ไทยเชื้อสายจีน
วัดมังกรกมลาวาส กรุงเทพมหานคร | |
ภูมิภาคที่มีประชากรอย่างมีนัยสำคัญ | |
---|---|
กระจายอยู่ทั่วประเทศไทย | |
ภาษา | |
ภาษาไทย ดั้งเดิม: ภาษาหมิ่น (แต้จิ๋ว, ไหหลำ, ฮกเกี้ยน, ฮกจิว), ภาษาแคะ, ภาษากวางตุ้ง และ ภาษาจีน (ฮ่อ) | |
ศาสนา | |
ส่วนมากนับถือศาสนาพุทธนิกายเถรวาท; ส่วนน้อยนับถือ ศาสนาพุทธนิกายมหายาน , ลัทธิเต๋า และลัทธิขงจื๊อศาสนาอิสลาม (ชาวหุย) และศาสนาคริสต์ |
ชาวไทยเชื้อสายจีน คือ ชาวจีนที่เกิดในประเทศไทยและเป็นเชื้อสายของผู้อพยพชาวจีน หรือชาวจีนโพ้นทะเล คนไทยเชื้อสายจีน มีประมาณ 10 ล้านคนในประเทศไทย คิดเป็น 11–14% ของจำนวนประชากรทั้งหมดของประเทศ ณ ปี 2563[2][1][3] ประเทศไทยมีชุมชนชาวจีนโพ้นทะเลใหญ่สุดในโลกที่อยู่นอกประเทศจีน[4] ธีระพันธ์อ้างว่ามีประชากรไทยที่มีเชื้อสายจีนประมาณร้อยละ 40[1]
ชาวไทยเชื้อสายจีนส่วนมากบรรพบุรุษจะมาจากซัวเถา ในมณฑลกวางตุ้ง ทางตอนใต้ของจีน พูดภาษาแต้จิ๋ว ซึ่งเป็นภาษากลุ่มหมิ่นหนาน รองลงมาคือมาจาก แคะ ฮกเกี้ยน และไหหลำ
ไทยเชื้อสายจีนเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ชนชั้นกลางที่ก่อตั้งขึ้นอย่างมั่นคงและมีตัวแทนอยู่ในทุกระดับของสังคมไทย[5][6][7]:3, 43[8][9] มีบทบาทนำในภาคธุรกิจของประเทศและครอบงำเศรษฐกิจไทยในปัจจุบัน[10]:22[7]:179[11][12] นอกจากนี้ ไทยเชื้อสายจีนมีอยู่ในเวทีการเมืองของประเทศจำนวนมาก และอดีตนายกรัฐมนตรีและสมาชิกรัฐสภาส่วนใหญ่ล้วนมีบรรพบุรุษจีนอย่างน้อยหนึ่งคน นอกจากนี้ยังจัดเป็นกลุ่มอภิชนทางเศรษฐกิจ สังคมและการเมือง[13][14]
อัตลักษณ์
[แก้]สำหรับผู้สืบสันดานของผู้เข้าเมืองชาวจีนรุ่นที่สองและสาม เป็นทางเลือกส่วนบุคคลว่าจะระบุตัวเองว่าเป็นชาติพันธุ์จีนหรือไม่[15] กระนั้น ไทยเชื้อสายจีนส่วนใหญ่ระบุว่าตนเป็นคนไทยอย่างเดียวเท่านั้น เนื่องจากได้บูรณาการใกล้ชิดและผสมกลืนเข้าสู่สังคมไทยได้สำเร็จ[16][17] จี. วิลเลียม สกินเนอร์เชื่อว่าที่การผสมกลมกลืนสำเร็จนั้นเป็นนโยบายของผู้ปกครองไทยที่ยอมให้วาณิชชาวจีนรับราชการเป็นขุนนาง[18]:240–1 ปัจจุบันไทยเชื้อสายจีนยังมีบทบาทสำคัญในขบวนการนิยมเจ้า/ชาตินิยม เช่น สนธิ ลิ้มทองกุล แกนนำกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย,[19] และไทยเชื้อสายจีนในกรุงเทพมหานครที่เป็นกลุ่มหลักของ กปปส.[20]
ปัจจุบันไทยเชื้อสายจีนจะพูดภาษาไทยผสมภาษาหมิ่นใต้ในการติดต่อกันเอง โดยเฉพาะชาวแต้จิ๋วที่อยู่ในกรุงเทพมหานครเป็นส่วนมาก และก็จะใช้ภาษาไทยติดต่อกับสังคมภายนอกได้ดีขึ้น แต่ลูกหลานจีนในปัจจุบันมีน้อยมากที่ยังพูดภาษาของบรรพบุรุษได้ เนื่องจากอยู่กับสังคมภายนอกและที่บ้านเองก็พูดภาษาหมิ่นใต้กับตนน้อยลง ยังคงเหลือแต่ผู้อาวุโสในครอบครัวเท่านั้นที่ยังพูดภาษาเหล่านี้กับลูกหลาน[ต้องการอ้างอิง] ปัจจุบันประเพณีและค่านิยมบางอย่างที่ยังคงปฏิบัติตาม ครอบครัวลูกหลานจีนก็ยังยึดถือปฏิบัติอยู่ เช่น การไหว้เจ้าในโอกาสต่างๆ ซึ่งถือเป็นการแสดงความกตัญญูต่อบรรพบุรุษ ส่วนชาวไทยเชื้อสายจีนในภาคเหนือเป็นชาวไทยเชื้อสายจีนกลุ่มเดียวที่ใช้ภาษาจีน พบได้ในจังหวัดเชียงใหม่และเชียงราย ซึ่งส่วนใหญ่นับถือพุทธกับคริสต์และมีบางส่วนนับถืออิสลาม
มีหนังสือพิมพ์ภาษาหมิ่นใต้ในประเทศไทยอยู่ 6 ฉบับ ส่วนมากผู้อ่านจะเป็นผู้ที่อพยพมา ผู้เฒ่าผู้แก่ ลูกหลานคนจีน และ ผู้ที่เรียนภาษาจีนจะอ่าน
มีโรงเรียนจีนหลายแห่ง ตัวอย่างเช่น โรงเรียนเผยอิงซึ่งตั้งอยู่ในย่านเยาวราช เปิดสอนถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 หรือ โรงเรียนช่องฟ้าซินเซิงวาณิชบำรุงในจังหวัดเชียงใหม่[21] และ โรงเรียนภูเก็ตไทยหัวอาเซียนวิทยา จังหวัดภูเก็ต ซึ่งเป็นโรงเรียนจีนแห่งแรกของไทย[22]
ศาสนาและความเชื่อ
[แก้]ชาวไทยเชื้อสายจีนรุ่นแรกที่เข้ามาในไทยนับถือศาสนาพุทธนิกายมหายาน และศาสนาเต๋า ครั้นในเวลาต่อมาศาสนาพุทธนิกายเถรวาทได้กลายเป็นหนึ่งในศาสนาบนความเชื่อคนชนเชื้อสายจีนในไทยจากการจากการหลอมรวมทางวัฒนธรรม โดยมากชาวไทยเชื้อสายจีนจะประกอบพิธีกรรมดั้งเดิมแบบความเชื่อของจีนและเถรวาทไทยไปด้วยกัน[23] งานเทศกาลของจีนที่สำคัญอย่าง ตรุษจีน, วันไหว้พระจันทร์ หรือวันเชงเม้ง ก็ถูกจัดขึ้นอย่างยิ่งใหญ่ในภูเก็ต, กรุงเทพมหานคร และหัวเมืองอื่น ๆ ที่มีชุมชนชาวจีนขนาดใหญ่ตั้งอยู่[24]
อย่างไรก็ตามชาวไทยเชื้อสายจีนจึงไหว้บรรพบุรุษและเทพเจ้าตามประเพณี และเข้าวัดไทยเหมือนชาวไทยทั่วไป ส่วนเรื่องงานศพ ชาวไทยเชื้อสายจีนยึดถือแบบจีนดั้งเดิม เช่น การทำกงเต๊กและฝังศพน้อยลงเนื่องจากค่าใช้จ่ายสูง และนิยมการเผาศพแบบไทยมากขึ้น
