ตำบลดอนคา (อำเภออู่ทอง)
ตำบลดอนคา | |
---|---|
การถอดเสียงอักษรโรมัน | |
• อักษรโรมัน | Tambon Don Kha |
ประเทศ | ไทย |
จังหวัด | สุพรรณบุรี |
อำเภอ | อู่ทอง |
พื้นที่ | |
• ทั้งหมด | 64.00 ตร.กม. (24.71 ตร.ไมล์) |
ประชากร (2566)[1] | |
• ทั้งหมด | 13,294 คน |
• ความหนาแน่น | 207.72 คน/ตร.กม. (538.0 คน/ตร.ไมล์) |
รหัสไปรษณีย์ | 72160 |
รหัสภูมิศาสตร์ | 720908 |
องค์การบริหารส่วนตำบลดอนคา | |
---|---|
พิกัด: 14°28′36.6″N 99°56′15.9″E / 14.476833°N 99.937750°E | |
ประเทศ | ไทย |
จังหวัด | สุพรรณบุรี |
อำเภอ | อู่ทอง |
พื้นที่ | |
• ทั้งหมด | 64.00 ตร.กม. (24.71 ตร.ไมล์) |
ประชากร (2566) | |
• ทั้งหมด | 13,294 คน |
• ความหนาแน่น | 207.72 คน/ตร.กม. (538.0 คน/ตร.ไมล์) |
รหัส อปท. | 06720913 |
ที่อยู่ที่ทำการ | เลขที่ 502 หมู่ 2 ตำบลดอนคา อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี 72160 |
เว็บไซต์ | donka |
ดอนคา เป็นตำบลในอำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี เป็นที่ตั้งของวัดเขาดีสลักซึ่งเป็นที่ประดิษฐานรอยพระพุทธบาทที่มีมงคล 108 ประการ สลักไว้อย่างวิจิตรงดงาม[2]
ที่ตั้งและอาณาเขต
[แก้]ตำบลดอนคา มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังต่อไปนี้[3]
- ทิศเหนือ ติดต่อกับตำบลพลับพลาไชย
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับตำบลศาลาขาว และตำบลสระแก้ว (อำเภอเมืองสุพรรณบุรี)
- ทิศใต้ ติดต่อกับตำบลหนองโอ่ง
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับตำบลเลาขวัญ (อำเภอเลาขวัญ จังหวัดกาญจนบุรี)
ประวัติ
[แก้]ดอนคา ประชาชนแต่เดิมอพยพมาจากเมืองเวียงจันทน์ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว เมื่อครั้งบ้านเมืองเริ่มเกิดสงครามจึงได้พากันมาอยู่ที่เมืองสยาม ที่ชาวบ้านเรียกว่า "ขอดดอนคา" ต่อมาได้เรียกชื่อขาดหายไปบ้างจนกร่อนเป็นคำว่า ดอนคา[4] "ตาหงษ์จากเวียงจันทน์ แกด้นดั้นจากแดนไกล พบแหล่งศิวิไลซ์ ธรรมชาติสะอาดตา เป็นที่ดอนโดดเด่น ถูกซ่อนเร้นด้วยหญ้าคาชาวลาวร่วมใจมา ตั้งถิ่นฐานและบ้านเรือน ตั้งชื่อ "ดอนคา" ไว้ คนทั่วไปไม่ลืมเลือน ทำไร่ ทำนาเหมือน ร่วมพวกพ้องพี่น้องไทย"
ดอนคา เดิมเป็นพื้นที่ของตำบลหนองโอ่ง ปี พ.ศ. 2492 ขุนธรรมรัฐธุราทร (ธรรมรัฐ โรจนสุนทร) ผู้ว่าราชการจังหวัดสุพรรณบุรี ได้ประกาศแยก 5 หมู่บ้าน ได้แก่ หมู่ 6–7 บ้านดอนคา, หมู่ 8 บ้านใหม่, หมู่ 9 บ้านสระกร่างและหมู่ 10 บ้านห้วยคู้ ของตำบลหนองโอ่ง มาตั้งเป็นตำบลดอนคา[5]
ปี พ.ศ. 2550 นายสมศักย์ ภูรีศรีศักดิ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดสุพรรณบุรี ได้แบ่งพื้นที่หมู่ 2 บ้านดอนคา แยกตั้งเป็นหมู่บ้านใหม่ เป็น หมู่ 19 บ้านห้วย และแบ่งพื้นที่หมู่ 3 บ้านใหม่ แยกตั้งเป็นหมู่บ้านใหม่ เป็น หมู่ 20 บ้านใหม่ใต้[6]
การปกครองส่วนภูมิภาค
[แก้]การปกครองส่วนภูมิภาค
[แก้]ตำบดอนคาแบ่งพื้นที่การปกครองออกเป็น 20 หมู่บ้าน ได้แก่
- หมู่ที่ 1 บ้านดอนคา,หัวตาล
- หมู่ที่ 2 บ้านดอนคา
- หมู่ที่ 3 บ้านใหม่
- หมู่ที่ 4 บ้านสระกร่าง
- หมู่ที่ 5 บ้านห้วยคู้
- หมู่ที่ 6 บ้านดอนคา
- หมู่ที่ 7 บ้านหนองกุฎีทอง
