เสน่ห์บางกอก
เสน่ห์บางกอก | |
---|---|
กำกับ | วิจิตร คุณาวุฒิ |
เขียนบท | วิจิตร คุณาวุฒิ |
เนื้อเรื่อง | อาจินต์ ปัญจพรรค์ |
อำนวยการสร้าง | ทองปอนด์ คุณาวุฒิ |
นักแสดงนำ | พร ภิรมย์ ภาวนา ชนะจิต พยงค์ มุกดา ปทุมทิพย์ บัวตะมะ โกมินทร์ นิลวงษ์ ชวนพิศ ชวนชื่น เพชร พนมรุ้ง สมานมิตร เกิดกำแพง ขุนแผน ลูกปราจีน ชัยชนะ บุญนะโชติ วินัย แก้วส่งศรี จิราวรรณ รุทธศิริ กุญชร สุขนิพันธ์ เด๋อ ดอกมะเดื่อ ฉลาด เค้ามูลคดี |
กำกับภาพ | ไพรัช สังวริบุตร |
ตัดต่อ | สัตตบุษป์ |
ดนตรีประกอบ | พร ภิรมย์ อาจินต์ ปัญจพรรค์ ไพบูลย์ บุตรขัน พยงค์ มุกดา พจน์ พนาวัน ขุนแผน ลูกปราจีน |
ผู้จัดจำหน่าย | แหลมทองภาพยนตร์ |
วันฉาย | มกราคม พ.ศ. 2509 |
ประเทศ | ไทย |
ภาษา | ไทย |
ข้อมูลจากฐานข้อมูลภาพยนตร์ไทย |
เสน่ห์บางกอก เป็นภาพยนตร์ไทย ที่ออกฉายเมื่อปี พ.ศ. 2509 ในระบบ 16 มม.[1] พากย์สด บทประพันธ์ของ อาจินต์ ปัญจพรรค์ ที่เป็นบทละครวิทยุ สร้างโดย แหลมทอง ภาพยนตร์ กำกับโดย วิจิตร คุณาวุฒิ อำนวยการสร้างโดย ทองปอนด์ คุณาวุฒิ นำแสดงโดย ภาวนา ชนะจิต, พร ภิรมย์, พยงค์ มุกดา, จิราวรรณ รุทธศิริ ฉายครั้งแรกต้อนรับตรุษจีนปี 2509 [2]
ได้รับรางวัลตุ๊กตาทองในสาขา ผู้กำกับการแสดงยอดเยี่ยม บทภาพยนตร์ยอดเยี่ยม และรางวัลตุ๊กตาเงินในสาขารางวัลพิเศษในการแสดงบทตลกในตัว ในพิธีมอบ รางวัลตุ๊กตาทอง ครั้งที่ 8 ประจำปี พ.ศ. 2508 เมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2509[3] ปัจจุบัน ตัดเหลือแค่ชั่วโมงครึ่ง ฉากเพลงก็หายไปด้วย (ต้นฉบับยาวประมาณสองชั่วโมงครึ่ง)
สร้างใหม่ในปี พ.ศ. 2524 โดย พีแอนค์ซันส์ โปรดักชั่น นำแสดงโดย สรพงษ์ ชาตรี และ เนาวรัตน์ ยุกตะนันท์ บทภาพยนตร์โดย คุณาวุฒิ อำนวยการสร้างโดย พิศมัย เล็กประเสริฐ กำกับการแสดงโดย ภราดร เล็กประเสริฐ
ในปี พ.ศ. 2539 เป็นละครโทรทัศน์ทาง ช่อง 3 นำแสดงโดย ศรัณย์ สาครสิน และ นุศรา ประวันณา
ในปี พ.ศ. 2554 ทาง ช่อง 7 สี นำแสดงโดย ศรัณย์ ศิริลักษณ์ และ ป่านทอง บุญทอง ร่วมด้วย ณัฎฐ์ ทิวไผ่งาม, ธันย์ชนก ฤทธินาคา กำกับการแสดง พนม นพพร และ ชัยวุฒิ เทพวงษ์ ผลิตโดย นพพรโปรโมชั่น แอนด์ พิคเจอร์[4]
เรื่องย่อ ภาพยนตร์ พ.ศ. 2509
