100 ภาพยนตร์ไทยที่คนไทยควรดู
โครงการ 100 ภาพยนตร์ไทยที่คนไทยควรดู เป็นโครงการจัดตั้งโดย หอภาพยนตร์แห่งชาติ ซึ่งเป็นภาพยนตร์ที่ดูแล้วเกิดปัญญาดังบาลีภาษิต ปญฺญายตฺถํ วิปสฺสติ คือ การเห็นเป็นบ่อเกิดแห่งปัญญา ดูดี ๆ มีปัญญา ดูด้วยปัญญาพาให้เห็นแจ้ง[1]
โครงการจัดกิจกรรมฉายภาพยนตร์โดยหอภาพยนตร์แห่งชาติ จัดฉายภาพยนตร์ทุกค่ำวันศุกร์ ที่ห้องประชุม สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ ท่าวาสุกรี และบ่าย 3 โมงวันเสาร์ที่ โรงหนังอลังการ หอภาพยนตร์แห่งชาติ ศาลายา ถนนพุทธมณฑลสาย 5 เรียกชื่อว่า "ภาพยนตร์ปุจฉา-วิสัชนา" ซึ่งเป็นรายการฉายหนังให้ดูแล้วฟังคิดถามตอบ โดยมีพิธีกรและวิทยากรผู้สันทัดกรณีมาร่วมถามร่วมตอบอย่างที่เรียกว่า ปุจฉา - วิสัชนา โดยเริ่มจัดฉายตั้งแต่วันศุกร์แรกของ ปี พ.ศ. 2548 เป็นต้นไป[2]
กรอบคิด
[แก้]ในบรรดาภาพยนตร์ที่เป็นมรดกภาพยนตร์ของชาติหรือเป็นทรัพย์สินทางปัญญาอย่างหนึ่งของชาติ ซึ่งยังเหลืออยู่ให้เราได้ชื่นชมในปัจจุบัน คัดเลือกเป็นตัวอย่าง 100 เรื่อง จัดเป็นบัญชีภาพยนตร์ที่คนไทยควรดู เพื่อให้เข้าใจตัวเอง เข้าใจสังคมไทย เข้าใจหนังไทย และชื่นชมหนังไทย ในรอบหนึ่งศตวรรษที่ผ่านมา[3]
โดยเป็น ผลงานที่สร้างโดยคนไทย, เป็นตัวอย่างหรือตัวแทนให้คนไทยได้เรียนรู้จักตัวเองรู้จักสังคมไทยทั้งในอดีตปัจจุบัน ทั้งดี และเลว ทั้งจริง และเท็จ, เพื่อให้คนไทยได้เรียนรู้ประวัติศาสตร์ภาพยนตร์ไทย และเพื่อให้คนไทยได้ชื่นชมภาพยนตร์ไทย ทั้งที่เป็นมหรสพสินค้าขายความบันเทิง เป็นเครื่องมือสื่อสาร เป็นงานศิลปะ เป็นมรดกทางภูมิปัญญาของชาติ
ภาพยนตร์ข่าว ข่าวสาร และบันทึกเหตุการณ์
[แก้]- พระราชพิธีบรมราชาภิเษก พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว (พ.ศ. 2468 / ภาพยนตร์ของ กองภาพยนตร์เผยแผ่ข่าว กรมรถไฟหลวง)
- การเล่นซนของเด็กสมัย ร.๗ (พ.ศ. 2473)
- ชมสยาม (พ.ศ. 2473 / สร้างโดย กองภาพยนตร์เผยแผ่ข่าว กรมรถไฟหลวง / ช่างถ่ายโดย หลวงกลการเจนจิต (เภา วสุวัต))
- กิจการของกระทรวงพาณิชย์และคมนาคม (พ.ศ. 2473 / ภาพยนตร์ส่วนพระองค์)
- พระราชพิธีเฉลิมพระราชวงศ์จักรีและกรุงเทพพระมหานคร อันสถาปนามาครบ ๑๕๐ ปี (พ.ศ. 2475 / ถ่ายทำโดย คณะพี่น้องสกุลวสุวัต)
- งานแห่รัฐธรรมนูญ (พ.ศ. 2476 / ภาพยนตร์ส่วนพระองค์)
- ใจไทย (พ.ศ. 2483 / โดย กระทรวงสาธารณสุขร่วมกับกรมรถไฟหลวง)
- วันคล้ายวันเกิด พลตรี หลวงพิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรี (พ.ศ. 2484 / สันนิษฐานว่าเป็นภาพยนตร์ของกรมโฆษณาการ)