ขณะเดียวกันมีชาวจีนฮ่อบางส่วนในภาคเหนือที่นับถือศาสนาอิสลามตามบรรพบุรุษอยู่แล้ว พวกเขามีการรวมกลุ่มที่หนาแน่นกว่าชาวจีนฮ่อที่ไม่ใช่มุสลิม ในจังหวัดเชียงใหม่มีมัสยิดของชาวจีนมากถึงเจ็ดแห่ง[25] หนึ่งในมัสยิดที่สำคัญของจีนฮ่อคือมัสยิดบ้านฮ่อ นอกจากชาวจีนฮ่อแล้วก็มีชาวจีนกลุ่มอื่นที่นับถือศาสนาอิสลาม อาทิ ชาวไทยเชื้อสายจีนบ้านกรือเซะในจังหวัดปัตตานี ซึ่งใช้ภาษามลายูในการสื่อสาร[26][27] โดยมุสลิมเชื้อสายจีนที่บ้านกรือเซะนั้น บางส่วนนับถือเจ้าแม่ลิ้มกอเนียวด้วย บ้างก็ขอพรบ้างก็บนบาน เมื่อมีงานมงคลก็ต้องมีการเซ่นสรวงเจ้าแม่ด้วยเชื่อว่าหากไม่กระทำเช่นนั้นก็จะเกิดเภทภัย ในวันฮารีรายอก็จะมีการเซ่นสรวงเจ้าแม่ และเมื่อพิธีแห่เจ้าแม่เดือนสาม ชาวมุสลิมเชื้อสายจีนก็จะไปชมขบวนเพื่อระลึกถึงท่าน[28]
วัฒนธรรมชาวจีนโพ้นทะเลในไทยนั้นจะต่างกับชาวจีนโพ้นทะเลในสิงคโปร์และมาเลเซียบางส่วน ซึ่งจะหันไปนับถือศาสนาคริสต์ และพูดภาษาจีนกลาง ชาวไทยเชื้อสายจีนบางส่วนกลับไม่ยึดติดกับวัฒนธรรมดั้งเดิมของตนมากนักและนิยมวัฒธรรมที่กลมกลืนไปกับคนไทย
กลุ่มชาวไทยเชื้อสายจีน
[แก้]ประเทศไทยมีประชากรคนไทยเชื้อสายจีนประมาณ 9.3 ล้านคน[29] ส่วนมากจะเป็นเชื้อสายแต้จิ๋วประมาณร้อยละ 56 รองลงมา ได้แก่ แคะ ร้อยละ 16, ไหหลำ ร้อยละ 11, กวางตุ้ง ร้อยละ 7, ฮกเกี้ยน ร้อยละ 7, และอื่น ๆ ร้อยละ 12
แต้จิ๋ว
[แก้]แต้จิ๋ว (潮州 ; Teochew ; ภาษาจีนกลาง: Cháozhōu) เป็นกลุ่มชาวจีนที่มากที่สุด กล่าวกันว่า" ที่ไหนมีศาลเจ้า (老爺宮) ที่นั่นจะพบคนจีน เพื่อพบปะกันและเป็นที่พึ่งทางใจเมื่อยามห่างไกลแผ่นดินเกิด ชาวจีนจะตั้งถิ่นฐานอยู่ตามพื้นที่รอบ ๆ แม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำท่าจีน แม่น้ำแม่กลองและตามภาคกลาง ได้มาที่แผ่นดินสยาม (暹羅) ตั้งแต่ยุคกรุงศรีอยุธยาแล้ว โดยมาจาก มณฑลฝูเจี้ยน (福建省) และ มณฑลกวางตุ้ง (廣東省) ส่วนมากจะทำการค้าทางด้าน การเงิน ร้านขายข้าว และ ยา มีบางส่วนที่ทำงานให้กับภาครัฐ ในสมัยสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี (鄭皇, แต้อ้วง พระองค์แซ่แต้) พ่อค้าจีนแต้จิ๋วจำนวนมากได้รับสิทธิพิเศษ ชาวจีนกลุ่มนี้จึงเรียกว่า จีนหลวง (Royal Chinese) สาเหตุเนื่องจากสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงมีเชื้อสายแต้จิ๋วเช่นกัน ในช่วงกรุงรัตนโกสินทร์การอพยพของชาวแต้จิ๋วจึงมีมากขึ้น และในประเทศไทยเองก็มีคนแต้จิ๋วเป็นจำนวนมาก และปัจจุบันจะมีมากในทุกภาคของประเทศไทยแต่ที่มีชาวแต้จิ๋วมากที่สุดคือกรุงเทพฯ
ภาคกลางตอนล่าง เช่น นครปฐม ราชบุรี เพชรบุรี สมุทรสาคร สมุทรสงคราม ตอนบน เช่น พิจิตร ชัยนาท สิงห์บุรี นครสวรรค์ เพชรบูรณ์ พิษณุโลก สุโขทัย
ภาคตะวันออก เช่น ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง จันทบุรี (เมืองเก่าของพระเจ้าตากสินมหาราช) ตราด สระแก้ว ปราจีนบุรี (ชาวแต้จิ๋วมาเริ่มตั้งต้นถิ่นฐานที่นี่มากที่สุดเพราะเป็นพื้นที่ไม่มีคนอยู่อาศัยเป็นป่าแต่อุดมสมบูรณ์ด้วยทรัพยากรน้ำเพื่อเพาะปลูกและที่ปลูกมากที่สุดคือ "ต้นไผ่" เพราะไผ่ขายเพื่อทำเรือแพออกไปค้าขายได้ แล้วกระจายไปในจังหวัดใกล้เคียงในเวลาต่อมา ในรัชสมัยกรุงศรีอยุธยาถึงสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ชาวแต้จิ๋วข้ามาอาศัยแผ่นดินสยามมากที่สุด)
ภาคเหนือตอนบน เช่น เชียงใหม่ เชียงราย ลำปาง แพร่ น่าน (ส่วนพะเยาจะมีจีนแคะจำนวนมาก)
ส่วนในภาคอีสานส่วนใหญ่จะเป็นชาวแต้จิ๋วในทุกจังหวัดเช่น นครราชสีมา (โคราช) ชัยภูมิ ขอนแก่น เลย อุดรธานี กาฬสินธุ์ มหาสารคาม อุบลราชธานี ยโสธร ศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์ ส่วนพื้นที่ริมโขงเช่น หนองคาย บึงกาฬ นครพนม มุกดาหาร จะปะปนไปด้วยชาวแต้จิ๋ว แคะ และเวียดนาม (ซึ่งปัจจุบันมีมากกว่า)
ส่วนทางภาคใต้จะกระจายในฝั่งอ่าวไทยในรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชซึ่งพระองค์ยกทัพทางเรือไปปราบกบฎที่ภาคใต้ เช่น เมืองนครศรีธรรมราช (ต้นกำเนิดราชสกุล ณ นคร) พัทลุง (ต้นกำเนิดราชสกุล ณ พัทลุง) ทุกจังหวัดเช่น สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช สงขลา ยะลา ปัตตานี นราธิวาส ในฝั่งอันดามันนั้นส่วนใหญ่จะเป็นจีนฮกเกี้ยนหรือฝูเจี้ยน (福建) ซึ่งดั้งเดิมเดินทางมาจากมลายูแล้วมาขึ้นที่ชายฝั่งทะเล เช่น ภูเก็ต พังงา สตูล ตรัง ระนอง และนอกจากนั้นเป็นจีนแคะ (客人) เป็นต้น
แคะ
[แก้]แคะ (客家; Hakka; ภาษาจีนกลาง: kèjiā) เป็นกลุ่มชาวจีนอพยพที่มาจากมณฑลกวางตุ้ง เป็นส่วนมาก จะอพยพมาตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 19 และตั้งถิ่นฐานทีแถบจังหวัดสงขลา จังหวัดภูเก็ต จังหวัดราชบุรี จังหวัดกาญจนบุรี จังหวัดเชียงใหม่ จังหวัดเชียงราย จังหวัดลำปาง จังหวัดแพร่ และจังหวัดน่าน ส่วนมากจะชำนาญทางด้านหนังสัตว์ เหมือง และเกษตรกรรม นอกจากนี้ ชาวจีนแคะยังเป็นเจ้าของธนาคารอีกหลายแห่ง อาทิ ธนาคารกสิกรไทย
