ข้ามไปเนื้อหา

อำเภอสามชุก

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อำเภอสามชุก
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันAmphoe Sam Chuk
ที่ว่าการอำเภอสามชุก
ที่ว่าการอำเภอสามชุก
คำขวัญ: 
หลวงพ่อมุ่ยลือนาม หลวงพ่อดำศักดิ์สิทธิ์ ท่าจีนคือชีวิต แหล่งผลิตเกษตรกรรม วัฒนธรรมร่วมใจ ธารน้ำใสบึงระหาร
แผนที่จังหวัดสุพรรณบุรี เน้นอำเภอสามชุก
แผนที่จังหวัดสุพรรณบุรี เน้นอำเภอสามชุก
พิกัด: 14°45′19″N 100°5′41″E / 14.75528°N 100.09472°E / 14.75528; 100.09472
ประเทศ ไทย
จังหวัดสุพรรณบุรี
พื้นที่
 • ทั้งหมด355.9 ตร.กม. (137.4 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2564)
 • ทั้งหมด52,463 คน
 • ความหนาแน่น147.41 คน/ตร.กม. (381.8 คน/ตร.ไมล์)
รหัสไปรษณีย์ 72130
รหัสภูมิศาสตร์7208
ที่ตั้งที่ว่าการที่ว่าการอำเภอสามชุก หมู่ที่ 2
ตำบลสามชุก อำเภอสามชุก จังหวัดสุพรรณบุรี 72130
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

สามชุก เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดสุพรรณบุรี ซึ่งเป็นอำเภอที่เก่าแก่และมีความสำคัญแห่งหนึ่งในประวัติศาสตร์ไทย

ตลาดสามชุก เป็นตลาดเก่าแก่และชุมชนเก่าแก่ได้รับการประกาศให้เป็นตลาด 100 ปี ในเชิงอนุรักษ์ อยู่ริมฝั่งแม่น้ำท่าจีน ในพื้นที่ตำบลสามชุก อำเภอสามชุก จังหวัดสุพรรณบุรี
วัดหนองผักนาก ตำบลหนองผักนาก

ที่ตั้งและอาณาเขต

[แก้]

อำเภอสามชุกมีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังนี้

สะพานพรประชา ที่ตลาดเก่าสามชุก

ประวัติ

[แก้]

ในหนังสือนิราศสุพรรณของสุนทรภู่ นิทานย่านสุพรรณ และบันทึกคนรุ่นเก่ากล่าวไว้ว่า สามชุกในอดีต เป็นแหล่งรวมของการแลกเปลี่ยนสินค้า โดยชาวกะเหรี่ยง ชาวลาว และชาวละว้า จะนำเกวียนบรรทุกของป่ามาขายแลกกับสินค้าที่ชาวเรือนำมาจากทางใต้ที่บริเวณท่าน้ำ เป็นตลาดมีเรือมาจอดมากมายเพื่อรับส่งข้าวจากโรงสีต่าง ๆ สินค้าที่ชาวบ้านนำมานั้นบรรจุอยู่ใน "กระชุก" ซึ่งทำจากลำไม้ไผ่ จึงเป็นที่มาหนึ่งของชื่อ "สามชุก" ส่วนอีกชื่อหนึ่งที่เรียกขานพื้นที่นี้คือ "สามเพ็ง" ซึ่งเพี้ยนมาจาก "สามแพร่ง" เนื่องจากเป็นที่ชุมนุมของพ่อค้าที่เดินทางมาจากทิศเหนือ ทิศใต้ ทิศตะวันตก

