ข้ามไปเนื้อหา

ประเทศบาห์เรน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ราชอาณาจักรบาห์เรน

مملكة البحرين (อาหรับ)
ที่ตั้งของ ประเทศบาห์เรน  (ในสีเขียว)
ที่ตั้งของ ประเทศบาห์เรน  (ในสีเขียว)
เมืองหลวง
และเมืองใหญ่สุด
มานามา
26°13′N 50°35′E / 26.217°N 50.583°E / 26.217; 50.583
ภาษาราชการภาษาอาหรับ[1]
ภาษาอังกฤษ[2][3]
กลุ่มชาติพันธุ์
(พ.ศ. 2563[4])
  • 47.4% ชาวบาห์เรน
  • 43.4% ชาวเอเชีย
  • 4.9% อาหรับอื่น ๆ (ไม่รวมกลุ่ม GCC)
  • 1.4% ชาวแอฟริกา
  • 1.1% ชาวอเมริกาเหนือ
  • 0.9% กลุ่มอาหรับ GCC
  • 0.8% ชาวยุโรป
  • 0.1% อื่น ๆ
ศาสนา
การปกครองรัฐเดี่ยว ระบบรัฐสภา ราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ
สมเด็จพระราชาธิบดีฮะมัด บิน อีซา อัลเคาะลีฟะฮ์
เจ้าชายซัลมาน มกุฎราชกุมารแห่งบาห์เรน
สภานิติบัญญัติรัฐสภา
สภาที่ปรึกษา
สภาผู้แทนราษฎร
ได้รับเอกราช
15 สิงหาคม พ.ศ. 2514
• ประกาศเอกราช[5]
14 สิงหาคม พ.ศ. 2514
• ได้รับเอกราชจากสหราชอาณาจักร[6]
15 สิงหาคม พ.ศ. 2514
• เป็นที่ยอมรับของสหประชาชาติ
21 กันยายน พ.ศ. 2514
• ราชอาณาจักรบาห์เรน
14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2545
พื้นที่
• รวม
785.08[7] ตารางกิโลเมตร (303.12 ตารางไมล์) (อันดับที่ 172)
น้อยมาก
ประชากร
• พ.ศ. 2560 ประมาณ
1,425,171[8] (อันดับที่ 149)
• สำมะโนประชากร พ.ศ. 2563
1,501,635[4]
1,912.7 ต่อตารางกิโลเมตร (4,953.9 ต่อตารางไมล์) (อันดับที่ 3)
จีดีพี (อำนาจซื้อ) พ.ศ. 2562 (ประมาณ)
• รวม
$78.760 พันล้าน[9] (อันดับที่ 94)
$52,129[9] (อันดับที่ 19)
จีดีพี (ราคาตลาด) พ.ศ. 2562 (ประมาณ)
• รวม
$41.607 พันล้าน[9] (อันดับที่ 91)
$27,538[9] (อันดับที่ 33)
เอชดีไอ (พ.ศ. 2562)เพิ่มขึ้น 0.852[10]
สูงมาก · อันดับที่ 42
สกุลเงินดีนาร์บาห์เรน (BHD)
เขตเวลาUTC+3
รหัสโทรศัพท์973
โดเมนบนสุด.bh

บาห์เรน (อังกฤษ: Bahrain; อาหรับ: البحرين) หรือชื่อทางการ ราชอาณาจักรบาห์เรน (อังกฤษ: Kingdom of Bahrain; อาหรับ: مملكة البحرين) เป็นประเทศเกาะในอ่าวเปอร์เซีย โดยมีสะพานเชื่อมต่อกับซาอุดีอาระเบียที่อยู่ห่างจากเกาะประมาณ 28 กิโลเมตร คือ สะพานคิงฟะฮัด ซึ่งเปิดใช้อย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน ค.ศ. 1986 ส่วนสะพานมิตรภาพกาตาร์-บาห์เรน ที่กำลังอยู่ในระหว่างวางแผนงานนั้น จะเชื่อมต่อบาห์เรนเข้ากับกาตาร์ ซึ่งตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ และจะเป็นสะพานขึงที่ยาวที่สุดในโลก

บาห์เรนเป็นที่ตั้งของอารยธรรมดิลมุนโบราณ[11] และมีชื่อเสียงด้านการประมงโดยเฉพาะอย่างยิ่ง การล่าไข่มุก ซึ่งบริเวณแห่งนี้ถือว่าได้รับความนิยมที่สุดในโลกในศตวรรษที่ 19[12] บาห์เรนเป็นหนึ่งในพื้นที่แรกสุดที่ได้รับอิทธิพลจากศาสนาอิสลาม ในช่วงชีวิตของมูฮัมมัด หลังการปกครองของอาหรับ บาห์เรนถูกปกครองโดยจักรวรรดิโปรตุเกสตั้งแต่ พ.ศ. 2064 ถึง พ.ศ. 2145 หลังจากการพิชิตโดยชาห์อับบาสที่ 1 แห่งราชวงศ์ซาฟาวิด ใน พ.ศ. 2326 กลุ่ม Bani Utbah ได้ยึดครองบาห์เรนจาก Nasr Al-Madhkur ผู้ว่าการชาวอาหรับในสมัยศตวรรษที่ 18 และนับตั้งแต่นั้นมาก็ถูกปกครองโดยราชวงศ์คาลิฟา โดยมี เชคอะห์เหม็ด อิบน์ มุฮัมหมัด อิบน์ อัลเคาะลีฟะฮ์ เป็นกษัตริย์พระองค์แรกของบาห์เรน

