ชาวดุงกาน
สตรีชาวดุงกานในประเทศคาซัคสถาน | |
ประชากรทั้งหมด | |
---|---|
110,024 คน | |
ภูมิภาคที่มีประชากรอย่างมีนัยสำคัญ | |
คีร์กีซสถาน (ค.ศ. 2013) | 64,565 คน[1] |
คาซัคสถาน (ค.ศ. 1999) | 36,900 คน[2] |
ทาจิกิสถาน | 6,000 คน[3] |
รัสเซีย (ค.ศ. 2010) | 1,651 คน[4] |
มองโกเลีย | 5,300 คน |
อุซเบกิสถาน | 1,900 คน |
ยูเครน | 133 คน[5] |
ภาษา | |
ดุงกาน, รัสเซีย พร้อมด้วยภาษาคาซัคและคีร์กีซ | |
ศาสนา | |
อิสลาม | |
กลุ่มชาติพันธุ์ที่เกี่ยวข้อง | |
หุย, ฮั่น |
ดุงกาน (จีนตัวย่อ: 东干族; จีนตัวเต็ม: 東干族; พินอิน: Dōnggān zú; เวด-ไจลส์: Tung1kan1-tsu2; เสี่ยวเอ้อร์จิง: دْوقًا ظُ; รัสเซีย: Дунгане; คีร์กีซ: Дунгандар; คาซัค: Дүңгендер / Düñgender) หรือ หุย (ดุงกาน: Хуэйзў, เสี่ยวเอ้อร์จิง: حُوِ ظُ) เป็นคำที่ใช้กันในแถบกลุ่มประเทศอดีตสหภาพโซเวียตที่สื่อความหมายถึงกลุ่มอิสลามิกชนที่มีเชื้อสายจีน[6] หรืออาจใช้ความหมายครอบคลุมไปยังประชาชนที่จัดอยู่กลุ่มภาษาเตอร์กิกแถบเขตปกครองตนเองซินเจียงอุยกูร์ในปัจจุบันด้วย ทั้งนี้พวกเขาจะเรียกแทนตัวเองว่าหุย ส่วนดุงกานคือลูกหลานของชาวหุยที่อพยพมายังเอเชียกลาง
มีการสำรวจจำนวนประชากรในแถบอดีตสหภาพโซเวียตพบว่ามีชาวดุงกานตั้งถิ่นฐานในประเทศคาซัคสถาน ประมาณ 36,900 คน ในปี ค.ศ. 1999[7], ประเทศคีร์กีซสถาน ประมาณ 51,766 คน ในปี ค.ศ. 1999[8] และในประเทศรัสเซีย ประมาณ 801 คน ในปี ค.ศ. 2002[9]
ประวัติ
[แก้]ชาวดุงกานกลุ่มแรกมาจากเมืองกุลจาและเมืองคัชการ์เข้าไปตั้งถิ่นฐานแถบหุบเขาเฟอร์กานาในเอเชียกลางเพราะถูกโจรจับมาเป็นทาส ส่วนใหญ่ชาวดุงกานทำงานอยู่ในเรือนของผู้มั่งมี แต่หลังรัสเซียพิชิตเอเชียกลางได้เมื่อช่วงปลายศตวรรษที่ 19 รัสเซียเลิกทาส แต่หญิงดุงกานส่วนใหญ่ยังคงถูกกักตัวไว้ดังเดิม วาลีดีมีร์ เปโตรวิช นาลิฟคิน (Validimir Petrovich Nalivkin) นักชาติพันธุ์วิทยาชาวรัสเซียและภรรยาบันทึกเรื่องราวดังกล่าวไว้ ความว่า "นางทาสีส่วนใหญ่ยังคงถูกกักตัว เพราะพวกนางสมรสกับพวกคนงานและคนรับใช้ของอดีตเจ้านาย หรืออาจเป็นเพราะพวกนางยังเด็กเกินไปที่จะออกไปมีชีวิตอิสระ"[10] นางทาสดุงกานถือเป็นคนชั้นต่ำและถูกดูแคลนอย่างยิ่งในเมืองบูฆอรอ[11]
โจรตุรกีมุสลิมที่จับคนมาเป็นทาสจากเมืองโกกอนไม่เห็นความแตกต่างระหว่างชาวหุยมุสลิมกับชาวฮั่น และการที่พวกเขาขืนใจให้ชาวหุยมุสลิมเป็นทาสถือเป็นการฝ่าฝืนศาสนาอิสลาม[12][13] ช่วงการก่อกำเริบอาฟากี โคจา (ช่วงต้นหรือกลางศตวรรษที่ 19) จาฮันกีร์ โคจา (Jahangir Khoja) ชาวเติร์กมุสลิมยกทัพจากรัฐข่านโกกอนไปตีเมืองคัชการ์ แล้วกวาดต้อนมุสลิมจีนหลายร้อยคนไปไว้ที่เมืองโกกอน มีชาวทาจิกซื้อทาสชาวจีนสองคนจากส่านซีไปกดขี่ข่มเหงราวหนึ่งปี