เจริญ สิริวัฒนภักดี
ลิงก์ข้ามภาษาในบทความนี้ มีไว้ให้ผู้อ่านและผู้ร่วมแก้ไขบทความศึกษาเพิ่มเติมโดยสะดวก เนื่องจากวิกิพีเดียภาษาไทยยังไม่มีบทความดังกล่าว กระนั้น ควรรีบสร้างเป็นบทความโดยเร็วที่สุด |
บทความนี้หรือส่วนนี้ของบทความต้องการปรับรูปแบบ ซึ่งอาจหมายถึง ต้องการจัดรูปแบบข้อความ จัดหน้า แบ่งหัวข้อ จัดลิงก์ภายใน และ/หรือการจัดระเบียบอื่น ๆ คุณสามารถช่วยแก้ไขปัญหานี้ได้โดยการกดที่ปุ่ม แก้ไข ด้านบน จากนั้นปรับปรุงหรือจัดรูปแบบอื่น ๆ ในบทความให้เหมาะสม |
เจริญ สิริวัฒนภักดี | |
---|---|
เกิด | 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2487 จังหวัดพระนคร ประเทศไทย |
สัญชาติ | ไทย |
ชื่ออื่น | ชื่อจีน โซวเคียกเม้ง |
อาชีพ | ประธานกรรมการบริหาร บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) ประธานกลุ่มบริษัท สุรามหาราษฎร จำกัด (มหาชน) ประธานกรรมการบริหาร บริษัททีซีซี กรุ๊ป ประธานบริษัท มิลเลียไลฟ์ อินชัวรัส์ จำกัด มหาชน |
มีชื่อเสียงจาก | มหาเศรษฐีชาวไทย |
คู่สมรส | คุณหญิง วรรณา สิริวัฒนภักดี |
บุตร | นางอาทินันท์ พีชานนท์ นางวัลลภา ไตรโสรัส นายฐาปน สิริวัฒนภักดี นางฐาปนี เตชะเจริญวิกุล นายปณต สิริวัฒนภักดี |
เจริญ สิริวัฒนภักดี (เคียกเม้ง แซ่โซว, เจริญ ศรีสมบูรณานนท์; เกิด 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2487) เป็นนักธุรกิจชาวไทยเชื้อสายจีน เป็นผู้ก่อตั้งและประธานกรรมการหลายบริษัทในกลุ่มทีซีซี เช่น บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน)[1] ประธานกรรมการบริหาร บริษัท ทีซีซี แลนด์ แอสเสท เวิรด์ จำกัด ประธานกรรมการบริษัท บริษัท เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ จำกัด (มหาชน) เจ้าของบริษัทเบียร์ช้าง และ บริษัทในเครือ สมาชิกสมาคมวัฒนธรรมและเศรษฐกิจไทย-จีน[2] ที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ในคณะกรรมการมูลนิธิอนุรักษ์ป่ารอยต่อ 5 จังหวัด[3] อดีตอุปนายกอาวุโส ในสมาคมกรีฑาแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์
นอกจากนั้นยังเข้าเป็นผู้สนับสนุนหลักของสโมสรฟุตบอลเอฟเวอร์ตันในฟุตบอลพรีเมียร์ลีก เจ้าของกิจการ โรงแรม พลาซ่า แอททินี่ ในกรุงเทพมหานคร และในนครนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา
จากการจัดอันดับโดยนิตยสารฟอบส์ (ข้อมูล ณ วันที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2567) เจริญ สิริวัฒนภักดี มีทรัพย์สินรวมทั้งหมด 10,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือ 3.666 แสนล้านบาท โดยเป็นมหาเศรษฐีอันดับที่ 3 ของประเทศไทย (อันดับที่ 1 คือนายเฉลิม อยู่วิทยา เจ้าของธุรกิจกระทิงแดง และอันดับที่ 2 คือสุภกิตและศุภชัย เจียรวนนท์ เจ้าของธุรกิจเครือเจริญโภคภัณฑ์)[4]
นายกองเอก เจริญ สิริวัฒนภักดี สมรสกับ คุณหญิงวรรณา สิริวัฒนภักดี มีบุตร 5 คน (ชาย 2 คน หญิง 3 คน) ได้แก่
- นาง อาทินันท์ พีชานนท์ รองประธานกรรมการบริหาร กลุ่มบริษัทอาคเนย์