ไหหลำ
[แก้]ไหหลำ (海南 ; ภาษาจีนกลาง: Hǎinán) เป็นชาวจีนที่อพยพมาจากเกาะไหหลำของจีน ชาวไหหลำจะมีเป็นจำนวนมากที่เกาะสมุย เกาะพะงัน จังหวัดสุราษฎร์ธานี ดังปรากฏได้เห็นจากศาลเจ้าจีนหลายแห่งบนเกาะสมุย และ เกาะพะงัน มีหลักฐานการอพยพตั้งแต่สมัยปลายกรุงศรีอยุธยา ซึ่งชาวจีนสามารถกลมกลืนกับชาวไทยได้ดี โดยส่วนมากมาจากตำบลบุ่นเชียว ชาวจีนกลุ่มนี้จะชำนาญทางด้านร้านอาหาร และโรงงาน และยังมีการอพยพไปอยู่ตามที่ราบลุ่มแม่น้ำต่างๆ เช่น ปากน้ำโพ จังหวัดนครสวรรค์ พิจิตร และขึ้นเหนือไปทำป่าไม้สักที่จังหวัดลำปาง
ฮกเกี้ยน
[แก้]ฮกเกี้ยน (福建; Hokkien; ภาษาจีนกลาง: Fújiàn) คาดกันว่าชาวจีนฮกเกี้ยนอพยพมาประเทศไทยเป็นชนเผ่าจีนกลุ่มแรก ๆ จีนฮกเกี้ยนเข้ามาในสมัยกรุงศรีอยุธยาก่อนจีนกลุ่มอื่นและเป็นชนเผ่าจีนอาสาช่วย สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีกอบกู้เอกราชด้วย แม้แต่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ 1 แห่งราชวงศ์จักรี ท่านถือกำเนิดในชุมชนจีนฮกเกี้ยนบริเวณวัดสุวรรณดาราราม ฝั่งตะวันออกของคลองนายก่าย กรุงศรีอยุธยา มารดาของท่านชื่อดาวเรืองหรือหยก เป็นธิดาที่เกิดในสกุลคหบดีจีนที่ร่ำรวยที่สุดในชุมชนชาวจีนฮกเกี้ยน ฮกเกี้ยนจะเชี่ยวชาญทางด้านการค้าขายทางเรือหรือรับราชการ และชาวจีนกลุ่มนี้จะมีจำนวนมากในพื้นที่ภาคใต้ เป็นประชากรส่วนใหญ่ของจังหวัดภูเก็ต มีจำนวนมากในพังงา ตรัง ระนอง สตูล ชุมพร สงขลา ปัตตานี ยะลา นราธิวาส และจังหวัดทั่ว ๆ ไป
กวางตุ้ง
[แก้]กวางตุ้ง (จีนตัวเต็ม : 廣東話; จีนตัวย่อ : 广东话; พินอิน : GuangDōngHuà; จีนกวางตุ้ง : 粵語;) เป็นกลุ่มชาวจีนที่อพยพมาจากมณฑลกวางตุ้ง ชาวจีนกวางตุ้งมักอาศัยอยู่ในกรุงเทพมหานครแถว ถนนสาทร บางรัก ในตรอกซุง ตรอกไก่ การประกอบอาชีพด้านอาหารถือเป็นอาชีพหลักอาชีพหนึ่งของชาวจีนกวางตุ้ง ส่วนมากเป็นเจ้าของกิจการร้านอาหารและภัตตาคาร ซึ่งได้รับความนิยมจากชาวกรุงเทพฯ เช่น อาหารประเภท ติ่มซำ โจ๊กบะหมี่กวางตุ้ง และยังเป็นผู้นำเครื่องปรุงต่างๆ เข้ามาให้คนไทยรู้จัก เช่น ซีอิ๊วขาว เต้าเจี้ยว และซอสหอยนางรม ส่วนชาวจีนกวางตุ้งที่อพยพมายังภาคใต้ของไทย มักอาศัยอยู่ในจังหวัดตรัง จนทำให้เกิดอาหารขึ้นชื่อของจังหวัดตรังมากมาย เช่น หมูย่างเมืองตรัง เกาหยุก และติ่มซำแบบตรัง ที่มีเอกลักษณ์คือกินกับซอสที่เรียกว่า กำเจือง และชาวจีนกลุ่มนี้ยังพบมากในจังหวัดภูเก็ตอีกด้วย
กวางสี
[แก้]กวางไสหรือกวางสี (จีน: 廣西 ; ภาษากวางตุ้ง: gwong2-sai1) เป็นกลุ่มชาวจีนที่อพยพมาจากมณฑลกวางสี ส่วนใหญ่มาจากอำเภอหยง (容縣) และแถบอำเภอใกล้เคียง ช่วงแรกอพยพมาอยู่แถบประเทศมาเลเซียก่อนแล้วค่อย ๆ เดินเท้าอพยพเข้ามาสู่ประเทศไทย อาศัยอยู่มากในอำเภอเบตง จังหวัดยะลา และตำบลปาดังเบซาร์ อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา พูดภาษาจีนกวางตุ้ง (ภาษาจีน:粵語) สำเนียง Gōulòu (ภาษาจีน:勾漏方言) เป็นภาษาหลัก ชาวจีนกวางไสเป็นเกษตรกร ทำสวนยางพารากันเป็นส่วนมาก ไม่สันทัดเรื่องการค้าขาย จึงไม่ค่อยเป็นที่รู้จักกันมากนัก
แต่ยังมีของที่พอเป็นที่รู้จัก ก็คือ ไก่กวางไสหรือไก่เบตง เป็นไก่พันธุ์เนื้อพื้นเมืองที่นำพันธุ์มาจากประเทศจีน มีลักษณะพิเศษกว่าไก่ชนิดอื่น ๆ ,เคาหยก (扣肉) หมูสามชั้นต้มสุก ทอดส่วนที่เป็นหนังและนำไปหมักด้วยเต้าหู้ยี้ เหล้าจีน น้ำขิง กระเทียมเล็กน้อย แล้วนำมานึ่งเผือก กินคู่กับผักดอง
ฮ่อ
[แก้]ฮ่อ เป็นคำที่คนไทยใช้เรียกชาวจีนที่เดินทางเข้ามาในประเทศไทยผ่านทางประเทศพม่าและประเทศลาว ชาวจีนฮ่อส่วนใหญ่จะอาศัยอยู่ทางภาคเหนือทั้งในเมืองและบนภูเขา หนึ่งในกลุ่มชนที่สำคัญคือชาวจีนหุย (回族 ; ภาษาจีนกลาง: Huízú) ซึ่งเป็นชาวจีนที่มีลักษณะเหมือนชาวจีนฮั่นทุกอย่างเพียงแต่นับถือศาสนาอิสลาม ชาวฮ่อในประเทศไทย 1 ใน 3 นับถือศาสนาอิสลาม นอกนั้นนับถือบรรพบุรุษ คนกลุ่มนี้มีมากในจังหวัดเชียงราย เชียงใหม่ ลำปาง พะเยา และแม่ฮ่องสอน
เปอรานากัน
[แก้]เปอรานากัน (มลายู: Peranakan) หรือ บาบ๋า-ย่าหยา (Baba-Nyonya; จีน: 峇峇娘惹; ฮกเกี้ยน: Bā-bā Niû-liá) เป็นกลุ่มชาวจีนที่มีเชื้อสายมลายูแต่ไม่ได้นับถือศาสนาอิสลาม เนื่องจากในอดีตชาวจีนโดยเฉพาะกลุ่มฮกเกี้ยนเดินทางเข้ามาค้าขายในบริเวณดินแดนคาบสมุทรมลายู และตัดสินใจตั้งถิ่นฐานในเมืองมะละกา ประเทศมาเลเซีย ซึ่งสมรสกับชาวมลายูท้องถิ่น[30] และภรรยาชาวมลายูจะเป็นผู้ดูแลกิจการการค้าที่นี่
