ข้ามไปเนื้อหา

ตำบลทัพหลวง (อำเภอหนองหญ้าไซ)

พิกัด: 14°45′38.6″N 99°49′23.9″E / 14.760722°N 99.823306°E / 14.760722; 99.823306
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ตำบลทัพหลวง
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันTambon Thap Luang
ประเทศไทย
จังหวัดสุพรรณบุรี
อำเภอหนองหญ้าไซ
พื้นที่
 • ทั้งหมด66.06 ตร.กม. (25.51 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2566)[1]
 • ทั้งหมด9,983 คน
 • ความหนาแน่น151.12 คน/ตร.กม. (391.4 คน/ตร.ไมล์)
รหัสไปรษณีย์ 72240
รหัสภูมิศาสตร์721006
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย
องค์การบริหารส่วนตำบลทัพหลวง
อบต.ทัพหลวงตั้งอยู่ในจังหวัดสุพรรณบุรี
อบต.ทัพหลวง
อบต.ทัพหลวง
ที่ตั้งที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลทัพหลวง
พิกัด: 14°45′38.6″N 99°49′23.9″E / 14.760722°N 99.823306°E / 14.760722; 99.823306
ประเทศ ไทย
จังหวัดสุพรรณบุรี
อำเภอหนองหญ้าไซ
พื้นที่
 • ทั้งหมด66.06 ตร.กม. (25.51 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2566)
 • ทั้งหมด9,983 คน
 • ความหนาแน่น151.12 คน/ตร.กม. (391.4 คน/ตร.ไมล์)
รหัส อปท.06721003
ที่อยู่ที่ทำการเลขที่ 55 หมู่ 2 ตำบลทัพหลวง อำเภอหนองหญ้าไซ จังหวัดสุพรรณบุรี 72240
เว็บไซต์tubluang.go.th
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

ทัพหลวง เป็นตำบลในอำเภอหนองหญ้าไซ จังหวัดสุพรรณบุรี

ที่ตั้งและอาณาเขต

[แก้]

ตำบลทัพหลวง มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังต่อไปนี้[2]

ประวัติ

[แก้]

ทัพหลวง เดิมเป็นพื้นที่หมู่ 3 ของตำบลหนองหญ้าไซ อำเภอสามชุก ปี พ.ศ. 2526 นายจรินทร์ กาญจโนมัย ผู้ว่าราชการจังหวัดสุพรรณบุรี ประกาศแยกพื้นที่ทิศตะวันตกของอำเภอสามชุก 4 ตำบล ได้แก่ ตำบลหนองหญ้าไซ ตำบลหนองราชวัตร ตำบลหนองโพธิ์ และตำบลแจงงาม เป็น กิ่งอำเภอหนองหญ้าไซ[3] และยกฐานะเป็นอำเภอในปี พ.ศ. 2533[4] บ้านทัพหลวงจึงมีฐานะเป็นหมู่บ้านของอำเภอหนองหญ้าไซ

ปี พ.ศ. 2535 ร.อ. ศรีรัตน์ หริรักษ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดสุพรรณบุรี ประกาศแยกพื้นที่ 9 หมู่บ้านของตำบลหนองหญ้าไซ ได้แก่ หมู่ 3 บ้านทัพหลวง, หมู่ 4 บ้านทุ่งหนองแก้ว, หมู่ 6 บ้านหนองกระถิน, หมู่ 10 บ้านทัพตาแทน, หมู่ 12 บ้านหนองกระอิฐ, หมู่ 14 บ้านห้วยหลง, หมู่ 16 บ้านโค้งบ่อแร่, หมู่ 18 บ้านสระกลอย และหมู่ 19 บ้านทัพยายดาบ ออกมาตั้งเป็น ตำบลทัพหลวง[5] เป็นตำบลลำดับสุดท้ายของทางอำเภอ

การปกครองส่วนภูมิภาค

[แก้]

การปกครองส่วนภูมิภาค

[แก้]

ตำบลทัพหลวงแบ่งพื้นที่การปกครองออกเป็น 12 หมู่บ้าน ได้แก่

  • หมู่ที่ 1 บ้านทัพหลวง
  • หมู่ที่ 2 บ้านห้วยหลง
  • หมู่ที่ 3 บ้านหนองกระถิน
  • หมู่ที่ 4 บ้านทัพตาแทน
  • หมู่ที่ 5 บ้านทัพยายดาบ
  • หมู่ที่ 6 บ้านหนองกระอิฐ
  • หมู่ที่ 7 บ้านสระกลอย
  • หมู่ที่ 8 บ้านทุ่งหนองแก้ว
  • หมู่ที่ 9 บ้านโค้งบ่อแร่
  • หมู่ที่ 10 บ้านหนองบัวหิ่ง
  • หมู่ที่ 11 บ้านหนองผึ้ง
  • หมู่ที่ 12 บ้านหนองอีพัง

การปกครองส่วนท้องถิ่น

[แก้]

ตำบลทัพหลวงเดิมมีฐานะเป็นสภาตำบลทัพหลวงหลังจากจัดตั้งตำบลขึ้น[5] ต่อมาปี พ.ศ. 2538 สภาตำบลทัพหลวงมี 12 หมู่บ้าน พื้นที่ 66.06 ตารางกิโลเมตร ประชากร 8,736 คน และ 2,243 ครัวเรือน[6] ปี พ.ศ. 2539 กระทรวงมหาดไทยจึงพิจารณาให้สภาตำบลทัพหลวงอยู่ในเงื่อนไขที่จะจัดตั้งเป็นองค์การบริหารส่วนตำบลได้ จึงได้รับการจัดตั้งเป็นองค์การบริหารส่วนตำบลทัพหลวง[7]

อ้างอิง

[แก้]
  1. ประชากรในเขตตำบลทัพหลวง อำเภอหนองหญ้าไซ จังหวัดสุพรรณบุรี เดือนธันวาคม พ.ศ. 2566 โดยกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย.
  2. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การกำหนดเขตตำบลในท้องที่อำเภอหนองหญ้าไซ จังหวัดสุพรรณบุรี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 116 (50 ง): 31–53. วันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2542
  3. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง แบ่งท้องที่อำเภอสามชุก จังหวัดสุพรรณบุรี ตั้งเป็นกิ่งอำเภอหนองหญ้าไซ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 100 (92 ง): 1836. วันที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2526
  4. "พระราชกฤษฎีกาตั้งอำเภอห้วยผึ้ง อำเภอวังวิเศษ อำเภอคลองหาด อำเภอป่าบอน อำเภอหนองหญ้าปล้อง อำเภอวังโป่ง อำเภอควนเนียง อำเภอหนองหญ้าไซ อำเภอบ้านนาเดิม อำเภอทุ่งฝน อำเภอสร้างคอม และอำเภอทองแสนขัน พ.ศ. ๒๕๓๓" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 107 (83 ก): (ฉบับพิเศษ) 1-4. วันที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2533
  5. 5.0 5.1 "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและกำหนดเขตตำบลในท้องที่อำเภอหนองหญ้าไซ จังหวัดสุพรรณบุรี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 109 (145 ง): (ฉบับพิเศษ) 41-52. วันที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2535
  6. ประชากรรายตำบลในประเทศไทย ณ วันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2538 (เขตตำบลทัพหลวง อำเภอหนองหญ้าไซ จังหวัดสุพรรณบุรี) สืบค้นเมื่อวันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2567
  7. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบล" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 113 (9 ง): 5–219. วันที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2539