ข้ามไปเนื้อหา

ปกาเกอะญอ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ปกาเกอะญอ
စှီၤ/ကညီ
ธงกะเหรี่ยง
หญิงกะเหรี่ยงสะกอใส่ชุดพื้นเมือง
ประชากร2,600,000
ภาษา
ภาษากะเหรี่ยงสะกอ
ศาสนา
เถรวาท, ศาสนาคริสต์, วิญญาณนิยม

ปกาเกอะญอ (ပှၤကညီဖိ) อ่านตรงตัวจากตัวเขียนและสำเนียงว่า ปวาเก่อญอ หรือ กะเหรี่ยงสะกอ (စှီၤ) หรือ กะเหรี่ยงขาว[1] เป็นกลุ่มชาวกะเหรี่ยงที่มีวัฒนธรรมประเพณีที่เป็นเอกลักษณ์ พื้นที่แถบลุ่มน้ำต่าง ๆ บริเวณเทือกเขาตะนาวศรี เขตชายแดนไทย-พม่า[2] มีหลักฐานการอยู่อาศัยมานาน เป็นชนเผ่าดั้งเดิมที่อยู่อย่างกระจัดกระจายมานานกว่า 100–200 ปี[3] เช่น บริเวณลุ่มแม่น้ำวาง อำเภอแม่วาง จังหวัดเชียงใหม่

วัฒนธรรม

[แก้]
  • "เดปอทู่" พิธีกรรมการเกิดของชาวปกาเกอะญอ เมื่อใดที่มีเด็กเกิด ผู้เป็นพ่อตัดสายสะดือ (ဒ့; เด) ใส่กระบอกไม้ไผ่ไปติดไว้ตามต้นไม้ที่มีลำต้นตรงนิ่ง โดย 3 วันหลังจากผูกเสร็จแล้ว จะมีพิธีการปาสายสะดือให้ตกลงมา และห้ามตัดต้นไม้นั้น มิฉะนั้นจะเกิดเรื่องไม่เป็นสิริมงคลกับเจ้าของสะดือ[4]
  • การแต่งงาน ผู้หญิงต้องเป็นฝ่ายไปสู่ขอผู้ชาย มีการฆ่าหมูแล้วนำครึ่งตัวส่วนหัว จำนวน 4 ตัว ไปผูกติดกับต้นเสาโรงทำพิธีกรรมทั้ง 4 ด้าน จะแห่เจ้าบ่าวไปทำพิธีที่บ้านเจ้าสาว พอเสร็จพิธีก็แห่กลับมากินข้าวที่บ้านเจ้าบ่าวอีกรอบ [5]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Sir George Scott (1922). "Among the Hill Tribes of Burma – An Ethnological Thicket". National Geographic Magazine. p. 293. ISSN 1044-6613. OCLC 1643684.
  2. Yumnam, Jiten (11 November 2018). "The Karen people's pursuit for survival in Northern Thailand". E-Pao. สืบค้นเมื่อ 4 February 2021.
  3. "ชุมชนชาวไทยภูเขาห้วยสัตว์ใหญ่". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-09-20. สืบค้นเมื่อ 2007-08-25.
  4. "ป่าสะดือ". กลไกการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารความหลากหลายทางชีวภาพ กรมป่าไม้. Forest Biodiversity Division. 12 October 2010. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-05-14. สืบค้นเมื่อ 2016-10-28.
  5. "ท้องถิ่นวิจัย – สู่วิถีดอย…กับการเรียนรู้วิถีชีวิต วัฒนธรรมพี่น้องชนเผ่าปกาเกอะญอ". 23 April 2006. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-09-28. สืบค้นเมื่อ 2007-08-25.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]