นางนาก
บทความนี้ยังต้องการเพิ่มแหล่งอ้างอิงเพื่อพิสูจน์ความถูกต้อง |
นางนาก | |
---|---|
ใบปิดภาพยนตร์ | |
กำกับ | นนทรีย์ นิมิบุตร |
เขียนบท | วิศิษฏ์ ศาสนเที่ยง |
อำนวยการสร้าง | วิสูตร พูลวรลักษณ์ |
นักแสดงนำ | อินทิรา เจริญปุระ วินัย ไกรบุตร |
กำกับภาพ | ณัฐวุฒิ กิตติคุณ |
ตัดต่อ | สุนิตย์ อัศวินิกุล |
ดนตรีประกอบ | ภควัฒน์ ไววิทยะ ชาติชาย พงษ์ประภาพันธ์ |
ผู้จัดจำหน่าย | ไท เอ็นเตอร์เทนเมนต์ โมโน ฟิล์ม |
วันฉาย | 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2542 |
ความยาว | 100 นาที |
ประเทศ | ไทย |
ภาษา | ไทย |
ทำเงิน | 149.6 ล้านบาท (เฉพาะ กรุงเทพมหานคร ปริมณฑล และจังหวัดเชียงใหม่) |
ข้อมูลจาก IMDb | |
ข้อมูลจากสยามโซน |
นางนาก เป็นภาพยนตร์ไทยแนว โรแมนติก สยองขวัญเหนือธรรมชาติ ที่ออกฉายในปี พ.ศ. 2542 กำกับโดย นนทรีย์ นิมิบุตร เขียนบทโดย วิศิษฏ์ ศาสนเที่ยง ผลิตและจัดจำหน่ายโดย ไท เอ็นเตอร์เทนเมนต์ เป็นภาพยนตร์ที่ประสบความสำเร็จทั้งในด้านการทำเงินและรางวัล ภาพยนตร์นี้มีเค้าโครงเรื่องจากแม่นาคพระโขนง
เนื้อเรื่องย่อ
[แก้]ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เกิดสุริยุปราคาขึ้น ผู้คนแตกตื่น เหมือนกับเป็นเหตุบอกลางร้าย มาก (วินัย ไกรบุตร) ถูกเกณฑ์ไปเป็นทหารรบที่ชายแดน ปล่อยให้เมียสาวที่กำลังท้องแก่ชื่อ นาก (อินทิรา เจริญปุระ) อยู่เพียงคนเดียว นากต้องลำบากตรากตรำทำนาอยู่คนเดียวทั้ง ๆ ที่ท้องแก่ใกล้คลอด เมื่อเจ็บท้องใกล้คลอด มีลางร้ายนกแสกบินผ่านหลังคาบ้าน นากเสียชีวิตพร้อมลูกขณะคลอด แต่วิญญาณของนางยังคงไม่ไปไหน วนเวียนอยู่บริเวณบ้านและรอคอยการกลับมาของผัวรัก และเมื่อมากกลับมา ผู้คนพยายามบอกมากเกี่ยวกับเรื่องนากที่ตายไปแล้ว มากไม่เชื่อ นากเองก็อาละวาดหักคอผู้คนที่พยามยามบอกเรื่องนี้แก่มาก
จนในที่สุดมากก็รู้ความจริง เมื่อเห็นมือของนากที่ยาวลงมาเก็บมะนาวที่ใต้ถุนบ้าน มากตกใจวิ่งหนีหลบไปหลังใบหนาด และหนีเข้าไปในโบสถ์ ซึ่งพระและเณรก็สวดมนต์และเอาสายสิญจน์คล้องให้ แต่ผีนางนากก็ยังเข้ามาอาละวาดถึงในโบสถ์ได้ เรื่องจบลงที่สมเด็จพระพุฒาจารย์โต พรหมรังสีได้ผ่านมาและได้สะกดวิญญาณนางนากให้สงบเพื่อให้ไปเกิดใหม่ และท่านได้เจาะกะโหลกศีรษะนางนากเพื่อเก็บไว้ทำปั้นเหน่งด้วย
นักแสดง
[แก้]- อินทิรา เจริญปุระ แสดงเป็น นางนาก
- วินัย ไกรบุตร แสดงเป็น มาก
- โดม สิงห์โมฬี แสดงเป็น สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี)
