ตำบลตะค่า
ตำบลตะค่า | |
---|---|
การถอดเสียงอักษรโรมัน | |
• อักษรโรมัน | Tambon Takha |
ประเทศ | ไทย |
จังหวัด | สุพรรณบุรี |
อำเภอ | บางปลาม้า |
พื้นที่ | |
• ทั้งหมด | 38.50 ตร.กม. (14.86 ตร.ไมล์) |
ประชากร (2566)[1] | |
• ทั้งหมด | 5,412 คน |
• ความหนาแน่น | 140.57 คน/ตร.กม. (364.1 คน/ตร.ไมล์) |
รหัสไปรษณีย์ | 72150 |
รหัสภูมิศาสตร์ | 720403 |
![]() |
ตะค่า เป็นตำบลในอำเภอบางปลาม้า จังหวัดสุพรรณบุรี โดยมีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นภายในพื้นที่เป็นเทศบาลตำบลตะค่า
ที่ตั้งและอาณาเขต
[แก้]ตำบลตะค่า มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังต่อไปนี้[2]
- ทิศเหนือ ติดต่อกับตำบลโคกคราม
- ทิศตะวันออก ติดต่อตำบลองครักษ์
- ทิศใต้ ติดต่อกับตำบลสาลี และตำบลกฤษณา
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับตำบลบางใหญ่ และตำบลบ้านแหลม
เทศบาลตำบลตะค่า | |
---|---|
พิกัด: 14°23′00.1″N 100°10′02.5″E / 14.383361°N 100.167361°E | |
ประเทศ | ![]() |
จังหวัด | สุพรรณบุรี |
อำเภอ | บางปลาม้า |
พื้นที่ | |
• ทั้งหมด | 38.50 ตร.กม. (14.86 ตร.ไมล์) |
ประชากร (2566) | |
• ทั้งหมด | 5,412 คน |
• ความหนาแน่น | 140.57 คน/ตร.กม. (364.1 คน/ตร.ไมล์) |
รหัส อปท. | 05720405 |
ที่อยู่ สำนักงาน | เลขที่ 2/1 หมู่ 2 ตำบลตะค่า อำเภอบางปลาม้า จังหวัดสุพรรณบุรี 72150 |
เว็บไซต์ | takha |
![]() |
ประวัติ
[แก้]ตำบลตะค่าตั้งอยู่ฝั่งตะวันออกของแม่น้ำท่าจีนมาเป็นเวลากว่า 100 ปี เดิมชื่อว่า ตำบลมะค่า เนื่องจากมีสภาพเดิมเป็นป่าไม้มะค่าโมง และมะค่าแต้เป็นจำนวนมาก จึงได้มีการเรียกชื่อตามสภาพของพันธุ์ไม้ ต่อมาได้มีการเรียกผิดเพี้ยนจากตำบลมะค่า เป็น ตะค่า[3] มาจนถึงปัจจุบัน
การปกครองส่วนภูมิภาค
[แก้]การปกครองส่วนภูมิภาค
[แก้]ตำบลตะค่าแบ่งพื้นที่การปกครองออกเป็น 9 หมู่บ้าน ได้แก่
- หมู่ที่ 1 บ้านบางยี่หน
- หมู่ที่ 2 บ้านตะค่า
- หมู่ที่ 3 บ้านชีปะขาว
- หมู่ที่ 4 บ้านเจ้าขาว
- หมู่ที่ 5 บ้านดาบเงิน
- หมู่ที่ 6 บ้านดารา
- หมู่ที่ 7 บ้านบางใหญ่
- หมู่ที่ 8 บ้านบางใหญ่
- หมู่ที่ 9 บ้านบางยี่หน
การปกครองส่วนท้องถิ่น
[แก้]ตำบลตะค่าเดิมมีฐานะเป็นสภาตำบลตะค่า ในปี พ.ศ. 2517[4] ต่อมาปี พ.ศ. 2538 สภาตำบลตะค่ามี 9 หมู่บ้าน พื้นที่ 38.50 ตารางกิโลเมตร ประชากร 6,055 คน และ 1,356 ครัวเรือน[5] ปี พ.ศ. 2539 กระทรวงมหาดไทยจึงพิจารณาให้สภาตำบลตะค่าอยู่ในเงื่อนไขที่จะจัดตั้งเป็นองค์การบริหารส่วนตำบลได้ จึงได้รับการจัดตั้งเป็นองค์การบริหารส่วนตำบลตะค่า[6]
ปี พ.ศ. 2550 เขตองค์การบริหารส่วนตำบลตะค่ามี 9 หมู่บ้าน พื้นที่ 38.50 ตารางกิโลเมตร ประชากร 5,830 คน และ 1,668 ครัวเรือน มีรายได้จริงโดยไม่รวมเงินอุดหนุนในปีงบประมาณที่ผ่านมาตั้งแต่ 12.1 ล้านบาท รายจ่ายประจำ 5.05 ล้านบาทและได้รับความเห็นชอบจากราษฎร[7] พ.ศ. 2551 กระทรวงมหาดไทยจึงพิจารณาให้องค์การบริหารส่วนตำบลตะค่าอยู่ในเงื่อนไขที่จะจัดตั้งเป็นเทศบาลตำบลได้ จึงได้รับการจัดตั้งเป็น เทศบาลตำบลตะค่า[8]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ ประชากรในเขตท้องถิ่นเทศบาลตำบลตะค่า อำเภอบางปลาม้า จังหวัดสุพรรณบุรี เดือนธันวาคม พ.ศ. 2566 โดยกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การกำหนดเขตตำบลในท้องที่อำเภอบางปลาม้า จังหวัดสุพรรณบุรี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 116 (ตอนพิเศษ 21 ง): 48–85. วันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2542
- ↑ ประวัติตำบลตะค่า อำเภอบางปลาม้า จังหวัดสุพรรณบุรี - ท้องถิ่นเทศบาลตำบลตะค่า สืบค้นเมื่อวันที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2567
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การจัดตั้งสภาตำบลตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๓๒๖ ลงวันที่ ๑๓ ธันวาคม ๒๕๑๕" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 91 (87 ง): (ฉบับพิเศษ) 1–45. วันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2517
- ↑ ประชากรรายตำบลในประเทศไทย ณ วันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2538 (เขตตำบลตะค่า อำเภอบางปลาม้า จังหวัดสุพรรณบุรี) สืบค้นเมื่อวันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2567
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบล" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 113 (9 ง): 5–219. วันที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2539
- ↑ ประชากรรายตำบลในประเทศไทย ณ วันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2550 (เขตตำบลตะค่า อำเภอบางปลาม้า จังหวัดสุพรรณบุรี) สืบค้นเมื่อวันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2567
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่ิอง จัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบลตะค่า อำเภอบางปลาม้า จังหวัดสุพรรณบุรี เป็นเทศบาลตำบลตะค่า". กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น. 125: 1. วันที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2551 โดยมีผลบังคับใช้ในวันที่ 25 กรกฎาคม ปีเดียวกัน