แหวนทองเหลือง
แหวนทองเหลือง | |
---|---|
กำกับ | พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอนุสรมงคลการ |
เขียนบท | พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอนุสรมงคลการ บุษบง นารถสุดา |
อำนวยการสร้าง | หม่อมอุบล ยุคล ณ อยุธยา |
นักแสดงนำ | พ.ศ. 2516 ไชยา สุริยัน นัยนา ชีวานันท์ อดุลย์ ดุลยรัตน์ เยาวเรศ นิสากร เชาว์ แคล่วคล่อง มารศรี อิศรางกูร ณ อยุธยา จุรี โอศิริ สุคนธ์ คิ้วเหลี่ยม เมืองเริง ปัทมินทร์ สมพล กงสุวรรณ เสถียร ธรรมเจริญ ชูศรี มีสมมนต์ ภาณุวัฒน์ มังคลารัตน์ เขมิกา กุญชร ณ อยุธยา พ.ศ. 2547 พงษ์พัฒน์ วชิรบรรจง กมลชนก โกมลฐิติ ปกรณ์ พรพิสุทธิ์ วรุฒ วรธรรม เขตต์ ฐานทัพ จีรนันท์ มะโนแจ่ม เอกพันธ์ บรรลือฤทธิ์ สะอาด เปี่ยมพงษ์สานต์ สุภาภรณ์ คำนวณศิลป์ กชกร นิมากรณ์ |
บริษัทผู้สร้าง | ละโว้ภาพยนตร์ |
วันฉาย | 28 ธันวาคม พ.ศ. 2516 |
ประเทศ | ไทย |
ภาษา | ไทย |
แหวนทองเหลือง | |
---|---|
ประเภท | พีเรียด-ดราม่า |
สร้างโดย | 2529 : ดาราวิดีโอ 2538 : ณัฐเดช เอนเตอร์เทนเม้นท์ 2547 : ดีด้า วิดีโอ โปรดักชั่น 2558 : ศรีคำรุ้ง โปรดักชั่น |
เขียนโดย | พระนิพนธ์ : พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอนุสรมงคลการ |
แสดงนำ | พ.ศ. 2529 อภิชาติ หาลำเจียก นาถยา แดงบุหงา พ.ศ. 2538 ไพโรจน์ สังวริบุตร อภิรดี ภวภูตานนท์ พ.ศ. 2547 พงษ์พัฒน์ วชิรบรรจง กมลชนก โกมลฐิติ พ.ศ. 2558 วันชนะ สวัสดี สาวิกา ไชยเดช |
ดนตรีแก่นเรื่องเปิด | หัวใจรอเธอ - ฝ้าย แอมไฟน์ |
ดนตรีแก่นเรื่องปิด | หัวใจรอเธอ - ฝ้าย แอมไฟน์ |
จำนวนตอน | พ.ศ. 2558 : 28 ตอน |
การผลิต | |
ความยาวตอน | พ.ศ. 2558 : 60 นาที/ตอน |
ออกอากาศ | |
เครือข่าย | พ.ศ. 2529 : ช่อง 7 พ.ศ. 2538 : ช่อง UTV พ.ศ. 2547 : ช่อง 7 พ.ศ. 2558 : ช่อง 8 |
แหวนทองเหลือง เป็นพระนิพนธ์ในพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอนุสรมงคลการ ถูกนำมาสร้างเป็นภาพยนตร์และละครโทรทัศน์แล้วอีก 4 ครั้ง
โดยครั้งแรกในรูปแบบภาพยนตร์ในปี พ.ศ. 2516 สร้างโดย ละโว้ภาพยนตร์ โดยพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอนุสรมงคลการ ทรงกำกับการแสดง นำแสดงโดย ไชยา สุริยัน, นัยนา ชีวานันท์, เยาวเรศ นิสากร, อดุลย์ ดุลยรัตน์, เชาว์ แคล่วคล่อง ใช้เวลาสร้างประมาณ 2 ปีเศษและนำออกฉายครั้งแรกเมื่อวันที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2516 ที่โรงหนังเฉลิมเขตร์ [1]
