ข้ามไปเนื้อหา

ประเทศลัตเวีย

พิกัด: 57°N 25°E / 57°N 25°E / 57; 25
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

57°N 25°E / 57°N 25°E / 57; 25

สาธารณรัฐลัตเวีย

Latvijas Republika (ลัตเวีย)
ที่ตั้งของ ประเทศลัตเวีย  (เขียวเข้ม) – ในยุโรป  (เขัยว & เทาเข้ม) – ในสหภาพยุโรป  (เขัยว)  —  [คำอธิบายสัญลักษณ์]
ที่ตั้งของ ประเทศลัตเวีย  (เขียวเข้ม)

– ในยุโรป  (เขัยว & เทาเข้ม)
– ในสหภาพยุโรป  (เขัยว)  —  [คำอธิบายสัญลักษณ์]

เมืองหลวง
และเมืองใหญ่สุด
รีกา
56°57′N 24°6′E / 56.950°N 24.100°E / 56.950; 24.100
ภาษาราชการลัตเวียa
ภาษาอื่น ๆลัตกาเล
ลิโวเนีย
กลุ่มชาติพันธุ์
(ค.ศ. 2021[1])
ศาสนา
(ค.ศ. 2011)[2]
เดมะนิมชาวลัตเวีย
การปกครองสาธารณรัฐระบบรัฐสภาแบบรัฐเดี่ยว
เอดกาส์ ริงเควิชส์
เอวิกา ซิลิญา
Daiga Mieriņa
สภานิติบัญญัติซาอีมา
เอกราช 
18 พฤศจิกายน ค.ศ. 1918
26 มกราคม ค.ศ. 1921
7 พฤศจิกายน ค.ศ. 1922
21 สิงหาคม ค.ศ. 1991
1 พฤษภาคม ค.ศ. 2004
พื้นที่
• รวม
64,589 ตารางกิโลเมตร (24,938 ตารางไมล์) (อันดับที่ 122)
2.09 (ใน ค.ศ. 2015)[5]
ประชากร
• ค.ศ. 2020 ประมาณ
1,907,675[6] (อันดับที่ 147)
• สำมะโนประชากร ค.ศ. 2011
2,070,371[7]
29.6 ต่อตารางกิโลเมตร (76.7 ต่อตารางไมล์) (อันดับที่ 147)
จีดีพี (อำนาจซื้อ) ค.ศ. 2022 (ประมาณ)
• รวม
70.320 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ[8]
37,009 ดอลลาร์สหรัฐ[8]
จีดีพี (ราคาตลาด) ค.ศ. 2022 (ประมาณ)
• รวม
40.830 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ[8]
21,489 ดอลลาร์สหรัฐ[8]
จีนี (ค.ศ. 2019)positive decrease 35.2[9]
ปานกลาง
เอชดีไอ (ค.ศ. 2019)เพิ่มขึ้น 0.866[10]
สูงมาก · อันดับที่ 37
สกุลเงินยูโร () (EUR)
เขตเวลาUTC+2 (EET)
• ฤดูร้อน (เวลาออมแสง)
UTC+3 (EEST)
รูปแบบวันที่วว.ดด.ปปปป
ขับรถด้านขวา
รหัสโทรศัพท์+371
โดเมนบนสุด.lvc
  1. ภาษาลัตเวียเป็นภาษาทางการภาษาเดียว[11][12] ภาษาลิโวเนียถือเป็นภาษาพื้นเมืองและมีสถานะพิเศษทางกฎหมาย[13] ภาษาเขียน Latgalian และภาษามือลัตเวียก็ได้สถานะพิเศษทางกฎหมาย[14]
  2. ลัตเวียเป็นรัฐที่สืบต่อจากการประกาศเอกราชโดยนิตินัยในวันที่ 18 พฤศจิกายน ค.ศ. 1918
  3. และโดเมน .eu ซึ่งใช้กันในรัฐสมาชิกของสหภาพยุโรป

ลัตเวีย (อังกฤษ: Latvia; ลัตเวีย: Latvija, [ˈlatvija]; ลัตกาเล: Latveja; ลิโวเนีย: Leţmō) หรือชื่อทางการคือ สาธารณรัฐลัตเวีย (อังกฤษ: Republic of Latvia;[15] ลัตเวีย: Latvijas Republika; ลัตกาเล: Latvejas Republika; ลิโวเนีย: Leţmō Vabāmō) เป็นประเทศในภูมิภาคยุโรปเหนือ มีอาณาเขตติดต่อกับอีก 2 รัฐบอลติก คือ เอสโตเนียทางทิศเหนือ และลิทัวเนียและเบลารุสทางทิศใต้ จดรัสเซียทางทิศตะวันออก ส่วนทางทิศตะวันตกนั้น ลัตเวียมีอาณาเขตทางทะเลติดต่อกับสวีเดน กรุงรีกา เมืองหลวงของลัตเวียเป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดในบรรดาเมืองที่อยู่ในกลุ่มรัฐบอลติก ลัตเวียครอบคลุมพื้นที่ 64,589 ตารางกิโลเมตร (24,938 ตารางไมล์) มีประชากร 1.9 ล้านคน ประเทศมีสภาพอากาศอบอุ่นตามฤดูกาล[16] ชาวลัตเวียอยู่ในกลุ่มชาติพันธุ์บอลต์ และพูดภาษาลัตเวีย ซึ่งเป็นหนึ่งในสองภาษาบอลติกที่ยังหลงเหลืออยู่ มีชาวรัสเซียอาศัยตามภูมิภาคต่าง ๆ เป็นชนกลุ่มน้อยที่โดดเด่นในประเทศ คิดเป็นเกือบหนึ่งในสี่ของประชากรทั้งหมด