- น้ำท่วมใหญ่กรุงเทพ (พ.ศ. 2485 / ถ่ายโดย แท้ ประกาศวุฒิสาร)
- รัฐประหาร (พ.ศ. 2490 / ถ่ายโดย แท้ ประกาศวุฒิสาร)
- เสด็จเยี่ยมราษฎรภาคใต้ (พ.ศ. 2502 / ภาพยนตร์พระราชกรณียกิจ สนับสนุนการถ่ายทำโดยสำนักข่าวสารอเมริกัน)
- การผลิตเฮโรอิน (ประมาณ พ.ศ. 2510 / ภาพยนตร์นิรนาม)
- บันทึกเหตุการณ์เสียชีวิต มิตร ชัยบัญชา (พ.ศ. 2513 / ภาพยนตร์เชิงข่าวฉวยโอกาส)
- บันทึกเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519 (พ.ศ. 2519)
- บันทึกเหตุการณ์ พฤษภาทมิฬ (พ.ศ. 2535)
ภาพยนตร์สารคดี
[แก้]- กรุงเทพเมืองหลวงของเรา (คาดว่าคือปี พ.ศ.2490-2499 / ภาพยนตร์ในยุคสงครามเย็น สนับสนุนการผลิตโดยสหรัฐอเมริกา)
- ฯพณฯ จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ล้มป่วย และอสัญกรรม (พ.ศ. 2505 / ภาพยนตร์ข่าวยกย่อง จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์)
- เพลงเหย่อย (พ.ศ. 2507 / ผลิตโดย ฝ่ายประชาสัมพันธ์ บริษัท เอสโซ่ (ประเทศไทย))
- ไม้สัก (พ.ศ. 2505 / ผลิตโดย การรถไฟแห่งประเทศไทย)
- อนุทินวีรชน ๑๔ ตุลาคม ๒๕๑๖ (พ.ศ. 2517 / ภาพยนตร์โดย อาจารย์ชิน คล้ายปาน)
- การต่อสู้ของกรรมกรหญิงโรงงานฮาร่า (พ.ศ. 2518 / สร้างโดย จอน อึ๊งภากรณ์)
- ข้อเท็จจริงของเหตุการณ์ ๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๑๙ (พ.ศ. 2519 / ผลิตโดย หน่วยงานของราชการ)
- ภัยเขียว (GREEN MENACE : THE UNTOLD STORY OF GOLF) (พ.ศ. 2536 / สร้างโดย อิ๋ง กาญจนวณิชย์)
ภาพยนตร์สั้นและภาพยนตร์ทดลอง
[แก้]- แหวนวิเศษ (พ.ศ. 2472 / สร้างโดย พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว)
- กระเทยเป็นเหตุ (พ.ศ. 2498 / สร้างโดย คณะพนักงานธนาคารมณฑล)
- นิ้วเพชร (พ.ศ. 2501 / สร้างโดย กรมศิลปากร / ถ่ายทำโดย รัตน์ เปสตันยี)
- แอก (คาดว่าคือปี พ.ศ. 2510-2519 / สร้างโดย นักศึกษาวิชาภาพยนตร์ คณะวารสารศาสตร์ ธรรมศาสตร์)
- ! (อัศเจรีย์) (พ.ศ. 2520 / สร้างโดย สุรพงษ์ พินิจค้า)
- ภาณายักษา (พ.ศ. 2535 / สร้างโดย เกษมสันต์ พรหมสุภา, ชวลิต สัทธรรมสกุล, หยงฮ้ง แซ่เตียว, ไพสิฐ พันธุ์พฤกษชาติ)
- ศีล ๔ (พ.ศ. 2540)
- คงกระพันชาติไทย (พ.ศ. 2541 / สร้างโดย นักศึกษาภาพยนตร์ สุรชัย พัฒนากิจไพบูลย์)
- น้ำใต้ท้องเรือ (พ.ศ. 2542 / ผลงานของ ภาณุ อารี)
- BUNZAI CHAIYO, EPISODE II : THE ADVENTURE OF IRON PUSSY (พ.ศ. 2542 / ผลงานของ ไมเคิล เชาวนาสัย)