นักประวัติศาสตร์ท้องถิ่นบางท่าน กล่าวว่า ในอดีตมีการรวมตัวของชุมชนที่บริเวณท่ายาง กับสามชุก ก่อนจะขยับขยายมาที่สามเพ็งหรือสำเพ็ง(บริเวณตลาดสามชุกในปัจจุบัน) ส่วนชื่อของสามชุกนั้นประการหนึ่งสันนิษฐานว่า ลากเสียงมาจากคำว่า "สำชุก" ซึ่ง "ส่ำ" หรือ "สำ" เป็นภาษาแต่โบราณ ใช้เรียก สถานที่ พวก หมู่ เหล่า อยู่รวมกัน ส่วน "ชุก" นั้นก็คือจำนวนมาก ดังนั้น "สำชุก" หรือ "สามชุก" จึงหมายถึง ชุมชน หมู่บ้าน ที่ตั้งอยู่รวมกันเป็นจำนวนมาก ด้วยเป็นดินแดนท่า ปากป่า ลำน้ำ ที่สำคัญมาแต่โบราณ โดยอาจจะมากด้วยกลุ่มชน ตระกูล บ้าน หรือใด ๆ ที่ชุก กระจุกตัวอยู่บริเวณนี้ ซึ่งมีข้อสังเกตอย่างเดียวกับการเรียกชื่อหมู่บ้านตามลักษณะของชุมชนหรือภูมิประเทศอันขึ้นต้นด้วยคำว่า ทับ ตรอก ชุม ค่าย ท่า หนอง ดอน บาง เป็นต้น นอกจากนี้ยังปรากฏชื่อหมู่บ้านในท้องถิ่นสุพรรณบุรีเรียกว่า "สาม , สำ" เช่นเดียวกัน อาทิ สามจุ่น สามนาก สามทอง สามเอก สามหน่อ สามขนอน (สำขนอน) สำปะร้า สำปะซิว (สำปะทิว) สำเพ็ง (สามเพ็ง)

เมื่อปี พ.ศ. 2437 ทางราชการได้ตั้งอำเภอมีชื่อว่า อำเภอนางบวช และบ้านสามชุก มีสถานะเป็นตำบล ๆ หนึ่งขึ้นอยู่กับอำเภอนางบวช ครั้นถึงปี พ.ศ. 2454 ได้มีการเสนอขอจัดตั้งอำเภอขึ้นอีกแห่งหนึ่งแยกจากอำเภอนางบวช ในบริเวณหมู่บ้านเขาพระ โดยใช้ชื่อว่า อำเภอเดิมบาง จึงทำให้ต้องย้ายที่ว่าการอำเภอนางบวชซึ่งขณะนั้นตั้งอยู่ในพื้นที่ของอำเภอที่ตั้งขึ้นใหม่ (อำเภอเดิมบาง) ลงมาอยู่บริเวณหมู่บ้านสามเพ็ง ในพื้นที่ตำบลสามชุก กระทั่งปี พ.ศ. 2482 จึงได้มีการเปลี่ยนชื่อจากอำเภอนางบวชเป็น อำเภอสามชุก เพื่อไม่ให้เกิดการสับสนกับอดีต และให้สอดคล้องกับชื่อตำบลที่ที่ว่าการอำเภอตั้งอยู่