สำหรับสายเลือดใหม่ของชายชาวจีนกับหญิงมลายู หากเป็นชายจะได้รับการเรียกขานว่า บาบ๋าหรือบ้าบ๋า (Baba) ส่วนผู้หญิงจะเรียกว่า ย่าหยาหรือโญญา (Nyonya) และเมื่อคนกลุ่มนี้มีจำนวนมากขึ้น ก็ได้สร้างวัฒนธรรมรูปแบบใหม่ที่แตกต่างไปจากเดิมของบรรพบุรุษมาผสมผสานกันเป็นวัฒนธรรมใหม่ เมื่อพวกเขาอพยพไปตั้งถิ่นฐานในบริเวณนี้ก็ได้นำวัฒนธรรมของตนกระจายไปด้วย วัฒนธรรมใหม่นี้จึงถูกเรียกรวม ๆ ว่า จีนช่องแคบ (อังกฤษ: Straits Chinese; จีน: 土生華人) โดยในประเทศไทยคนกลุ่มนี้จะอยู่ในจังหวัดภูเก็ต จังหวัดตรัง และจังหวัดพังงา ซึ่งมีบรรพบุรุษอพยพมาจากปีนังและมะละกา คนกลุ่มนี้มีวัฒนธรรมใกล้เคียงกับกลุ่มเปอรานากันในประเทศมาเลเซีย ประเทศอินโดนีเซีย และประเทศสิงคโปร์[31][32][33]
พื้นที่
[แก้]จังหวัดภูเก็ต
[แก้]ภูเก็ตเป็นจังหวัดที่มีคนเชื้อสายจีนอาศัยอยู่มากที่สุดในประเทศไทยมาตั้งแต่ราวรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เพราะเกาะน้อยห้าร้อยตารางกิโลเมตรแห่งนี้มีการทำเหมืองเกือบครึ่งหนึ่งของพื้นที่ ซึ่งพัฒนาการการทำเหมืองหาบในช่วงเวลาดังกล่าวต้องใช้แรงงานกุลีจีนจำนวนมาก จึงทำให้เกิดการอพยพของชาวจีนฮกเกี้ยนเข้ามายังภูเก็ต จนเกิดการผสมทางวัฒนธรรมเรียกว่า ภูเก็ตฮกเกี้ยน หรือ บาบ๋าภูเก็ต
ประวัติ
[แก้]ประวัติศาสตร์ของการที่ชาวจีนอพยพมาประเทศไทย ต้องย้อนกลับไปหลายร้อยปี
สมัยสุโขทัย
[แก้]ชาวจีนเริ่มเดินเรือสำเภามาค้าขายในดินแดนสุวรรณภูมิตั้งแต่ก่อนสมัยอาณาจักรสุโขทัย แต่หลักฐานที่ชัดเจนที่สุดคือ เมื่อชาวจีนมาสอนการทำเครื่องถ้วยชาม โดยเฉพาะเครื่องสังคโลก
สมัยอยุธยา
[แก้]ชาวจีนได้มาตั้งบ้านเรือนอยู่มาก โดยส่วนมากจะมาจากตอนใต้ของประเทศจีน เพื่อมาตั้งรกรากและทำการค้า
สมัยธนบุรี
[แก้]เมื่อครั้งเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 2 ในปี พ.ศ. 2310 จนถึงปี พ.ศ. 2312 จักรวรรดิจีนได้ถูกรุกรานโดยพม่าที่กำลังขยายแสนยานุภาพ จักรพรรดิจีนในสมัยนั้นได้ส่งกองกำลังไปปราบปรามพม่าถึง 4 ครั้งแต่ก็ไม่สำเร็จ แต่ฝ่ายจีนก็ได้เบนความสนใจมาที่กองทัพพม่าในอาณาจักรอยุธยา ซึ่งกำลังถูกพม่ายึดครอง ขุนพลไทยนาม "สิน" ซึ่งมีบิดาเป็นคนจีน และมารดานาม นกเอี้ยง ซึ่งเป็นชาวสยาม ได้ใช้สถานการณ์ที่ได้เปรียบนี้ทำให้สามารถกอบกู้เอกราชให้สยามได้สำเร็จ ขุนพลท่านนั้นต่อมาได้ขึ้นครองราชย์เป็น สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี แห่งกรุงธนบุรี หรือที่ชาวจีนขนามนามว่า แต้อ๊วง ด้วยความที่ว่าบิดาสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี เป็นคนจีน
เมื่อสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี ได้ทรงขึ้นครองราชย์แล้ว ชาวจีนแต้จิ๋วได้เข้ามาทำการค้า และอพยพมายังกรุงธนบุรีเป็นจำนวนมาก ทำให้ประชากรชาวจีนโพ้นทะเลในไทย เพิ่มขึ้นจาก 230,000 คนใน พ.ศ. 2368 เป็น 792,000 คนใน พ.ศ. 2453 และใน พ.ศ. 2475 ประชากรไทยถึง 12.2% เป็นชาวจีนโพ้นทะเล
สมัยรัตนโกสินทร์
[แก้]การอพยพของชาวจีนยุคแรก ส่วนมากเป็นผู้ชาย เมื่อเข้ามาตั้งรกรากแล้วก็จะแต่งงานกับผู้หญิงไทย และกลายเป็นค่านิยมในสมัยนั้น ลูกหลานจากการแต่งงานข้ามเชื้อชาตินี้เรียกว่า "ลูกจีน" แต่ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์นี้ กระแสการอพยพเริ่มเปลี่ยนไป ผู้หญิงจีนอพยพเข้ามาในสยามมากขึ้น จึงทำให้การแต่งงานข้ามเชื้อชาติลดลง
การคอรัปชั่น ในรัฐบาลราชวงศ์ชิง และการเพิ่มขึ้นของประชากรในประเทศจีน ประกอบกับการเก็บภาษีที่เอาเปรียบ ทำให้ชายชาวจีนจำนวนมากมุ่งสู่สยามเพื่อหางานและส่งเงินกลับไปให้ครอบครัวในประเทศจีน ขณะนั้นชาวจีนจำนวนมากต้องจำยอมขายที่ดินเพื่อหลีกเลี่ยงการเก็บภาษีเพาะปลูกของทางการ
ในรัชสมัยปลายพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 3) ประเทศไทยต้องระวังผลกระทบจากการที่ฝรั่งเศสได้ดินแดนฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง และอังกฤษได้มลายูเป็นอาณานิคม ในขณะเดียวกัน ชาวจีนจากมณฑลยูนนานก็เริ่มไหลเข้าสู่ประเทศไทย กลุ่มชาวไทยชาตินิยมจากทุกระดับจึงได้เกิดความคิดต่อต้านชาวจีนขึ้น หลายร้อยปีก่อนหน้านี้ ชาวจีนกุมเศรษฐกิจการค้าส่วนใหญ่ไว้ และยังได้รับอำนาจผูกขาดการค้าและรวมถึงการเป็นนายอากรเก็บภาษีซึ่งเริ่มในสมัยรัชกาลที่ 3 ด้วย ในขณะนั้นอิทธิพลทางการค้าของชาติตะวันตกก็สูงขึ้น ทำให้พ่อค้าขาวจีนหันไปขายฝิ่นและเป็นนายอากรมากขึ้น นอกจากนี้ เจ้าของโรงสีและพ่อค้าข้าวคนกลางชาวจีนยังได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจตกต่ำในสยามในปีซึ่งกินเวลาเกือบ 10 ปี หลังปี พ.ศ. 2448 ด้วย
