ข้ามไปเนื้อหา

เจสตอร์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก JSTOR)
เจสตอร์
ภาพจับหน้าจอ
หน้าแรกของเว็บไซต์
ประเภทห้องสมุดดิจิทัล
ภาษาที่ใช้ได้อังกฤษ (รวมเนื้อหาในภาษาอื่นด้วย)
เจ้าของIthaka Harbors, Inc.[1]
สร้างโดยมูลนิธิแอนดรูว์ ดับเบิลยู. เมลลอน
ผู้ก่อตั้งวิลเลียม จี. โบเวน
ยูอาร์แอลjstor.org
ลงทะเบียนใช่
เปิดตัว1995; 29 ปีที่แล้ว (1995)
สถานะปัจจุบันยังดำเนินงานอยู่
หมายเลข OCLC46609535
Links
เว็บไซต์www.jstor.org
รายชื่อเรื่องsupport.jstor.org/hc/en-us/articles/115007466248-JSTOR-Title-Lists

เจสตอร์ (อังกฤษ: JSTOR ออกเสียงว่า เจสตอร์ /ˈstɔːr/[2] ย่อมาจาก Journal Storage แปลว่า หน่วยเก็บวารสาร)[3] เป็นห้องสมุดดิจิทัลที่ตั้งขึ้นใน พ.ศ. 2538 (ค.ศ. 1995) ในเบื้องต้นมีแต่วารสารวิชาการฉบับย้อนหลังที่ได้จัดทำเป็นฉบับอิเล็กทรอนิกส์แล้ว แต่ปัจจุบันรวมหนังสือ เอกสารหลัก และวารสารฉบับปัจจุบันต่าง ๆ[4]ผู้อ่านสามารถค้นหาเอกสารฉบับเต็มของวารสารเกือบ 2,000 วารสาร

โดยปี 2556 มีสถาบันมากกว่า 8,000 สถาบันจากประเทศกว่า 160 ประเทศที่สามารถเข้าอ่าน JSTOR ได้[5] สมาชิกเท่านั้นจะสามารถเข้าถึงข้อมูลส่วนมาก แต่ก็มีข้อมูลเก่าที่เป็นสาธารณะอื่น ๆ ที่ทุกคนสามารถเข้าถึงได้ฟรี[6]

รายได้ของเจสตอร์ใน พ.ศ. 2558 อยู่ที่ 86 ล้านดอลลาร์สหรัฐ[7]

การใช้งาน

[แก้]

ในปี 2555 ผู้ใช้ JSTOR ทำการค้นหา 152 ล้านรายการ ดูบทความกว่า 113 ล้านชิ้น และดาวน์โหลดเอกสารกว่า 73.5 ล้านฉบับ[5] มีการใช้ JSTOR ในงานวิจัยทางภาษาเพื่อตรวจสอบแนวโน้มการใช้ภาษาในระยะยาว และเพื่อวิเคราะห์ความแตกต่างระหว่างเพศในการตีพิมพ์เอกสารวิชาการ[8][9][10]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "About". Ithaka. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-04-30. สืบค้นเมื่อ October 25, 2009.
  2. "JSTOR Videos". YouTube. สืบค้นเมื่อ December 16, 2012.
  3. Douglas F. Morgan; Marcus D. Ingle; Craig W. Shinn (September 3, 2018). New Public Leadership: Making a Difference from Where We Sit. Routledge. p. 82. ISBN 9780429832918. JSTOR means journal storage, which is an online service created in 1995 to provide electronic access to an extensive array of academic journals.
  4. Genicot, Léopold (February 13, 2012). "At a glance". Études Rurales (PDF) (45): 131–133. JSTOR 20120213.
  5. 5.0 5.1 "Annual Summary" (PDF). JSTOR. March 19, 2013. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2013-11-11. สืบค้นเมื่อ April 13, 2013.
  6. "Register and read beta". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-10-01. สืบค้นเมื่อ 2017-10-17.
  7. "Ithaka Harbors, Inc". Nonprofit Explorer. ProPublica. May 9, 2013. สืบค้นเมื่อ April 24, 2018.
  8. Shapiro, Fred R. (1998). "A Study in Computer-Assisted Lexicology: Evidence on the Emergence of Hopefully as a Sentence Adverb from the JSTOR Journal Archive and Other Electronic Resources". American Speech. 73 (3): 279–296. doi:10.2307/455826. JSTOR 455826.
  9. Wilson, Robin (October 22, 2012). "Scholarly Publishing's Gender Gap". The Chronicle of Higher Education. สืบค้นเมื่อ January 6, 2015.
  10. West, Jevin D.; Jacquet, Jennifer; King, Molly M.; Correll, Shelley J.; Bergstrom, Carl T. (July 22, 2013). "The Role of Gender in Scholarly Authorship". PLOS ONE (ภาษาอังกฤษ). 8 (7): e66212. arXiv:1211.1759. Bibcode:2013PLoSO...866212W. doi:10.1371/journal.pone.0066212. PMC 3718784. PMID 23894278.

อ่านเพิ่ม

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]