ก่อนได้รับการสงเคราะห์จากเบก กู-พู-เทอ (Beg Ku-bu-te) ส่งกลับเมืองจีน[14] นอกจากนี้มีพ่อค้าและทหารชาวดุงกานประมาณ 300 คนถูกพวกจาฮันกีร์จับที่เมืองคัชการ์ พวกเขาถูกตัดผมเปียออกแล้วส่งไปเมืองโกกอนและเอเชียกลางในฐานะคนโทษ[15][16] มีรายงานว่าเชลยส่วนใหญ่นี้ตกเป็นทาส และพบว่ามีบัญชีทาสเชลยของเอเชียกลางเพิ่มขึ้น[17][18] ผมเปียของคนโทษเหล่านี้จะถูกขาย มีคนจำนวนไม่น้อยหนีข้ามไปยังแดนของรัสเซียก่อนถูกส่งกลับจีน ดังปรากฏหลักฐานเป็นบันทึกการจับกุมในเอกสารจีน[19][20] ส่วนเอกสารรัสเซียบันทึกไว้ว่าพวกเขาช่วยพ่อค้าจีนมุสลิมซึ่งถูกกองทัพของจาฮันกีร์กุมตัวไปไว้ในเอเชียกลาง พวกเขาจึงหลบหนีมาในแดนรัสเซีย และส่งพวกเขากลับแดนจีน[21]
ส่วนชาวดุงกานในสหภาพโซเวียตคือชาวหุยที่ลี้ภัยออกจากจีนหลังเกิดสงครามชนกลุ่มน้อยหุยในศตวรรษที่ 19 จากข้อมูลของริมสกี-คอร์ซาคอฟ (Rimsky-Korsakoff) พบว่ามีชาวหุยสามกลุ่มข้ามแดนไปยังจักรวรรดิรัสเซียทางเทือกเขาเทียนชานในฤดูหนาวหฤโหดช่วง ค.ศ. 1877–1878 ได้แก่
- กลุ่มแรกนำโดยหม่า ต้าเหริน (马大人) หรือหม่าต้าเหล่าเย่ (马大老爷) อพยพจากเมืองตูร์ปัน ราว 100 คน ลงหลักปักฐานที่เมืองออช ทางใต้ของประเทศคีร์กีซสถาน
- กลุ่มสองนำโดยอิหม่ามหม่า ยูซุฟ หรือหม่า ยู่ซู่ฟู (马郁素夫) หรืออาเย่เหล่าเหริน (阿爷老人) อพยพจากเมืองตี๋เต้าโจว (狄道州) มณฑลกานซู่ มีประชากรเมื่อถึง 1,130 คน ลงหลักปักฐานที่หมู่บ้านอีร์ดึค (Ирдык, Ырдык) 15 กิโลเมตรจากเมืองคาราคอล ทางตะวันออกของประเทศคีร์กีซสถาน
- กลุ่มสามนำโดยไป๋ ย่านหู่ (白彥虎) หรือหู่ต้าเหริน (虎大人) อพยพจากส่านซี มีประชากรเมื่อมาถึง 3,314 คน ลงหลักปักฐานที่หมู่บ้านคาราคูนุซ (ปัจจุบันชื่อมาซันชี) ในจังหวัดจัมบิล ทางใต้ของประเทศคาซัคสถานต่อชายแดนประเทศคีร์กีซสถาน
ช่วง ค.ศ. 1880 มีคลื่นการอพยพใหม่ของชาวจีนสู่เอเชียกลาง หลังข้อกำหนดในสนธิสัญญาเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก ค.ศ. 1881 ซึ่งกำหนดให้ถอนทหารรัสเซียออกจากแอ่งอีหลีตอนบน (แถบเมืองกุลจา) ชาวดุงกาน (หุย) และตารันชี (อุยกูร์) ได้รับอนุญาตให้ย้ายเข้าไปอยู่ในแดนของจักรวรรดิรัสเซีย จากบันทึกสถิติของรัสเซียพบว่ามีชาวหุยย้ายเข้ารัสเซีย 4,682 คน และมีการอพยพเป็นกลุ่มเล็ก ๆ ช่วง ค.ศ. 1881 และ 1883 โดยตั้งถิ่นฐานที่หมู่บ้านโซคูลุค (Сокулук) ซึ่งห่าง 30 กิโลเมตรทางตะวันตกของบิชเคก
ภาษา
[แก้]ชาวดุงกานจะเรียกภาษาของตัวเองว่าภาษาหุย (ดุงกาน: Хуэйзў йүян) มีลักษณะคล้ายกับภาษาจีนกลางที่ราบภาคกลางซึ่งพูดในแถบมณฑลกานซู่ตอนใต้ไปจนถึงทางตะวันตกของที่ราบกวันจงในมณฑลส่านซี