หลังจากอยู่ภายใต้การปกครองของเยอรมนี สวีเดน โปแลนด์-ลิทัวเนีย และรัสเซียเป็นเวลาหลายศตวรรษ สาธารณรัฐลัตเวียก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน ค.ศ. 1918 เมื่อแยกออกจากจักรวรรดิเยอรมันและประกาศอิสรภาพภายหลังสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง[3] อย่างไรก็ตาม ในช่วงทศวรรษที่ 1930 ประเทศอยู่ใต้การปกครองของระบอบเผด็จการหลังจากการรัฐประหารใน ค.ศ. 1934 ได้จัดตั้งระบอบเผด็จการภายใต้การบริหารของ คาร์ลิส อุลมานิส ผู้นำประเทศคนแรก[17] ต่อมา ความเป็นอิสระโดยพฤตินัยของประเทศถูกขัดขวางอีกครั้งในช่วงเริ่มต้นของสงครามโลกครั้งที่สอง เริ่มต้นด้วยการถูกยึดครองโดยสหภาพโซเวียต ตามด้วยการรุกรานและยึดครองโดยนาซีเยอรมนีใน ค.ศ. 1941 และการยึดครองโดยโซเวียตอีกครั้งใน ค.ศ. 1944 และสถาปนาเป็น สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตลัตเวีย ในอีก 45 ปีต่อมา การเรียกร้องให้มีการปฏิวัติการโดยร้องเพลงอย่างสันติ (Singing Revolution) เริ่มต้นใน ค.ศ. 1987 และจบลงด้วยการฟื้นคืนเอกราชโดยพฤตินัยเมื่อวันที่ 21 สิงหาคม ค.ศ. 1991 ตั้งแต่นั้นมา ลัตเวียก็กลายเป็นสาธารณรัฐประชาธิปไตยแบบรวมรัฐสภา

ลัตเวียเป็นประเทศที่พัฒนาแล้ว[18] และมีความมั่นคงทางเศรษฐกิจสูง มีดัชนีการพัฒนามนุษย์ในระดับสูง และประชากรมีเสรีภาพในการดำรงชีวิตสูง รวมทั้งยังเป็นประเทศที่ให้เสรีภาพทางด้านสื่อ การสื่อสาร และการแสดงออกทางการเมือง ลัตเวียเป็นสมาชิกของสหภาพยุโรป, ยูโรโซน, เนโท, สภายุโรป, สหประชาชาติ, สภารัฐทะเลบอลติก, กองทุนการเงินระหว่างประเทศ, นอร์ดิก-บอลติกแปด, ธนาคารเพื่อการลงทุนนอร์ดิก, องค์การเพื่อเศรษฐกิจ ความร่วมมือและการพัฒนา, องค์การเพื่อความมั่นคงและความร่วมมือในยุโรป และองค์การการค้าโลก

ภูมิศาสตร์

[แก้]

ประเทศลัตเวียอยู่ทางยุโรปตะวันออกเฉียงเหนือ มีอาณาเขตติดต่อกับประเทศเอสโตเนียซึ่งอยู่ทางตะวันออกเฉียงเหนือ ทิศตะวันออกติดกับประเทศรัสเซีย ทางทิศใต้ติดกับประเทศลิทัวเนีย ทิศตะวันตกติดกับทะเลบอลติก ทางตะวันตกเฉียงเหนือติดกับอ่าวริก้า แผ่นดินด้านตะวันตกและทางตะวันตกเฉียงเหนือติดกับทะเล

พื้นที่เกือบทั้งประเทศเป็นที่ราบที่อุดมสมบูรณ์สลับกับเนินสูง ประกอบด้วยแม่น้ำสายเล็กมากมาย แม่น้ำสายใหญ่ที่ไหลผ่านลัตเวียคือแม่น้ำ เวสเทิร์นดวินา (ภาษาลัตเวียเรียกว่า daugava) เป็นที่ตั้งของเมืองใหญ่หลายแห่ง มีทะเลสาบมากกว่า 3,000 แห่ง ป่าไม้มีพื้นที่ประมาณ 2 ใน 5 ของประเทศแต่ทรัพยากรป่าไม้ได้รับการพัฒนาน้อย มียอดเขาสูงที่สุดชื่อ Gaizins มีความสูง 312 เมตรจากระดับน้ำทะเล

เนื่องจากพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบจึงมีพื้นที่บางส่วนที่เกิดน้ำท่วมขังเป็นประจำเหมือนบริเวณป่าพรุ และมีลมจากทะเลพัดผ่านตลอดปีทำให้บางปีมีอากาศเย็นจนต่ำกว่าจุดเยือกแข็ง

การเมืองการปกครอง

[แก้]

ระบบการเมือง หลังจากได้รับเอกราช เมื่อวันที่ 4 พฤษภาคม 2533 ลัตเวียได้มีการปกครองแบบสาธารณรัฐประชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญฉบับปี 2535 ซึ่งมีผลบังคับใช้แทนรัฐธรรมนูญที่สหภาพโซเวียตประกาศใช้มาก่อนหน้านั้นแล้ว และในปัจจุบันได้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับปี 2535*

นิติบัญญัติ

[แก้]

สถาบันทางการเมืองลัตเวียมีประธานาธิบดีเป็นประมุขภายใต้รัฐธรรมนูญระบบรัฐสภาเป็นระบบสภาเดียว เรียกว่า Saiema ซึ่งประกอบด้วยสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 100 คน โดยประธานาธิบดีจะเป็นผู้เสนอชื่อนายกรัฐมนตรีต่อรัฐสภา เพื่อลงมติให้ความไว้วางใจ ในการจัดตั้งรัฐบาลชุดใหม่ (พรรคการเมืองที่เข้าร่วมรัฐสภาต้องได้รับคะแนนเสียงเกินร้อยละ 4 จากการลงคะแนนเสียงทั่วประเทศ)

นโยบายต่างประเทศ

[แก้]

เป้าหมายสำคัญที่สุดของนโยบายด้านความมั่นคงที่แถลงออกมาอย่างชัดแจ้งของลัตเวีย คือ การเข้าร่วมเป็นสมาชิกขององค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ (NATO) เพื่อเป็นหลักประกันด้านความมั่นคงของลัตเวีย เนื่องจากลัตเวียยังคงมีความระแวงต่อ ภัยคุกคามที่อาจจะเกิดขึ้นจากรัสเซีย ซึ่งพัฒนาการล่าสุดในการเข้าเป็นสมาชิกองค์การ NATO ของลัตเวีย และกลุ่มประเทศเพื่อนบ้านบอลติก คือ เมื่อวันที่ 26 มีนาคม 2546 สมาชิกองค์การ NATO 19 ประเทศ ได้ลงนามในพิธีสารว่าด้วยการรับสมาชิกใหม่ 7 ประเทศ คือ บัลแกเรีย เอสโตเนีย ลัตเวีย ลิทัวเนีย โรมาเนีย สโลวะเกีย และสโลวีเนีย ที่กรุงบรัสเซลส์ ต่อมา เมื่อวันที่ 29 มีนาคม 2547 ประเทศสมาชิกองค์การ NATO ใหม่ ทั้ง 7 ประเทศ ได้มอบภาคยานุวัตรสารให้แก่รัฐบาลสหรัฐอเมริกา ที่กรุงวอชิงตัน ดี.ซี. และในด้านนโยบายต่างประเทศ คือ การเข้าเป็นสมาชิกสหภาพยุโรป (EU) เพื่อเข้าร่วมกระบวนการรวมตัวของยุโรป โดยลัตเวียและประเทศเพื่อนบ้านในกลุ่มบอลติก คือ เอสโตเนีย และลิทัวเนีย พร้อมด้วยสาธารณรัฐเช็ก ไซปรัส ฮังการี มอลตา โปแลนด์ สโลวีเนีย และสโลวะเกีย ได้เข้าเป็นสมาชิกใหม่ของสหภาพยุโรปอย่างสมบูรณ์เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 2547 (ค.ศ. 2004)