การให้สินบนขุนนาง กลุ่มอันธพาลอั้งยี่ และการเก็บภาษีอย่างกดขี่ ทั้งหมดนี้จุดประกายให้คนไทยเกลียดชังคนจีนมากขึ้น ในขณะเดียวกันอัตราการอพยพเข้าประเทศไทยก็มากขึ้น ในพ.ศ. 2453 เกือบร้อยละ 10 ของประชากรไทยเป็นชาวจีน ซึ่งผู้อพยพใหม่เหล่านี้มากันทั้งครอบครัวและปฏิเสธที่จะอยู่ในชุมชนและสังคมเดียวกับคนไทย ซึ่งต่างกับผู้อพยพยุคแรกที่มักแต่งงานกับคนไทย ดร.ซุน ยัตเซ็น ผู้นำการปฏิวัติประเทศจีน ได้เผยแพร่ความคิดให้ชาวจีนในประเทศไทยมีความคิดชาตินิยมจีนให้มากขึ้นเพื่อต่อต้านการเหยียดเชื้อชาติ ชุมชนชาวจีนจะสนับสนุนการตั้งโรงเรียนเพื่อลูกหลานจีนโดยเฉพาะโดยไม่เรียนรวมกับเด็กไทย ในปี พ.ศ. 2452 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) ทรงให้ชาวต่างชาติในประเทศไทยจดทะเบียนเป็นคนต่างด้าว เหตุการณ์นี้ทำให้ชาวจีนจำนวนมากต้องเลือกว่าจะเป็นคนไทยโดยสมบูรณ์หรือจะยอมเป็นคนต่างด้าว
ชาวไทยเชื้อสายจีนจำเป็นต้องเข้ารับการตรวจเลือกเข้ารับราชการทหารซึ่งเริ่มในประมาณพ.ศ. 2475 ในสมัยจอมพล ป.พิบูลสงคราม มีการประกาศอาชีพสงวนของคนไทยเท่านั้น เช่น การปลูกข้าว ยาสูบ อีกทั้งประกาศอัตราภาษีและกฎการควบคุมธุรกิจของชาวจีนใหม่ด้วย ซึ่งในช่วงนี้รัฐบาลได้มีนโยบายรัฐนิยม ทำให้ชาวไทยเชื้อสายจีนได้รับผลกระทบอย่างมากในเรื่องของการดูถูกและเหยียดเชื้อชาติ เช่น การไม่ส่งเสริมให้พูดภาษาจีน อันเป็นภาษาต่างด้าว ในที่สาธารณะ ทำให้ก่อนและหลังสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2 ไม่นาน มีการทะเลาะวิวาทแบบยกพวกเข้าตีกันหลายต่อหลายครั้งระหว่างคนไทยกับคนไทยเชื้อสายจีน หรือคนจีนที่อาศัยอยู่ในประเทศไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในย่านเยาวราช ซึ่งเรียกกันว่า "เลี๊ยะพ่ะ" ซึ่งความขัดแย้งอันนี้ได้ลุกลามบานปลายจนจะกลายเป็นปัญหาเชื้อชาติ แต่ได้ยุติลงเมื่อ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล (รัชกาลที่ 8) ได้เสด็จประพาสเยี่ยมเยียนราษฎรที่เยาวราช ในวันที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2489 ก่อนเสด็จสวรรคตไม่นาน [34] [35]
และหลังจากที่จอมพล ป. หวนสู่อำนาจอีกครั้งในปี พ.ศ. 2490-พ.ศ. 2491 ทางรัฐบาลจีนและชาวไทยเชื้อสายจีนได้จับตาดูทีท่าของจอมพล ป. แต่ในรัฐบาลชุดหลังนี้ ได้มีการสานสัมพันธ์กับทางการจีนอย่างไม่เป็นทางการ โดยมีการส่งผู้แทนของรัฐบาลดำเนินความสัมพันธ์ทางการทูตกับรัฐบาลจีนอย่างลับ ๆ[36]
ในขณะที่มีการปลุกระดมชาตินิยมจีนและไทยขึ้นพร้อมกัน ในปี พ.ศ. 2513 ลูกหลานจีนที่เกิดในไทยมากกว่าร้อยละ 90 ถือสัญชาติไทยโดยสมบูรณ์ และเมื่อมีการเจริญความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างประเทศไทยและสาธารณรัฐประชาชนจีนอย่างเป็นทางการแล้วในปี พ.ศ. 2518 ชาวจีนที่ไม่ได้เกิดในประเทศไทย ก็มีสิทธิที่จะเลือกที่จะถือสัญชาติไทยได้ แต่หลังจากเหตุการณ์ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2519 ไม่นาน รัฐบาลที่ตั้งขึ้นใหม่ก็มีนโยบายในแบบอนุรักษนิยม ซึ่งเป็นผลมาจากความหวาดกลัวในการแพร่กระจายของลัทธิคอมมิวนิสต์ ชาวไทยเชื้อสายจีนได้รับการเหยียดหยามอีกครั้ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการเลือกตั้งทั่วไปเมื่อปี พ.ศ. 2522 นายสมัคร สุนทรเวช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ได้ออกกฎหมายให้ชาวไทยเชื้อสายจีนที่เกิดในประเทศไทย จะมีสิทธิเลือกตั้งได้ก็ต่อเมื่อได้ไปลงทะเบียนก่อนและต้องมีการศึกษาขั้นต่ำมัธยมศึกษาปีที่ 3 (ม.ศ.3) ซึ่งต่อมากฎหมายฉบับนี้ก็ได้รับการยกเลิกในที่สุด[37]
การครอบงำเศรษฐกิจ
[แก้]ประเทศไทยหลังสงครามโลกครั้งที่สองเป็นเศรษฐกิจแบบเกษตรที่มีรัฐวิสาหกิจแซมอยู่ ชาวจีนเป็นแรงกระตุ้นสำหรับการพัฒนาอุตสาหกรรมของประเทศ โดยเปลี่ยนแปลงเศรษฐกิจไทยให้เป็นเศรษฐกิจการค้าแบบเน้นการส่งออกทั่วโลก[38]:261 แม้มีนโยบายเน้นการยืนยันสิทธิประโยชน์ของทางการในสมัยจอมพล ป. พิบูลสงครามเพื่อส่งเสริมอำนาจทางเศรษฐกิจของไทยพื้นเมือง อีกหลายทศวรรษต่อมา นโยบายแบบเน้นสากลและเน้นตลาดทุนนิยมทำให้เกิดภาคการผลิตขึ้น ซึ่งทำให้ประเทศไทยเข้าสู่เศรษฐกิจแบบลูกเสือ[7]:35 บริษัทการผลิตและนำเข้า-ส่งอออกเกือบทั้งหมดมีชาวจีนควบคุมอยู่[7]:35[39] และถึงแม้มีจำนวนน้อย แต่ชาวจีนควบคุมแทบทุกสายธุรกิจ ตั้งแต่การค้าปลีกขนาดเล็กจนถึงอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ ครอบงำการส่งออกข้าว ดีบุก ยางและไม้ และการค้าส่งและปลีกเกือบทั้งหมดของประเทศ[40] ร้อยละ 70 ของร้านค้าปลีกและร้อยละ 80–90 ของโรงสีข้าวในประเทศยังถูกชาติพันธุ์จีนควบคุม[7]:179[41]:55 การสำรวจกลุ่มธุรกิจที่ทรงอำนาจมากที่สุดของไทยจำนวน 70 กลุ่ม พบว่า 67 กลุ่มมีไทยเชื้อสายจีนเป็นเจ้าของ[7]