ภาษาดุงกานมีวรรณยุกต์เหมือนภาษาจีน บ้างก็มี 4 วรรณยุกต์ (ถือเป็นมาตรฐาน) บ้างก็มี 3 วรรณยุกต์หากมีพยัญชนะท้าย และมี 4 วรรณยุกต์หากไม่มีพยัญชนะท้าย ศัพท์ดุงกานโดยมากเป็นคำเก่าและเชยสำหรับชาวจีน เช่น เรียกประธานาธิบดีว่าหวงตี้ (Хуаңды) หรือเรียกหน่วยงานของรัฐว่าหยาเหมิน (ямын) อันเป็นคำเรียกที่ทำการของข้าราชการจีนยุคเก่า นอกจากนี้ยังมีคำยืมจากภาษาอาหรับ เปอร์เซีย และตุรกีอีกจำนวนมาก และตั้งแต่ ค.ศ. 1940 เป็นต้นมา ภาษาดุงกานถูกเขียนด้วยอักษรซีริลลิก
ชาวดุงกานส่วนใหญ่พูดได้สามภาษาต่างจากชนกลุ่มน้อยอื่น ๆ ในเอเชียกลางอย่างพวกโครยอ-ซารัมเป็นอาทิ ชาวดุงกานมากกว่าสองในสามพูดภาษารัสเซีย และมีส่วนน้อยที่พูดภาษาคีร์กีซ หรือภาษาอื่น ๆ ตามประเทศที่พวกเขาตั้งถิ่นฐาน
ชุมชน
[แก้]ชื่อหมู่บ้าน | ที่ตั้ง | ก่อตั้ง | ประชากร (ค.ศ. 2003) |
---|---|---|---|
มาซันชี (รัสเซีย: Масанчи; คาซัค: Масаншы) เดิมชื่อคาราคูนุซ (รัสเซีย: Каракунуз) หรืออิ๋งผัน (ดุงกาน: Йинпан) |
อำเภอกอร์ได จังหวัดจัมบิล ประเทศคาซัคสถาน |
ฤดูใบไม้ผลิ ค.ศ. 1878 กลุ่มผู้อพยพจากส่านซี |
7,000 คน |
ซอร์โตเบ (รัสเซีย: Сортобе; คาซัค: Сортөбе; ดุงกาน: Щёртюбе) | อำเภอกอร์ได จังหวัดจัมบิล ประเทศคาซัคสถาน |
ขยายจากบ้านคาราคูนุซ | 9,000 คน |
จัลปัค-โตเบ (คาซัค: Жалпак-тобе) | อำเภอจัมบิล จังหวัดจัมบิล ประเทศคาซัคสถาน |
3,000 คน | |
อีร์ดึก (คีร์กีซ: Ырдык; ดุงกาน: Эрдэх) | อำเภอเยตีเอิกอึซ จังหวัดอือซึก-เกิล ประเทศคีร์กีซสถาน |
ฤดูใบไม้ผลิ ค.ศ. 1878 กลุ่มผู้อพยพจากตี๋เต้าโจว |
2,800 คน |
โซคูลุค (คีร์กีซ: Сокулук; ดุงกาน: Сохўлў) | อำเภอโซคูลุค จังหวัดชึย ประเทศคีร์กีซสถาน |
ค.ศ. 1881-1883 กลุ่มผู้อพยพจากแอ่งอีหลี |
12,000 คน |
มิลยันฟัน (คีร์กีซ: Милянфан; ดุงกาน: Милёнчуан) | อำเภออืยซึคอะเตนสกี จังหวัดชึย ประเทศคีร์กีซสถาน |
ขยายจากบ้านคาราคูนุซ ? | 10,000 คน |
อีวานอฟกา (คีร์กีซ: Ивановка) | อำเภออืยซึคอะเตนสกี จังหวัดชึย ประเทศคีร์กีซสถาน |
ขยายจากบ้านคาราคูนุซ ? | 1,500 คน |
ชุมชนดุงกานในเมืองออช (คีร์กีซ: Ош) | จังหวัดออช ประเทศคีร์กีซสถาน |
ฤดูใบไม้ผลิ ค.ศ. 1878 กลุ่มอพยพจากตูร์ปัน |
800 คน |
นอกจากหมู่บ้านดั้งเดิมของชาวดุงกาน ยังมีชาวดุงกานตั้งถิ่นฐานตามหัวเมืองต่าง ๆ ที่ใกล้เคียง เช่น บิชเคก ตอกมอก และคาราคอล
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "Демографический ежегодник Кыргызской Республики: 2009-2013.-Б: Нацстатком Кырг. Респ., 2014:-320с. ISBN 978-9967-26-837-1" (PDF). Bishkek: National Committee on Statistics. 2014. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2016-03-06. สืบค้นเมื่อ 2019-04-16.