- นาง วัลลภา ไตรโสรัส ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และกรรมการผู้จัดการใหญ่ กลุ่มบริษัท ทีซีซี แลนด์ แอสเสท เวิรด์ จำกัด
- นาย ฐาปน สิริวัฒนภักดี กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน)
- นาง ฐาปนี เตชะเจริญวิกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ จำกัด (มหาชน)
- นาย ปณต สิริวัฒนภักดี ประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่ม บริษัทเฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ ลิมิเต็ด
ประวัติ
[แก้]นายกองเอก เจริญ สิริวัฒนภักดี มีชื่อภาษาจีนว่า “โซว เคียกเม้ง” (苏 旭明, เคียกเม้ง แซ่โซว) ชื่อนามสกุลเดิมคือ "ศรีสมบูรณานนท์" เกิดเมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2487 บิดามีอาชีพขายหอยทอด เขาใช้เวลาเรียนถึง 8 ปีเพื่อให้จบชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 จากโรงเรียนเผยอิง เนื่องจากระหว่างเรียนต้องทำงาน หาเลี้ยงชีพด้วยการขายของเล็กๆ น้อยๆ เมื่อเขาอายุ 11 ปี ได้รับจ้างเข็นรถส่งสินค้าย่านสำเพ็ง ทรงวาด จากนั้นจึงขยับเป็นพ่อค้าหาบของขาย
ปี พ.ศ. 2504 ได้เป็นลูกจ้างของชาวจีนที่อพยพมาอยู่เมืองไทยคนหนึ่ง ในบริษัทย่งฮะเส็ง และห้างหุ้นส่วนจำกัด แพนอินเตอร์ ที่จัดส่งสินค้าให้โรงงานสุราบางยี่ขัน และเพียงปีเดียวเขาได้เป็นซัพพลายเออร์ให้โรงงานสุราบางยี่ขันเอง นำมาสู่การรู้จักกับนายจุล กาญจนลักษณ์ ผู้เชี่ยวชาญการปรุงรสสุรา โดยเฉพาะสูตร "แม่โขง" และคุ้นเคยกับเจ้าสัว "เถลิง เหล่าจินดา" ผู้มีอำนาจในการจัดซื้ออุปกรณ์ทุกอย่างของโรงงาน เขากลายเป็นขุนพลคู่ใจของเจ้าสัวเถลิงในเวลาไม่นาน เพราะความอ่อนน้อมถ่อมตนและมีสัมมาคารวะ กลยุทธ์และเคล็ดลับในการทำธุรกิจสุราจึงเป็นของเขาในที่สุด
เมื่ออยู่ในวงการของเจ้าสัวแล้ว จึงได้มีโอกาสพบกับ "วรรณา แซ่จิว" หรือปัจจุบันคือ "คุณหญิงวรรณา สิริวัฒนภักดี" บุตรสาวของ "เจ้าสัวกึ้งจู แซ่จิว"
ปี พ.ศ. 2518 บริษัทธารน้ำทิพย์ ผู้ผลิต "ธาราวิสกี้" ของพงส์ สารสิน และประสิทธิ์ ณรงค์เดช ประสบภาวะขาดทุนและประกาศขาย กลุ่มเจ้าสัวเถลิงและเจริญจึงเข้าซื้อกิจการ ซึ่งก็คือบริษัทแสงโสมในปัจจุบัน
ปี พ.ศ. 2529 เจริญได้เข้าสู่ธุรกิจธนาคารและการเงิน ด้วยความช่วยเหลือของพ่อตา เข้าไปซื้อหุ้นในธนาคารมหานคร บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์มหาธนกิจ ซื้อหุ้นในบริษัทอาคเนย์ประกันภัย และอีกหลายกิจการ
ปี พ.ศ. 2530 ได้รับพระราชทานนามสกุล "สิริวัฒนภักดี"
ปี พ.ศ. 2537 ซื้อกิจการกลุ่มโรงแรมอิมพีเรียล ที่มีโรงแรมในเครือจำนวนมากจากนายอากร ฮุนตระกูล และจากนั้น ”เจ้าสัวเจริญ” ก็ขยายธุรกิจอย่างไม่เคยหยุดยั้ง จนกระทั่งถึงปัจจุบัน โดยมีทายาท 5 คน พร้อมสานต่อ คือ อาทินันท์ วัลลภา ฐาปน ฐาปนี และปณต
ปี พ.ศ. 2544 คุณหญิง วรรณา สิริวัฒนภักดี ดำรงตำแหน่ง รองประธานกรรมการ บริษัท เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ จำกัด (มหาชน)
ปี พ.ศ. 2546 คุณหญิง วรรณา สิริวัฒนภักดี ดำรงตำแหน่ง รองประธานกรรมการ บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน)
