ตำบลดอนปรู
ตำบลดอนปรู | |
---|---|
การถอดเสียงอักษรโรมัน | |
• อักษรโรมัน | Tambon Don Pru |
ประเทศ | ไทย |
จังหวัด | สุพรรณบุรี |
อำเภอ | ศรีประจันต์ |
พื้นที่ | |
• ทั้งหมด | 40.18 ตร.กม. (15.51 ตร.ไมล์) |
ประชากร (2566)[1] | |
• ทั้งหมด | 9,013 คน |
• ความหนาแน่น | 224.32 คน/ตร.กม. (581.0 คน/ตร.ไมล์) |
รหัสไปรษณีย์ | 72140 |
รหัสภูมิศาสตร์ | 720505 |
องค์การบริหารส่วนตำบลดอนปรู | |
---|---|
พิกัด: 14°42′15.2″N 100°11′48.6″E / 14.704222°N 100.196833°E | |
ประเทศ | ไทย |
จังหวัด | สุพรรณบุรี |
อำเภอ | ศรีประจันต์ |
พื้นที่ | |
• ทั้งหมด | 40.18 ตร.กม. (15.51 ตร.ไมล์) |
ประชากร (2566) | |
• ทั้งหมด | 9,013 คน |
• ความหนาแน่น | 224.32 คน/ตร.กม. (581.0 คน/ตร.ไมล์) |
รหัส อปท. | 06720509 |
ที่อยู่ที่ทำการ | เลขที่ 323/2 หมู่ 7 ตำบลดอนปรู อำเภอศรีประจันต์ จังหวัดสุพรรณบุรี 72140 |
เว็บไซต์ | www |
ดอนปรู เป็นตำบลในอำเภอศรีประจันต์ จังหวัดสุพรรณบุรี เดิมเป็นตำบลของอำเภอวิเศษชัยชาญ จังหวัดอ่างทอง
ที่ตั้งและอาณาเขต
[แก้]ตำบลดอนปรู มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังต่อไปนี้[2]
- ทิศเหนือ ติดต่อกับตำบลวังลึก (อำเภอสามชุก) และตำบลเขาดิน (อำเภอเดิมบางนางบวช)
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับตำบลสีบัวทอง ตำบลวังน้ำเย็น (อำเภอแสวงหา จังหวัดอ่างทอง) และตำบลรำมะสัก (อำเภอโพธิ์ทอง จังหวัดอ่างทอง)
- ทิศใต้ ติดต่อกับตำบลปลายนา
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับตำบลวังน้ำซับ และตำบลย่านยาว (อำเภอสามชุก)
ประวัติ
[แก้]ดอนปรู เดิมเป็นตำบลของอำเภอวิเศษชัยชาญ จังหวัดอ่างทอง ปี พ.ศ. 2479 พระประชากรบริรักษ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดอ่างทอง กับพ.ท.พระเจนกระบวนหัก ผู้ว่าราชการจังหวัดสุพรรณบุรี ได้รับรายงานว่าเขตตำบลดอนปรู อำเภอวิเศษชัยชาญ ได้แจ้งแก่ทางราชการว่าประชาชนติดต่อราชการกับอำเภอศรีประจันต์ และจังหวัดสุพรรณบุรีสะดวกกว่าไปติดต่อกับอำเภอวิเศษชัยชาญ
ปี พ.ศ. 2480 จึงได้เปลี่ยนแปลงเขตจังหวัดอ่างทองกับจังหวัดสุพรรณบุรี โดยโอนพื้นที่ตำบลดอนปรู อำเภอวิเศษชัยชาญ จังหวัดอ่างทอง มาขึ้นกับอำเภอศรีประจันต์ จังหวัดสุพรรณบุรี รวมทั้งโอนพื้นที่หมู่ 6–10 (ในตอนนั้น) จากตำบลศาลาทุ่งแฝก อำเภอโพธิ์ทอง จังหวัดอ่างทอง มาสมทบเข้ากับเขตปกครองของตำบลดอนปรู อำเภอศรีประจันต์ จังหวัดสุพรรณบุรี[3] โดยได้รับอนุมัติจากพระยาพหลพลพยุหเสนา นายกรัฐมนตรี
ปี พ.ศ. 2501 นายพัฒน์ บุณยรัตพันธุ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดสุพรรณบุรี ประกาศแยก 5 หมู่บ้าน คือ หมู่ 1 บ้านรางหางม้า, หมู่ 2 บ้านบัวประจันต์, หมู่ 3 บ้านหนองอ้ายเกลา, หมู่ 8 บ้านดอนกลาง และหมู่ 13 บ้านป่าพระเจ้า ของตำบลดอนปรู ออกไปตั้งเป็นตำบลปลายนา[4]