ในช่วงปลายทศวรรษ 1800 บาห์เรนกลายเป็นอาณานิคมของสหราชอาณาจักร จากการทำสนธิสัญญากับอังกฤษ ก่อนจะได้รับเอกราชใน พ.ศ. 2514[13] แต่เดิมนั้นบาห์เรนเคยเป็นส่วนหนึ่งของดินแดนเอมิเรตส์ บาห์เรนได้รับการประกาศให้เป็นประเทศที่ปกครองด้วยระบอบราชาธิปไตยตามรัฐธรรมนูญของอิสลามใน พ.ศ. 2545 ต่อมาในปี พ.ศ. 2554 บาห์เรนเจอปัญหาการประท้วงภายในประเทศซึ่งได้รับอิทธิพลจากอาหรับสปริงในภูมิภาคตะวันออกกลาง โดยราชวงศ์คาลิฟาผู้ปกครองประเทศถูกวิพากษ์วิจารณ์ว่าได้ละเมิดสิทธิมนุษยชนของกลุ่มต่าง ๆ ซึ่งมีผู้ไม่เห็นด้วยมากมาย รวมถึงนักการเมืองฝ่ายค้าน และประชากรมุสลิมชีอะฮ์ส่วนใหญ่[14][15]

เช่นเดียวกับประเทศในภูมิภาคตะวันออกกลาง บาห์เรนได้พัฒนาเศรษฐกิจของตนเองจากการค้าน้ำมันมาหลายทศวรรษและเป็นหนึ่งในประเทศแรก ๆ ที่ทำการส่งออกน้ำมันในอ่าวเปอร์เซีย[16] ซึ่งเป็นผลมาจากการลงทุนในภาคการธนาคารและการท่องเที่ยวเป็นเวลาหลายทศวรรษ[17] สถาบันการเงินที่ใหญ่ที่สุดในโลกหลายแห่งตั้งอยู่ในกรุงมานามาเมืองหลวงของประเทศ จึงมีดัชนีการพัฒนามนุษย์สูงและได้รับการยอมรับจากธนาคารโลกว่าบาห์เรนมีขนาดเศรษฐกิจที่ใหญ่ลำดับต้น ๆ ในตะวันออกกลางและเป็นประเทศที่มีรายได้สูง[18] บาห์เรนเป็นสมาชิกของสหประชาชาติ ขบวนการไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด สันนิบาตอาหรับ องค์การความร่วมมืออิสลาม และ คณะมนตรีความร่วมมือรัฐอ่าวอาหรับ

ภูมิศาสตร์

[แก้]

ที่ตั้ง

[แก้]

ทั้งเกาะบาห์เรนล้อมรอบด้วยอ่าวเปอร์เซีย

ลักษณะภูมิอากาศ

[แก้]

ช่วงฤดูหนาว (ธันวาคม – มีนาคม) อุณหภูมิจะอยู่ระหว่าง 19 - 29 องศาเซลเซียส ช่วงฤดูร้อน (เดือนเมษายน-ตุลาคม) อากาศร้อนชื้น อุณหภูมิอาจสูงถึง 49 องศาเซลเซียส

ลักษณะภูมิประเทศ

[แก้]

ภูมิประเทศเกือบทั้งหมดเป็นที่ราบต่ำในทะเลทราย ค่อย ๆ ชันขึ้น ทางตอนกลาง

ประวัติศาสตร์

[แก้]

ประกาศเอกราช

[แก้]

บาห์เรนเคยอยู่ใต้อารักขาของอังกฤษตั้งแต่ พ.ศ. 2363 โดยอำนาจการปกครองถูกแบ่งออกระหว่างเจ้าครองนครกับข้าหลวงอังกฤษ อิหร่านเคยอ้างสิทธิเหนือบาห์เรนมาตั้งแต่ศตวรรษที่ 19 แต่เมื่อ พ.ศ. 2523 อิหร่านยอมรับรายงานของ UN ที่แสดงข้อเท็จจริงว่าชาวบาห์เรนต้องการเป็นอิสระมากกว่าที่จะถูกรวมไว้กับอิหร่าน บาห์เรนได้รับเอกราชเมื่อวันที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2514 ตามสนธิสัญญามิตรภาพฉบับใหม่ที่ทำกับอังกฤษ หลังจากที่ความพยายามในการรวมประเทศกับกาตาร์และกลุ่มรัฐสงบศึก (ปัจจุบันคือสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์) เป็นสหพันธรัฐไม่ประสบความสำเร็จ

บาห์เรนเป็นประเทศแรกในอ่าวอาหรับที่ขุดพบน้ำมันดิบ ใน พ.ศ. 2475 และมีการสร้างโรงกลั่นน้ำมันขึ้น อย่างไรก็ดี ปริมาณน้ำมันดิบที่ขุดพบในบาห์เรนนับว่ามีจำนวนไม่มากนักเมื่อเทียบกับคูเวตและซาอุดีอาระเบีย

การเมืองการปกครอง

[แก้]
สมเด็จพระราชาธิบดีฮะมัด บิน อีซา อาล เคาะลีฟะฮ์ พระมหากษัตริย์ของประเทศบาห์เรน