ปี พ.ศ. 2547 คุณหญิง วรรณา สิริวัฒนภักดี ดำรงตำแหน่ง ประธานกรรมการ กลุ่มบริษัทแสงโสม
ปี พ.ศ. 2555 วันที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2555 ได้รับพระราชทานยศกองอาสารักษาดินแดน เป็นนายกองเอก
ปรัชญาการดำเนินธุรกิจที่เป็นเลื่องลือของเจ้าสัว "เจริญ" คือ การซุ่มซ่อนยาวนาน สะสมทุน รอคอยโอกาส ที่สำคัญ "คุณธรรมน้ำมิตร" ที่ว่า "บุญคุณต้องทดแทน" ทำให้เส้นทางของ "เจ้าสัวเจริญ" ยังมีโอกาสอีกยาวไกล
เจริญ สิริวัฒนาภักดี สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี จากคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง และปริญญาโทจากคณะเดียวกัน นอกจากนี้แล้วนายเจริญ ยังได้รับปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ จาก 12 มหาวิทยาลัยในประเทศไทย[5]
ด้านภรรยา คุณหญิง วรรณา สิริวัฒนภักดี ประธานกรรมการ กลุ่มบริษัทแสงโสม ได้รับพระราชทาน ปริญญาบัตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาการจัดการ วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล ปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ บริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ เทคโนโลยีชีวภาพ มหาวิทยาลัยรามคำแหง ปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ บริหารธุรกิจการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ คณะบริหารธุรกิจและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก [6]ต่อมาในวันที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2561 มีพระราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ คุณหญิง วรรณา สิริวัฒนภักดี ดำรงตำแหน่ง กรรมการในคณะกรรมการมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช [7]
ช่วงเริ่มเข้าสู่ธุรกิจสุรา
[แก้]ปี พ.ศ. 2504 ได้เป็นลูกจ้างของชาวจีนที่อพยพมาอยู่เมืองไทยคนหนึ่ง ในบริษัท "ย่งฮะเส็ง" และห้างหุ้นส่วนจำกัด "แพนอินเตอร์" ที่จัดส่งสินค้าให้ "โรงงานสุราบางยี่ขัน" นำมาสู่การรู้จักกับนาย "จุล กาญจนลักษณ์" ผู้เชี่ยวชาญการปรุงรสสุรา "แม่โขง"
เจ้าสัวเข้าสู่วงการธุรกิจสุราด้วยการชวนของเถลิง เหล่าจินดา แห่งกลุ่มสุราทิพย์ ผู้ซึ่งต่อมาเป็นปรปักษ์กับตระกูลเตชะไพบูลย์ ซึ่งถือเป็นเจ้าพ่อในวงการนี้มายาวนาน ในปี พ.ศ. 2525 เมื่อเถลิงผ่านการต่อสู้อย่างโชกโชน ก็เหนื่อยล้าลาจากวงการไป เจริญก็เข้าสวมแทนและสามารถเอาชนะกลุ่มเตชะไพบูลย์ โดยเข้ายึดครองกลุ่มสุรามหาราษฎร อย่างสิ้นเชิงในปี พ.ศ. 2530 ในขณะเดียวกันนั้น พ่อตาของคุณเจริญ(นายกึ้งจู แซ่จิว) ก็เข้ายึดกิจการบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์มหาธนกิจจากตระกูลเตชะไพบูลย์อีกสายหนึ่ง ต่อมาเมื่อเตชะไพบูลย์สายนั้น (โคโร่-คำรณ เตชะไพบูลย์) มีปัญหาในการบริหารธนาคารมหานคร เจริญและพ่อตา ซึ่งมีสองขาทางธุรกิจที่หนุนเนื่องกัน (ธุรกิจสุราและการเงิน) และกำลังเริ่มยิ่งใหญ่ในปี พ.ศ. 2530 ก็เข้ายึดครองกิจการ การเงิน ทั้งธนาคารและบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ไว้ ทั้งๆ ที่ธุรกิจการธนาคารสำหรับสังคมไทยถูกปิดตายสำหรับคนนอกมาตั้งแต่หลังสงครามโลกครั้งที่สอง จากจุดนี้จึงถือว่า เจริญ สิริวัฒนภักดี สร้างอาณาจักรที่มั่นคงและโหมโรงการขยายตัวอย่างเชี่ยวกรากในเวลาจากนั้นมา