- บ้านสีชมพู (พ.ศ. 2543 / ผลงานของ สุวรรณ ห่วงศิริสกุล)
- กาล (พ.ศ. 2543 / ผลงานของ อุรุพงษ์ รักษาสัตย์)
- แหวน (พ.ศ. 2544 / ผลงานของ ชุมพล ทองทาบ)
- THE TREE (พ.ศ. 2545 / ผลงานของ วสัน เรียวกลา)
- A SHORT JOURNEY (พ.ศ. 2546 / ผลงานของ ธนนท์ สัตตะรุจาวงษ์)
ภาพยนตร์ดำเนินเรื่อง
[แก้]- พระเจ้าช้างเผือก (พ.ศ. 2484 / สร้างโดย ปรีดี พนมยงค์)
- ชั่วฟ้าดินสลาย (พ.ศ. 2498 / กำกับโดย มารุต / สร้างโดย หนุมานภาพยนตร์)
- โรงแรมนรก (พ.ศ. 2500 / กำกับโดย รัตน์ เปสตันยี / สร้างโดย หนุมานภาพยนตร์)
- แม่นาคพระโขนง (พ.ศ. 2502 / กำกับโดย รังสี ทัศนพยัคฆ์ / สร้างโดย เสน่ห์ โกมารชุน)
- เรือนแพ (พ.ศ. 2504 / กำกับโดย พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธุ์ยุคล / สร้างโดย อัศวินภาพยนตร์)
- เงิน เงิน เงิน (พ.ศ. 2508 / กำกับโดย พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอนุสรมงคลการ / สร้างโดย ละโว้ภาพยนตร์)
- ไฟเย็น (พ.ศ. 2508 / สนับสนุนการสร้างโดย สำนักข่าวสารอเมริกัน)
- เพชรตัดเพชร (พ.ศ. 2509 / กำกับโดย วิจิตร คุณาวุฒิ, พันคำ และ ประกอบ แก้วประเสริฐ / สร้างโดย สหการภาพยนตร์ไทย)
- มนต์รักลูกทุ่ง (พ.ศ. 2513 / กำกับโดย รังสี ทัศนพยัคฆ์ / สร้างโดย รุ่งสุริยาภาพยนตร์)
- โทน (พ.ศ. 2513 / กำกับโดย เปี๊ยก โปสเตอร์ / สร้างโดย บริษัท สุวรรณฟิล์ม)
- อินทรีทอง (พ.ศ. 2513 / กำกับโดย มิตร ชัยบัญชา/ สร้างโดย สมนึกภาพยนตร์ )
- ชู้ (พ.ศ. 2515 / กำกับโดย เปี๊ยก โปสเตอร์ / สร้างโดย เปี๊ยก โปสเตอร์ฟิล์ม)
- ตลาดพรหมจารี (พ.ศ. 2516 / กำกับโดย สักกะ จารุจินดา / สร้างโดย 67 การละครแลภาพยนตร์)
- แหวนทองเหลือง (พ.ศ. 2516 / กำกับโดย พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอนุสรมงคลการ / สร้างโดย ละโว้ภาพยนตร์)
- หนุมานพบ 7 ยอดมนุษย์ (พ.ศ. 2517 / กำกับโดย สมโพธิ แสงเดือนฉาย, โชเฮอิ โทโจ / สร้างโดย ไชโยภาพยนตร์)
- เทพธิดาโรงแรม (พ.ศ. 2517 / กำกับโดย หม่อมเจ้าชาตรีเฉลิม ยุคล / สร้างโดย พร้อมมิตรภาพยนตร์)
- ชุมแพ (พ.ศ. 2519 / กำกับโดย จรัญ พรหมรังษี)
- วัยอลวน (พ.ศ. 2519 / กำกับโดย เปี๊ยก โปสเตอร์ / สร้างโดย เปี๊ยก โปสเตอร์ฟิล์ม)
- ทองปาน (พ.ศ. 2520 / สร้างในนาม กลุ่มอีสานฟิล์ม)
- สิงห์สำออย (พ.ศ. 2520 / กำกับโดย ดอกดิน กัญญามาลย์ / สร้างโดย กัญญามาลย์ภาพยนตร์)
- ทองพูน โคกโพ ราษฎรเต็มขั้น (พ.ศ. 2520 / กำกับโดย หม่อมเจ้าชาตรีเฉลิม ยุคล / สร้างโดย ไฟว์สตาร์ โปรดักชั่น)