นอกจากนี้ ลัตเวียและประเทศเพื่อนบ้านกลุ่มบอลติกยังเข้าร่วมเป็นสมาชิกในองค์กรภูมิภาคอื่นๆ เช่น คณะมนตรีบอลติก (Baltic Council) และองค์การเพื่อความมั่นคง และความร่วมมือในยุโรป (Organization for Security and Cooperation in Europe - OSCE) เป็นต้น

นโยบายต่อสหภาพยุโรป

[แก้]

เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 2547 ลัตเวีย และกลุ่มประเทศเพื่อนบ้านบอลติก คือ เอสโตเนียและลิทัวเนีย พร้อมประเทศยุโรปตะวันออก ซึ่งได้แก่ สาธารณรัฐเช็ก ไซปรัส ฮังการี มอลตา โปแลนด์ สโลวีเนีย และสโลวะเกีย รวม 10 ประเทศ ได้เข้าเป็นสมาชิกใหม่ของสหภาพยุโรปอย่างสมบูรณ์ สรุปพัฒนาการของลัตเวียต่อสหภาพพยุโรปในช่วงเวลาที่ผ่านมา 1. เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2537 รัฐสภาลัตเวียได้ให้สัตยาบันต่อความตกลงการค้าเสรีกับสหภาพยุโรป (Free Trade Accord) เป็นผลให้ลัตเวียสามารถเป็นภาคีสมาชิกความตกลงดังกล่าว กับสหภาพยุโรป ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2538 โดย ส่งผลให้ลัตเวียได้รับสิทธิพิเศษทางการค้าต่าง ๆ จากสหภาพยุโรป ในรูปของอัตราภาษีศุลกากร โควตาและ GSP 2. ลัตเวียได้ลงนามความตกลงเข้าร่วมเป็นสมาชิกสมทบของสหภาพยุโรป (Association Agreement) เมื่อวันที่ 12 มิถุนายน 2538 โดยมีการกำหนดระยะเวลาปรับตัวไว้ ต่อมาลัตเวียได้ยื่นใบสมัครเข้าเป็นสมาชิกสหภาพ EU โดยสมบูรณ์ต่อ คณะกรรมมาธิการยุโรป 3. เมื่อวันที่ 26กันยายน 2539 ลัตเวียได้ส่งคำตอบแบบสอบถามรายละเอียดให้ คณะกรรมาธิการยุโรปพิจารณาถึงความพร้อมที่จะทำการเจรจาว่าด้วยการเข้าเป็นสมาชิกภาพ EU โดยสมบูรณ์ ซึ่งลัตเวียได้พยายามทุกวิถีทางที่จะปฏิรูประบบการเมือง เศรษฐกิจ และสังคมให้สอดคล้องกับมาตรฐานและระเบียบกฎเกณฑ์ของสหภาพยุโรป เพื่อที่จะได้เข้าเป็นสมาชิกของสหภาพยุโรปโดยสมบูรณ์ในช่วงปี ค.ศ. 2004 พร้อมกับกลุ่มประเทศเพื่อนบ้านบอลติก ซึ่งได้แก่ ลัตเวียและลิทัวเนีย ทั้งนี้ แม้ว่า ลัตเวียจะไม่ได้ร่วมอยู่ในกลุ่มแรกที่สหภาพยุโรป เริ่มกระบวนการเจรจาเพื่อรับสมาชิกใหม่ เนื่องจากระดับการพัฒนาของลัตเวียนั้นยังล้าหลัง และไม่เจริญเท่าประเทศอื่น ๆ เช่น เอสโตเนีย โปแลนด์ ฮังการี และสาธารณรัฐเช็ก ก็ตาม แต่ลัตเวียถือว่าการเข้าร่วมเป็นสมาชิกสหภาพยุโรปเป็นเป้าหมายสำคัญในด้านการต่างประเทศ

นโยบายต่อองค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ

[แก้]