ราชาธิปไตยกึ่งรัฐสภา มีพระมหากษัตริย์เป็นพระประมุขภายใต้รัฐธรรมนูญ ซึ่งเป็นไปตามผลการลงประชามติของชาวบาห์เรนเมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2545 ปัจจุบัน คือ สมเด็จพระราชาธิบดีฮะมัด บิน อีซา อาล เคาะลีฟะฮ์ (His Majesty King Hamad Bin Isa Al Khalifa) เสด็จขึ้นครองราชย์ (ในฐานะเจ้าผู้ครองรัฐ) เมื่อวันที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2542

การแบ่งเขตการปกครอง

[แก้]

ก่อนหน้า 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2545 ประเทศบาห์เรนแบ่งเขตการปกครองเป็นเทศบาลที่ปกครองจากเมืองหลวง (กรุงมานามา) 12 แห่ง ได้แก่

  1. อัลฮิดด์ (Al Hidd)
  2. อัลมะนามะห์ (Al Manamah)
  3. อัลมินตะเกาะห์อัลกะร์บียะห์ (Al Mintaqah al Gharbiyah)
  4. อัลมินตะเกาะห์อัลวุสตะ (Al Mintaqah al Wusta)
  5. อัลมินตะเกาะห์อัลชะมาลียะห์ (Al Mintaqah al Shamaliyah)
  6. อัลมุฮาร์รัก (Al Muharraq)
  7. อาร์ริฟาวาอัลมินตะเกาะห์อัลจะนูบียะห์ (Ar Rifa' wa al Mintaqah al Janubiyah)
  8. จิดด์ฮัฟส์ (Jidd Haffs)
  9. มะดีนัตฮามัด (Madinat Hamad ไม่แสดงบนแผนที่ แบ่งจากเทศบาลอาร์ริฟาฯ เมื่อ พ.ศ. 2534)
  10. มะดีนัตอิซา (Madinat 'Isa)
  11. จุซูร์ฮะวาร์ (Juzur Hawar)
  12. ซิตระห์ (Sitrah)

หลังจากวันดังกล่าวบาห์เรนได้กำหนดเขตการปกครองใหม่ซึ่งแบ่งเป็น 5 เขตผู้ว่าราชการ (governorates) ได้แก่ 1 เขตผู้ว่าราชการเหนือ (Northern) 2 เขตผู้ว่าราชการเมืองหลวง (Capital) 3 เขตผู้ว่าราชการมุฮัรร็อก (Muharraq) 4 เขตผู้ว่าราชการกลาง (Central) และ 5 เขตผู้ว่าราชการใต้ (Southern)[19] ต่อมาเขตผู้ว่าราชการกลางถูกยกเลิกไปรวมกับเขตผู้ว่าราชการเหนือ เขตผู้ว่าราชการใต้ และเขตผู้ว่าราชการเมืองหลวง เมื่อเดือนกันยายน พ.ศ. 2557[20] ทำให้ปัจจุบันบาห์เรนมีเขตปกครองทั้งสิ้น 4 แห่งดังนี้

เขตผู้ว่าราชการของประเทศบาห์เรน 5 เขต
(3 กรกฎาคม 2545 – กันยายน 2557)
เขตผู้ว่าราชการของประเทศบาห์เรน 4 เขต
(ปัจจุบัน)

การต่างประเทศ

[แก้]
ดอนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาเยือนประเทศบาห์เรนในปี 2017

บาห์เรนได้สร้างความสัมพันธ์ทวิภาคีกับ 190 ประเทศทั่วโลก[21] ในปี 2012 บาห์เรนมีเครือข่ายสถานทูต 25 แห่ง สถานกงสุล 3 แห่ง และคณะผู้แทนถาวร 4 แห่งของสันนิบาตอาหรับ สหประชาชาติ และสหภาพยุโรปตามลำดับ บาห์เรนยังมีสถานทูต 36 แห่งทั่วโลก[22] บาห์เรนยึดมั่นในมุมมองของสันนิบาตอาหรับเกี่ยวกับสันติภาพในตะวันออกกลางและสิทธิของชาวปาเลสไตน์โดยสนับสนุนการแก้ปัญหาของทั้งสองรัฐ[23] บาห์เรนยังเป็นหนึ่งในสมาชิกผู้ก่อตั้งของคณะมนตรีความร่วมมือรัฐอ่าวอาหรับ[24] ความสัมพันธ์กับอิหร่านมีแนวโน้มที่จะตึงเครียดอันเป็นผลมาจากการรัฐประหารที่ล้มเหลวในปี พ.ศ. 2524 ซึ่งบาห์เรนตำหนิอิหร่านและมีการเรียกร้องอธิปไตยของอิหร่านเหนือบาห์เรนเป็นครั้งคราวโดยประชาชนชาวอิหร่าน ส่งผลให้ความสัมพันธ์ของทั้งสองชาติตึงเครียดถึงปัจจุบัน[25]

บาห์เรนได้ต้อนรับสมาชิกคณะรัฐมนตรีของอิสราเอล Yossi Sarid ณ กรุงมานามาเป็นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2563 ในเดือนกันยายน พ.ศ. 2563 หลังจากที่สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ประกาศความสัมพันธ์เชิงสันติกับอิสราเอล บาห์เรนประกาศว่าจะอนุญาตให้เที่ยวบินเชิงพาณิชย์ทั้งหมดที่มาจากอิสราเอลบินผ่านน่านฟ้าของตน เมื่อวันที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2563 ประธานาธิบดีสหรัฐฯ ดอนัลด์ ทรัมป์ ประกาศว่าจะขอเป็นตัวแทนในการเจรจาสันติภาพระหว่างบาห์เรนและอิสราเอล เพื่อทำให้ความสัมพันธ์เป็นปกติภายใต้ข้อตกลงสันติภาพบาห์เรน–อิสราเอล