การถ่ายทำ
[แก้]นางนาก ส่วนหนึ่งถูกถ่ายทำขึ้นในบริเวณคลองบ้านใหม่ ซึ่งเป็นคลองที่บรรจบกับแม่น้ำบางปะกงบริเวณตลาดเก่าบ้านใหม่ร้อยปี โดยใช้พื้นที่ตั้งแต่บริเวณวัดเทพนิมิต ไปบรรจบยังท่าน้ำสำหรับเทียบเรือตลาดบ้านใหม่[1] และในคลองบางน้ำเปรี้ยวในฉากศาลาสำหรับยืนรอของนางนากซึ่งถูกสร้างขึ้นมา และไม่ได้รื้อถอนปล่อยไว้ใช้งานต่อ รวมไปถึงฉากในอุโบสถในช่วงท้ายของเรื่องที่มีการยืนห้อยหัวจริง ๆ ในหอฉันโบราณในวัดแห่งหนึ่งในจังหวัดนนทบุรี ปัจจุบันหอนั้นถูกรื้อถอนไปแล้ว[2]
เทคนิคงานสร้าง
[แก้]ถ่ายทำด้วยกล้อง ARRIFLEX BL-4, 435, 535B 35mm บันทึกเสียง sync sound on location[ต้องการอ้างอิง]
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
ความสำเร็จและคำวิจารณ์
[แก้]นางนาก เป็นภาพยนตร์เรื่องที่สองในการกำกับของ นนทรีย์ นิมิบุตร ที่ประสบความสำเร็จมาแล้วอย่างงดงามจาก 2499 อันธพาลครองเมือง เมื่อ 2 ปีก่อน (พ.ศ. 2540) ซึ่งในเรื่องนี้ก็ประสบความสำเร็จเช่นกัน โดยที่เนื้อเรื่องก็คือเนื้อเรื่องของแม่นาคพระโขนงที่คนไทยรู้จักกันดีอยู่แล้ว แต่ทว่า ครั้งนี้ ได้เปลี่ยนรายละเอียดต่าง ๆ ที่เคยคุ้นเคยให้สมจริงมากที่สุด เช่น เรียกชื่อแม่นาคว่า นางนาก, มีเหตุการณ์สุริยคราสเป็นฉากเปิดเรื่อง หรือ ให้นางนากยืนกลับหัวบนขื่อ ตามความเชื่อที่เล่ากันมา เป็นต้น โดยภาพยนตร์สามารถทำเงินได้กว่า 149.6 ล้านบาท ในเขตกรุงเทพมหานคร ปริมณฑล และจังหวัดเชียงใหม่
ดูเพิ่ม
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ "ฉะเชิงเทราเปิดเส้นทางท่องเที่ยวแห่งใหม่ รับเทศกาลอาหารตลาดร้อยปี". mgronline.com. 2009-10-14.
- ↑ "เบื้องหลัง นากนาก 20 ปีที่แล้ว ฉากห้อยหัวในโบสถ์ ขึ้นไปห้อยหัวจริง!!". Major Cineplex. 2019-06-28. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2024-04-24. สืบค้นเมื่อ 2023-09-16.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- ภาพยนตร์ไทย
- ภาพยนตร์ไทยที่ออกฉายในปี พ.ศ. 2542
- ภาพยนตร์ที่กำกับโดย นนทรีย์ นิมิบุตร
- ภาพยนตร์สยองขวัญไทย
- ภาพยนตร์ผี
- แม่นากพระโขนง
- บทความเกี่ยวกับ ภาพยนตร์ ที่ยังไม่สมบูรณ์
- ภาพยนตร์ที่มีฉากในกรุงเทพมหานคร
- ภาพยนตร์ที่ถ่ายทำในจังหวัดฉะเชิงเทรา
- ภาพยนตร์ที่ถ่ายทำในจังหวัดนนทบุรี
- ผู้ชนะรางวัลภาพยนตร์ยอดเยี่ยมพระสุรัสวดี
- ภาพยนตร์ไทยที่ทำรายได้เกิน 100 ล้านบาท