การปกครองส่วนภูมิภาค
[แก้]การปกครองส่วนภูมิภาค
[แก้]ตำบลดอนปรูแบ่งพื้นที่การปกครองออกเป็น 9 หมู่บ้าน ได้แก่
- หมู่ที่ 1 บ้านสามจุ่น
- หมู่ที่ 2 บ้านดอนปรู
- หมู่ที่ 3 บ้านห้วยสุวรรณ
- หมู่ที่ 4 บ้านโพธิ์นฤมิตร
- หมู่ที่ 5 บ้านหนองใหญ่
- หมู่ที่ 6 บ้านถั่วพลู
- หมู่ที่ 7 บ้านกระทุ่มแบน
- หมู่ที่ 8 บ้านท่าทราย
- หมู่ที่ 9 บ้านหนองกรด
การปกครองส่วนท้องถิ่น
[แก้]ตำบลดอนปรูเดิมมีฐานะเป็นสภาตำบลดอนปรู ในปี พ.ศ. 2517[5] ต่อมาปี พ.ศ. 2538 สภาตำบลดอนปรูมี 9 หมู่บ้าน พื้นที่ 40.18 ตารางกิโลเมตร ประชากร 9,025 คน และ 2,085 ครัวเรือน[6] ปี พ.ศ. 2539 กระทรวงมหาดไทยจึงพิจารณาให้สภาตำบลดอนปรูอยู่ในเงื่อนไขที่จะจัดตั้งเป็นองค์การบริหารส่วนตำบลได้ จึงได้รับการจัดตั้งเป็นองค์การบริหารส่วนตำบลดอนปรู[7]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ ประชากรในเขตตำบลดอนปรู อำเภอศรีประจันต์ จังหวัดสุพรรณบุรี เดือนธันวาคม พ.ศ. 2566 โดยกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การกำหนดเขตตำบลในท้องที่อำเภอศรีประจันต์ จังหวัดสุพรรณบุรี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 116 (ตอนพิเศษ 21 ง): 86–111. วันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2542
- ↑ "พระราชบัญญัติเปลี่ยนแปลงเขตจังหวัด พุทธศักราช ๒๔๗๙" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 54 (0 ก): 40–54. วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2480
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอเมืองนครปฐม จังหวัดนครปฐม อำเภอคีรีมาศ จังหวัดสุโขทัย อำเภอศรีประจันต์ จังหวัดสุพรรณบุรี อำเภอท่าตูม และอำเภอศีขรภูมิ จังหวัดสุรินทร์ กับอำเภอกุมภวาปี และอำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 75 (107 ง): 3052–3061. วันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2501
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การจัดตั้งสภาตำบลตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๓๒๖ ลงวันที่ ๑๓ ธันวาคม ๒๕๑๕" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 91 (87 ง): (ฉบับพิเศษ) 1–45. วันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2517
- ↑ ประชากรรายตำบลในประเทศไทย ณ วันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2538 (เขตตำบลดอนปรู อำเภอศรีประจันต์ จังหวัดสุพรรณบุรี) สืบค้นเมื่อวันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2567
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบล" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 113 (9 ง): 5–219. วันที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2539