- แผลเก่า (พ.ศ. 2520 / กำกับโดย เชิด ทรงศรี / สร้างโดย เชิดไชยภาพยนตร์)
- วัยตกกระ (พ.ศ. 2521 / กำกับโดย ชนะ คราประยูร / สร้างโดย พูนทรัพย์ โปรดักชั่น)
- ครูบ้านนอก (พ.ศ. 2521 / กำกับโดย สุรสีห์ ผาธรรม / สร้างโดย ดวงกมลมหรสพ [4] )
- เมียหลวง (พ.ศ. 2521 / กำกับโดย วิจิตร คุณาวุฒิ [5] / สร้างโดย ไฟว์สตาร์ โปรดักชั่น)
- คนภูเขา (พ.ศ. 2522 / กำกับโดย วิจิตร คุณาวุฒิ / สร้างโดย ไฟว์สตาร์ โปรดักชั่น)
- สุดสาคร (พ.ศ. 2522 / สร้างและกำกับโดย ปยุต เงากระจ่าง)
- หลวงตา (พ.ศ. 2523 / กำกับโดย เพิ่มพล เชยอรุณ / สร้างโดย ไฟว์สตาร์ โปรดักชั่น)
- อุกาฟ้าเหลือง (พ.ศ. 2523 / กำกับโดย หม่อมเจ้าชาตรีเฉลิม ยุคล / สร้างโดย สหมงคลฟิล์ม)
- บ้านทรายทอง (พ.ศ. 2523 / กำกับโดย รุจน์ รณภพ / สร้างโดย ไฟว์สตาร์ โปรดักชั่น)
- เลือดสุพรรณ (พ.ศ. 2524 / กำกับโดย เชิด ทรงศรี / สร้างโดย เชิดไชยภาพยนตร์)
- ประชาชนนอก (พ.ศ. 2524 / กำกับโดย มานพ อุดมเดช)
- ลูกอีสาน (พ.ศ. 2525 / กำกับโดย วิจิตร คุณาวุฒิ / สร้างโดย ไฟว์สตาร์ โปรดักชั่น)
- คนกลางแดด (พ.ศ. 2525 / สร้างและกำกับโดย คิด สุวรรณศร)
- ผู้แทนนอกสภา (พ.ศ. 2526 / กำกับโดย สุรสีห์ ผาธรรม / สร้างโดย ดวงกมลมหรสพ)
- มือปืน (พ.ศ. 2526 / กำกับโดย หม่อมเจ้าชาตรีเฉลิม ยุคล / สร้างโดย วีซีโปรโมชั่น แอนด์ พิคเจอร์ - ซีเอสพี โปรดักชั่น)
- น้ำพุ (พ.ศ. 2527 / กำกับโดย ยุทธนา มุกดาสนิท / สร้างโดย ไฟว์สตาร์ โปรดักชั่น)
- ข้างหลังภาพ (พ.ศ. 2528 / กำกับโดย เปี๊ยก โปสเตอร์ / สร้างโดย ไฟว์สตาร์ โปรดักชั่น )
- ผีเสื้อและดอกไม้ (พ.ศ. 2528 / กำกับโดย ยุทธนา มุกดาสนิท / สร้างโดย ไฟว์สตาร์ โปรดักชั่น)
- ฉันผู้ชายนะยะ (พ.ศ. 2529 / กำกับโดย หม่อมหลวงพันธุ์เทวนพ เทวกุล / สร้างโดย พูนทรัพย์ โปรดักชั่น)
- ปลื้ม (พ.ศ. 2529 / กำกับโดย อดิเรก วัฏลีลา, ธนิตย์ จิตนุกูล / สร้างโดย ไท เอ็นเตอร์เทนเมนต์)
- ด้วยเกล้า (พ.ศ. 2530 / กำกับโดย บัณฑิต ฤทธิ์ถกล / สร้างโดย ไฟว์สตาร์ โปรดักชั่น)
- บุญชูผู้น่ารัก (พ.ศ. 2531 / กำกับโดย บัณฑิต ฤทธิ์ถกล / สร้างโดย ไฟว์สตาร์ โปรดักชั่น)
- คนทรงเจ้า (พ.ศ. 2532 / กำกับโดย แจ๊สสยาม (ประกฤษณ์ บุญประพฤกษ์) / สร้างโดย ไฟว์สตาร์ โปรดักชั่น)
- กลกามแห่งความรัก (พ.ศ. 2532 / กำกับโดย ทรนง ศรีเชื้อ)
- บ้านผีปอบ (พ.ศ. 2532 / สร้างโดย บริษัทกรุ๊ฟโฟร์)
- ปุกปุย (พ.ศ. 2533 / กำกับโดย อุดม อุดมโรจน์ / สร้างโดย ไท เอ็นเตอร์เทนเมนต์)