สมาคมกงสีไทยเชื้อสายจีนในกรุงเทพมหานครมีความโดดเด่นขึ้นทั่วกรุง โดยกงสีเป็นผู้ถือครองทรัพย์สินรายใหญ่[42]:193 ชาวจีนควบคุมกว่าร้อยละ 80 ของบริษัทมหาชนที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย[43][44] ที่ดินที่อยู่อาศัยและการพาณิชย์ทั้งหมดในภาคกลางของประเทศมีไทยเชื้อสายจีนเป็นเจ้าของ[7]:182 ตระกูลชาติพันธุ์จีนห้าสิบตระกูลควบคุมภาคธุรกิจทั้งหมดของประเทศเทียบเท่ากับมูค่าตลาดรวมร้อยละ 81–90 ของเศรษฐกิจ[45][46][47]:10[48][49][11]:15 บุคคลรวยที่สุดกว่าร้อยละ 80 ของบุคคลผู้ร่ำรวยที่สุดในประเทศ 40 คนเป็นไทยเชื้อสายจีน[50] ผู้ประกอบการไทยเชื้อสายจีนมีอิทธิพลในอสังหาริมทรัพย์ เกษตรกรรม การธนาคารและการเงิน และอตุสาหกรรมค้าส่ง[42]:193[51] ในคริสต์ทศวรรษ 1990 บริษัทใหญ่สุดในประเทศ 9 ใน 10 บริษัทมีชาวจีนเป็นผู้ควบคุม และในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 20 เศรษฐีพันล้านห้าคนในประเทศ ทั้งหมดเป็นไทยเชื้อสายจีน[52][10]:22[53]
เมื่อถึงปลายคริสต์ทศวรรษ 1950 ชาติพันธุ์จีนเป็นเจ้าของธุรกิจและผู้จัดการธุรกิจอาวุโสร้อยละ 70 ของกรุงเทพมหานคร และกล่าวกันว่าหุ้นในบริษัทไทยร้อยละ 90 มีไทยเชื้อสายจีนเป็นเจ้าของ[6][54][42] นอกจากนี้ยังเป็นเจ้าของทุนอุตสาหกรรมและพาณิย์ร้อยละ 90 ของประเทศ[55]:73 บริษัทครอบครัวพบมากในภาคธุรกิจไทย[56] ชาติพันธุ์จีนควบคุมภาคการผลิตร้อยละ 90 และภาคบริการอย่างน้อยร้อยละ 50 ของประเทศ[57][11]:33[55][57] Henry Yeung นักวิชาการชาวสิงคโปร์ ระบุว่าในปี 2537 ในบรรดาบริษัทมหาชนใหญ่สุดในทวีปเอเชีย 500 บริษัทที่ชาวจีนโพ้นทะเลควบคุม พบว่ามี 39 บริษัทอยู่ในประเทศไทย โดยมีมูลค่าตลาด 35,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และสินทรัพย์รวม 94,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ[56] ธนาคารเอกชนใหญ่สุดในประเทศ ได้แก่ ธนาคารกรุงเทพ ธนาคารกสิกรไทย และธนาคารกรุงศรีมีชาติพันธุ์จีนเป็นเจ้าของ[52][11][42]:193[10]:22[58][59][42] ธุรกิจชาวไทยเชื้อสายจีนเป็นส่วนหนึ่งของเครือข่ายไผ่[60]
หลังการปฏิรูปเชิงโครงสร้างหลังวิกฤตต้มยำกุ้งในปี 2540 ช่วยแก้ไขการผูกขาดของอภิชนธุรกิจชาติพันธุ์จีน[61] แต่ถึงกระนั้น ยังมีประมาณว่าไทยเชื้อสายจีนเป็นเจ้าของสินทรัพย์การธนาคารร้อยละ 65 การค้าในประเทศร้อยละ 60 และการลงทุนท้องถิ่นในภาคพาณิชย์ร้อยละ 90 การลงทุนในท้องถิ่นในภาคการผลิตร้อยละ 90 และการลงทุนท้องถิ่นในภาคการธนาคารและบริการการเงินทั้งหมดร้อยละ 50[57][62][63]
คริสต์ศตวรรษที่ 21
[แก้]ต้นคริสต์ศตวรรษที่ 21 ไทยเชื้อสายจีนครอบงำการพาณิชย์ของไทยในทุกระดับ[64][7]:127, 179 การมีอิทธิพลทางเศรษฐกิจของกลุ่มมีบทบาทสำคัญในการรักษาชีวิตทางเศรษฐกิจและความมั่งคั่งของประเทศ[41]:47-48 และจัดเป็นอภิชนของไทย[7]:179 นโยบายการพัฒนาของรัฐบาลไทยเป็นโอกาสทางธุรกิจสำหรับชาติพันธุ์จีน ชุมชนธุรกิจไทย-จีนเป็นกลุ่มเศรษฐกิจที่ครอบงำประเทศ โดยควบคุมภาคธุรกิจสำคัญทั่วประเทศ ภาคธุรกิจไทยสมัยใหม่ต้องอาศัยผู้ประกอบการและนักลงทุนเชื้อสายจีนที่ควบคุมธนาคารและกลุ่มบริษัทใหญ่แทบทั้งหมดของประเทศ[42]:193[55]:72 และการสนับสนุนภาคธุรกิจได้รับการส่งเสริมจากนักการเมืองที่มีเชื้อสายจีน[39][58][7]:179 และเกิดเป็นชนชั้นทางสังคมที่ได้เปรียบทางเศรษฐกิจ[7]:179-183[39][65][66][67][38]:261
ธุรกิจไทย-จีนเป็นนักลงทุนในจีนแผ่นดินใหญ่รายใหญ่สุดในบรรดาชุมชนชาวจีนโพ้นทะเลทั่วโลก[7] ไทยเชื้อสายจีนจำนวนมากส่งบุตรหลานไปยังโรงเรียนสอนภาษาจีน เดินทางเยือน ลงทุนในประเทศจีน รวมทั้งใช้แซ่จีน เครือเจริญโภคภัณฑ์ (ซีพี) เป็นนักลงทุนต่างประเทศรายใหญ่สุดในจีน[7]:41, 179[41]:55[68]
วาสนา วงศ์สุรวัฒน์ นักประวัติศาสตร์ ระบุว่า อภิชนไทยรั้งอำนาจได้โดยการใช้ยุทธศาสตร์สองส่วน ประกอบด้วยการรักษาฐานทางเศรษฐกิจด้วยการสนับสนุนของอภิชนธุรกิจไทย-จีน และการถือข้างมหาอำนาจของโลกในขณะนั้น[69]
บุคคลที่มีชื่อเสียง
[แก้]พระมหากษัตริย์
[แก้]นายกรัฐมนตรี
[แก้]นักธุรกิจ
[แก้]- ชิน โสภณพนิช
- เฉลียว อยู่วิทยา
- วานิช ไชยวรรณ
- ปราเสริฐ ปราสาททองโอสถ
- ธนินท์ เจียรวนนท์
- เจริญ สิริวัฒนภักดี
- กฤตย์ รัตนรักษ์
- เฉลิม อยู่วิทยา
- วิชัย ศรีวัฒนประภา
- ชาติศิริ โสภณพนิช
- อัยยวัฒน์ ศรีวัฒนประภา
- ประชัย เลี่ยวไพรัตน์
ดูเพิ่ม
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 1.2 Luangthongkum, Theraphan (2007). "The Position of Non-Thai Languages in Thailand". ใน Guan, Lee Hock; Suryadinata, Leo Suryadinata (บ.ก.). Language, Nation and Development in Southeast Asia. ISEAS Publishing. p. 191. ISBN 9789812304827 – โดยทาง Google Books.
