ตำบลดอนมะสังข์
ตำบลดอนมะสังข์ | |
---|---|
การถอดเสียงอักษรโรมัน | |
• อักษรโรมัน | Tambon Don Masang |
ประเทศ | ไทย |
จังหวัด | สุพรรณบุรี |
อำเภอ | เมืองสุพรรณบุรี |
พื้นที่ | |
• ทั้งหมด | 16.33 ตร.กม. (6.31 ตร.ไมล์) |
ประชากร (2566)[1] | |
• ทั้งหมด | 3,379 คน |
• ความหนาแน่น | 206.92 คน/ตร.กม. (535.9 คน/ตร.ไมล์) |
รหัสไปรษณีย์ | 72000 |
รหัสภูมิศาสตร์ | 720108 |
องค์การบริหารส่วนตำบลดอนมะสังข์ | |
---|---|
พิกัด: 14°31′43.9″N 100°11′18.0″E / 14.528861°N 100.188333°E | |
ประเทศ | ไทย |
จังหวัด | สุพรรณบุรี |
อำเภอ | เมืองสุพรรณบุรี |
พื้นที่ | |
• ทั้งหมด | 16.33 ตร.กม. (6.31 ตร.ไมล์) |
ประชากร (2566) | |
• ทั้งหมด | 3,379 คน |
• ความหนาแน่น | 206.92 คน/ตร.กม. (535.9 คน/ตร.ไมล์) |
รหัส อปท. | 06720119 |
ที่อยู่ที่ทำการ | เลขที่ 250 หมู่ 1 ตำบลดอนมะสังข์ อำเภอเมืองสุพรรณบุรี จังหวัดสุพรรณบุรี 72000 |
เว็บไซต์ | donmasang |
ดอนมะสังข์ เป็นตำบลในอำเภอเมืองสุพรรณบุรี จังหวัดสุพรรณบุรี
ที่ตั้งและอาณาเขต
[แก้]ตำบลดอนมะสังข์ มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังต่อไปนี้[2]
- ทิศเหนือ ติดต่อกับตำบลวังยาง (อำเภอศรีประจันต์)
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับตำบลสาวร้องไห้ (อำเภอวิเศษชัยชาญ จังหวัดอ่างทอง)
- ทิศใต้ ติดต่อกับตำบลดอนตาล
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับตำบลสนามชัย และตำบลโพธิ์พระยา
ประวัติ
[แก้]เดิมพื้นที่มีฐานะเป็นพื้นที่หมู่ 5 ของตำบลดอนตาล อำเภอเมืองสุพรรณบุรี ปี พ.ศ. 2490 ทางราชการได้แยกพื้นที่ด้านทิศเหนือของตำบลดอนตาล 2 หมู่บ้าน ได้แก่ หมู่ 5 บ้านดอนมะสังข์ และหมู่ 6 บ้านหนองบอน ออกมาตั้งเป็น ตำบลดอนมะสังข์[3] โดยมีชื่อตำบลมาจากที่มีต้นมะสังข์ขนาดใหญ่และสูงมากอยู่ต้นหนึ่งในหมู่บ้าน พื้นที่ของตำบลเป็นป่าไผ่ ป่าสะแก และต้นไม้อื่นเป็นจำนวนมาก เป็นที่ดอน มีหนองน้ำ และสำรางบางส่วนเป็นที่ราบลุ่มมีน้ำท่วมขัง จึงเรียกพื้นที่นี้ว่า ดอนมะสังข์[4]
การปกครองส่วนภูมิภาค
[แก้]การปกครองส่วนภูมิภาค
[แก้]ตำบลดอนมะสังข์แบ่งพื้นที่การปกครองออกเป็น 5 หมู่บ้าน ได้แก่
- หมู่ที่ 1 บ้านดอนมะสังข์
- หมู่ที่ 2 บ้านหนองบอน
- หมู่ที่ 3 บ้านลาดตาล
- หมู่ที่ 4 บ้านริ้วห้วยพรอด
- หมู่ที่ 5 บ้านลาดตะโก
การปกครองส่วนท้องถิ่น
[แก้]ตำบลดอนมะสังข์เดิมมีฐานะเป็นสภาตำบลดอนมะสังข์ ในปี พ.ศ. 2517[5] ต่อมาปี พ.ศ. 2538 สภาตำบลดอนมะสังข์มี 5 หมู่บ้าน พื้นที่ 16.33 ตารางกิโลเมตร ประชากร 3,088 คน และ 699 ครัวเรือน[6] ปี พ.ศ. 2539 กระทรวงมหาดไทยจึงพิจารณาให้สภาตำบลดอนมะสังข์อยู่ในเงื่อนไขที่จะจัดตั้งเป็นองค์การบริหารส่วนตำบลได้ จึงได้รับการจัดตั้งเป็นองค์การบริหารส่วนตำบลดอนมะสังข์[7]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ ประชากรในเขตตำบลดอนมะสังข์ อำเภอเมืองสุพรรณบุรี จังหวัดสุพรรณบุรี เดือนธันวาคม พ.ศ. 2566 โดยกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การกำหนดเขตตำบลในท้องที่อำเภอเมืองสุพรรณบุรี จังหวัดสุพรรณบุรี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 117 (102 ง): 6–49. วันที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2543
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งตำบลในจังหวัดต่าง ๆ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 64 (33 ง): 1930–1974. วันที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2490
- ↑ ประวัติตำบลดอนมะสังข์ อำเภอเมืองสุพรรณบุรี จังหวัดสุพรรณบุรี - องค์การบริหารส่วนตำบลดอนมะสังข์ สืบค้นเมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2567
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การจัดตั้งสภาตำบลตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๓๒๖ ลงวันที่ ๑๓ ธันวาคม ๒๕๑๕" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 91 (87 ง): (ฉบับพิเศษ) 1–45. วันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2517
- ↑ ประชากรรายตำบลในประเทศไทย ณ วันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2538 (เขตตำบลดอนมะสังข์ อำเภอเมืองสุพรรณบุรี จังหวัดสุพรรณบุรี) สืบค้นเมื่อวันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2567
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบล" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 113 (ตอนพิเศษ 52 ง): 1–365. วันที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2539