การประชุมยอลตา
Yalta Conference Crimean Conference Argonaut Conference | |||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
"ผู้ยิ่งใหญ่ทั้งสาม" ที่การประชุมยอลตา (แถวนั่งจากซ้ายไปขวา) วินสตัน เชอร์ชิลล์ แฟรงคลิน โรเซอเวลต์ และโจเซฟ สตาลิน
| |||||||||||||||||||||
|
การประชุมยอลตา บ้างเรียก การประชุมไครเมีย และชื่อรหัสว่า การประชุมอาร์โกนอต (Argonaut Conference) จัดระหว่างวันที่ 4 ถึง 11 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1945 เป็นการประชุมหัวหน้ารัฐบาลในสงครามโลกครั้งที่สองของสหรัฐ สหราชอาณาจักรและสหภาพโซเวียต โดยมีประธานาธิบดีแฟรงคลิน ดี. โรเซอเวลต์, นายกรัฐมนตรีวินสตัน เชอร์ชิลล์ และนายกรัฐมนตรีโจเซฟ สตาลินเป็นผู้แทนตามลำดับ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่ออภิปรายการจัดระเบียบหลังสงครามของทวีปยุโรป การประชุมจัดในพระราชวังลีวาเดียใกล้ยอลตาในคาบสมุทรไครเมีย
การประชุมนี้เจตนาอภิปรายการตั้งชาติอีกครั้งในทวีปยุโรปที่ได้รับผลจากสงคราม ภายในไม่กี่ปี ด้วยสงครามเย็นแบ่งทวีปยุโรป ยอลตากลายเป็นประเด็นการโต้เถียงอย่างเข้มข้น และบางส่วนยังเป็นข้อถกเถียงตราบจนทุกวันนี้
ยอลตาเป็นการประชุมยามสงครามครั้งที่สองจากสามครั้งในบรรดาสามชาติใหญ่ (Big Three) ก่อนหน้านี้มีการประชุมเตหะรานใน ค.ศ. 1943 หลังจากนี้มีการประชุมพ็อทซ์ดัมในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 1945 ซึ่งมีผู้เข้าร่วมได้แก่ สตาลิน เชอร์ชิลล์ (คลีเมนต์ แอตต์ลีย์ นายกรัฐมนตรีบริติชที่เพิ่งได้รับเลือกตั้ง เข้าเปลี่ยนตัวกลางคัน) และแฮร์รี เอส. ทรูแมน ผู้สืบทอดของโรเซอเวลต์
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- Minutes of the conference Combined Arms Research Library