- คือฉัน (พ.ศ. 2533 / กำกับโดย แจ๊สสยาม / สร้างโดย ไฟว์สตาร์ โปรดักชั่น)
- กลิ้งไว้ก่อนพ่อสอนไว้ (พ.ศ. 2534 / กำกับโดย สมจริง ศรีสุภาพ / สร้างโดย ไท เอ็นเตอร์เทนเมนต์)
- ลูกบ้าเที่ยวล่าสุด (พ.ศ. 2536 / กำกับโดย อิทธิสุนทร วิชัยลักษณ์ / สร้างโดย ไฟว์สตาร์ โปรดักชั่น)
- 2499 อันธพาลครองเมือง (พ.ศ. 2540 / กำกับโดย นนทรีย์ นิมิบุตร / สร้างโดย ไท เอ็นเตอร์เทนเมนต์)
- เรื่องตลก 69 (พ.ศ. 2542 / กำกับโดย เป็นเอก รัตนเรือง / สร้างโดย ไฟว์สตาร์ โปรดักชั่น)
- นางนาก (พ.ศ. 2542 / กำกับโดย นนทรีย์ นิมิบุตร / สร้างโดย ไท เอ็นเตอร์เทนเมนต์)
- ฟ้าทะลายโจร (พ.ศ. 2543 / กำกับโดย วิศิษฏ์ ศาสนเที่ยง / สร้างโดย ไฟว์สตาร์ โปรดักชั่น)
- สุริโยไท (พ.ศ. 2544 / กำกับโดย หม่อมเจ้าชาตรีเฉลิม ยุคล / สร้างโดย สหมงคลฟิล์ม, พร้อมมิตร โปรดักชั่น)
- สุดเสน่หา (พ.ศ. 2545 / กำกับโดย อภิชาติพงศ์ วีระเศรษฐกุล)
- มนต์รักทรานซิสเตอร์ (พ.ศ. 2544 / กำกับโดย เป็นเอก รัตนเรือง / สร้างโดย ไฟว์สตาร์ โปรดักชั่น)
- พระอภัยมณี (พ.ศ. 2545 / กำกับโดย ชลัท ศรีวรรณา / สร้างโดย ซอฟท์แวร์ ซัพพลาย อินเตอร์เนชันแนล)
- แฟนฉัน (พ.ศ. 2546 / กำกับโดย คมกฤษ ตรีวิมล, นิธิวัฒน์ ธราธร, อดิสรณ์ ตรีสิริเกษม, วิทยา ทองอยู่ยง, ทรงยศ สุขมากอนันต์, วิชชา โกจิ๋ว)
- คืนไร้เงา (พ.ศ. 2546 / กำกับโดย พิมพ์พกา โตวิระ / สร้างโดย จีเอ็มเอ็ม พิคเจอร์)
- ทวิภพ (พ.ศ. 2547 / กำกับโดย สุรพงษ์ พินิจค้า / สร้างโดย ฟิล์มบางกอก)
ดูเพิ่ม
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ "100 ภาพยนตร์ไทยที่คนไทยควรดู ฉายตลอดปี". มูลนิธิหนังไทย. 7 กุมภาพันธ์ 2005. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 มีนาคม 2016. สืบค้นเมื่อ 25 สิงหาคม 2012.
- ↑ "โครงการ ๑๐๐ หนังไทยที่คนไทยควรดู ในมิติ ภาพยนตร์ยังให้เกิดปัญญา". โครงการมหาวิทยาลัยไซเบอร์ไทย. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 กรกฎาคม 2013.
- ↑ "โครงการ ๑๐๐ หนังไทยที่คนไทยควรดู ในมิติ ภาพยนตร์ยังให้เกิดปัญญา". มูลนิธิหนังไทย. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (doc)เมื่อ 4 มีนาคม 2016. สืบค้นเมื่อ 8 กุมภาพันธ์ 2022.
- ↑ เจนอักษราพิจารณ์ (6 ธันวาคม 2007). "ครูบ้านนอกหนังดีที่ยังน่าดู (๑)". OK Nation.
- ↑ "ชุมทางหนังไทยในอดีต". มูลนิธิหนังไทย. 5 กรกฎาคม 2005. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 14 กันยายน 2012. สืบค้นเมื่อ 25 สิงหาคม 2012.