- หมู่ที่ 8 บ้านหนองมะขอ
- หมู่ที่ 9 บ้านเขากำแพง
- หมู่ที่ 10 บ้านโนน
- หมู่ที่ 11 บ้านหนองกระโซ่
- หมู่ที่ 12 บ้านช้างดำหัว
- หมู่ที่ 13 บ้านชัฏดงดำ
- หมู่ที่ 14 บ้านโปร่งพรานอินทร์
- หมู่ที่ 15 บ้านหนองศรีเทพ
- หมู่ที่ 16 บ้านเขาดีสลัก
- หมู่ที่ 17 บ้านหนองหมู-โนนแดง
- หมู่ที่ 18 บ้านหนองทราย
- หมู่ที่ 19 บ้านห้วย
- หมู่ที่ 20 บ้านใหม่ใต้
การปกครองส่วนท้องถิ่น
[แก้]ตำบลดอนคาเดิมมีฐานะเป็นสภาตำบลดอนคา ในปี พ.ศ. 2517[7] ต่อมาปี พ.ศ. 2538 สภาตำบลดอนคามี 18 หมู่บ้าน พื้นที่ 64.00 ตารางกิโลเมตร ประชากร 12,259 คน และ 2,490 ครัวเรือน[8] ปี พ.ศ. 2539 กระทรวงมหาดไทยจึงพิจารณาให้สภาตำบลดอนคาอยู่ในเงื่อนไขที่จะจัดตั้งเป็นองค์การบริหารส่วนตำบลได้ จึงได้รับการจัดตั้งเป็นองค์การบริหารส่วนตำบลดอนคา[9]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ ประชากรในเขตตำบลดอนคา อำเภอหนองหญ้าไซ จังหวัดสุพรรณบุรี เดือนธันวาคม พ.ศ. 2566 โดยกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย.
- ↑ "โบราณสถานบนเขาดีสลัก (วัดเขาดีสลัก)". พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติอู่ทอง สุพรรณบุรี กรมศิลปากร. สืบค้นเมื่อวันที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2567
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การกำหนดเขตตำบลในท้องที่อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 116 (ตอนพิเศษ 37 ง): 30–72. วันที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2542
- ↑ ประวัติตำบลดอนคา อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี - องค์การบริหารส่วนตำบลดอนคา สืบค้นเมื่อวันที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2567
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งตำบลและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในจังหวัดสุพรรณบุรี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 66 (57 ง): 4812–4815. วันที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2492
- ↑ "ประกาศจังหวัดสุพรรณบุรี เรื่อง ตั้งและกำหนดเขตหมู่บ้าน" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 124 (ตอนพิเศษ 45 ง): 245–259. วันที่ 11 เมษายน พ.ศ. 2550
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การจัดตั้งสภาตำบลตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๓๒๖ ลงวันที่ ๑๓ ธันวาคม ๒๕๑๕" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 91 (87 ง): (ฉบับพิเศษ) 1–45. วันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2517
- ↑ ประชากรรายตำบลในประเทศไทย ณ วันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2538 (เขตตำบลดอนคา อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี) สืบค้นเมื่อวันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2567
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบล" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 113 (9 ง): 5–219. วันที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2539