ทะเลสาบปล่องภูเขาไฟ
ทะเลสาบปล่องภูเขาไฟ (อังกฤษ: Crater lake) เป็นทะเลสาบที่เกิดขึ้นภายในปล่องภูเขาไฟ อย่างเช่น Maar หรือแคลดีรา บางครั้งอาจเรียกว่า ทะเลสาบแคลดีรา แต่โดยทั่วไปแล้วมักจะไม่เรียกเช่นนั้น ทะเลสาบปล่องภูเขาไฟที่อยู่ในปล่องของภูเขาไฟมีพลังอาจเรียกในอีกชื่อหนึ่งว่า Volcanic lakes และน้ำในทะเลสาบลักษณะนี้มักจะมีสภาพเป็นกรด เต็มไปด้วยแก๊สภูเขาไฟ และมีสีเขียวเข้ม ขณะที่ทะเลสาบที่ตั้งอยู่ในปล่องภูเขาไฟสงบหรือภูเขาไฟดับสนิทมักจะมีน้ำที่ใส และจะยิ่งใสมากเป็นพิเศษถ้าไม่มีธารน้ำและตะกอนไหลเข้ามา
ทะเลสาบปล่องภูเขาไฟเกิดขึ้นเมื่อหยาดน้ำฟ้าตกลงมาในแอ่ง ความลึกจะเพิ่มมากขึ้นจนกระทั่งเกิดสมดุลระหว่างอัตราของน้ำที่เข้ามาและอัตราของน้ำที่เสียไปซึ่งอาจเกิดจากการระเหย การซึมลงใต้ดิน และอาจรวมถึงการไหลออกบนผิวดินหากระดับน้ำในทะเลสาบสูงถึงจุดที่ต่ำที่สุดของขอบแอ่ง ซึ่งการไหลออกบนผิวดินนี้อาจกัดเซาะสิ่งทับถมที่กั้นทะเลสาบไว้ และถ้าสิ่งทับถมนี้ถูกกัดเซาะอย่างรวดเร็ว ก็จะทำให้เกิด Lake breakout ขึ้นได้
ตัวอย่างของทะเลสาบปล่องภูเขาไฟที่มีชื่อเสียงคือ Crater Lake ซึ่งมีชื่อเดียวกับศัพท์ทางธรณีวิทยา ตั้งอยู่ในแคลดีราของ Mount Mazama (ดังนั้นชื่อ "Crater Lake" จึงเป็นชื่อที่ตั้งขึ้นอย่างไม่ถูกต้อง) ในรัฐออริกอน สหรัฐอเมริกา จัดเป็นทะเลสาบที่ลึกที่สุดในสหรัฐอเมริกา โดยมีความลึก 594 เมตร น้ำใน Crater Lake มาจากฝนและหิมะเท่านั้น โดยไม่มีการไหลเข้าและออกที่ระดับผิวดิน ดังนั้นจึงเป็นทะเลสาบที่มีความใสมากที่สุดแห่งหนึ่งในโลก[1]
ภูเขาไฟที่สูงที่สุดในโลกคือ Ojos del Salado ซึ่งมีความสูง 6,893 เมตร มีทะเลสาบปล่องภูเขาไฟขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 100 เมตร อยู่ที่ระดับความสูง 6,390 เมตรทางด้านตะวันออกของภูเขาไฟ[2] อาจถือได้ว่าเป็นทะเลสาบที่อยู่ที่ระดับความสูงมากที่สุดในโลก
ทะเลสาบปล่องภูเขาไฟบางแห่งจะคงตัวอยู่เป็นพัก ๆ เท่านั้นเนื่องจากสภาพแวดล้อมที่ผันแปร ขณะที่ทะเลสาบแคลดีราสามารถคงตัวอยู่ได้นานมาก ตัวอย่างเช่น ทะเลสาบโทบาที่เกิดขึ้นเมื่อหลังจากภูเขาไฟระเบิดเมื่อประมาณ 70,000 ปีก่อน และมีพื้นที่มากกว่า 1,000 ตารางกิโลเมตร
ทะเลสาบปล่องภูเขาไฟหลายแห่งอาจมีความงดงามดั่งวาด แต่ก็มีอันตรายถึงแก่ชีวิตได้เช่นกัน ตัวอย่างเช่นแก๊สที่ปล่อยออกจาก Lake Nyos ทำให้มีผู้เสียชีวิตจากการขาดอากาศหายใจราว 800 คนเมื่อ พ.ศ. 2520
ทะเลสาบอาจเกิดขึ้นจากหลุมตกกระทบได้เช่นกัน ตัวอย่างเช่น Manicouagan ใน Quebec, Lake Bosumtwi ในกานา และ Siljan ในสวีเดน
ทะเลสาบปล่องภูเขาไฟที่มีชื่อเสียง
[แก้]ชื่อต่าง ๆ ทับศัพท์ตามภาษาทางการของประเทศหรือภูมิภาคนั้น เช่นกัวเตมาลาใช้ภาษาสเปนเป็นภาษาราชการ จึงทับศัพท์ด้วยภาษาสเปน
อ้างอิง
[แก้]- Delmelle, Pierre; Bernard, Alain (1999), "Volcanic Lakes", ใน Sigurdsson, Haraldur (บ.ก.), Encyclopedia of Volcanoes, San Diego: Academic Press, pp. 877–895, ISBN 012643140X
- Varekamp, Johan C.; Rowe, Gary L. , Jr. (2000). "Crater Lakes". Journal of Volcanology and Geothermal Research. 97 (1–4): 1–508.
{{cite journal}}
: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)[ลิงก์เสีย] (entire volume about crater lakes) - Pasternack, G. B.; Varekamp, J. C. (1997). "Volcanic lake systematics I. Physical constraints". Bulletin of Volcanology. 58 (7): 526–538.[ลิงก์เสีย]
- Kusakabe, Minoru (1994). "Geochemistry of Crater Lakes". Geochemical Journal. 28 (3): 137–306. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-05-06. (entire issue about chemistry of crater lakes)
- IAVCEI Commission of Volcanic Lakes
- IAVCEI Commission of Volcanic Lakes: Some fundamentals about Crater Lakes
- The Science of Volcanic Lakes เก็บถาวร 2007-07-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- Volcanic Lakes of the World เก็บถาวร 2012-02-19 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ↑ "Facts and Figures about Crater Lake". U.S. National Park Service. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-02-18. สืบค้นเมื่อ 2009-03-17.
- ↑ "Andes Website - Information about Ojos del Salado volcano, a high mountain in South America and the World's highest volcano". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-04-27. สืบค้นเมื่อ 2009-03-24.
- ↑ Kahumana Sanctuary - Geology
- ↑ http://www.gtz.de/de/praxis/11695.htm Description of Mount Wenchi crater lake on the website of GTZ
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- USGS Hawaiian Volcano Observatory: Water on volcanoes: heavy rain and crater lakes
- USGS Cascades Volcano Observatory: Volcanic Lakes
- The Science of Volcanic Lakes เก็บถาวร 2007-07-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, Greg Pasternack, U. California Davis