ตำบลสระแก้ว (อำเภอเมืองสุพรรณบุรี)
ตำบลสระแก้ว | |
---|---|
การถอดเสียงอักษรโรมัน | |
• อักษรโรมัน | Tambon Sa Kaeo |
ประเทศ | ไทย |
จังหวัด | สุพรรณบุรี |
อำเภอ | เมืองสุพรรณบุรี |
พื้นที่ | |
• ทั้งหมด | 57.93 ตร.กม. (22.37 ตร.ไมล์) |
ประชากร (2566)[1] | |
• ทั้งหมด | 13,677 คน |
• ความหนาแน่น | 236.10 คน/ตร.กม. (611.5 คน/ตร.ไมล์) |
รหัสไปรษณีย์ | 72230 |
รหัสภูมิศาสตร์ | 720113 |
สระแก้ว เป็นตำบลในอำเภอเมืองสุพรรณบุรี จังหวัดสุพรรณบุรี โดยมีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นภายในพื้นที่เป็นเทศบาลตำบลท่าเสด็จ เป็นที่ตั้งของสวนนกท่าเสด็จ (หน่วยอนุรักษ์นกท่าเสด็จ) และสระศักดิ์สิทธิ์ทั้งสี่
ที่ตั้งและอาณาเขต
[แก้]ตำบลสระแก้ว มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังต่อไปนี้[2]
- ทิศเหนือ ติดต่อกับตำบลสนามคลี
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับตำบลบ้านโพธิ์ และตำบลดอนโพธิ์ทอง
- ทิศใต้ ติดต่อกับตำบลบางกุ้ง และตำบลศาลาขาว
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับตำบลดอนคา และตำบลพลับพลาไชย (อำเภออู่ทอง)
เทศบาลตำบลท่าเสด็จ | |
---|---|
พิกัด: 14°29′34.3″N 100°00′59.9″E / 14.492861°N 100.016639°E | |
ประเทศ | ไทย |
จังหวัด | สุพรรณบุรี |
อำเภอ | เมืองสุพรรณบุรี |
พื้นที่ | |
• ทั้งหมด | 57.93 ตร.กม. (22.37 ตร.ไมล์) |
ประชากร (2566) | |
• ทั้งหมด | 13,677 คน |
• ความหนาแน่น | 236.10 คน/ตร.กม. (611.5 คน/ตร.ไมล์) |
รหัส อปท. | 05720103 |
ที่อยู่ สำนักงาน | เลขที่ 333 หมู่ 6 ตำบลสระแก้ว อำเภอเมืองสุพรรณบุรี จังหวัดสุพรรณบุรี 72230 |
เว็บไซต์ | www |
ประวัติ
[แก้]เดิมพื้นที่มีชื่อว่า ตำบลท่าว้า ขึ้นกับอำเภอท่าพี่เลี้ยง[3] ต่อมาทางราชการได้เปลี่ยนชื่อจากตำบลท่าว้า เป็น ตำบลสระแก้ว ในปี พ.ศ. 2492[4] ซึ่งชื่อหมู่บ้านก็ได้เปลี่ยนจาก ท่าว้า เป็น ท่าเสด็จ การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวสันนิษฐานได้ว่าสืบเนื่องจากเหตุการณ์ที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ได้เคยเสด็จประพาสเมืองสุพรรณบุรี เมื่อปี พ.ศ. 2451 และได้เสด็จประพาสมาที่สระน้ำศักดิ์สิทธิ์ ทั้ง 4 ที่ตั้งอยู่ท้องที่บ้านท่าเสด็จ
ปี พ.ศ. 2510 นายเวียง สาครสินธุ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดสุพรรณบุรี ได้พิจารณาพื้นที่หมู่ 3 บ้านท่าเสด็จ ของตำบลสระแก้ว มีสภาพชุมนุมชนหนาแน่น เป็นที่ตั้งของตลาด ร้านค้า โรงสี และศูนย์ราชการ สมควรได้รับการจัดตั้งเป็นสุขาภิบาล ปี พ.ศ. 2511 จึงจัดตั้งขึ้นเป็น สุขาภิบาลท่าเสด็จ[5] โดยมีพื้นที่ดูแลทั้งตำบล เนื่องจากเหตุผลด้านผังเมือง ปี พ.ศ. 2539 กระทรวงมหาดไทยกำหนดให้สุขาภิบาลท่าเสด็จมีฐานะการคลังเพียงพอที่จะบริหารงานประจำของสุขาภิบาลได้[6]
ปี พ.ศ. 2542 สุขาภิบาลท่าเสด็จได้รับการจัดตั้งขึ้นเป็นเทศบาลตำบล[7] ด้วยผลของกฎหมาย
การปกครองส่วนภูมิภาค
[แก้]การปกครองส่วนภูมิภาค
[แก้]ตำบลสระแก้วแบ่งพื้นที่การปกครองออกเป็น 9 หมู่บ้าน ได้แก่
- หมู่ที่ 1 บ้านเขาดิน
- หมู่ที่ 2 บ้านปากคลองเขาดิน
- หมู่ที่ 3 บ้านท่าเสด็จ
- หมู่ที่ 4 บ้านปลายน้ำ
- หมู่ที่ 5 บ้านท่าว้า
- หมู่ที่ 6 บ้านวัดสารภี
- หมู่ที่ 7 บ้านหนองปรือ
- หมู่ที่ 8 บ้านหนองบอน
- หมู่ที่ 9 บ้านหลักเมตร