[แก้]แพร (พร ภิรมย์) หนุ่มบ้านศาลาเกวียนหลงใหลความเจริญของเมืองบางกอกถึงขนาดหนีการบวชทดแทนพระคุณพ่อแม่คือกำนันปลั่ง (พยงค์ มุกดา) หนีที่จะต้องแต่งงานกับ สไบ (ภาวนา ชนะจิต) สาวบ้านนาที่พ่อแม่เลือกให้ไปเมืองบางกอก แต่แล้วเมืองบางกอก ก็ทำให้แพรผิดหวังเพราะเจอแต่คนแล้งน้ำใจ ไม่ว่าจะเป็นสาวบางกอกที่แพรคิดจะรักก็ไม่ใยดี ซ้ำต้องเผชิญกับนักเลงหัวไม้แย่งชิงพระพุทธรูปที่แพรนำติดตัวมาจนแพรต้องไปเป็นนักมวย ฝ่ายพ่อแม่ก็ออกตามหาตัวแพรกันจ้าละหวั่น แต่แล้วในที่สุดแพรก็หันหลังให้กับเมืองบางกอก กลับบ้านนอกมาพร้อมๆ กับพ่อแม่และสไบที่ออกตามหาด้วยความเป็นห่วง
เรื่องย่อ ละครโทรทัศน์ พ.ศ. 2554
[แก้]แพร พนมพร มีความใฝ่ฝันอยากเป็นนักร้อง แต่พ่อตนเองซึ่งเป็นกำนันอยากให้เป็นปลัดอำเภอ แต่แพรก็พยายามที่จะไปสมัครเป็นนักร้อง สไบ จึงไปฟ้องกำนัน กำนันโกรธมากเมื่อรู้ว่าแพรหนีไปร้องเพลง แพรจึงโกรธแค้นสไบมากที่มาทำลายโอกาส กำนันอยากให้แพรแต่งงานกับสไบ แพรจึงตัดสินใจหนีเข้ากรุงเทพพร้อมขบวนของวงลูกทุ่ง เมื่อกำนันรู้ว่าแพรหนีมากรุงเทพก็เป็นห่วงมากชวนผึ่ง เพื่อนรักของแพร เข้ากรุงเทพเพื่อตามหาแพร เมื่อมาถึงกรุงเทพ แพรได้ไปร้องเพลง จนมีคนสนใจในตัวแพร แต่กำนันจะพาแพรกลับบ้าน แพรไม่ยอมกลับ แพรอยากเป็นนักร้อง กำนันจึงอนุญาตให้แพรได้เป็นนักร้อง กำนันจึงขอสัญญาแลกเปลี่ยนว่า หลังจากเป็นนักร้องแล้ว แพรกับสไบต้องแต่งงานกัน
แก้วทิพย์จึงมาออดอ้อนแพรต่าง ๆ นานาให้ยอมมาเป็นนักร้องในค่ายของแก้วทิพย์ และสร้างสถานการณ์ให้เกิดการเข้าใจผิดกับสไบและกำนัน จนแพรยอมยกเลิกสัญญากับค่ายเดิมไปอยู่กับแก้วทิพย์ สไบเสียใจมาก ศักดิ์ชายทำเพลงให้แพร เพื่อหลอกล่อให้แพรอยู่กับเขาและจะให้แพรแจ้งเกิดเป็นนักร้องลูกทุ่ง สไบสงสารกำนันจึงแอบไปหาแพรเตือนสติให้แพรตาสว่าง แต่กลับถูกแพรด่าว่าสไบขัดขวางความฝันของเขาและไล่สไบกลับบ้านอีก สไบเสียใจมาก แก้วทิพย์รู้ว่าสไบมาหาแพรก็ไม่พอใจเลยสั่งลูกน้องสั่งสอนสไบโดยจับสไบมาข่มขืน ขณะที่แพรรอเวลาจะขึ้นคอนเสิร์ต เขาได้ยินแก้วทิพย์คุยเรื่องให้ไปจับสไบ แพรตกใจจึงรีบออกจากหลังเวทีเพื่อที่จะไปช่วยสไบ เกิดการต่อสู้กันแพรพลาดท่าถูกแทง แพรปกปิดบาดแผลของตัวเองไว้แล้วขึ้นเวทีร้องเพลงบนเวทีคอนเสิร์ต จนจบเพลงแล้วล้มลง ทุกคนจึงรีบนำแพรส่งโรงพยาบาล แก้วทิพย์และลูกน้องถูกตำรวจจับ แพรต้องนอนโรงพยาบาลอยู่หลายวันโดยมีสไบคอยดูแลอย่างใกล้ชิด
ต่อมา แพรได้หายดี จึงตัดสินใจกลับบ้านและไปขอสไบแต่งงาน กำนันส่งสไบไปเรียนมหาวิทยาลัยจนจบรัฐศาสตร์และกลายเป็นปลัดอำเภอหญิงคนแรกของหมู่บ้าน เป็นที่ภาคภูมิใจของทุกคน แพรก็กลายเป็นนักร้องลูกทุ่งชื่อดัง