และต่อมาถูกนำมาสร้างเป็นละครครั้งแรกในปี พ.ศ. 2529 ทางช่อง 7 ผลิตโดย ดาราวิดีโอ นำแสดงโดย อภิชาติ หาลำเจียก, นาท ภูวนัย, อัศวิน รัตนประชา, นาถยา แดงบุหงา, เยาวเรศ นิสากร, เกษศริน พูลลาภ, คมสัน สุริยา ออกอากาศทุกวันศุกร์-เสาร์ เมื่อวันที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2529 - 4 มกราคม พ.ศ. 2530 โดยทางช่อง 7 มีการปรับผังใหม่เป็น ศุกร์-เสาร์-อาทิตย์ เริ่มวันอาทิตย์ที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2530 เสนอเป็นตอนอวสานพอดี
ครั้งที่ 2 ในปี พ.ศ. 2538 ทางช่อง UTV ผลิตโดย ณัฐเดช เอนเตอร์เทนเม้นท์ นำแสดงโดย ไพโรจน์ สังวริบุตร, อภิรดี ภวภูตานนท์, ภานุเดช วัฒนสุชาติ, ตฤณ เศรษฐโชค, รัญญา ศิยานนท์, ไมเคิล พูพาร์ท
ครั้งที่ 3 ในปี พ.ศ. 2547 ทางช่อง 7 ผลิตโดย ดีด้า วิดีโอ โปรดักชั่น นำแสดงโดย พงษ์พัฒน์ วชิรบรรจง, กมลชนก โกมลฐิติ, เขตต์ ฐานทัพ และ จีรนันท์ มะโนแจ่ม ออกอากาศทุกวัน เวลา 18.30 - 19.25 น. เมื่อวันที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2547 - 23 เมษายน พ.ศ. 2547 [2]
และครั้งที่ 4 ในปี พ.ศ. 2558 ทางสถานีโทรทัศน์ช่อง 8 ผลิตโดย บริษัท ศรีคำรุ้ง โปรดักชั่น จำกัด กำกับการแสดงโดย จิระวดี อิศรางกูร ณ อยุธยา บทโทรทัศน์โดย นิติกร นำแสดงโดย วันชนะ สวัสดี, สาวิกา ไชยเดช, จิระ ด่านบวรเกียรติ และ ษริกา สารทศิลป์ศุภา ออกอากาศทุกวันจันทร์-อังคาร เวลา 08.00 - 09.00 น. และออกอากาศรีรันให้ชมอีกครั้งในเวลา 12.30 - 13.30 น. , 19.50 - 20.50 น. , เวลา 01.15 - 02.15 น. เริ่มตอนแรกวันที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2558 [3]
เรื่องย่อ
[แก้]กฤษฎา ดำรงค์พร กับญาติ ๆ เดินทางไปเที่ยวดอยติ โดยมีกำนันปานพ่อของ ดวงใจ คุ้มเกิด เป็นคนต้อนรับขับสู้ และแล้วความรักของกฤษฎากับดวงใจก็เกิดขึ้นที่ดอยติถึงขั้นได้เสียกัน โดยกฤษฎาสัญญาว่า จะไปขอดวงใจกับพ่อกำนัน แต่ว่าพอวันรุ่งขึ้นกฤษฎาก็ได้รับโทรเลขด่วนให้เดินทางกลับกรุงเทพฯ จึงไม่ได้พูดจากเรื่องแต่งงานกันกับพ่อกำนัน แต่กฤษฎาได้มอบล๊อตเก็ตต้นตระกูลให้ดวงใจไว้เป็นประกันความรัก ส่วนดวงใจนั้นก็มีเพียง แหวนทองเหลือง ไร้ราคามอบให้กฤษฎาสวมไว้ โดยกฤษฎาบอกว่า หากเห็นแหวนทองเหลืองที่นิ้ว ก็หมายว่าหัวใจเขามีดวงใจเพียงคนเดียว
ต่อมาพ่อกำนันรู้เรื่องว่าดวงใจท้องกับกฤษฎาก็โกรธแต่ก็ไม่อาจจะไปสู้หน้าท่านเจ้าคุณ พ่อของกฤษฎาผู้มีพระคุณไม่จึงจับดวงใจขังไว้ในบ้านและจะให้แต่งงานกับผู้มีอันจะกินของหมู่บ้านแทน พอถึงวันแต่งงาน ดวงใจซึ่งถูกมัดล่ามโซ่ไว้ ก็เชือดส้นเท้าตัวเองรูดโซ่ออก กระโดดหน้าต่างหนีไปเพราะรักมั่นในกฤษฎาคนเดียวเท่านั้นระหว่างทางก็แลกชุดแต่งงานกับชุดของชาวบ้านที่กำลังท้องและเพราะไม่มีเงินติดตัวมาเลยก็เลยเดินทางตามทางรถไฟมุ่งหน้าจะไปหากฤษฎาคนรักที่กรุงเทพฯ ระหว่างเดินทางนั้น ดวงใจก็เป็นลมหมดสติ ก็มีนายแพทย์รถไฟเขต ที่นั่งรถโยกมาตรวจสุขภาพเจ้าพนักงานกรมรถไฟที่ชื่อ เมตตา มาพบเข้าและพาไปทำคลอด ออกลูกเป็นผู้หญิงและเมื่อรู้ว่า ดวงใจจะไปตามหากฤษฎาที่กรุงเทพฯ ก็เลยอาสาพาไปด้วย