ความสัมพันธ์กับประเทศไทย

[แก้]

ไทยและบาห์เรนได้สถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตเมื่อวันที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2520 ทั้งสองประเทศมีความสัมพันธ์อันใกล้ชิด บาห์เรนถือเป็นพันธมิตรที่สำคัญที่สุดในภูมิภาคตะวันออกกลางและมีบทบาทเป็นสะพานเชื่อมไทยสู่ประเทศในตะวันออกกลางในหลายมิติ

กองทัพ

[แก้]
เรือ RBNS Sabha ของกองกำลังป้องกันตนเองบาห์เรน

ประเทศบาห์เรนไม่มีกองทัพอย่างเป็นทางการ แต่มีกองกำลังป้องกันตัวเอง ที่เรียกว่ากองกำลังป้องกันประเทศบาห์เรน (Bahren Defence Force หรือ BDF) ซึ่งมีอุปกรณ์และอาวุธสงครามครบครันซึ่งมีกำลังพลประมาณ 13,000 นาย[26] ผู้บัญชาการสูงสุดของกองทัพบาห์เรนคือ King Hamad bin Isa Al Khalifa และรองผู้บัญชาการสูงสุดคือมกุฎราชกุมาร Salman bin Hamad bin Isa Al Khalifa[27][28]

กองกำลังของบาห์เรนนั้นสั่งซื้ออาวุธสงครามจากสหรัฐอเมริกาเป็นหลัก[29] เช่น เครื่องบินรบ F-16 Fighting Falcon, F-5 Freedom Fighter, UH-60 Blackhawk, รถถัง M60A3 และเรือรบฟริเกตคลาส Oliver Hazard Perry ซึ่งต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น RBNS Sabha[30][31]

รัฐบาลบาห์เรนมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับสหรัฐอเมริกา โดยได้ลงนามในข้อตกลงความร่วมมือกับกองทัพสหรัฐฯ และได้จัดหาฐานทัพให้แก่กองทัพสหรัฐในจัฟแฟร์ตั้งแต่ต้นทศวรรษ 1990 โดยที่นี่คือบ้านของกองบัญชาการกองบัญชาการกองบัญชาการกลางกองทัพเรือสหรัฐฯ (COMUSNAVCENT) / กองเรือที่ห้าของสหรัฐอเมริกา (COMFIFTHFLT) และบุคลากรทางทหารประมาณ 6,000 นายของสหรัฐฯ ประจำการอยู่ที่นี่จนถึงปัจจุบัน[32]

บาห์เรนเข้าร่วมการแทรกแซงในประเทศเยเมนที่นำโดยซาอุดีอาระเบีย ในการต่อต้านชีอะห์ฮูซีและกองกำลังที่ภักดีต่ออดีตประธานาธิบดีอาลี อับดุลลาห์ ซาเลห์[33]

เศรษฐกิจ

[แก้]

โครงสร้าง

[แก้]
กรุงมานามา เมืองหลวงของประเทศ

ตามรายงานของคณะกรรมการเศรษฐกิจและสังคมแห่งสหประชาชาติสำหรับเอเชียตะวันตกในเดือนมกราคม พ.ศ. 2549 บาห์เรนมีเศรษฐกิจที่เติบโตเร็วที่สุดในโลกอาหรับ[34] บาห์เรนยังมีเศรษฐกิจที่เสรีที่สุดในตะวันออกกลางและรวมกันเป็นอันดับที่สิบสองของโลกโดยอิงจากดัชนีเสรีภาพทางเศรษฐกิจประจำปี พ.ศ. 2554 ที่ตีพิมพ์โดยมูลนิธิเฮอริเทจ/เดอะวอลล์สตรีทเจอร์นัล[35]

ในปี พ.ศ. 2551 บาห์เรนได้รับเลือกให้เป็นศูนย์กลางทางการเงินที่เติบโตเร็วที่สุดในโลกโดยดัชนี Global Financial Centres ของนครลอนดอน ภาคการธนาคารและบริการทางการเงินของบาห์เรน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการธนาคารอิสลาม ได้รับประโยชน์จากความเฟื่องฟูของภูมิภาคซึ่งได้แรงหนุนจากความต้องการน้ำมัน การผลิตและการแปรรูปปิโตรเลียมเป็นผลิตภัณฑ์ที่ส่งออกมากที่สุดของบาห์เรน โดยคิดเป็น 60% ของรายรับจากการส่งออก 70% ของรายได้ของรัฐบาล และ 11% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (จีดีพี) การผลิตอะลูมิเนียมเป็นสินค้าส่งออกมากเป็นอันดับสอง รองลงมาคือกิจกรรมทางการเงินและวัสดุก่อสร้าง