เพลงประกอบละคร
[แก้]พ.ศ. 2509 จำนวน 8 เพลง โดยวงดนตรี พยงค์ มุกดา ประกอบเพลง ได้แก่
[แก้]- เพลง โอ้บางกอก ร้องโดย พร ภิรมย์
- เพลง เหนื่อย ร้องโดย พร ภิรมย์
- เพลง กระดูกลั่น ร้องโดย เพชร พนมรุ้ง
- เพลง โสน-สะเดา ร้องโดย พร ภิรมย์-ภาวนา ชนะจิต
- เพลง แหล่ทำขวัญนาค ร้องโดย ขุนแผน ลูกปราจีน
- เพลง เกลียดบางกอก ร้องโดย พร ภิรมย์-ผ่องศรี วรนุช
- เพลง นักมวย ร้องโดย วินัย แก้วส่งศรี
- เพลง หญิงใด ใจเดียว ร้องโดย ชัยชนะ บุญยะโชติ
- เพลง เสน่ห์บางกอก ขับร้องโดย สด ชนะพล
- เพลง ปีกฝันเปียกฝน ขับร้องโดย ศรัณย์ ศิริลักษณ์
- เพลง ดินอยากเป็นดาว ขับร้องโดย ศรัณย์ ศิริลักษณ์
- เพลง ตะลึงบางกอก ขับร้องโดย ป่านทอทอง บุญทอง
- เพลง สับสน ขับร้องโดย ป่านทอทอง บุญทอง
- เพลง กิ๊กไว้กั๊ก ขับร้องโดย กวินตรา โพธิจักร
- เพลง คอยวันเธอทิ้ง ขับร้องโดย สิริลภัส กองตระการ
- เพลง แอบรักคนมีเจ้าของ ขับร้องโดย พิมพ์ชนก เลี่ยนกัตวา
- เพลง คนโกหก ขับร้องโดย ศรัณย์ ศิริลักษณ์ ร่วมกับ ป่านทอทอง บุญทอง
- เพลง จบกันไปเลย ขับร้องโดย สุรชัย สมบัติเจริญ, เอกพันธ์ บันลือฤทธิ์ และ ดารัณ ฐิตะกวิน
นักแสดง
[แก้]ปี | พ.ศ. 2509 [5] | พ.ศ. 2524 [6] | พ.ศ. 2539 | พ.ศ. 2554 [7] |
---|---|---|---|---|
รูปแบบ/ออกอากาศ | ภาพยนตร์ 16 มม. | ภาพยนตร์ 35 มม. | ช่อง 3 | ช่อง 7 |
ผลิตโดย | แหลมทอง ภาพยนตร์ | พีแอนค์ซันส์ | นพพรโปรโมชั่น แอนด์ พิคเจอร์ | |
บทประพันธ์ | แหลมทอง ภาพยนตร์ | อาจินต์ ปัญจพรรค์ | อาจินต์ ปัญจพรรค์ | |
ทองปอนด์ คุณาวุฒิ | พิศมัย เล็กประเสริฐ | วิจิตร คุณาวุฒิ | ||
บทโทรทัศน์ | วิจิตร คุณาวุฒิ | วิจิตร คุณาวุฒิ | ระฆังเงิน | |
กำกับการแสดง | วิจิตร คุณาวุฒิ | ภราดร เล็กประเสริฐ | พนม นพพร | |
ไพรัช สังวริบุตร | วิเชียร เรืองวิทยกุล | ชัยวุฒิ เทพวงษ์ | ||
ตัวละคร | นักแสดงหลัก | นักแสดงหลัก | นักแสดงหลัก | นักแสดงหลัก |
แพร | พร ภิรมย์ | สรพงษ์ ชาตรี | ศรัณย์ สาครสิน | ศรัณย์ ศิริลักษณ์ |
สไบ | ภาวนา ชนะจิต | เนาวรัตน์ ยุกตะนันท์ | นุศรา ประวันณา | ป่านทอง บุญทอง |
ผึ่ง | ณัฏฐ์ ทิวไผ่งาม | |||
ลั่นทม | ธันย์ชนก ฤทธินาคา | |||
ตัวละคร | นักแสดงสมทบ | นักแสดงสมทบ | นักแสดงสมทบ | นักแสดงสมทบ |
ครูวิชัย | นนทพันธ์ ใจกันทา | |||
สายสุนีย์ | ฐิตินันท์ สุวรรณถาวร | |||