หลังจากที่ได้รับการจัดตั้งเป็นเทศบาล ยังได้มีการจัดตั้งชุมชนขึ้น 21 ชุมชน[8]ภายในพื้นที่ ได้แก่
- 1. ชุมชนร่วมใจพัฒนา หมู่ที่ 1
- 2. ชุมชนเขาดินพัฒนา หมู่ที่ 1
- 3. ชุมชนพร้อมใจพัฒนาบ้านเขาดิน
- 4. ชุมชนร่วมใจสามัคคี
- 5. ชุมชนพลังปากคลองเขาดินพัฒนา
- 6. ชุมชนดงมะม่วงพัฒนา
- 7. ชุมชนตลาดสดท่าเสด็จร่วมใจ
- 8. ชุมชนข้าวขวัญพัฒนา
- 9. ชุมชนหน้าวัดสารภีพัฒนา
- 10. ชุมชนบ้านหัวอุดพัฒนา
- 11. ชุมชนปลายน้ำสามัคคีธรรมพัฒนา
- 12. ชุมชนปลายน้ำพัฒนา
- 13. ชุมชนท่าว้า
- 14. ชุมชนท่าว้าร่วมใจพัฒนา
- 15. ชุมชนสระเกษร่วมใจพัฒนา
- 16. ชุมชนคลอง 19 หัวป้อมพัฒนา
- 17. ชุมชนดอนมะเกลือร่วมใจพัฒนา
- 18. ชุมชนหนองปรือพัฒนา
- 19. ชุมชนดอนตะไล้-หนองกระทุ่ม-คันคลอง 20 พัฒนา
- 20. ชุมชนหนองบอนพัฒนา
- 21. ชุมชนหลักเมตรพัฒนา
อ้างอิง
[แก้]- ↑ ประชากรในเขตท้องถิ่นเทศบาลตำบลท่าเสด็จ อำเภอเมืองสุพรรณบุรี จังหวัดสุพรรณบุรี เดือนธันวาคม พ.ศ. 2566 โดยกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การกำหนดเขตตำบลในท้องที่อำเภอเมืองสุพรรณบุรี จังหวัดสุพรรณบุรี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 117 (102 ง): 6–49. วันที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2543
- ↑ "ประกาศกำหนดวันจะแจกโฉนดสำหรับที่ดิน [ในทุ่งบ้านท่าว้า ตำบลท่าว้า อำเภอเมือง,ทุ่งบ้านสมุน ตำบลบ้านสมุน อำเภอเมือง,ทุ่งบ้านท่าระหัด ตำบลท่าระหัด อำเภอเมือง,ทุ่งบ้านโพพระยา ตำบลโพพระยา อำเภอเมือง,ทุ่งบ้านกุฎีทอง ตำบลกุฎีทอง อำเภอเมือง แขวงเมืองสุพรรณบุรี]" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 25 (31 ง): 868–869. วันที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2451
- ↑ "พระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนชื่ออำเภอและตำบลบางแห่ง พ.ศ. ๒๔๙๖" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 70 (25 ก): 492–496. วันที่ 14 เมษายน พ.ศ. 2496
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลท่าเสด็จ อำเภอเมืองสุพรรณบุรี จังหวัดสุพรรณบุรี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 85 (17 ง): 510–511. วันที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2511
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง รายชื่อสุขาภิบาลที่มีฐานะการคลังเพียงพอที่จะบริหารงานประจำของสุขาภิบาลได้" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 113 (44 ง): 7–11. วันที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2539
- ↑ "พระราชบัญญัติเปลี่ยนแปลงฐานะของสุขาภิบาลเป็นเทศบาล พ.ศ. ๒๕๔๒" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 116 (9 ก): 1–4 – โดยทาง ให้บรรดาสุขาภิบาลตามกฎหมายว่าด้วยสุขาภิบาลที่มีอยู่ในวันที่พระราชบัญญัตินี้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา มีฐานะเป็นเทศบาลตำบลตามกฎหมายว่าด้วยเทศบาลในพระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ. วันที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2542
- ↑ "ข้อมูลชุมชนของเทศบาลตำบลท่าเสด็จ อำเภอเมืองสุพรรณบุรี จังหวัดสุพรรณบุรี". เทศบาลตำบลท่าเสด็จ. สืบค้นเมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2567