บาห์เรนเป็นที่ตั้งของบริษัทข้ามชาติหลายแห่งและดำเนินการก่อสร้างในโครงการอุตสาหกรรมที่สำคัญหลายโครงการ การส่งออกส่วนใหญ่ประกอบด้วยผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมที่ทำจากน้ำมันดิบนำเข้า ซึ่งคิดเป็น 51% ของการนำเข้าของประเทศในปี พ.ศ. 2550[36] บาห์เรนพึ่งพาการนำเข้าอาหารจากชาติอื่นเพื่อเลี้ยงประชากร[37] โดยอาศัยการนำเข้าเนื้อสัตว์จากออสเตรเลียและกว่า 75% ของปริมาณผลไม้ต้องนำเข้าจากยุโรปและออสเตรเลีย เนื่องจากบาห์เรนมีเนื้อที่เพาะปลูกและการทำเกษตรเพียง 2.9% ของประเทศ ในปี พ.ศ. 2547 บาห์เรนได้ลงนามในข้อตกลงเขตการค้าเสรีบาห์เรน–สหรัฐฯ ซึ่งจะช่วยลดอุปสรรคทางการค้าระหว่างสองประเทศ จากการสำรวจในปี 2011 เนื่องจากการรวมกันของวิกฤตการเงินโลกและความไม่สงบในช่วงที่ผ่านมา ส่งผลให้อัตราการเติบโตของจีดีพีลดลงเหลือ 1.3% ซึ่งเป็นอัตราการเติบโตที่ต่ำที่สุดนับตั้งแต่ปี 1994[38]

สถานการณ์ปัจจุบัน

[แก้]
  • อัตราความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ร้อยละ 6.1 (ไทย 2.6%)
  • ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ 18.97 พันล้าน USD (ไทย 273.4 พันล้าน USD)
  • รายได้ประชาชาติต่อหัว 18,979 USD (ไทย 4,081 USD)
  • ปริมาณน้ำมันสำรอง 125 ล้านบาร์เรล

การท่องเที่ยว

[แก้]

บาห์เรนมีจำนวนนักท่องเที่ยวกว่า 8 ล้านคนในปี 2008[39] โดยส่วนมากเป็นชาวมุสลิมจากประเทศเพื่อนบ้าน[40] ประเทศบาห์เรนมีสถานที่ดึงดูดคือตึกสูงใหญ่ที่สามารถชมทัศนียภาพอันสวยงามทั่วเมือง และสนามแข่งฟอร์มูลาวัน ที่มีชื่อเสียง

สถานที่ท่องเที่ยวของบาห์เรนเป็นการผสมผสานวัฒนธรรมอาหรับสมัยใหม่เข้ากับมรดกทางโบราณคดีของอารยธรรมโบราณซึ่งมีอายุกว่าห้าพันปี[41] เกาะแห่งนี้เป็นที่ตั้งของป้อมปราการต่าง ๆ รวมถึง Qalat Al Bahrain ซึ่งได้รับการขึ้นทะเบียนโดยยูเนสโกให้เป็นมรดกโลก พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติบาห์เรนมีสิ่งประดิษฐ์จากประวัติศาสตร์ของประเทศย้อนหลังไปถึงมนุษย์คนแรกของเกาะเมื่อ 9,000 ปีที่แล้วและ Beit Al Quran (อาหรับ: بيت القرآن ความหมาย: บ้านของ Qur'an) เป็นพิพิธภัณฑ์ที่เก็บสิ่งประดิษฐ์ของศาสนาอิสลาม คัมภีร์กุรอ่าน สถานที่ท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์ที่ได้รับความนิยมบางแห่งในราชอาณาจักร ได้แก่ มัสยิด Al Khamis ซึ่งเป็นหนึ่งในมัสยิดที่เก่าแก่ที่สุดในภูมิภาค ป้อม Arad ใน Muharraq วัด Barbar ซึ่งเป็นวัดโบราณจากสมัย Dilmunite ของบาห์เรนเช่นกัน

กิจกรรมอื่น ๆ ที่ได้รับความนิยมสูง ได้แก่ การดูนก การชมธรรมชาติ การดำน้ำลึก และการขี่ม้า นอกจากนี้ห้างสรรพสินค้าในกรุงมานามายังถือเป็นห้างสรรพสินค้าที่ใหญ่และครบวงจรที่สุดแห่งหนึ่งในตะวันออกกลาง โดยลูกค้าส่วนมากมาจากซาอุดิอาระเบีย

ในเดือนมกราคม พ.ศ. 2562 สำนักข่าวบาห์เรนที่ดำเนินการโดยรัฐได้ประกาศเปิดสวนสนุกใต้น้ำในช่วงฤดูร้อนปี พ.ศ. 2562 ซึ่งครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 100,000 ตารางเมตร โดยมีเครื่องบินโบอิง 747 ที่จมอยู่ใต้น้ำเป็นจุดศูนย์กลางของสถานที่[42] โครงการนี้เป็นความร่วมมือระหว่าง Supreme Council for Environment, Bahrain Tourism and Exhibitions Authority (BTEA) และนักลงทุนเอกชน บาห์เรนหวังว่านักดำน้ำจากทั่วโลกจะมาเยือนอุทยานใต้น้ำ ซึ่งจะรวมถึงแนวปะการังเทียม บ้านพ่อค้าไข่มุกบาห์เรน และงานประติมากรรมต่าง ๆ สวนสนุกแห่งนี้ตั้งใจสร้างขึ้นเพื่อให้เป็นสวนสนุกใต้น้ำที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมที่ใหญ่ที่สุดในโลก

ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2548 บาห์เรนเป็นเจ้าภาพจัดงานเทศกาลประจำปีในเดือนมีนาคมในชื่อ Spring of Culture[43] ซึ่งมีนักดนตรีและศิลปินที่มีชื่อเสียงระดับนานาชาติมาแสดงคอนเสิร์ต มานามาได้รับเลือกให้เป็นเมืองหลวงแห่งวัฒนธรรมอาหรับประจำปี พ.ศ. 2555 และเมืองหลวงแห่งการท่องเที่ยวอาหรับประจำปี พ.ศ. 2556 โดยสันนิบาตอาหรับและการท่องเที่ยวแห่งเอเชียประจำปี พ.ศ. 2557 โดยได้รับเลือกให้เป็นเมืองหลวงแห่งการท่องเที่ยวแห่งอ่าวปี พ.ศ. 2559 โดยคณะมนตรีความร่วมมือรัฐอ่าวอาหรับ