ขยายสู่ธุรกิจเบียร์
[แก้]ก่อนที่จะมาเป็นคนรวยที่สุดของประเทศไทย มีความยากจนมากแต่ท่านชอบอาชีพนักขายเป็นอย่างยิ่ง จึงได้ต่อสู้มาจนถึงปัจจุบัน ธุรกิจสุราดั้งเดิม แม้ว่าระบบสัมปทานแบบเดิมกำลังจะปิดฉากลง แต่เขาก็สามารถใช้เครือข่ายการค้าแบบเดิม ซึ่งฝังรากในตลาดล่างกับเครือข่ายการค้า ในชุมชนซึ่งถือว่าเป็นเครือข่ายการค้าที่เข้มแข็งที่สุดเครือข่ายหนึ่งในสังคมไทย ภายใต้ระบบเอเย่นต์ และระบบขายพ่วง (สุราพ่วงเบียร์ สุราพ่วงโซดา) ที่เข้มแข็งนั้นเดินหน้าธุรกิจต่อไปจากนั้นก็ต่อเนื่องเข้าสู่ธุรกิจเบียร์ (เบียร์ช้าง และเบียร์คาร์ลสเบอร์ก) ซึ่ง เสริมกับค้าสุราได้อย่างกลมกลืน ภายใต้โครงสร้างการแข่งขันที่ดุเดือดของธุรกิจนี้ นำเอาโมเดลการค้าสุรามาทำให้ความสามารถในการแข่งขันอยู่ได้ ซึ่งถือว่าเบียร์ช้าง เป็นคู่แข่งทางการตลาดของเบียร์สิงห์โดยตรง
ปี พ.ศ. 2537 ได้เข้าซื้อกิจการกลุ่มโรงแรมอิมพีเรียล ที่มีโรงแรมในเครือจำนวนมากจากนายอากร ฮุนตระกูล และจากนั้นก็ขยายธุรกิจอย่างไม่เคยหยุดยั้ง จนกระทั่งถึงปัจจุบันนี้
ตำแหน่งทางธุรกิจในปัจจุบัน
[แก้]- ประธานกรรมการ บริษัท ทีซีซี แอสเสท เวิร์ด คอร์ปอเรชั่น จำกัด
- ประธานกรรมการ บริษัท บิ๊กซี ซูเปอร์เซ็นเตอร์ จำกัด (มหาชน)
- ประธานกรรมการ เฟรเซอร์ส เซ็นเตอร์พอยต์ ลิมิเต็ด
- ประธานกรรมการ เฟรเซอร์ แอนด์ นีฟ, ลิมิเต็ด
- ประธานกรรมการ บริษัท สิริวนา จำกัด
- ประธานกรรมการ กลุ่มบริษัทสุรากระทิงแดง
- ประธานกรรมการ และ ประธานกรรมการบริหาร บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน)
- ประธานกรรมการ บริษัท เบียร์ไทย (1991) จำกัด (มหาชน)
- ประธานกรรมการ บริษัท ทีซีซี แลนด์ จำกัด
- ประธานกรรมการ และ ประธานกรรมการบริหาร บริษัท เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ จำกัด (มหาชน)
- ประธานกรรมการ บริษัท เครืออาคเนย์ จำกัด
- ประธานกรรมการ บริษัท ทีซีซี คอร์ปอเรชั่น จำกัด
- ประธานกรรมการ มูลนิธิสิริวัฒนภักดี
- ประธานกรรมการ บริษัท นครชื่น จำกัด[8]
- รองประธานกิตติมศักดิ์ ชมรมพิทักษ์หัวหินในพระราชูปถัมภ์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี[9]
ยศ
[แก้]- นายกองเอก[10]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย
[แก้]- พ.ศ. 2539 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[11]
- พ.ศ. 2538 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[12]
- พ.ศ. 2538 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ชั้นที่ 1 ปฐมดิเรกคุณาภรณ์ (ป.ภ.)[13]
- พ.ศ. 2546 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 2 ทุติยจุลจอมเกล้า (ท.จ.) (ฝ่ายหน้า)[14]