พัฒนาการที่สำคัญสรุปได้ ดังนี้

  • ก่อนที่จะได้เข้าเป็นสมาชิกองค์การ NATO อย่างสมบูรณ์ในปี 2547 ลัตเวียแสดงความปรารถนาที่จะได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกใหม่ขององค์การ NATO โดยเร็วเพื่อเป็นหลักประกันความมั่นคงและเสถียรภาพ ทั้งนี้ ลัตเวียได้เข้าเป็นสมาชิกในโครงการหุ้นส่วนเพื่อสันติภาพ (Partnership for Peace –PfP) ขององค์การ NATO อย่างไรก็ดี การขยายตัวขององค์การ NATO ไปทางตะวันออกจะส่งผลกระทบทำให้ รัสเซียมีความกังวลต่อดุลยภาพทางทหารในภูมิภาคยุโรป ดังนั้น การเฝ้าดูท่าทีของรัสเซียจึงเป็นปัจจัยสำคัญด้วย และแม้ว่าบรรดาผู้นำของลัตเวียจะทราบดีถึงสถานภาพดังกล่าวของตนเองต่อองค์การ NATO แต่บรรดาผู้นำรัฐบาลของลัตเวียในแต่ละสมัยยังคงย้ำถึงความปรารถนาที่จะเข้าเป็นสมาชิก NATO โดยเร็วในทุกโอกาส ดังเช่นที่นาย Valdis Birkavs รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศลัตเวีย (ในช่วงเวลาขณะนั้น) ได้ไปกล่าวในการประชุมสัมมนาเรื่อง NATO and the Baltic States Quo Vadis ซึ่งมูลนิธิ Konrad-Adenauer Stiftung และสถาบันกิจการต่างประเทศของลัตเวียได้จัดขึ้นที่กรุงรีกา เมื่อเดือนธันวาคม 2539 ว่า บรรดารัฐบอลติกมีความปรารถนาเป็นอย่างยิ่งที่จะเข้าร่วมเป็นสมาชิกของค์การ NATO เนื่องจากบรรดารัฐบอลติกไม่มีทางเลือกอื่น นอกเหนือจากการเข้าเป็นสมาชิกของ NATO และสหภาพยุโรป เพื่อเป็นหลักประกันทางความมั่นคงและเศรษฐกิจของตนเอง แต่อย่างไรก็ดี บรรดารัฐบอลติกทั้งสามประเทศต่างอยากจะได้รับคำยืนยันจาก NATO ว่า ยินดีจะรับรัฐบอลติกทั้งสามประเทศเข้าเป็นสมาชิกของ NATO
  • พัฒนาการล่าสุดในการเข้าเป็นสมาชิกองค์การ NATO ของลัตเวีย คือ เมื่อวันที่ 26 มีนาคม 2546 สมาชิกองค์การ NATO 19 ประเทศ ได้ลงนามในพิธีสารว่าด้วยการรับสมาชิกใหม่ 7 ประเทศ คือ บัลแกเรีย เอสโตเนีย ลัตเวีย ลิทัวเนีย โรมาเนีย สโลวาเกีย และสโลวีเนีย ที่กรุงบรัสเซลส์ ต่อมา เมื่อวันที่ 29 มีนาคม 2547 ประเทศสมาชิกองค์การ NATO ใหม่ ทั้ง 7 ประเทศ ได้มอบภาคยานุวัตรสารให้แก่รัฐบาลสหรัฐอเมริกา ที่กรุงวอชิงตัน ดี.ซี.

ประวัติบุคคลสำคัญทางการเมือง

  1. ประธานาธิบดีลัตเวีย นาง Vaira Vike-Freiberga เกิดเมื่อวันที่ 1 ธันวาคม ค.ศ. 1937 เข้าดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีลัตเวีย เมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม ค.ศ. 1999 โดยมีวาระการดำรงตำแหน่ง 4 ปี นาง Vike-Freiberga นับเป็นประธานาธิบดีคนที่ 6 ของลัตเวีย และเป็นประธานาธิบดีสุภาพสตรีคนแรกในประวัติศาสตร์ทางการเมืองของลัตเวีย จบการศึกษาระดับปริญญาเอกด้าน Experimental Psychology จาก McGill University สหรัฐฯ ก่อนเข้ารับตำแหน่งประธานาธิบดี นาง Vike-Freiberga เคยทำงานเป็นอาจารย์ที่ Université de Montréal แคนาดา ระหว่างปี ค.ศ. 1979-1998 และผู้อำนวยการสถาบันลัตเวีย ปี ค.ศ. 1998
  2. นายกรัฐมนตรีลัตเวีย นาย Aigars Kalvitis เกิดเมื่อวันที่ 27 มิถุนายน 2509 เข้าดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีลัตเวียเป็นสมัยแรก เมื่อวันที่ 2 ธันวาคม 2547 ภายหลังจากที่รัฐบาลของนายกรัฐมนตรี Indulis Emsis ต้องสิ้นสภาพลงเมื่อรัฐสภา Saeima ของลัตเวียลงคะแนนเสียงไม่รับร่างพระราชบัญญัติงบประมาณประจำปี 2548 เมื่อวันที่ 28 ตุลาคม 2547 ก่อนหน้านี้ นายกรัฐมนตรี Kalvitis เคยดำรงตำแหน่งสำคัญ ๆ ทางการเมือง เช่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเศรษฐกิจ ระหว่างปี 2543 - 2545 และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตร ระหว่างปี 2542 - 2543
  3. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศลัตเวีย นาย Artis Pabriks เกิดเมื่อวันที่ 22 มีนาคม 2509 เข้าดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศลัตเวีย เมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม 2547 รัฐมนตรี Pabriks สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอกด้านรัฐศาสตร์ จากมหาวิทยาลัย Aarhus ประเทศเดนมาร์ก เมื่อปี 2539 ก่อนหน้านี้ รัฐมนตรี Pabriks เคยดำรงตำแหน่งทางการเมืองสำคัญ ๆ เช่น ประธานคณะกรรมาธิการการต่างประเทศ รัฐสภาลัตเวีย และเลขานุการกิจการรัฐสภา กระทรวงการต่างประเทศ เป็นต้น

การเข้าร่วมองค์การในภูมิภาค

[แก้]

ประเทศลัตเวียได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกขององค์การในภูมิภาคดังนี้

  1. CE - Council of Europe หรือ คณะมนตรียุโรป
  2. EBRD - European Bank for Reconstruction and Development หรือ ธนาคารเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาแห่งยุโรป
  3. CBSS

ความสัมพันธ์กับประเทศไทย

[แก้]
  • การทูต

ไทยประกาศรับรองรัฐลัตเวียเมื่อวันที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2534 พร้อมกับการประกาศรับรองรัฐเอสโตเนีย และลิทัวเนีย ต่อมาเมื่อวันที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2535 ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบในหลักการให้ไทยดำเนินการสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตกับลัตเวีย และให้มีการแลกเปลี่ยนผู้แทนทางการทูต ในระดับเอกอัครราชทูตระหว่างกัน โดยให้สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงสต็อกโฮล์ม มีเขตอาณาครอบคลุมฟินแลนด์ ลัตเวียและเอสโตเนีย โดยนายสุจินดา ยงสุนทรเอกอัครราชทูต ณ กรุงสต็อกโฮล์ม ได้เดินทางไปยื่นพระราชสาส์นตราตั้งเป็นเอกอัครราชทูตคนแรกประจำลัตเวีย เมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2537 และต่อมาคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2544เห็นชอบให้สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงออลโล มีเขตอาณาครอบคลุมลัตเวียแทนสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงสต็อกโฮล์ม และปัจจุบันเอกอัครราชทูต ณ กรุงออสโล เป็นเอกอัครราชทูตไทยประจำลัตเวีย อีกตำแหน่งหนึ่งด้วย สำหรับ ลัตเวียยังมิได้ตั้งสถานเอกอัครราชทูตประจำประเทศไทย แต่ได้จัดตั้งสถานกงสุลกิตติมศักดิ์ประจำประเทศไทย โดยมีนายประสงค์ จงรัตนากุล ดำรงตำแหน่งกงสุลกิตติมศักดิ์ลัตเวียประจำประเทศไทยตั้งแต่วันที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2538