คมนาคม และ โทรคมนาคม

[แก้]

คมนาคม

[แก้]
เครื่องบินแอร์บัส เอ 320-200 ของสายการบินกัล์ฟแอร์

สายการบินแห่งชาติ คือ สายการบิน กัล์ฟแอร์ ให้บริการในเส้นทางต่างประเทศทั้งหมด 40 เมืองทั่วโลก ใน แอฟริกา เอเชีย ยุโรป ตะวันออกกลาง

สาธารณสุข

[แก้]
รถพยาบาล IHB

บาห์เรนมีระบบการดูแลสุขภาพที่เป็นมาตรฐานสากล[44] ย้อนหลังไปถึงปี พ.ศ. 2503 การดูแลสุขภาพที่รัฐบาลจัดให้นั้นฟรีสำหรับพลเมืองบาห์เรนและให้เงินอุดหนุนจำนวนมากสำหรับผู้ที่ไม่ใช่ชาวบาห์เรน ค่าใช้จ่ายด้านการรักษาพยาบาลคิดเป็น 4.5% ของจีดีพี[45] ตามข้อมูลขององค์การอนามัยโลก แพทย์และพยาบาลของบาห์เรนเป็นแรงงานส่วนใหญ่ของประเทศในภาคส่วนด้านสุขภาพ ซึ่งแตกต่างจากรัฐในอ่าวที่อยู่ใกล้เคียง โรงพยาบาลแห่งแรกในบาห์เรนคือโรงพยาบาลอเมริกัน มิชชั่น ซึ่งเปิดในปี พ.ศ. 2436

อายุเฉลี่ยของประชากรในบาห์เรนคือ 73 ปี สำหรับผู้ชาย และ 76 ปีสำหรับผู้หญิง เมื่อเทียบกับหลายประเทศในภูมิภาค ความชุกในการเกิดของโรคเอดส์ มาลาเรีย และวัณโรคค่อนข้างต่ำ กระทรวงสาธารณสุขสนับสนุนการรณรงค์ฉีดวัคซีนป้องกันวัณโรคและโรคอื่น ๆ เป็นประจำ เช่น ไวรัสตับอักเสบบี[46]

ประชากรศาสตร์

[แก้]

เชื้อชาติ

[แก้]

ศาสนา

[แก้]
ศาสนาในประเทศบาห์เรน
ศาสนา %
อิสลาม
  
81.2%
คริสต์
  
9%
อื่น ๆ
  
9.8%

ประชากรส่วนมากของประเทศนับถือ และยึดศาสนาอิสลามเป็นแบบแผน ในการดำเนินชีวิต ซึ่งจะเห็นได้ว่าสิ่งก่อสร้าง โบราณวัตถุ โบราณสถาน วัฒนธรรมต่าง ๆ เป็นสิ่งสะท้อนอิทธิพลของศาสนาอิสลามให้เห็นเด่นชัดในประเทศบาห์เรน และประชากรส่วนมากพูดภาษาอาหรับซึ่งใช้กันในแถบภูมิภาคนี้

ภาษา

[แก้]

มี ภาษาอาหรับ เป็นภาษาราชการ

กีฬา

[แก้]

ฟุตบอล

[แก้]
ฟุตบอลทีมชาติบาห์เรน (ชุดสีแดง) ในการแข่งขันฟุตบอลโลกรอบคัดเลือกโซนเอเชีย พบกับทีมชาติออสเตรเลีย

ฟุตบอลเป็นกีฬาที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในบาห์เรน ฟุตบอลทีมชาติบาห์เรนได้เข้าแข่งขันหลายครั้งใน เอเชียนคัพ, Arab Nations Cup และเล่นในรอบคัดเลือกฟุตบอลโลกทุกครั้งแม้ว่าจะไม่ยังเคยผ่านเข้ารอบสุดท้ายฟุตบอลโลก

วัฒนธรรม

[แก้]

การแต่งกาย

[แก้]
การแต่งกายของผู้ชายตามวัฒนธรรมอาหรับ

เนื่องจากประเทศในแถบคาบสมุทรอาหรับเป็นประเทศที่มีสภาพอากาศร้อนและแห้งแล้ง อีกทั้งประชาชนยังนับถือศาสนาอิสลามซึ่งมีข้อกำหนดเกี่ยวกับการแต่งตัวไว้อย่างเคร่งครัด ทำให้ชาวอาหรับแต่งกายด้วยเสื้อผ้าที่หลวมเพื่อให้อากาศถ่ายเทได้อย่างสะดวก แต่ปกปิดร่างกายอย่างมิดชิดทั้งผู้ชายและผู้หญิงเพื่อช่วยป้องกันไม่ให้ร่างกายเสียความชุ่มชื้น ผู้ชายจะใส่ชุดสีขาว เรียกว่า "โต๊ป" (Thobe) ส่วนผู้หญิงต้องสวมใส่เสื้อคลุมสีดำที่เรียกว่า "อาบายะห์" (Abaya)

