ข้ามไปเนื้อหา

อำเภอหนองหญ้าไซ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อำเภอหนองหญ้าไซ
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันAmphoe Nong Ya Sai
คำขวัญ: 
ดินแดนหม่อนไหมงามหรู เฟื่องฟูไม้ผลงามสะพรั่ง
มั่งคั่งโคนม อุดมข้าวขาวดอกมะลิ
แผนที่จังหวัดสุพรรณบุรี เน้นอำเภอหนองหญ้าไซ
แผนที่จังหวัดสุพรรณบุรี เน้นอำเภอหนองหญ้าไซ
พิกัด: 14°46′30″N 99°54′40″E / 14.77500°N 99.91111°E / 14.77500; 99.91111
ประเทศ ไทย
จังหวัดสุพรรณบุรี
พื้นที่
 • ทั้งหมด420.2 ตร.กม. (162.2 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2564)
 • ทั้งหมด48,789 คน
 • ความหนาแน่น116.11 คน/ตร.กม. (300.7 คน/ตร.ไมล์)
รหัสไปรษณีย์ 72240
รหัสภูมิศาสตร์7210
ที่ตั้งที่ว่าการที่ว่าการอำเภอหนองหญ้าไซ หมู่ที่ 5 ตำบลหนองหญ้าไซ อำเภอหนองหญ้าไซ จังหวัดสุพรรณบุรี 72240
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

หนองหญ้าไซ เป็นอำเภอของจังหวัดสุพรรณบุรี เดิมเป็นส่วนหนึ่งของอำเภอสามชุก แยกตั้งเป็นกิ่งอำเภอในปี พ.ศ. 2526[1] และตั้งเป็นอำเภอลำดับที่ 10 ของทางจังหวัดในปี พ.ศ. 2533[2]

ที่ตั้งและอาณาเขต[แก้]

อำเภอหนองหญ้าไซ มีอาณาเขตติดต่อกับอำเภอข้างเคียงดังนี้

ประวัติ[แก้]

เดิมพื้นที่เป็นส่วนหนึ่งของอำเภอสามชุก ในปี พ.ศ. 2508 หมู่บ้านหนองหลวงและบ้านหนองหญ้าไทร เป็นพื้นที่มีตลาดการค้า โรงสี สถานีตำรวจ จึงตั้งสุขาภิบาลเพื่อบำรุงท้องที่[3] ต่อมาปี พ.ศ. 2510 ทางสำนักนายกรัฐมนตรีและราชบัณฑิตยสถานได้เปลี่ยนแปลงชื่อพื้นที่จาก หนองหญ้าไทร เป็น หนองหญ้าไซ[4][5] ซึ่ง หญ้าไซ คือ เป็นไม้ล้มลุก จำพวกหญ้าเกิดอยู่ในน้ำ มีอายุข้ามปี ลำต้นตั้งตรง อ่อนไม่แข็ง มักทอดขนานไปกับพื้น ลำต้นกลมเรียบ ภายในกลวง มีแนวลายเส้นละเอียดปรากฎอย่ตามยาวของลำต้น ที่ข้อของลำต้นจะมีขนสีขาวสั้นอยู่โดยรอบ

พื้นที่ตำบลหนองหญ้าไซมีความกว้างขวาง จึงแยกพื้นที่ออกเป็นอีก 2 ตำบล คือ แยกหมู่ 13 บ้านแจงงาม รวมกับ 4 หมู่บ้านแยกตั้งเป็น ตำบลแจงงาม ในปี พ.ศ. 2516[6] และแยกหมู่ 6 บ้านหนองราชวัตร รวมกับ 4 หมู่บ้านแยกตั้งเป็น ตำบลหนองราชวัตร ในปี พ.ศ. 2519[7] เมื่อพื้นที่มีความเจริญมากขึ้น ห่างไกลจากอำเภอต้นสังกัดเดิม นายชลิต พิมลศิริ ผู้ว่าราชการจังหวัดสุพรรณบุรี ร่วมกับกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน และประชาชน 4 ตำบลของอำเภอสามชุกมีการสำรวจพื้นที่ ประชากร และสำนักงานราชการเพื่อจัดตั้งกิ่งอำเภอ รวมทั้งตั้งไปรษณีย์โทรเลขขึ้น[8]

นายจรินทร์ กาญจโนมัย ผู้ว่าราชการจังหวัดสุพรรณบุรี พลเอกสิทธิ จิรโรจน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ได้ประกาศแยกพื้นที่ 4 ตำบล คือ ตำบลหนองโพธิ์ ตำบลหนองหญ้าไซ ตำบลหนองราชวัตร และตำบลแจงงาม ตั้งเป็นกิ่งอำเภอ[1] ใช้ชื่อกิ่งว่า "หนองหญ้าไซ" ตามชื่อหมู่บ้านหนองหญ้าไซที่มีประวัติเล่าสืบต่อกันมาว่า มีประชาชนตั้งบ้านเรือนอาศัยอยู่เรียงรายโดยรอบหนองน้ำใหญ่ มีเนื้อที่ประมาณ 7 ไร่ ในหนองน้ำมีน้ำใสและหญ้าไซขึ้นอยู่มากมายทั่วบริเวณหนอง จึงสันนิษฐานว่าชาวบ้านนำชื่อหญ้าชนิดนี้มาตั้งเป็นชื่อของหมู่บ้าน