  • การเมือง

ลัตเวียพร้อมที่จะขยายความร่วมมือกับไทยในทุก ๆ ด้าน ทั้งในกรอบทวิภาคีและกรอบพหุภาคี ในด้านความสัมพันธ์ทางการทูต ทั้งสองประเทศมีความสัมพันธ์ที่ราบรื่นโดยมีการแลกเปลี่ยนสารแสดงความยินดีระหว่างผู้นำของทั้งสองประเทศอย่างสม่ำเสมอในโอกาสสำคัญๆ อาทิเช่น การเข้ารับตำแหน่งประธานาธิบดีและนายกรัฐมนตรีของลัตเวีย เป็นต้น นอกจากนี้ ทั้งสองประเทศยังได้สนับสนุนการดำเนินงานในกรอบเวทีการเมืองประเทศระหว่างกัน โดยเฉพาะการให้ความสนับสนุนของลัตเวียต่อผู้สมัครของไทยในองค์การระหว่างประเทศที่สำคัญๆ เช่น องค์การสหประชาชาติ เป็นต้น

  • การค้าและเศรษฐกิจ

ลัตเวียตระหนักถึงความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจของไทยในระดับหนึ่ง โดยเฉพาะขีดความสามารถในการส่งเสริมการท่องเที่ยว อย่างไรก็ดี ลัตเวียได้มองไทยโดยเปรียบเทียบกับบางประเทศในเอเชียในเรื่องการพัฒนาทางเศรษฐกิจและผลประโยชน์ทางการค้า เช่น เกาหลีใต้ ไต้หวัน ญี่ปุ่นและจีน ฝ่ายลัตเวียเสนอตัวที่จะเป็นประตูการค้าให้ไทยสำหรับการค้าขายกับรัสเซีย และกลุ่มประเทศเครือรัฐเอกราช เนื่องจากสภาพที่ตั้งของประเทศมีความคุ้นเคยกับวิธีการค้าและรู้จักอุปนิสัยของคนรัสเซีย อีกทั้งมีท่าเรือปลอดน้ำแข็งอยู่ด้วย นอกจากนี้ ภาวะการเงินของลัตเวียก็เริ่มมีเสถียรภาพขึ้น การโอนเงินตราเข้าออก สามารถกระทำได้โดยมีข้อจำกัดน้อยมาก ส่วนระบบธนาคารอาจจะมีจำนวนมากเกินไป แต่การแข่งขันก็เป็นไปโดยเสรีและเชื่อว่าจำนวนธนาคารซึ่งมีอยู่มากเกินไปในขณะนี้จะลดลงเรื่อย ๆ

สถิติการค้าระหว่างไทยกับลัตเวียในช่วงปี 2549 (ม.ค.-ส.ค.) มีปริมาณการค้ารวม 13.8 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยมีมูลค่าการส่งออกไปลัตเวีย 13.2 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และ นำเข้า 0.6 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ไทยเป็นฝ่ายได้ดุลการค้า 12.6ล้านดอลลาร์สหรัฐ สำหรับปริมาณการค้าไทย-ลัตเวียในปี 2548 มีมูลค่า 17.3 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ไทยส่งออก 16.1 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และไทยนำเข้า 1.2 โดยไทยเป็นฝ่ายได้ดุลการค้า 14.9 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

สินค้าส่งออกที่สำคัญของไทย คือ ผลิตภัณฑ์ยาง ยางพารา ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง เฟอร์นิเจอร์และชิ้นส่วน เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ ผลไม้กระป๋องและแปรรูป อุปกรณ์และส่วนประกอบรถยนต์ เครื่องกีฬาและเครื่องเล่นเกมส์ เครื่องคอมพิวเตอร์ รวมทั้งอุปกรณ์และส่วนประกอบ อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป สินค้านำเข้าที่สำคัญของไทย ได้แก่ สัตว์ และผลิตภัณฑ์จากสัตว์ ผลิตภัณฑ์ไม้และไม้แปรรูป เป็นต้น

  • การศึกษา และ วิชาการ
  • กีฬา และ การท่องเที่ยว

ชาวลัตเวียเริ่มมาท่องเที่ยวประเทศไทยตั้งแต่ปี พ.ศ. 2534 แหล่งท่องเที่ยวที่ได้รับความนิยม ได้แก่ กรุงเทพฯ พัทยา ภูเก็ต เกาะสมุย ระหว่างปี 2537 - 2539 บริษัทนำเที่ยวของลัตเวียได้จัดเที่ยวบินเช่าเหมาลำมายังประเทศไทยหลายเที่ยวบิน โดยมีสถิติดังนี้

  • ในปี 2542 มีนักท่องเที่ยวลัตเวียเดินทางมาไทยจำนวน 944 คน ซึ่งเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.79 จากปี 2541
  • ในปี 2544 มีจำนวน 989 คน ในปี 2545 มีจำนวน 1,080 คน ในปี 2546 มีจำนวน 925 คน และ
  • ในระหว่างเดือนมกราคม – ตุลาคมของปี 2547 มีนักท่องเที่ยวลัตเวียเดินทางมาไทยจำนวน 734 คน เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปี 2546 ร้อยละ 45.35 แหล่งท่องเที่ยวหลักของชาวลัตเวียประกอบด้วยยุโรปตะวันตกยุโรปตะวันออก สแกนดิเนเวียและฟินแลนด์ และลัตเวียมีบริษัทนำเที่ยวทั้งในด้านi nbound และ outbound ประมาณ 200 บริษัท (ที่มา : การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย)

นอกจากนี้ เพื่อเป็นการแผยแพร่ภาพลักษณ์และประชาสัมพันธ์ประเทศไทยให้ชาว ลัตเวียมีความรู้และความเข้าใจที่ถูกต้อง สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงออสโล ซึ่งมีเขตอาณาครอบคลุมลัตเวียได้จัดโครงการนำคณะสื่อมวลชนลัตเวียเดินทางมาเยือนไทย ระหว่างวันที่ 8 - 16 มิถุนายน 2546