  • วันที่ 21 พฤษภาคม 2454 แยกพื้นที่ตำบลนางเริง ตำบลเขาพระ ตำบลท่ารวก ตำบลท่าช้าง ตำบลหัวเขา ตำบลวังศรีราช ตำบลหัวนา ตำบลป่าสะแก ตำบลลำพันบอง ตำบลบ่อกรุ ตำบลห้วยขมิ้น ตำบลนางบวช จากอำเภอนางบวช (อำเภอสามชุก) กับตำบลท่ามะนาว ตำบลโคกช้าง จากอำเภอสิงห์ (อำเภอบางระจัน) เมืองสิงห์บุรี ตำบลเดิมบาง และตำบลกำมะเชียน จากอำเภอเดิมบาง (เดิม) แขวงเมืองไชยนาท ไปจัดตั้งเป็น อำเภอเดิมบาง[1] และกำหนดให้ขึ้นการปกครองกับเมืองสุพรรณบุรี
  • วันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2475 ยุบตำบลวังหิน รวมกับท้องที่ตำบลย่านยาว[2]
  • วันที่ 1 เมษายน 2480 เปลี่ยนแปลงเขตจังหวัดอ่างทองและจังหวัดสุพรรณบุรี โอนพื้นที่หมู่ 2-5 (ในตอนนั้น) จากตำบลศาลาทุ่งแฝก อำเภอโพธิ์ทอง จังหวัดอ่างทอง ไปขึ้นกับตำบลวังลึก อำเภอนางบวช จังหวัดสุพรรณบุรี[3]
  • วันที่ 17 เมษายน 2482 เปลี่ยนแปลงชื่ออำเภอนางบวช จังหวัดสุพรรณบุรี เป็น อำเภอสามชุก[4]
  • วันที่ 30 พฤษภาคม 2499 จัดตั้งสุขาภิบาลสามชุก ในท้องที่บางส่วนของตำบลสามชุก[5][6]
  • วันที่ 9 พฤศจิกายน 2508 เปลี่ยนแปลงเขตสุขาภิบาลสามชุก[7] เพื่อความเหมาะสมในการบริหารกิจการและการทะนุบำรุงท้องถิ่น โดยขยายอาณาเขตมาถึงบางส่วนของตำบลย่านยาว ตำบลหนองผักนาก ตำบลบ้านสระ และตำบลกระเสียว
  • วันที่ 30 พฤศจิกายน 2508 จัดตั้งสุขาภิบาลหนองหญ้าไซ ในท้องที่บางส่วนของตำบลหนองหญ้าไซ[8]
  • วันที่ 12 มิถุนายน 2516 ตั้งตำบลแจงงาม แยกออกจากตำบลหนองหญ้าไซ[9]
  • วันที่ 14 กันยายน 2519 ตั้งตำบลหนองราชวัตร แยกออกจากตำบลหนองหญ้าไซ[10]
  • วันที่ 7 มิถุนายน 2526 แยกพื้นที่ตำบลหนองหญ้าไซ ตำบลหนองราชวัตร ตำบลหนองโพธิ์ และตำบลแจงงาม อำเภอสามชุก ไปจัดตั้งเป็น กิ่งอำเภอหนองหญ้าไซ[11] และให้ขึ้นการปกครองกับอำเภอสามชุก
  • วันที่ 21 พฤษภาคม 2533 ยกฐานะจากกิ่งอำเภอหนองหญ้าไซ อำเภอสามชุก เป็น อำเภอหนองหญ้าไซ[12]
  • วันที่ 25 พฤษภาคม 2542 ยกฐานะจากสุขาภิบาลสามชุก เป็นเทศบาลตำบลสามชุก[13] ด้วยผลของกฎหมาย
  • วันที่ 15 กันยายน 2547 ยุบองค์การบริหารส่วนตำบลสามชุก รวมกับเทศบาลตำบลสามชุก[14]
วัดลาดสิงห์ ตำบลบ้านสระ

การแบ่งเขตการปกครอง

[แก้]

การปกครองส่วนภูมิภาค

[แก้]

อำเภอสามชุกแบ่งพื้นที่การปกครองออกเป็น 7 ตำบล 68 หมู่บ้าน

1. ย่านยาว (Yan Yao)
2. วังลึก (Wang Luek)
3. สามชุก (Sam Chuk)
4. หนองผักนาก (Nong Phak Nak)
5. บ้านสระ (Ban Sa)
6. หนองสะเดา (Nong Sadao)
7. กระเสียว (Krasiao)

การปกครองส่วนท้องถิ่น

[แก้]

ท้องที่อำเภอสามชุกประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 7 แห่ง ได้แก่

  • เทศบาลตำบลสามชุก ครอบคลุมพื้นที่ตำบลสามชุกทั้งตำบล รวมทั้งบางส่วนของตำบลย่านยาว ตำบลหนองผักนาก ตำบลบ้านสระ และตำบลกระเสียว
  • องค์การบริหารส่วนตำบลย่านยาว ครอบคลุมพื้นที่ตำบลย่านยาว (นอกเขตเทศบาลตำบลสามชุก)
  • องค์การบริหารส่วนตำบลวังลึก ครอบคลุมพื้นที่ตำบลวังลึกทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลหนองผักนาก ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหนองผักนาก (นอกเขตเทศบาลตำบลสามชุก)
  • องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านสระ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบ้านสระ (นอกเขตเทศบาลตำบลสามชุก)
  • องค์การบริหารส่วนตำบลหนองสะเดา ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหนองสะเดาทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลกระเสียว ครอบคลุมพื้นที่ตำบลกระเสียว (นอกเขตเทศบาลตำบลสามชุก)