{{cite journal}}
: Cite journal ต้องการ|journal=
(help) - ↑ Aleksandr Nikolaevich Alekseenko (Александр Николаевич Алексеенко), "Republic in the Mirror of the Population Census" («Республика в зеркале переписей населения») Sotsiologicheskie Issledovaniia. 2001, No. 12. pp. 58-62.
- ↑ Ki 2002
- ↑ Всероссийская перепись населения 2002 года เก็บถาวร ตุลาคม 6, 2014 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ↑ "About number and composition population of Ukraine by data All-Ukrainian census of the population 2001". Ukraine Census 2001. State Statistics Committee of Ukraine. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 December 2011. สืบค้นเมื่อ 17 January 2012.
- ↑ David Trilling (April 20, 2010). "Kyrgyzstan Eats: A Dungan Feast in Naryn". EURASIANET.org.
- ↑ Aleksandr Nikolaevich Alekseenko (Александр Николаевич Алексеенко), "Republic in the Mirror of the Population Census" («Республика в зеркале переписей населения») เก็บถาวร 2007-06-30 ที่ Archive-It Sotsiologicheskie Issledovaniia. 2001, No. 12. pp. 58-62.
- ↑ "Kyrgyzstan National Statistics Office, 1999 Population Census Report, Section 3" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2003-08-07. สืบค้นเมื่อ 2011-02-14.
- ↑ "Всероссийская перепись населения 2002 года". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-01-24. สืบค้นเมื่อ 2011-02-14.
- ↑ Marianne Kamp (2008). The New Woman in Uzbekistan: Islam, Modernity, and Unveiling Under Communism (reprint, illustrated ed.). University of Washington Press. p. 25. ISBN 0-295-98819-3. สืบค้นเมื่อ 2010-07-30.
- ↑ Shail Mayaram (2009). Shail Mayaram (บ.ก.). The other global city (illustrated ed.). Taylor & Francis US. p. 209. ISBN 0-415-99194-3. สืบค้นเมื่อ 2010-07-30.
- ↑ W. G. Clarence-Smith (2006). Islam and the abolition of slavery. Oxford University Press US. p. 45. ISBN 0-19-522151-6. สืบค้นเมื่อ 31 October 2010.
- ↑ W. G. Clarence-Smith (2006). Islam and the abolition of slavery. Oxford University Press US. p. 15. ISBN 0-19-522151-6. สืบค้นเมื่อ 31 October 2010.
- ↑ Millward 1998, p. 298.
- ↑ Millward 1998, p. 205.
- ↑ Millward 1998, p. 305.
- ↑ Laura Newby (2005). The Empire and the Khanate: a political history of Qing relations with Khoqand c. 1760-1860. BRILL. p. 97. ISBN 90-04-14550-8. สืบค้นเมื่อ 2010-11-28.
- ↑ John King Fairbank (1978). The Cambridge History of China: Late Chʻing, 1800-1911, pt. 1. Cambridge University Press. p. 371. สืบค้นเมื่อ 2010-11-28.
- ↑ Millward 1998, p. 168.
- ↑ Harrison, Henrietta (2013). The Missionary's Curse and Other Tales from a Chinese Catholic Village. Vol. Volume 26 of Asia: Local Studies / Global Themes. University of California Press. p. 59. ISBN 0520954726. สืบค้นเมื่อ 2010-11-28.
{{cite book}}
:|volume=
has extra text (help) - ↑ Millward 1998, p. 285.