  • การแลกเปลี่ยนการเยือน
ฝ่ายไทย
  1. เดือนกันยายน พ.ศ. 2535 (ค.ศ. 1992) คณะทำงานของกระทรวงการต่างประเทศ (Familiarization Mission) เยือนกลุ่มประเทศบอลติก (ลิทัวเนีย ลัตเวียและเอสโตเนีย) เพื่อสำรวจลู่ทางการพัฒนาความสัมพันธ์
  2. วันที่ 22 สิงหาคม - 3 กันยายน พ.ศ. 2542 (ค.ศ. 1999) สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ เสด็จเยือนเกาะกรีนแลนด์ ลิทัวเนีย ลัตเวีย เอสโตเนีย เป็นการส่วนพระองค์ (ลัตเวีย ระหว่างวันที่ 28 สิงหาคม - 30 สิงหาคม 2542)
  3. วันที่ 9 - 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2543 (ค.ศ. 2000) การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ร่วมกับสมาคมไทยธุรกิจการท่องเที่ยว (ATTA) ได้จัดงาน Baltic Countries Road Show 2000 ที่เอสโตเนีย ลัตเวียและลิทัวเนีย (กรุงรีกา วันที่ 14 กรกฎาคม 2543)
  4. วันที่ 10 - มิถุนายน พ.ศ. 2547 (ค.ศ. 2004) ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงการต่างประเทศ (นายสรจักร เกษมสุวรรณ) และคณะ เดินทางเยือนลัตเวียอย่างเป็นทางการ และได้เข้าเยี่ยมคารวะนาย Rihards Piks รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศลัตเวีย และพบหารือกับนาย Maris Riekstins รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศลัตเวีย (State Secretary of Ministry of Foreign Affairs)
ฝ่ายลัตเวีย
  1. วันที่ 6-10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2539 (ค.ศ. 1996) นาย Valdis Birkavs รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศลัตเวีย) และภริยา พร้อมคณะภาคเอกชน เยือนประเทศไทยอย่างเป็นทางการในฐานะแขกของกระทรวงการต่างประเทศ และหารือข้อราชการกับ ม.ร.ว. เทพ เทวกุล รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
  2. วันที่ 11-19 กุมภาพันธ์ 2543 (ค.ศ. 2000) นาย Vladimirs Makarovs รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเศรษฐกิจ (ลัตเวีย) เยือนไทย เพื่อเข้าร่วมประชุม UNCTAD ครั้งที่ 10 ระหว่าง วันที่ 11-19 กุมภาพันธ์ 2543 ในฐานะหัวหน้าคณะผู้แทนลัตเวีย

การแบ่งเขตการปกครอง

[แก้]
แผนที่เขตการปกครองของประเทศลัตเวีย

ลัตเวียแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 36 เทศบาล (novads) กับ 7 นครแห่งรัฐ* (valstspilsēta) ได้แก่

เศรษฐกิจ

[แก้]

ลัตเวียเป็นประเทศหนึ่งที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจของรัสเซีย ซึ่งส่งผลกระทบอุตสาหกรรมการส่งออกของลัตเวียเป็นอย่างมากโดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาคการผลิต ลัตเวียพยายามที่จะแสวงหาตลาดใหม่ๆ หลังจากที่ตลาดรัสเซียและกลุ่มประเทศ CIS พังทลาย แต่ไม่ประสบผลสำเร็จ ในปี 2545 (ค.ศ. 2002) GDP ของ ลัตเวียมีมูลค่า 18.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ สำหรับด้านดุลบัญชีเดินสะพัดในปี 2541 (ค.ศ. 1998) ขาดดุลร้อยละ 11.1 ของ GDP ซึ่งเป็นการขาดดุลที่สูงที่สุดในช่วงการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจของยุโรปกลางและตะวันออก อย่างไรก็ตาม สถานการณ์ดังกล่าวนี้ไม่ส่งผลกระทบต่อตลาดเงินทุน ลัตเวียมีนโยบายที่สมัครเข้าเป็นสมาชิกองค์การการค้าโลก (WTO) ในปี 2540 (ค.ศ. 1997) และต่อมาเมื่อเดือนตุลาคม 2541 (ค.ศ. 1998) ลัตเวียได้เข้าเป็นสมาชิก WTO ซึ่งได้ช่วยในการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันทางการค้าให้มากขึ้น และการปรับระบบภายในเพื่อให้สอดคล้องกับข้อกำหนดขององค์การการค้าโลก ก็จะช่วยในการเตรียมการของลัตเวียที่จะเข้าเป็นสมาชิกสหภาพยุโรป นอกจากนั้น การเข้าร่วมในเขตการค้าเสรี สินค้าเกษตรระหว่างประเทศบอลติก ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม2540 (ค.ศ. 1997) ก็จะช่วยกระตุ้นให้มีการค้าขายระหว่างกันมากขึ้น

ในด้านการค้าระหว่างประเทศ ประเทศในกลุ่มสหภาพยุโรปเป็นคู่ค้าที่สำคัญของลัตเวีย

สำหรับเรื่องการว่างงาน ตามสถิติของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องระบุว่า มีผู้ลงทะเบียนเป็นผู้ว่างงานร้อยละ 8.6 ของประชากรในวัยทำงาน ซึ่งอัตราว่างงานเพิ่มขึ้นหลังจากที่เกิดวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจในรัสเซีย โดยเขตที่มีการว่างงานในอัตราสูงอยู่ทางภาคตะวันออกของประเทศ ในด้านการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ รัฐบาลแต่ละชุดได้ดำเนินการอย่างจริงจังที่จะแปรรูปรัฐวิสาหกิจ โดยในปี 2539 (ค.ศ. 1996) รัฐบาลได้โอนกรรมสิทธิ์รัฐวิสาหกิจต่าง ๆ ที่อยู่ในข่ายจะต้องแปรรูปไปให้แก่หน่วยงานPrivatization Agency โดยวางแผนว่า การแปรรูปรัฐวิสาหกิจขนาดเล็กและขนาดกลางกำหนดเสร็จสิ้นภายในปี 2540 (ค.ศ. 1997) นอกจากนั้น รัฐบาลยังเร่งดำเนินการแปรรูปรัฐวิสาหกิจขนาดใหญ่ที่มีการดำเนินการในลักษณะผูกขาด โดยมีจุดประสงค์ที่จะให้บริษัทหรือรัฐวิสาหกิจต่างประเทศที่ดำเนินธุรกิจอย่างเดียวกันเข้ามาลงทุน