- ↑ John Draper; Joel Sawat Selway (January 2019). "A New Dataset on Horizontal Structural Ethnic Inequalities in Thailand in Order to Address Sustainable Development Goal 10". Social Indicators Research. 141 (4): 280. doi:10.1007/s11205-019-02065-4. ISSN 0303-8300. สืบค้นเมื่อ 6 February 2020.
- ↑ Barbara A. West (2009), Encyclopedia of the Peoples of Asia and Oceania, Facts on File, p. 794, ISBN 978-1438119137 – โดยทาง Google Books
- ↑ "Chinese Diaspora Across the World: A General Overview". Academy for Cultural Diplomacy.
- ↑ A. B. Susanto; Susa, Patricia (2013). The Dragon Network: Inside Stories of the Most Successful Chinese Family. Wiley. ISBN 9781118339404. สืบค้นเมื่อ 2 December 2014.
- ↑ 6.0 6.1 Choosing Coalition Partners: The Politics of Central Bank Independence in ... - Young Hark Byun, The University of Texas at Austin. Government - Google Books. 2006. ISBN 9780549392392. สืบค้นเมื่อ 2012-04-23.[ลิงก์เสีย]
- ↑ 7.00 7.01 7.02 7.03 7.04 7.05 7.06 7.07 7.08 7.09 7.10 7.11 7.12 Chua, Amy (2003). World on Fire: How Exporting Free Market Democracy Breeds Ethnic Hatred and Global Instability (Paperback). Doubleday. ISBN 978-0-385-72186-8. สืบค้นเมื่อ 27 April 2020.
- ↑ Vatikiotis, Michael; Daorueng, Prangtip (12 February 1998). "Entrepreneurs" (PDF). Far Eastern Economic Review. สืบค้นเมื่อ 27 April 2020.
- ↑ "High technology and globalization challenges facing overseas Chinese entrepreneurs | SAM Advanced Management Journal". Find Articles. สืบค้นเมื่อ 2012-04-23.แม่แบบ:Nonspecific
- ↑ 10.0 10.1 10.2 อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อChua-1998
- ↑ 11.0 11.1 11.2 11.3 Yeung, Henry Wai-Chung (2005). Chinese Capitalism in a Global Era: Towards a Hybrid Capitalism. Routledge. ISBN 978-0415309899.
- ↑ World and Its Peoples: Eastern and Southern Asia - Marshall Cavendish Corporation, Not Available (NA) - Google Books. 2007-09-01. ISBN 9780761476313. สืบค้นเมื่อ 2012-04-23.แม่แบบ:Nonspecific
- ↑ Smith, Anthony (1 February 2005). "Thailand's Security and the Sino-Thai Relationship". China Brief. 5 (3). สืบค้นเมื่อ 29 April 2020.
- ↑ Jiangtao, Shi (14 October 2016). "In Bangkok's Chinatown, grief and gratitude following Thai king's death". South China Morning Post. สืบค้นเมื่อ 29 April 2020.
- ↑ Peleggi, Maurizio (2007). "Thailand: The Worldly Kingdom". Reaktion Books: 46.
{{cite journal}}
: Cite journal ต้องการ|journal=
(help) - ↑ Paul Richard Kuehn, Who Are The Thai-Chinese And What Is Their Contribution to Thailand?
- ↑ Skinner, G. William (1957). "Chinese Assimilation and Thai Politics". The Journal of Asian Studies. 16 (2): 237–250. doi:10.2307/2941381. JSTOR 2941381.
- ↑ Skinner, G, William (c. 1957). Chinese Society in Thailand: An Analytical History. Ithaca: Cornell University Press. hdl:2027/heb.02474.
- ↑ "Thai PM condemns race-baiting at anti-govt rally". Asia One. Agence France-Presse. 5 August 2008. สืบค้นเมื่อ 29 April 2020.
- ↑ Banyan (21 January 2014). "Why Thai politics is broken". The Economist. สืบค้นเมื่อ 29 April 2020.
- ↑ [https://web.archive.org/web/20130825021930/http://www.oknation.net/blog/hidayatool/2008/04/10/entry-2 เก็บถาวร 2013-08-25 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ↑ [https://web.archive.org/web/20121011221450/http://www.phuketthaihua.ac.th/index.php?option=com_content&view=article&id=53&Itemid=53 เก็บถาวร 2012-10-11 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ↑ Martin E. Marty, R. Scott Appleby, John H. Garvey, Timur Kuran. Fundamentalisms and the State: Remaking Polities, Economies, and Militance. University Of Chicago Press. p. 390. ISBN 0-226-50884-6.
{{cite book}}
: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์) - ↑ Chee Kiong Tong, Kwok B. Chan (2001). Alternate Identities: The Chinese of Contemporary Thailand. pp. 30–34. ISBN 981-210-142-X.
- ↑ [https://web.archive.org/web/20090108231241/http://thaiwebdirectories.meelink.com/company_profile/index/Company/id/3318/CompanyName/CHONGFAHSINSEUNG.AC.TH เก็บถาวร 2009-01-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ↑ Andrew D.W. Forbes (1988). The Muslims of Thailand. Soma Prakasan. pp. 14–15. ISBN 974-9553-75-6.
- ↑ "เจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยว ไม่เคยมีคำสาปแช่งมัสยิดกรือเซะ มรดกอารยธรรมแห่งมหานครปัตตานี". วัดปากน้ำ. สืบค้นเมื่อ 17 มีนาคม 2556.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ ประพนธ์ เรืองณรงค์. เรื่องเล่าจากปัตตานี. กรุงเทพฯ : สถาพรบุ๊คส์, 2548, หน้า 58-60
- ↑ "ชาวไทยเชื้อสายจีนผสานประเพณีกับความอาลัย". บีบีซีไทย.
- ↑ Andrew D.W. Forbes (1988). The Muslims of Thailand. Soma Prakasan. pp. 14–15. ISBN 974-9553-75-6.