ศิลปะ

[แก้]
วัดฮินดูในกรุงมานามา

ศิลปะสมัยใหม่ในประเทศเกิดขึ้นอย่างเป็นทางการในทศวรรษ 1950 ส่งผลให้มีการก่อตั้งสังคมศิลปะ Expressionism และ surrealism เช่นเดียวกับศิลปะการประดิษฐ์ตัวอักษรเป็นรูปแบบศิลปะที่ได้รับความนิยมในประเทศ การแสดงออกทางนามธรรมได้รับความนิยมในทศวรรษที่ผ่านมา การผลิตเครื่องปั้นดินเผาและการทอผ้ายังเป็นผลิตภัณฑ์ยอดนิยมที่ผลิตขึ้นอย่างแพร่หลายในหมู่บ้านบาห์เรน การประดิษฐ์ตัวอักษรภาษาอาหรับได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นเมื่อรัฐบาลบาห์เรนเป็นผู้อุปถัมภ์ศิลปะอิสลามซึ่งมีจุดสิ้นสุดในการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์อิสลาม Beit Al Quran

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติบาห์เรนจัดแสดงนิทรรศการศิลปะร่วมสมัยถาวร เทศกาล Spring of Culture ประจำปี ที่จัดขึ้นโดย Bahrain Authority for Culture and Antiquities ได้กลายเป็นงานยอดนิยมที่ส่งเสริมศิลปะการแสดงในราชอาณาจักร สถาปัตยกรรมของประเทศบาห์เรนคล้ายกับประเทศเพื่อนบ้านในอ่าวเปอร์เซีย หอลมซึ่งสร้างการระบายอากาศตามธรรมชาติในบ้าน เป็นภาพที่เห็นได้ทั่วไปในอาคารเก่า โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเขตเมืองเก่าของมานามาและมูฮาร์รัก[47][48][49]

วรรณกรรม

[แก้]

วรรณคดียังคงเป็นปัจจุยสะท้อนวัฒนธรรมที่เข้มแข็งในประเทศ นักเขียนและกวีดั้งเดิมส่วนใหญ่เขียนในสไตล์อาหรับคลาสสิก ในช่วงไม่กี่ปีมานี้ จำนวนกวีรุ่นเยาว์ที่ได้รับอิทธิพลจากวรรณกรรมตะวันตกเพิ่มขึ้น ส่วนใหญ่เขียนเป็นกลอนอิสระและมักรวมถึงเนื้อหาทางการเมืองหรือเรื่องส่วนตัว

วันหยุด

[แก้]
วันที่ ภาษาอังกฤษ ภาษาอาหรับ ความหมาย
1 มกราคม New Year's Day رأس السنة الميلادية วันปีใหม่สากล
1 พฤษภาคม Labour Day يوم العمال วันแรงงาน
16 ธันวาคม National Day اليوم الوطني วันชาติ[50]
17 ธันวาคม Accession Day يوم الجلوس
1 มุฮัรร็อม Islamic New Year رأس السنة الهجرية วันขึ้นปีใหม่ของชาวมุสลิม เดือนแรกของปฏิทินฮิจเราะห์หรือปฏิทินอิสลาม เป็นเดือนที่มุสลิมชีอะฮ์ไว้อาลัยต่ออิหม่ามฮุซัยน์ หลานตาศาสนทูตมุฮัมมัด
9, 10 มุฮัรร็อม Day of Ashura عاشوراء วันระลึกถึงการพลีชีพของอิหม่ามฮุสเซน
12 เราะบีอุลเอาวัล Prophet Muhammad's birthday المولد النبوي เป็นการระลึกถึงวันเกิดของท่านศาสดามูฮัมหมัด ซึ่งเฉลิมฉลองกันส่วนใหญ่ในโลกมุสลิม
1, 2, และ 3 เชาวาล Little Feast عيد الفطر ระลึกถึงการสิ้นสุดของเดือนรอมฎอน
9 ษุลฮิจญ์ญะฮ์ Arafat Day يوم عرفة การรำลึกถึงการเทศนาครั้งสุดท้ายของมูฮัมหมัดและการสิ้นสุดข้อความของศาสนาอิสลาม
10, 11, 12, และ 13 ษุลฮิจญ์ญะฮ์ Feast of the Sacrifice عيد الأضحى รำลึกถึงความเต็มใจของอิบราฮิมที่จะเสียสละลูกชายของเขา เรียกอีกอย่างว่างานฉลองใหญ่ (ฉลองตั้งแต่วันที่ 10 ถึง 13)