ดวงใจมาพักอาศัยกับนายแพทย์เมตตาซึ่งขณะนั้นกรุงเทพฯ ก็กำลังเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 พอดี ดวงใจตามหากฤษฎานานถึง 3 ปี แต่ก็ไม่พบตัว กระทั่งทราบจากคนรับใช้เก่าแก่ว่า พอกฤษฎากลับมาถึงกรุงเทพฯ ท่านเจ้าคุณพ่อก็สิ้นใจและทิ้งหนี้สินไว้มากมายจนถึงขั้นฟ้องล้มละลาย ส่วนกฤษฎาก็หายสาบสูญไป ไม่มีใครรู้ว่าอยู่ที่ไหน เมื่อดวงใจรู้ความจริง ก็เสียใจและกลับไปบอกนายแพทย์เมตตา นายแพทย์ซึ่งแอบรักแอบสงสารดวงใจอยู่ก่อนแล้ว ก็เลยเอ่ยปาก ขอแต่งงานกับดวงใจเอง แต่ดวงใจก็ปฏิเสธเพราะรักยังมั่นในตัวกฤษฎาคนเดียวเช่นเดิมจึงพาลูกน้อยหลบหนีจากไปและไปเป็นขอทานหาเลี้ยงลูกน้อย กระทั่งแม่เล้ามาพบก็ชักชวนให้ไปเป็นหญิงโสเภณี แต่ดวงใจก็ไม่ยอม แม่เล้าจึงยกพวกมารุมข่มขืน ดวงใจเมื่อไม่อาจรักษาความบริสุทธิ์ไว้รอกฤษฎาคนเดียวได้ จึงจำยอมต้องเป็นหญิงโสเภณีโดยนำลูกสาวกลับไปฝากนายแพทย์เมตตาให้เลี้ยงดูแทน
ต่อมาซ่องโสเภณีถูกเครื่องบินทิ้งระเบิดตายหมด คงเหลือแต่ดวงใจจึงถูกนายทหารญี่ปุ่นชื่อ นาตาเบ นำไปเลี้ยงดูเป็นเมียเช่า แต่เมื่อสงครามโลกสิ้นสุดลง นายทหารญี่ปุ่นก็ต้องเดินทางกลับและเกิดเรืออับปาง ทำให้ดวงใจไม่มีเงินจ่ายค่าเช่าบ้านจนต้องยกเฟอร์นิเจอร์ในบ้านใช้หนี้ทำให้ค้นพบว่าในห้องใต้ถุนมีทองคำจำนวนมากที่นายทหารญี่ปุ่นยักยอกเอาไว้ ดวงใจจึงกลายเป็นเศรษฐีนีใหม่และเปลี่ยนชื่อเป็น หทัยทิพย์ เกิดนพคุณ โดยได้อุปโลกน์หญิงรับใช้คือ เสาวรศ ที่กอดคอดูแลกันมาเป็นพี่สาวและเปิดบริษัทใหญ่โต
ช่วงที่ดวงใจเป็นเศรษฐีนี้เอง สิ่งที่ดวงใจตามหามาตลอดชีวิตก็ปรากฏขึ้น ขณะที่เธอนั่งรถเก๋งคันโตมาทำงาน เผอิญรถไปเชี่ยวชนกับชายคนหนึ่งล้มลง เมื่อคนรถลงไปดู ชายคนนั้นก็รีบบอกว่าไม่เป็นอะไร แล้วจะหันไปขอโทษเจ้าของรถที่ตัวเองเดินไม่ดูตาม้าตาเรือ ดวงใจถึงกับตะลึงเพราะชายคนคือ กฤษฎา คนที่เธอรักและตามหานั่นเอง เธออุทานเบา ๆ คุณกฤษฎา สีหน้า แววตา ดูอิ่มเอิบเปี่ยมไปด้วยความสุขเมื่อมองไปเห็นแหวนทองเหลืองของเธอยังคงสวมอยู่ที่นิ้วมือของกฤษฎา แต่กฤษฎานั่นเล่ากลับจดจำเธอไม่ได้เลย