- ↑ Celebrating Chinese New Year I
- ↑ Peranakan Chinese New Year Festival
- ↑ บาบ๋า-เพอรานากัน ประจำปีครั้งที่ 19 ณ จังหวัดภูเก็ต
- ↑ รักชาติ ผดุงธรรม. เบื้องหลังกรณีสวรรคต รัชกาลที่ ๘. กรุงเทพฯ : บางกอกบุ๊ค, 2550. 288 หน้า. ISBN 978-974-8130-47-7
- ↑ วินทร์ เลียววาริณ. ประชาธิปไตยบนเส้นขนาน. กรุงเทพฯ : ดอกหญ้า, พ.ศ. 2537. ISBN 974-8585-47-6
- ↑ รุ่งมณี เมฆโสภณ. อำนาจ 2 : ต่อสู้กู้ชาติ เอกราษฎร์ อธิปไตย. กรุงเทพฯ : บ้านพระอาทิตย์, 2555. 183 หน้า. ISBN 9786165360791
- ↑ ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช ชีวลิขิต. กรุงเทพฯ : มูลนิธิ ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช, 2548. 216 หน้า. ISBN 9789749353509
- ↑ 38.0 38.1 อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อChirot-1997
- ↑ 39.0 39.1 39.2 อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อKolodko-2005
- ↑ Viraphol, Sarasin (1972). The Nanyang Chinese. Institute of Asian Studies, Chulalongkorn University Press. p. 10.
- ↑ 41.0 41.1 41.2 อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อUnger-1998
- ↑ 42.0 42.1 42.2 42.3 42.4 42.5 Richter, Frank-Jürgen (1999). Business Networks in Asia: Promises, Doubts, and Perspectives. Praeger. ISBN 978-1567203028.
- ↑ Joint Economic Committee Congress of the United States (1997). China's Economic Future: Challenges to U.S. Policy. Studies on Contemporary China. Routledge. p. 425. ISBN 978-0765601278.
- ↑ Welch, Ivan. Southeast Asia—Indo or China (PDF). Fort Leavenworth, Kansas: Foreign Military Studies Office. p. 37. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-03-07.
- ↑ Current Issues On Industry Trade And Investment. United Nations Publications. 2004. p. 4. ISBN 978-9211203592.
- ↑ Tipton, Frank B. (2008). Asian Firms: History, Institutions and Management. Edward Elgar Publishing. p. 277. ISBN 978-1847205148.
- ↑ Gambe, Annabelle (2000). Overseas Chinese Entrepreneurship and Capitalist Development in Southeast Asia. Palgrave Macmillan. ISBN 978-0312234966.
- ↑ Buzan, Barry; Foot, Rosemary (2004). Does China Matter?: A Reassessment: Essays in Memory of Gerald Segal. Routledge. p. 82. ISBN 978-0415304122.
- ↑ Wong, John (2014). The Political Economy Of Deng's Nanxun: Breakthrough In China's Reform And Development. World Scientific Publishing Company. p. 214. ISBN 9789814578387.
- ↑ Nam, Suzanne (1 September 2010). "Thailand's 40 Richest". Forbes. สืบค้นเมื่อ 30 April 2020.
- ↑ Yeung, Henry. "Economic Globalization, Crisis and the Emergence of Chinese Business Communities in Southeast Asia" (PDF). National University of Singapore.
- ↑ 52.0 52.1 Sowell, Thomas (2006). Black Rednecks & White Liberals: Hope, Mercy, Justice and Autonomy in the American Health Care System. Encounter Books. p. 84. ISBN 978-1594031434.
- ↑ อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อSowell-1997
- ↑ "Sidewinder: Chinese Intelligence Services and Triads Financial Links in Canada". Primetimecrime.com. 1997-06-24. สืบค้นเมื่อ 2012-04-23.
- ↑ 55.0 55.1 55.2 Yu, Bin (1996). Dynamics and Dilemma: Mainland, Taiwan and Hong Kong in a Changing World. Edited by Yu Bin and Chung Tsungting. Nova Science. ISBN 978-1560723035.
- ↑ 56.0 56.1 Yeung, Henry; Tse Min Soh (August 25, 2000). "Corporate Governance and the Global Reach of Chinese Family Firms in Singapore" (PDF). Corporate Governance and the Global Reach of Chinese Family Firms in Singapore. Department of Geography, National University of Singapore. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 5 July 2012. สืบค้นเมื่อ 7 May 2012.
- ↑ 57.0 57.1 57.2 Ju, Yanan; Chu, Yen-An (1996). Understanding China: Center Stage of the Fourth Power. State University of New York Press. p. 33. ISBN 978-0791431221.
- ↑ 58.0 58.1 Redding, Gordon (1990). The Spirit of Chinese Capitalism. De Gruyter. p. 32. ISBN 978-3110137941.
- ↑ Weidenbaum, Murray. "The Bamboo Network: Asia's Family-run Conglomerates". Strategy-business.com. สืบค้นเมื่อ 2012-04-23.
- ↑ Murray L Weidenbaum (1 January 1996). The Bamboo Network: How Expatriate Chinese Entrepreneurs are Creating a New Economic Superpower in Asia. Martin Kessler Books, Free Press. pp. 4–8. ISBN 978-0-684-82289-1.
- ↑ Yeung, Henry. "Change and Continuity in SE Asian Ethnic Chinese Business" (PDF). Department of Geography, National University of Singapore. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2013-07-31. สืบค้นเมื่อ 2020-11-07.
- ↑ Goossen, Richard. "The spirit of the overseas Chinese entrepreneur, by" (PDF).
- ↑ Chen, Min (1995). Asian Management Systems: Chinese, Japanese and Korean Styles of Business. Cengage Learning. p. 65. ISBN 978-1861529411.
- ↑ Snitwongse, Kusuma; Thompson, Willard Scott (2005). Ethnic Conflicts in Southeast Asia. Institute of Southeast Asian Studies (ตีพิมพ์ 30 October 2005). p. 154. ISBN 978-9812303370.
- ↑ White, Lynn (2009). Political Booms: Local Money And Power In Taiwan, East China, Thailand, And The Philippines. Contemporary China. WSPC. p. 26. ISBN 978-9812836823.
- ↑ Cornwell, Grant Hermans; Stoddard, Eve Walsh (2000). Global Multiculturalism: Comparative Perspectives on Ethnicity, Race, and Nation. Rowman & Littlefield Publishers. pp. 67. ISBN 978-0742508828.
- ↑ Wongsurawat, Wasana (May 2, 2016). "Beyond Jews of the Orient: A New Interpretation of the Problematic Relationship between the Thai State and Its Ethnic Chinese Community". Cultural Studies. Positions: Asia Critique. 2. Duke University Press. 24 (2): 555–582. doi:10.1215/10679847-3458721. S2CID 148553252.
- ↑ Gomez, Edmund (2012). Chinese business in Malaysia. Routledge. p. 94. ISBN 978-0415517379.
- ↑ อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อBP-20200124
อ่านเพิ่ม
[แก้]- Chansiri, Disaphol (2008). "The Chinese Émigrés of Thailand in the Twentieth Century". Cambria Press.
{{cite journal}}
: Cite journal ต้องการ|journal=
(help) - Chantavanich, Supang (1997). Leo Suryadinata (บ.ก.). From Siamese-Chinese to Chinese-Thai: Political Conditions and Identity Shifts among the Chinese in Thailand. Ethnic Chinese as Southeast Asians. Singapore: Institute of Southeast Asian Studies. pp. 232–259.
- Tong Chee Kiong; Chan Kwok Bun (eds.) (2001). Alternate Identities: The Chinese of Contemporary Thailand. Times Academic Press. ISBN 981-210-142-X.
{{cite book}}
:|author2=
มีชื่อเรียกทั่วไป (help) - Skinner, G. William. Leadership and Power in the Chinese Community in Thailand. Ithaca (Cornell University Press), 1958.
- Sng, Jeffery; Bisalputra, Pimpraphai (2015). A History of the Thai-Chinese. Editions Didier Millet. ISBN 978-981-4385-77-0.
- Wongsurawat, Wasana (October 2019). The Crown and the Capitalists; The Ethnic Chinese and the Founding of the Thai Nation. Critical Dialogues in Southeast Asian Studies (Paper ed.). Seattle: University of Washington Press. ISBN 9780295746241. สืบค้นเมื่อ 30 April 2020.