  • ดรรชนีเศรษฐกิจ (ปี 2547)
  • ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) 13.63 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ
  • GDPต่อหัว 5,892 ดอลลาร์สหรัฐ
  • อัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ร้อยละ 8.5
  • อัตราเงินเฟ้อ ร้อยละ 6.2
  • อัตราการว่างงาน ร้อยละ 8.5
  • ดุลการค้า ขาดดุลการค้า 3.03 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ
  • ส่งออก/ นำเข้า 3.94 และ 6.97 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ
  • ประเทศคู่ค้าส่งออกสำคัญ สหราชอาณาจักร (ร้อยละ 12.9) เยอรมนี (ร้อยละ 12.3) สวีเดน (ร้อยละ 10.3) ลิทัวเนีย (ร้อยละ 9.5) เอสโตเนีย (ร้อยละ 8.2)/ ประเทศในกลุ่มสหภาพยุโรป (ร้อยละ 76.9)
  • ประเทศคู่ค้านำเข้าที่สำคัญ เยอรมนี (ร้อยละ 14.5) ลิทัวเนีย (ร้อยละ 12.4) รัสเซีย (ร้อยละ 8.9) เอสโตเนีย (ร้อยละ 7.1) ฟินแลนด์ (ร้อยละ 6.5)/ ประเทศในกลุ่มสหภาพยุโรป (ร้อยละ 75.1)
  • สินค้าส่งออกสำคัญ ไม้และผลิตภัณฑ์จากไม้ โลหะและโลหะภัณฑ์ สิ่งทอ
  • สินค้านำเข้าสำคัญ เครื่องจักรและส่วนประกอบ อุปกรณ์ที่ใช้ในการขนส่ง เคมีภัณฑ์
  • การลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) 380.74 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (2546)
  • ขีดความสามารถด้านการแข่งขัน (Global Competitiveness Index) ในปี 2549 อยู่ในลำดับที่ 36 (ปี 2548 ลำดับที่ 39)

ประชากรศาสตร์

[แก้]

ประชากร

[แก้]
  • ประชากร 2.3 ล้านคน (ปี 2546) อันดับที่ 142 ของโลก
  • ประชากร 1 ใน 3 อาศัยอยู่ในเมืองหลวง
  • กลุ่มชนชาติ ชาวลัตเวีย 52% ชาวรัสเซีย 34% นอกนั้นเป็นเชื้อชาติเบลารุส ยูเครน โปแลนด์ ลิทัวเนีย เยอรมัน และ อื่นๆ
  • อัตรการเจริญเติบโตของประชากร 1.3%
  • อัตราการเกิด 9040 คน/ในปี 2005 (อันดับที่ 185 ของโลก)
  • อัตราการเสียชีวิต 1366 คน/ในปี2004 (อันดับที่ 34 ของโลก)
  • จำนวนผู้ป่วยโรคเอดส์ 7600 คน/ในปี 2001 (อันดับที่ 104 ของโลก)
  • อายุเฉลี่ย ชาย : 64 ปี / หญิง : 75 ปี
  • จำนวนผู้ใหญ่ที่รู้หนังสือ 99.7%

การศึกษา

[แก้]

ประเทศลัตเวียมีมหาวิทยาลัยชั้นนำของรัฐบาลคือมหาวิทยาลัยลัตเวีย (อันดับ 1 ของประเทศและอันดับ 1016 ของโลก) และมหาวิทยาลัยชั้นนำของเอกชนคือมหาวิทยาลัยตูรีบา (อันดับ 7 ของประเทศและอันดับ 6084 ของโลก) [19][20]

ศาสนา

[แก้]

ลัทธิลูเทอแรน 19.6% คริสต์นิกายออร์ทอดอกซ์ 15.3% คริสต์นิกายอื่น ๆ 1% อื่น ๆ 0.4% และระบุไม่ได้ 63.7%

อ้างอิง

[แก้]
  1. Social Statistics Department of Latvia. "Pastāvīgo iedzīvotāju etniskais sastāvs reģionos un republikas pilsētās gada sākumā".
  2. "Tieslietu ministrijā iesniegtie reliģisko organizāciju pārskati par darbību 2011. gadā" (ภาษาลัตเวีย). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 November 2012. สืบค้นเมื่อ 25 July 2012.
  3. 3.0 3.1 Ģērmanis, Uldis (2007). Ojārs Kalniņš (บ.ก.). The Latvian Saga (ภาษาอังกฤษ) (11th ed.). Riga: Atēna. p. 268. ISBN 9789984342917. OCLC 213385330.
  4. "History". Embassy of Finland, Riga. 9 July 2008. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 May 2011. สืบค้นเมื่อ 2 September 2010. Latvia declared independence on 21 August 1991...The decision to restore diplomatic relations took effect on 29 August 1991
  5. "Surface water and surface water change". Organisation for Economic Co-operation and Development (OECD). สืบค้นเมื่อ 2020-10-11.
  6. "Population number, its changes and density | Central Statistical Bureau of Latvia". www.csb.gov.lv.
  7. "Population Census 2011 – Key Indicators". Central Statistical Bureau of Latvia. 2 April 2012. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 10 June 2012. สืบค้นเมื่อ 2 June 2012.
  8. 8.0 8.1 8.2 8.3 "Latvia". IMF.
  9. "Gini coefficient of equivalised disposable income – EU-SILC survey". ec.europa.eu. Eurostat. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 20 March 2019. สืบค้นเมื่อ 20 March 2020.
  10. Human Development Report 2020 The Next Frontier: Human Development and the Anthropocene (PDF). United Nations Development Programme. 15 December 2020. pp. 343–346. ISBN 978-92-1-126442-5. สืบค้นเมื่อ 16 December 2020.
  11. "The Constitution of the Republic of Latvia, Chapter 1 (Article 4)". The Parliament of the Republic of Latvia. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 December 2013. สืบค้นเมื่อ 20 November 2013.
  12. "Official Language Law, Section 3 (Article 1)". The Parliament of the Republic of Latvia. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 January 2014. สืบค้นเมื่อ 20 November 2013.
  13. "Official Language Law, Sections 4, 5 and 18 (Article 4)". Likumi.lv. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 July 2019. สืบค้นเมื่อ 7 October 2019.
  14. "Official Language Law, Section 3 (Articles 3 and 4)". The Parliament of the Republic of Latvia. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 January 2014. สืบค้นเมื่อ 20 November 2013.
  15. "The Constitution of the Republic of Latvia (Latvijas Republikas Satversme)". Likumi.lv (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2021-02-18.
  16. "Latvia and Riga: weather and seasons: when to travel". www.travelsignposts.com.
  17. "History of Latvia 1918-1940". [Latvia.eu] (ภาษาอังกฤษ). 2015-12-03. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-06-08. สืบค้นเมื่อ 2021-09-10.
  18. https://www.usnews.com/news/best-countries/latvia
  19. Ranking Web of University 2016
  20. หรรษาลัตเวีย