ก้าน | ภาณุ สุวรรณโณ | |||
แม่ช้อย | จีราวรรณ รุทธศิริ | ดารัณ ฐิตะกวิน | ||
กำนันปลั่ง | พยงค์ มุกดา | ไพโรจน์ ใจสิงห์ | เอกพันธ์ บันลือฤทธิ์ | |
นายเบิ้ม | สุรชัย สมบัติเจริญ | |||
สมพล | สุรวุฑ ไหมกัน | |||
ศักดิ์ชาย | ไชย ขุนศรีรักษา | |||
กิมลั้ง | อติมา ธนเสนีวัฒน์ | |||
แก้วทิพย์ | ณหทัย พิจิตรา | กวินตรา โพธิจักร | ||
ชัย | เขาทราย แกแล็คซี่ | |||
สุธี | กลศ อัธเสรี | |||
ศศิมล | สิริลภัส กองตระการ | |||
เอี่ยม | บริพันธ์ ชัยภูมิ | |||
ชิด | ชวนภ โพธิ์ประเสริฐ | |||
มิ่ง | ชาติชาย จินดา | |||
ติ๋ม | จำเริญ สมบูรณ์ | |||
บิ๊ก | ณรงค์ศักดิ์ ปักษี | |||
ชอบ | นพรุจ ประภาศิริ | |||
เปี๊ยก | อิทธิศักดิ์ เลิศชาญโรจน์ | |||
อาโก | ยิ่งใหญ่ เพิ่มสกุล | |||
ครูเพลง | สดใส รุ่งโพธิ์ทอง | |||
บุญโทน | บุญโทน คนหนุ่ม | |||
นิดหน่อย | วรินทร์พร วิสัย | |||
ต้อยติ่ง | ศราวุธ ศุขรัตน์ | |||
มาลัย | วาโย เกียรติกนก | |||
สายบัว | ภัสรา อภิรักษ์ลี้พล | |||
ดอกแก้ว | ธันยรัตน์ ไทยยิ่ง | |||
แดนเซอร์ | กัลยดา ชัยมงคล | |||
แดนเซอร์ | วราภรณ์ บุญเกื้อ | |||
แดนเซอร์ | กชกร ส่งแสงเติม | |||
แดนเซอร์ | อรวิสา ทิวไผ่งาม | |||
สำริด | ปิยะธาดา คำคล้าย | |||
ชะเอม | วีรินท์ เชยอรุณ | |||
มด | พิมพ์ชนก เลี่ยนกัตวา | |||
รัศมี | ชุติมา ทั่งศรี | |||
แจ่ม | พูลทรัพย์ บุญจ่าย | |||
อุ้ย | ณัฐดนัย ชนิตร์วัฒน์ | |||
นคร | กฤษณะ เกษศิริ |
อ้างอิง
[แก้]- ↑ เสน่ห์บางกอก (2509) ที่เว็บไซต์ ThaiFilmDb.
- ↑ เสน่ห์บางกอก (2509 พร ภิรมย์-ภาวนา) โดย มนัส กิ่งจันทร์
- ↑ "Awards detail". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-09-29. สืบค้นเมื่อ 2011-04-23.
- ↑ ละคร เสน่ห์บางกอก ทาง ช่อง 7 สี.
- ↑ "เสน่ห์บางกอก (2509)". ไทยบันเทิง.
- ↑ "เสน่ห์บางกอก (2524)". ไทยบันเทิง.
- ↑ "เสน่ห์บางกอก เรื่องย่อเสน่ห์บางกอก". kapook.com. 2011-04-25.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- หนังไทยคงเหลือ เสน่ห์บางกอก 2509
- กรุงเทพฯ เมื่อ 30-50 ปี ตอน 5 (เสน่ห์บางกอก 2509)
- เสน่ห์บางกอก (2509) - พร ภิรมย์ พระเอกหนังเพลงคนแรกของไทย
- http://www.youtube.com/watch?v=L-83lFUTrkc&feature=plcp
- http://filmsick.wordpress.com/2012/11/05/experiences-in-feb-12/
- เสน่ห์บางกอก (2554) ที่สยามโซน