ตำบลจรเข้ใหญ่
ตำบลจรเข้ใหญ่ | |
---|---|
การถอดเสียงอักษรโรมัน | |
• อักษรโรมัน | Tambon Chorakhe Yai |
![]() วัดลำบัว | |
ประเทศ | ไทย |
จังหวัด | สุพรรณบุรี |
อำเภอ | บางปลาม้า |
พื้นที่ | |
• ทั้งหมด | 43.56 ตร.กม. (16.82 ตร.ไมล์) |
ประชากร (2566)[1] | |
• ทั้งหมด | 4,496 คน |
• ความหนาแน่น | 103.21 คน/ตร.กม. (267.3 คน/ตร.ไมล์) |
รหัสไปรษณีย์ | 72150 |
รหัสภูมิศาสตร์ | 720409 |
![]() |
องค์การบริหารส่วนตำบลจรเข้ใหญ่ | |
---|---|
พิกัด: 14°25′20.1″N 100°13′49.2″E / 14.422250°N 100.230333°E | |
ประเทศ | ![]() |
จังหวัด | สุพรรณบุรี |
อำเภอ | บางปลาม้า |
พื้นที่ | |
• ทั้งหมด | 43.56 ตร.กม. (16.82 ตร.ไมล์) |
ประชากร (2566) | |
• ทั้งหมด | 4,496 คน |
• ความหนาแน่น | 103.21 คน/ตร.กม. (267.3 คน/ตร.ไมล์) |
รหัส อปท. | 06720411 |
ที่อยู่ที่ทำการ | เลขที่ 222 หมู่ 2 ตำบลจรเข้ใหญ่ อำเภอบางปลาม้า จังหวัดสุพรรณบุรี 72150 |
เว็บไซต์ | www |
![]() |
จรเข้ใหญ่ เป็นตำบลในอำเภอบางปลาม้า จังหวัดสุพรรณบุรี
ที่ตั้งและอาณาเขต
[แก้]ตำบลจรเข้ใหญ่ มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังต่อไปนี้[2]
- ทิศเหนือ ติดต่อกับตำบลโคกโคเฒ่า (อำเภอเมืองสุพรรณบุรี)
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับตำบลนาคู ตำบลดอนลาน (อำเภอผักไห่ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา) และตำบลปลายกลัด (อำเภอบางซ้าย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา)
- ทิศใต้ ติดต่อกับตำบลองครักษ์
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับตำบลโคกคราม
ประวัติ
[แก้]ตำบลจรเข้ใหญ่ เป็นพรมแดนอยู่ระหว่างจังหวัดสุพรรณบุรีและจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ปี พ.ศ. 2478 ทางจังหวัดสุพรรณบุรีโดยพ.ท.พระเจนกระบวนหัด (ทองคำ พรโสภณ) ผู้ว่าราชการจังหวัดสุพรรณบุรี ร่วมกับพระชาติตระการ ผู้ว่าราชการจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ได้รับรายงานว่าเขตหมู่ 6 บางส่วนของตำบลจรเข้ใหญ่ (ในขณะนั้น) ได้แจ้งแก่ทางราชการว่าประชาชนติดต่อราชการกับอำเภอผักไห่ และจังหวัดพระนครศรีอยุธยาสะดวกกว่าไปติดต่อกับอำเภอบางปลาม้า
ปี พ.ศ. 2479 จึงมีการเปลี่ยนแปลงเขตจังหวัดสุพรรณบุรี และจังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยโอนพื้นที่หมู่ 6 เฉพาะส่วนที่อยู่ฝั่งเหนือของคลองขุดพระยารักษ์ฯ ของตำบลจรเข้ใหญ่ อำเภอบางปลาม้า จังหวัดสุพรรณบุรี ไปขึ้นกับหมู่ 4 บ้านดอนลาน ตำบลดอนลาน อำเภอผักไห่ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา[3] โดยได้รับอนุมัติจากพระยาพหลพลพยุหเสนา นายกรัฐมนตรี
การปกครองส่วนภูมิภาค
[แก้]การปกครองส่วนภูมิภาค
[แก้]ตำบลจรเข้ใหญ่แบ่งพื้นที่การปกครองออกเป็น 9 หมู่บ้าน ได้แก่
- หมู่ที่ 1 บ้านดอนผักเสี้ยน
- หมู่ที่ 2 บ้านจรเข้ใหญ่
- หมู่ที่ 3 บ้านลำบัว
- หมู่ที่ 4 บ้านทับน้ำ
- หมู่ที่ 5 บ้านจรเข้ใหญ่,บ้านจรเข้น้อย
- หมู่ที่ 6 บ้านโพธิ์ศรี
- หมู่ที่ 7 บ้านดอนหนามแดง
- หมู่ที่ 8 บ้านศาลาท่าทราย
- หมู่ที่ 9 บ้านกลาง
การปกครองส่วนท้องถิ่น
[แก้]ตำบลจรเข้ใหญ่เดิมมีฐานะสภาตำบลจรเข้ใหญ่ ในปี พ.ศ. 2517[4] ต่อมาปี พ.ศ. 2538 สภาตำบลจรเข้ใหญ่มี 9 หมู่บ้าน พื้นที่ 43.56 ตารางกิโลเมตร ประชากร 5,489 คน และ 1,150 ครัวเรือน[5] ปี พ.ศ. 2539 กระทรวงมหาดไทยจึงพิจารณาให้สภาตำบลจรเข้ใหญ่อยู่ในเงื่อนไขที่จะจัดตั้งเป็นองค์การบริหารส่วนตำบลได้ จึงได้รับการจัดตั้งเป็นองค์การบริหารส่วนตำบลจรเข้ใหญ่[6]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ ประชากรในเขตตำบลจรเข้ใหญ่ อำเภอบางปลาม้า จังหวัดสุพรรณบุรี เดือนธันวาคม พ.ศ. 2566 โดยกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การกำหนดเขตตำบลในท้องที่อำเภอบางปลาม้า จังหวัดสุพรรณบุรี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 116 (ตอนพิเศษ 21 ง): 48–85. วันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2542
- ↑ "พระราชบัญญัติเปลี่ยนแปลงเขตจังหวัด พุทธศักราช ๒๔๗๙" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 54 (0 ก): 40–54. วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2480
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การจัดตั้งสภาตำบลตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๓๒๖ ลงวันที่ ๑๓ ธันวาคม ๒๕๑๕" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 91 (87 ง): (ฉบับพิเศษ) 1–45. วันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2517
- ↑ ประชากรรายตำบลในประเทศไทย ณ วันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2538 (เขตตำบลจรเข้ใหญ่ อำเภอบางปลาม้า จังหวัดสุพรรณบุรี) สืบค้นเมื่อวันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2567
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบล" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 113 (9 ง): 5–219. วันที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2539