- พ.ศ. 2564 – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 10 ชั้นที่ ๔ (ว.ป.ร.๔)[15]
ต่างประเทศ
[แก้]ดูเพิ่ม
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ โครงสร้างการบริหาร
- ↑ รายนามสมาชิกสมาคมวัฒนธรรมและเศรษฐกิจไทย-จีน
- ↑ มูลนิธิอนุรักษ์ป่าไม้
- ↑ "50 อันดับมหาเศรษฐีของไทย". นิตยสารฟอบส์. สืบค้นเมื่อ 26 ตุลาคม 2024.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ รายงานประจำปี 2560
- ↑ ประวัติกรรมการบริษัท
- ↑ ประวัติ เจริญ สิริวัฒนภักดี
- ↑ คำเสนอซื้อหลักทรัพย์
- ↑ "รายชื่อกรรมการชมรมพิทักษ์หัวหิน". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-10-22. สืบค้นเมื่อ 2018-06-21.
- ↑ ตำแหน่งนายกองเอก
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2014-04-13 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๓ ตอนที่ ๒๒ ข หน้า ๗, ๔ ธันวาคม ๒๕๓๙
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2010-02-02 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๒ ตอนที่ ๑๗ ข หน้า ๖, ๔ ธันวาคม ๒๕๓๘
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2013-10-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๒ ตอนที่ ๑๗ ข หน้า ๒, ๔ ธันวาคม ๒๕๓๘
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า เก็บถาวร 2016-03-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๐ ตอนที่ ๙ ข หน้า ๒, ๔ พฤษภาคม ๒๕๔๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศ เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์, เล่ม ๑๓๘ ตอนที่ ๓ ข หน้า ๔, ๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๔
- ↑ "Semakan Penerima Darjah Kebesaran, Bintang dan Pingat". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-07-19. สืบค้นเมื่อ 2020-04-23.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2487
- บุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่
- ชาวไทยเชื้อสายแต้จิ๋ว
- นักธุรกิจชาวไทย
- บุคคลจากคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
- ผู้ได้รับปริญญากิตติมศักดิ์จากมหาวิทยาลัยแม่โจ้
- ผู้ได้รับปริญญากิตติมศักดิ์จากมหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม
- บุคคลจากมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
- บุคคลจากมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย
- ผู้ได้รับปริญญากิตติมศักดิ์จากมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง
- ผู้ได้รับปริญญากิตติมศักดิ์จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ
- ผู้ได้รับปริญญากิตติมศักดิ์จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ป.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ป.ภ.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ท.จ. (ฝ่ายหน้า)
- มหาเศรษฐีชาวไทย
- บุคคลจากโรงเรียนเผยอิง
- บุคคลจากเขตสัมพันธวงศ์
- ตระกูลสิริวัฒนภักดี