ข้ามไปเนื้อหา

ชาวยั้ง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ยั้ง
ประชากรทั้งหมด
ไม่ทราบ
ภูมิภาคที่มีประชากรอย่างมีนัยสำคัญ
 ลาว5,843 คน (พ.ศ. 2558)[1]
 เวียดนามไม่ทราบ
 ไทยไม่ทราบ
ภาษา
ยั้ง · ลาว · ไทลื้อ
ศาสนา
ผี
กลุ่มชาติพันธุ์ที่เกี่ยวข้อง
ไทลื้อ · ไทดำ · ไทขาว · ลาว

ยั้ง (ลาว: ຢັ້ງ) หรือ ไทยั้ง (ลาว: ໄຕຢັ້ງ) เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ไทกลุ่มหนึ่ง อาศัยอยู่แขวงอุดมไซ[2][3] แขวงหลวงน้ำทา[4] และแขวงพงสาลี[5] ทางตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศลาว พวกเขามีภาษาและวัฒนธรรมเฉพาะของตนเอง โดยภาษายั้งนั้นจัดอยู่ในตระกูลภาษาไท เช่นเดียวกับภาษาไทลื้อและภาษาลาว[3] ชาวยั้งอาจมีความสัมพันธ์กับชาวปู้ยัง (จีน: 布央) ในมณฑลยูนนาน ประเทศจีน[6] หรือกับชาวญั่ง (เวียดนาม: Nhắng) ชาติพันธุ์ทางตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศเวียดนาม[7]

โดยชื่อ "ยั้ง" คือคำว่า หยุด หรือ หยุดยั้ง ในภาษาไทย[3] ปัจจุบันมีชาวยั้งอาศัยอยู่ที่เมืองไซและเมืองแบง แขวงอุดมไซ พวกเขาอาศัยอยู่ร่วมกับชนเผ่าอื่นอย่างเป็นสุขตามอัตภาพ[2] ใน พ.ศ. 2558 มีประชากรชาวยั้งในประเทศลาวทั้งหมด 5,843 คน[1] โดยใน พ.ศ. 2557 เฉพาะเมืองนาหม้อในแขวงอุดมไซ มีชาวยั้งอาศัยอยู่ทั้งหมด 875 คน[3]

ประวัติ[แก้]

เดิมชาวยั้งอาศัยอยู่ทางตอนใต้ของประเทศจีน ก่อนเคลื่อนตัวลงมาตั้งรกรากที่จังหวัดเซินลา จังหวัดลายเจิว และจังหวัดหล่าวกาย ทางตอนเหนือของประเทศเวียดนาม หลังจากนั้นก็อพยพลงมาตั้งรกรากที่แขวงอุดมไซ แขวงหลวงน้ำทา และแขวงพงสาลี ทางตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศลาว โดยลงหลักปักฐานที่พื้นที่ดังกล่าวมานานนับศตวรรษแล้ว ประกอบอาชีพกสิกรรม จำพวกข้าวเหนียว มัน เผือก ข้าวสาลี บ้างก็ประกอบอาชีพเชิงหัตถกรรม เช่น ทอผ้า หรือตีเหล็ก[3]

ชาวยั้งนับถือศาสนาผี เคารพบูชาบรรพชน โดยเฉพาะผีพ่อ ผีแม่ ผีบ้านผีเรือน และผีอื่น ๆ พวกเขาให้การนับถือหมอผีในฐานะผู้เป็นที่พึ่งทางใจ มีพิธีกรรมเป็นระบบซับซ้อน เช่น การปลูกเรือน การแต่งงาน การหย่าร้าง และงานบุญกินเจียง ซึ่งเป็นวัฒนธรรมร่วมรากกับชาวฮ่อ อาข่า และไทดำ[3]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 "Results of Population and Housing Census 2015" (PDF). Lao Statistics Bureau. สืบค้นเมื่อ 1 May 2020.
  2. 2.0 2.1 ລານກ້ອມ (มีนาคม 2538). ແກະຮອຢໃບລານ ໃນດິນແດນອຸດົມໄຊ (PDF) (ภาษาลาว). ໂຄງການປົກປັກຮັກສາໜັງສືລາວ ການຮ່ວມມືລາວ–ເຢຢຣະມັນ (ປີທີ III ສະບັບ 6). p. 2.
  3. 3.0 3.1 3.2 3.3 3.4 3.5 "ເຜົ່າຢັ້ງໜື່ງໃນ 12 ເຜົ່າ ດຳລົງຊີວິດຢູ່ແຂວງອຸດົມໄຊ". CRI Online (ภาษาลาว). 16 ธันวาคม 2557. สืบค้นเมื่อ 30 มิถุนายน 2567. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  4. ທະວີສັກ ໃບລາສີ. "ໄປທ່ຽວຫຼວງນໍ້າທາ ຫາສຳຜັດວິຖີຊີວິດ 17 ຊົນເຜົ່າ". ລາວສຕາຣ໌ (ภาษาลาว). สืบค้นเมื่อ 30 มิถุนายน 2567. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  5. "ຜົ້ງສາລີ ປະກວດອາພອນເພດຊົງລາວບັນດາເຜົ່າ". ສຳນັກຂ່າວສານປະເທດລາວ (ภาษาลาว). 23 กรกฎาคม 2558. สืบค้นเมื่อ 30 มิถุนายน 2567. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  6. Outlying Kam-Tai: notes on Ta Mit Laha.
  7. Doling, Tim. 2010. Mountains and Ethnic Minorities: North West Việt Nam. Hà Nội: Thế Giới Publishers.