจิรา อิศรางกูร พนม นพพร พนม นพพร ไพโรจน์ ใจสิงห์ อนันต์ บุนนาค ประกาศิต โบสุวรรณ โย่ง เชิญยิ้ม
ต่อตระกูล จันทิมา
ธนพล สัมมาพรต
ทับทิม มนัส บุญเกียรติ จันตรี สาริกบุตร วาสนา สิทธิเวช ปิยะดา เพ็ญจินดา ดวงชีวัน โกมลเสน จินตหรา สุขพัฒน์ เพ็ญนีติ์ ศศิธนาโสภณ ชลดา ละงู รชนีกร พันธุ์มณี
หมู่น้อย ประจวบ ฤกษ์ยามดี นิรุตติ์ ศิริจรรยา ปริญญ์ วิกรานต์ ทรงวุฒิ ศรีเชิดชูธรรม เจี๊ยบ เชิญยิ้ม สราวุฒิ พุ่มทอง ชลพิพรรธน์ ชูแสง นรากร กันจันทึก
ธรรมรักษ์ ชุมพร เทพพิทักษ์ ภูมิ พัฒนายุทธ ทนงศักดิ์ ศุภการ ชัยลดล โชควัฒนา โอลิเวอร์ บีเวอร์ ศรัณยู ประชากริช พุฒิพงษ์ จีรังกุลฤทธิ์ วรรณเสริม ศรีสมบัติ
ธีระ ฤทธี นฤบาล ธงชัย ประสงค์สันติ สุทธิพงษ์ วัฒนจัง สุรเดช ทับทิมใส ภุชงค์ โยธาพิทักษ์ กิตติคุณ คำเพราะ
ฤทัย มิส อันฮวา เสน่หา หอทิพย์ ชโลมจิต จันทร์เกตุ พิมพ์พร จงอุทัยไพศาล ทอฝัน จิตธาราทิต ปิยะดา ตุรงคกุล ณิชกานต์ แก้วอินธิ สรัลพร ธนินกุลนาถ
ป้าทองคำ มาลี เวชประเสริฐ มารศรี อิศรางกูร พิราวรรณ ประสพศาสตร์ น้ำเงิน บุญหนัก อรสา พรหมประทาน อัญชุลีอร บัวแก้ว วิมลพันธ์ ชาลีจังหาญ
มิ่ง เชาว์ แคล่วคล่อง บุญส่ง เคหะทัต สมสกุล ยงประยูร พอเจตน์ แก่นเพชร แดน บุรีรัมย์ เป็ด เชิญยิ้ม
หมึก อดินันท์ สิงห์หิรัญ หมู บางซื่อ โยกเยก เชิญยิ้ม ตูมตาม เชิญยิ้ม เอกพันธ์ บรรลือฤทธิ์ เกรียงศักดิ์ เหรียญทอง
บุญเย็น / บุญยืน ไพรวัลย์ ลูกเพชร ยอดรัก สลักใจ สุรบดินทร์ สมบัติเจริญ เอกราช สุวรรณภูมิ เอกชัย ศรีวิชัย สนธยา ชิตมณี

อ้างอิง

[แก้]
  1. Cummings, Joe. "E-MAGAZINE: Thai Film at a Turning Point". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-07-11. สืบค้นเมื่อ 2007-08-09.
  2. สูจิบัตรทะเบียนมรดกภาพยนตร์ของชาติ ครั้งที่ 1
  3. "Bangkok's Independent Newspaper". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-09-29. สืบค้นเมื่อ 2023-10-15.
  4. มิว ศุภศิษฏ์-ชาล็อต ออสติน ฟิตติ้งละคร มนต์รักลูกทุ่ง2567
  5. "มนต์รักลูกทุ่ง". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-01-26. สืบค้นเมื่อ 2013-01-26.
  6. มนต์รักลูกทุ่ง (2525 ทูน-ฤทัยรัตน์) โดย มนัส กิ่งจันทร์
  7. มนต์รักลูกทุ่ง : Sound From The Field of Love
  8. "จะกู่รักกอดน้องให้ก้องโลก". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-03-10. สืบค้นเมื่อ 2013-03-10.
  9. จะกู่รัก..กอดน้องให้ก้องโลก (2535 สันติสุข-จินตหรา)
  10. "สกู๊ปพิเศษ : "สิบหมื่น" ขลัง! เพลงครองใจผู้สร้าง "มนต์รักลูกทุ่ง" ทุกเวอร์ชั่นต้องมี (มีคลิป)". ผู้จัดการออนไลน์. 7 ธันวาคม 2023. สืบค้นเมื่อ 26 ธันวาคม 2023.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]