กระทรวงมหาดไทยได้จัดสรรงบประมาณในการก่อสร้างอาคารที่ว่าการกิ่งอำเภอหนองหญ้าไซ และประกอบพิธีเปิดเมื่อวันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2528 ต่อมากิ่งอำเภอหนองหญ้าไซ ได้เจริญขึ้นเป็นลำดับจนกระทั่งกระทรวงมหาดไทย และรัฐบาล ได้ออกพระราชกฤษฎีกายกฐานะกิ่งอำเภอขึ้นเป็นอำเภอตั้งแต่วันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2533[2] รวมทั้งตั้งพื้นที่เพิ่มอีก 2 ตำบล คือ แยกหมู่ 1 บ้านหนองขาม รวมกับ 9 หมู่บ้านของตำบลแจงงาม ตั้งเป็น ตำบลหนองขาม และแยกหมู่ 3 บ้านทัพหลวง รวมกับ 8 หมู่บ้านของตำบลหนองหญ้าไซ ตั้งเป็น ตำบลทัพหลวง[9] เมื่อที่ว่าการอำเภอหลังเก่ามีสถานที่คับแคบ กระทรวงมหาดไทยจึงได้จัดสรรงบเหลือจ่ายปี พ.ศ. 2539 มาก่อสร้างที่ว่าการอำเภอให้ใหม่ อำเภอหนองหญ้าไซ จนถึงปัจจุบัน

การแบ่งเขตการปกครอง[แก้]

การปกครองส่วนภูมิภาค[แก้]

อำเภอหนองหญ้าไซแบ่งเขตการปกครองย่อยออกเป็น 6 ตำบล ได้แก่

1. หนองหญ้าไซ (Nong Ya Sai) 4. แจงงาม (Chaeng Ngam)
2. หนองราชวัตร (Nong Ratchawat) 5. หนองขาม (Nong Kham)
3. หนองโพธิ์ (Nong Pho) 6. ทัพหลวง (Thap Luang)

การปกครองส่วนท้องถิ่น[แก้]

ท้องที่อำเภอหนองหญ้าไซประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 7 แห่ง ได้แก่

  • เทศบาลตำบลหนองหญ้าไซ ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลหนองหญ้าไซ
  • องค์การบริหารส่วนตำบลหนองหญ้าไซ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหนองหญ้าไซ (นอกเขตเทศบาลตำบลหนองหญ้าไซ)
  • องค์การบริหารส่วนตำบลหนองราชวัตร ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหนองราชวัตรทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลหนองโพธิ์ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหนองโพธิ์ทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลแจงงาม ครอบคลุมพื้นที่ตำบลแจมงามทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลหนองขาม ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหนองขามทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลทัพหลวง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลทัพหลวงทั้งตำบล

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง แบ่งท้องที่อำเภอสามชุก จังหวัดสุพรรณบุรี ตั้งเป็นกิ่งอำเภอหนองหญ้าไซ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 100 (92 ง): 1836. วันที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2526
  2. 2.0 2.1 "พระราชกฤษฎีกาตั้งอำเภอห้วยผึ้ง อำเภอวังวิเศษ อำเภอคลองหาด อำเภอป่าบอน อำเภอหนองหญ้าปล้อง อำเภอวังโป่ง อำเภอควนเนียง อำเภอหนองหญ้าไซ อำเภอหนองนาเดิม อำเภอทุ่งฝน อำเภอสร้างคอม และอำเภอทองแสนขัน พ.ศ. ๒๕๓๓" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 107 (83 ก): (ฉบับพิเศษ) 1-4. วันที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2533
  3. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลหนองหญ้าไทร อำเภอสามชุก จังหวัดสุพรรณบุรี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 82 (103 ง): 2946–2947. วันที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2508
  4. "ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง การเขียนชื่อจังหวัด อำเภอและกิ่งอำเภอ เป็นอักษรโรมัน" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 84 (56 ง): (ฉบับพิเศษ) 1. วันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2510
  5. "ประกาศราชบัณฑิตยสถาน เรื่อง การเขียนชื่อจังหวัด อำเภอ และกิ่งอำเภอ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 84 (56 ง): (ฉบับพิเศษ) 2-35. วันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2510
  6. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอสามชุก จังหวัดสุพรรณบุรี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 90 (67 ง): 1831–1834. วันที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2516
  7. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอสามชุก จังหวัดสุพรรณบุรี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 93 (110 ง): 2418–2422. วันที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2519
  8. "ประกาศกระทรวงคมนาคม เรื่อง ตั้งที่ทำการไปรษณีย์โทรเลขเทศปทุม สระโบสถ์ ทับกวาง ท่าลาน มาบข่า พลิ้ว บางกะจะ ปะคำ บัวเชต บึงบูรพ์ ห้วยขยุง วังน้ำเขียว โนนศรีสวัสดิ์ บ้านฝาง เขาสวนกวาง โนนหัน ไชยวาน ทุ่งฝน บ้านโคก ผาเลือด แม่วะ สันป่ายาง ท่าอากาศยานเชียงใหม่ จันจว้า โพธิ์ประทับช้าง พบพระ ทับกฤช จันเสน เมืองเก่า วังตะกู เลาขวัญ หนองปรือ หลักห้า อ่าวน้อย หนองหญ้าไซ บางม่วง บางจาก เสาเภา ศรีสาคร ทุ่งยาว ลำภูรา กระแสสินธุ์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 98 (190 ง): 3988–3991. วันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2524
  9. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและกำหนดเขตตำบลในท้องที่อำเภอหนองหญ้าไซ จังหวัดสุพรรณบุรี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 109 (145 ง): (ฉบับพิเศษ) 41-52. วันที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2535