อ้างอิง

[แก้]
  1. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย ประกาศตั้งอำเภอเดิมบางและเปลี่ยนชื่ออำเภอเดิมบางเก่าเป็นอำเภอบ้านเชียน" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 28 (0 ง): 299–300. May 21, 1911.
  2. "ประกาศกระทรวงธรรมการ เรื่อง การใช้พระราชบัญญัติประถมศึกษา พ.ศ. ๒๔๖๔ สำหรับตำบลวังหิน ซึ่งยุบไปรวมกับตำบลย่านยาว อำเภอนางบวช จังหวัดสุพรรณบุรี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 49 (0 ก): 658. February 19, 1932.
  3. "พระราชบัญญัติเปลี่ยนแปลงเขตจังหวัด พุทธศักราช ๒๔๗๙" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 54 (0 ก): 40–54. April 1, 1937. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-05-16. สืบค้นเมื่อ 2021-05-17.
  4. "พระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนนามอำเภอ กิ่งอำเภอ และตำบลบางแห่ง พุทธศักราช ๒๔๘๒" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 56 (0 ก): 354–363. April 17, 1939. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2009-02-19. สืบค้นเมื่อ 2021-05-17.
  5. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลสามชุก อำเภอสามชุก จังหวัดสุพรรณบุรี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 73 (45 ง): (ฉบับพิเศษ) 69-70. May 30, 1956.
  6. "แก้คำผิด ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๗๓ ตอนที่ ๔๕ ฉบับพิเศษ ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลสามชุก อำเภอสามชุก จังหวัดสุพรรณบุรี หน้า ๖๙, ๗๐" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 73 (71 ง): 0. September 4, 1956.
  7. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงเขตสุขาภิบาลสามชุก อำเภอสามชุก จังหวัดสุพรรณบุรี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 82 (96 ง): 2739–2741. November 9, 1965.
  8. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลหนองหญ้าไทร อำเภอสามชุก จังหวัดสุพรรณบุรี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 82 (103 ง): 2946–2947. November 30, 1965.
  9. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอสามชุก จังหวัดสุพรรณบุรี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 90 (67 ง): 1831–1834. June 12, 1973.
  10. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอสามชุก จังหวัดสุพรรณบุรี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 93 (110 ง): 2418–2422. September 14, 1976.
  11. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง แบ่งท้องที่อำเภอสามชุก จังหวัดสุพรรณบุรี ตั้งเป็นกิ่งอำเภอหนองหญ้าไซ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 100 (92 ง): 1836. June 7, 1983. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-05-04. สืบค้นเมื่อ 2021-05-17.
  12. "พระราชกฤษฎีกาตั้งอำเภอห้วยผึ้ง อำเภอวังวิเศษ อำเภอคลองหาด อำเภอป่าบอน อำเภอหนองหญ้าปล้อง อำเภอวังโป่ง อำเภอควนเนียง อำเภอหนองหญ้าไซ อำเภอหนองนาเดิม อำเภอทุ่งฝน อำเภอสร้างคอม และอำเภอทองแสนขัน พ.ศ. ๒๕๓๓" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 107 (83 ก): (ฉบับพิเศษ) 1-4. May 21, 1990. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-07-18. สืบค้นเมื่อ 2021-05-17.
  13. "พระราชบัญญัติเปลี่ยนแปลงฐานะของสุขาภิบาลเป็นเทศบาล พ.ศ. ๒๕๔๒" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 116 (9 ก): 1–4. February 24, 1999. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2008-04-09. สืบค้นเมื่อ 2021-05-17.
  14. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การยุบรวมองค์การบริหารส่วนตำบลกับเทศบาลตำบล" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 121 (ตอนพิเศษ 102 ง): 21–24. September 15, 2004.