บรรณานุกรม

[แก้]

ลัตเวีย

[แก้]
  • Arveds, Švābe (1949). The Story of Latvia: A Historical Survey. Stockholm: Latvian National Foundation. OCLC 2961684.
  • Bleiere, Daina; and Ilgvars Butulis; Antonijs Zunda; Aivars Stranga; Inesis Feldmanis (2006). History of Latvia: the 20th century. Rīga: Jumava. ISBN 9984-38-038-6. OCLC 70240317.
  • Cimdiņa, Ausma; and Deniss Hanovs (eds.) (2011). Latvia and Latvians: A People and a State in Ideas, Images and Symbols. Rīga: Zinātne Publishers. ISBN 978-9984-808-83-3. {{cite book}}: |author2= มีชื่อเรียกทั่วไป (help)
  • Dreifelds, Juris (1996). Latvia in Transition. Cambridge University Press. ISBN 978-0-521-55537-1.
  • Dzenovska, Dace. School of Europeanness: Tolerance and other lessons in political liberalism in Latvia (Cornell University Press, 2018).
  • Ģērmanis, Uldis (2007). The Latvian Saga. Rīga: Atēna. ISBN 978-9984-34-291-7.
  • Hazans, Mihails. "Emigration from Latvia: Recent trends and economic impact." in Coping with emigration in Baltic and East European countries (2013) pp: 65–110. online
  • Lumans, Valdis O. (2006). Latvia in World War II. Fordham University Press. ISBN 0-8232-2627-1.
  • Meyendorff, Alexander Feliksovich (1922). "Latvia" . ใน Chisholm, Hugh (บ.ก.). Encyclopædia Britannica (12th ed.). London & New York: The Encyclopædia Britannica Company.
  • Plakans, Andrejs (1998). Historical Dictionary of Latvia (2nd ed.). Lanham: The Scarecrow Press. ISBN 978-0-8108-5515-1.
  • Plakans, Andrejs (2010). The A to Z of Latvia. Lanham: The Scarecrow Press. ISBN 978-0-8108-7209-7.
  • Plakans, Andrejs (1995). The Latvians: A Short History. Stanford: Hoover Institution Press. ISBN 978-0-8179-9302-3.
  • Pabriks, Artis, and Aldis Purs. Latvia: the challenges of change (Routledge, 2013).
  • Rutkis, Jānis (ed.) (1967). Latvia: Country & People. Stockholm: Latvian National Foundation. OCLC 457313. {{cite book}}: |author= มีชื่อเรียกทั่วไป (help)
  • Turlajs, Jānis (2012). Latvijas vēstures atlants. Rīga: Karšu izdevniecība Jāņa sēta. ISBN 978-9984-07-614-0.

รัฐบอลติก

[แก้]
  • Auers, Daunis. Comparative politics and government of the Baltic States: Estonia, Latvia and Lithuania in the 21st century (Springer, 2015).
  • Bojtár, Endre (1999). Forward to the Past – A Cultural History of the Baltic People. Budapest: Central European University Press. ISBN 978-963-9116-42-9.
  • Hiden, John; Patrick Salmon (1991). The Baltic Nations and Europe: Estonia, Latvia, and Lithuania in the Twentieth Century. London: Longman. ISBN 0-582-08246-3.
  • Hiden, John; Vahur Made; David J. Smith (2008). The Baltic Question during the Cold War. London: Routledge. ISBN 978-0-415-56934-7.
  • Kasekamp, Andres (2010). A History of the Baltic States. London: Palgrave Macmillan. ISBN 978-0-230-01940-9.
  • Jacobsson, Bengt (2009). The European Union and the Baltic States: Changing forms of governance. London: Routledge. ISBN 978-0-415-48276-9.
  • Lane, Thomas, et al. The Baltic States: Estonia, Latvia and Lithuania (Routledge, 2013).
  • Lehti, Marko; and David J. Smith (eds.) (2003). Post-Cold War Identity Politics – Northern and Baltic Experiences. London/Portland: Frank Cass Publishers. ISBN 0-7146-8351-5. {{cite book}}: |author2= มีชื่อเรียกทั่วไป (help)
  • Lieven, Anatol (1994). The Baltic Revolution: Estonia, Latvia, Lithuania, and the Path to Independence (2nd ed.). New Haven/London: Yale University Press. ISBN 0-300-05552-8.
  • Naylor, Aliide (2020). The Shadow in the East: Vladimir Putin and the New Baltic Front. London: Bloomsbury Academic. ISBN 9781788312523.
  • Plakans, Andrejs (2011). A Concise History of the Baltic States. Cambridge: Cambridge UP. ISBN 978-0-521-54155-8.
  • Smith, Graham (ed.) (1994). The Baltic States: The National Self-determination of Estonia, Latvia, and Lithuania. New York: St. Martin's Press. ISBN 0-312-12060-5. {{cite book}}: |first= มีชื่อเรียกทั่วไป (help)
  • Steen, Anton. Between past and future: elites, democracy and the state in post-communist countries: a comparison of Estonia, Latvia and Lithuania (Routledge, 2019).
  • Williams, Nicola; Debra Herrmann; Cathryn Kemp (2003). Estonia, Latvia, and Lithuania (3rd ed.). London: Lonely Planet. ISBN 1-74059-132-1.

ความเชื่อมโยงกับรัสเซีย

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]
รัฐบาล
ข้อมูลพื้นฐาน
วัฒนธรรม
การท่องเที่ยว
แผนที่