อ้างอิง

[แก้]
  1. "CONSTITUTION OF THE KINGDOM OF BAHRAIN (ISSUED IN 2002) AND ITS AMENDMENTS (ISSUED IN 2012)" (PDF). National Institution for Human Rights. National Institute for Human Rights. สืบค้นเมื่อ 31 August 2020.
  2. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ BO
  3. "Living in Bahrain". BSB. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ June 24, 2012. สืบค้นเมื่อ June 7, 2017.
  4. 4.0 4.1 อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ Census2020
  5. "Bahrain ends special pact". The Straits Times. 15 August 1971.
  6. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ CIA
  7. "some spreadsheet". data.gov.bh. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-06-11. สืบค้นเมื่อ 4 August 2021.
  8. "การประเมินประชากรโลก พ.ศ. 2560". ESA.UN.org (custom data acquired via website). United Nations Department of Economic and Social Affairs, Population Division. สืบค้นเมื่อ 10 September 2017.
  9. 9.0 9.1 9.2 9.3 "World Economic Outlook Database, October 2018". IMF.org. International Monetary Fund. สืบค้นเมื่อ 12 March 2019.
  10. Human Development Report 2020 The Next Frontier: Human Development and the Anthropocene (PDF). United Nations Development Programme. 15 December 2020. pp. 343–346. ISBN 978-92-1-126442-5. สืบค้นเมื่อ 16 December 2020.
  11. "Saudi Aramco World : Oman: The Lost Land". archive.aramcoworld.com.
  12. Baynes, T. S., ed. (1878), Bahrein, 3 (9th ed.), New York: Charles Scribner's Sons, p. 240
  13. "The history of British involvement in Bahrain's internal security". openDemocracy (ภาษาอังกฤษ).
  14. Staff, By the CNN Wire. "Bahrain says ban on protests is response to rising violence". CNN.
  15. "How Bahrain uses sport to whitewash a legacy of torture and human rights abuses | David Conn". the Guardian (ภาษาอังกฤษ). 2017-07-17.
  16. http://www.jepeterson.net/sitebuildercontent/sitebuilderfiles/Peterson_Bahrain_Reforms.pdf
  17. "Bahrain Financial Services". web.archive.org. 2010-12-28. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-12-28. สืบค้นเมื่อ 2021-08-19.{{cite web}}: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์)
  18. "Bahrain". IMUNA | NHSMUN | Model UN (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).
  19. กฤษฎีกาจัดตั้งเขตผู้ว่าราชการ
  20. "The Gulf Daily News". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-10-10. สืบค้นเมื่อ 2016-08-23.
  21. "Bilateral Relations". www.mofa.gov.bh (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).
  22. "Ministry of Foreign Affairs". www.mofa.gov.bh (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).
  23. "login". www.mofa.gov.bh (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).
  24. "The Cooperation Council For The Arab States of The Gulf - Secretariat General". web.archive.org. 2012-07-16. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-07-16. สืบค้นเมื่อ 2021-08-19.{{cite web}}: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์)
  25. Local, N. Y. U. (2016-11-16). "A Bahraini Hunger Strike And An Inhumane Argument". Medium (ภาษาอังกฤษ).
  26. "Bahrain". U.S. Department of State.
  27. "عن بنا | وكالة أنباء البحرين". www.bna.bh.
  28. "H.R.H. the Crown Prince and Prime Minister". www.mofa.gov.bh (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-08-19. สืบค้นเมื่อ 2021-08-19.
  29. "Frigate Photo Index FFG-24 USS JACK WILLIAMS". www.navsource.org.
  30. "Bahrain News Agency". www.bna.bh.
  31. Allison, George (2020-08-07). "HMS Clyde sold to Bahrain" (ภาษาอังกฤษแบบบริติช).
  32. Bandow, Doug. "U.S. Hypocrisy on Parade: Washington Arms Bahrain, Denounces Russia For Arming Syria". Forbes (ภาษาอังกฤษ).
  33. "Bloomberg - Are you a robot?". www.bloomberg.com. {{cite web}}: Cite ใช้ชื่อทั่วไป (help)
  34. "Index of Economic Freedom: Promoting Economic Opportunity and Prosperity by Country". www.heritage.org (ภาษาอังกฤษ).
  35. https://www.arabianbusiness.com/index.php?option=com_content&view=article&id=7116
  36. "Open Data Platform". data.footprintnetwork.org.
  37. "DailyTribune - Business News". web.archive.org. 2013-01-17. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-01-17. สืบค้นเมื่อ 2021-08-19.{{cite web}}: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์)
  38. "Bahrain profile - Timeline". BBC News (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). 2018-11-12. สืบค้นเมื่อ 2021-08-19.
  39. "Wayback Machine" (PDF). web.archive.org. 2011-08-12. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-08-12. สืบค้นเมื่อ 2021-08-19.{{cite web}}: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์)
  40. "Bahrainguide · Popular Attractions". web.archive.org. 2012-09-23. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-09-23. สืบค้นเมื่อ 2021-08-19.{{cite web}}: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์)
  41. "Tourism". www.mofa.gov.bh (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).
  42. "The World’s Largest Underwater Theme Park Is Coming to Bahrain". Travel + Leisure (ภาษาอังกฤษ).
  43. "Bahrain's 'Spring of Culture Festival' opens". www.tradearabia.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-08-19. สืบค้นเมื่อ 2021-08-19.
  44. "Wayback Machine" (PDF). web.archive.org. 2013-01-17. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-01-17. สืบค้นเมื่อ 2021-08-19.{{cite web}}: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์)
  45. "Wayback Machine" (PDF). web.archive.org. 2012-02-27. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-02-27. สืบค้นเมื่อ 2021-08-19.{{cite web}}: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์)
  46. "Wayback Machine" (PDF). web.archive.org. 2013-01-17. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-01-17. สืบค้นเมื่อ 2021-08-19.{{cite web}}: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์)
  47. Bloom, Jonathan; Blair, Sheila S.; Blair, Sheila (2009-05-14). Grove Encyclopedia of Islamic Art & Architecture: Three-Volume Set (ภาษาอังกฤษ). OUP USA. ISBN 978-0-19-530991-1.
  48. "Bahrain's Art and Culture Scenes. Nafas Art Magazine". web.archive.org. 2016-08-10. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-08-10. สืบค้นเมื่อ 2021-08-19.{{cite web}}: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์)
  49. "Bahrain Authority for Culture and Antiquities - Kingdom of Bahrain | Home". culture.gov.bh.
  50. Joyce, M. (2012). Bahrain from the Twentieth Century to the Arab Spring. Springer. p. 52. ISBN 9781137031792.

บรรณานุกรม

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]