เธอไปถึงที่ทำงาน ก็รีบไปบอกเรื่องนี้ให้เสาวรศฟัง และจะหาทางมาพบกฤษฎาให้ได้เพื่อถามหาความจริง กฤษฎาถูกเชิญให้มาทำงานที่บริษัทของดวงใจ และเมื่อมีโอกาสอยู่ตามลำพัง ดวงใจก็พยายามเลียบเคียงถามถึงเรื่องคนรักของกฤษฎา กฤษฎาก็เล่าบอกแบบไม่ปิดบัง เขาบอกว่าความจริงว่า เขาเคยมีภรรยาแล้วชื่อ ดวงใจ เป็นสาวงามแห่งดอยติ รักเรากันมาก แต่ที่ไม่ได้อยู่ด้วยกันก็เพราะเขาไปเป็นเสรีไทยต่อต้านญี่ปุ่นแล้วถูกจับ กระทั่งพ้นโทษออกมา จึงไปตามหาดวงใจที่ดอยติ ก็ทราบความจริงจากพ่อกำนันว่า ดวงใจตายแล้ว เขาก็เลยเดินทางกลับกรุงเทพฯ แล้วมาถูกรถเฉี่ยวชน
นักแสดงนำ
[แก้]รางวัล
[แก้]- ละครโทรทัศน์ปี พ.ศ. 2529
งานประกาศผลรางวัล | รางวัล | ผู้เข้าชิง | ผลรางวัล | หมายเหตุ |
---|---|---|---|---|
รางวัลโทรทัศน์ทองคำ ครั้งที่ 1 | ดาราสนับสนุนหญิงดีเด่น | เยาวเรศ นิสากร | เสนอชื่อเข้าชิง | |
รางวัลเมขลา ครั้งที่ 6 | ผู้แสดงสนับสนุนหญิงดีเด่น | เยาวเรศ นิสากร | ชนะ | |
ผู้แสดงนำหญิงดีเด่น | นาถยา แดงบุหงา | ชนะ |
- ละครโทรทัศน์ปี พ.ศ. 2547
งานประกาศผลรางวัล | รางวัล | ผู้เข้าชิง | ผลรางวัล | หมายเหตุ |
---|---|---|---|---|
คมชัดลึก อวอร์ด ครั้งที่ 2 | นักแสดงนำหญิงยอดเยี่ยม | กมลชนก โกมลฐิติ | เสนอชื่อเข้าชิง |
อ้างอิง
[แก้]- ละครโทรทัศน์ แหวนทองเหลือง (พ.ศ. 2547) : Sanook
- แหวนทองเหลือง (2558) ที่สยามโซน
- : Waen Thonglueang 2015
- ↑ "แหวนทองเหลือง (2516 ไชยา-นัยนา)". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2015-02-20.
- ↑ ละครโทรทัศน์ แหวนทองเหลือง (2547)
- ↑ ช่อง 8 ลั่นฆ้องบวงสรวง “แหวนทองเหลือง”[ลิงก์เสีย]
ลำดับรายการโทรทัศน์
[แก้]สถานีโทรทัศน์ช่อง 8: ละครวันจันทร์ - วันอังคาร 08:00 - 09:00 | ||
---|---|---|
ก่อนหน้า | แหวนทองเหลือง | ถัดไป |
เมียเถื่อน | เพลิงพ่าย |
- ภาพยนตร์ไทย
- ภาพยนตร์ไทยที่ออกฉายในปี พ.ศ. 2516
- ภาพยนตร์ที่กำกับโดย พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอนุสรมงคลการ
- ละครโทรทัศน์ไทย
- ละครโทรทัศน์ช่อง 8
- ละครโทรทัศน์ช่อง 7
- จังหวัดลำพูนในบันเทิงคดี
- ละครโทรทัศน์ไทยในปี พ.ศ. 2529
- ละครโทรทัศน์ไทยในปี พ.ศ. 2538
- ละครโทรทัศน์ไทยในปี พ.ศ. 2547
- ละครโทรทัศน์ไทยในปี พ.ศ. 2558
- ละครโทรทัศน์โดยดาราวิดีโอ
- ละครโทรทัศน์โดยดีด้า
- ละครโทรทัศน์ที่กำกับโดย มานพ สัมมาบัติ
- ละครโทรทัศน์ที่กำกับโดย ไพโรจน์ สังวริบุตร
- ละครโทรทัศน์ที่กำกับโดย รุจน์ รณภพ
- ละครโทรทัศน์ที่กำกับโดย จิระวดี อิศรางกูร ณ อยุธยา
- ภาพยนตร์ไทยในคริสต์ทศวรรษ 1970
- ละครโทรทัศน์ไทยในคริสต์ทศวรรษ 1980
- ละครโทรทัศน์ไทยในคริสต์ทศวรรษ 1990
- ละครโทรทัศน์ไทยในคริสต์ทศวรรษ 2000
- ละครโทรทัศน์ไทยในคริสต์ทศวรรษ 2010