ข้ามไปเนื้อหา

สงครามนโปเลียน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก Napoleonic Wars)
สงครามนโปเลียน
Napoleonic Warsสงครามสหสัมพันธมิตรครั้งที่สามสงครามสหสัมพันธมิตรครั้งที่สี่สงครามสหสัมพันธมิตรครั้งที่สี่สงครามคาบสมุทร#การทัพโปรตุเกสครั้งที่สามสงครามคาบสมุทรสงครามสหสัมพันธมิตรครั้งที่ห้าการรุกรานรัสเซียโดยฝรั่งเศสการทัพเยอรมนี ค.ศ. 1813การทัพในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของฝรั่งเศส (ค.ศ. 1814)สมัยร้อยวัน
Napoleonic Wars

กดที่รูปภาพเพื่อแสดงการทัพ
จากซ้ายไปขวา จากบนลงล่าง:
ยุทธการที่เอาสเทอร์ลิทซ์, เบอร์ลิน, ฟรีดลันด์, ลิสบอน, มาดริด, เวียนนา, มอสโก, ไลพ์ซิช, ปารีส, วอเตอร์ลู
วันที่18 พฤษภาคม ค.ศ. 1803 (1803-05-18)20 พฤศจิกายน ค.ศ. 1815 (1815-11-20)
สถานที่
ผล ชัยชนะของสัมพันธมิตร
เกิดการประชุมแห่งเวียนนา
ผลลัพธ์เต็ม
คู่สงคราม
ฝ่ายสัมพันธมิตร:
จักรวรรดิฝรั่งเศสและพันธมิตร:
สาธารณรัฐฝรั่งเศส (จนถึง ค.ศ. 1804)
จักรวรรดิฝรั่งเศส (ตั้งแต่ ค.ศ. 1804)

ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ


กำลัง
  • รัสเซีย: ทหารประจำการ, ทหารคอสแซคและทหารอาสา สูงสุด 900,000 นาย[16]
  • ปรัสเซีย: ทหารประจำการและทหารอาสา สูงสุด 320,000 นาย[17]
  • สหราชอาณาจักร: ทหารประจำการและทหารอาสา สูงสุด 250,000 นาย[18][ต้องการอ้างอิง]
  • ออสเตรีย, สเปน, โปรตุเกส, สวีเดนและรัฐสหสัมพันธมิตรอื่น ๆ : ทหารประจำการและทหารอาสา สูงสุด 1,000,000 - 2,000,000 นาย
รวมทหารประจำการและทหารอาสาทั้งหมด: สูงสุด 3,000,000 นาย
  • ฝรั่งเศส: ทหารประจำการและทหารอาสา สูงสุด 1,200,000 นาย[19]
  • รัฐบริวารและพันธมิตร: ทหารประจำการและทหารอาสา สูงสุด 500,000 - 1,000,000 นาย
รวมทหารประจำการและทหารอาสาทั้งหมด: สูงสุด 2,000,000 นาย
ความสูญเสีย
  • ออสเตรีย: เสียชีวิตขณะปฏิบัติหน้าที่ 550,220 นาย (ค.ศ. 1792–1815)[20][21] (ไม่ทราบจำนวนทั้งหมด)
  • สเปน: เสียชีวิตขณะปฏิบัติหน้าที่ มากกว่า 300,000 นาย[22] และเสียชีวิตจากทุกกรณี 586,000 นาย[23]
  • รัสเซีย: เสียชีวิตขณะปฏิบัติหน้าที่ 289,000 นาย[21] (ไม่ทราบจำนวนทั้งหมด)
  • ปรัสเซีย: เสียชีวิตขณะปฏิบัติหน้าที่ 134,000 นาย[21] (ไม่ทราบจำนวนทั้งหมด)
  • สหราชอาณาจักร: เสียชีวิตขณะปฏิบัติหน้าที่ 32,232 นาย[24] และเสียชีวิตจากอาการบาดเจ็บ, โรค, อุบัติเหตุและกรณีอื่น ๆ 279,574 นาย[24]
  • โปรตุเกส: เสียชีวิตหรือสูญหาย 250,000 นายขึ้นไป[25]
  • อิตาลี: เสียชีวิตขณะปฏิบัติหน้าที่ 120,000 นาย[22]
  • ออตโตมัน: เสียชีวิตขณะปฏิบัติหน้าที่ 50,000 นาย[26]
    เสียชีวิตทั้งหมด: 2,500,000 คน

ฝรั่งเศส: เสียชีวิตขณะปฏิบัติหน้าที่ 306,000 นาย [27] เสียชีวิตจากอาการบาดเจ็บ, อุบัติเหตุหรือโรค 800,000 นาย[28]

  • พันธมิตร: เสียชีวิตขณะปฏิบัติหน้าที่ 65,000 นาย[28]
  • พลเรือนเสียชีวิต 600,000 ราย[28]
    เสียชีวิตทั้งหมด: 1,800,000 คน[29]
  1. Was a commander for the French Empire, as Marshal Jean-Baptiste Bernadotte, ค.ศ. 1804–1810.
    1. ค.ศ. 1805, ค.ศ. 1809, ค.ศ. 1813–1815
    2. ค.ศ. 1806–1807, ค.ศ. 1813–1815
    3. ค.ศ. 1804–1807, ค.ศ. 1812–1815
    4. ค.ศ. 1808–1815
    5. ค.ศ. 1804–1809, ค.ศ. 1812–1815
    6. ค.ศ. 1800–1807, ค.ศ. 1809–1815
    7. 7.0 7.1 7.2 ค.ศ. 1813–1815
    8. 8.0 8.1 8.2 8.3 8.4 ค.ศ. 1815
    9. ค.ศ. 1809
    10. ค.ศ. 1806–1807, ค.ศ. 1813–1814
    11. 11.0 11.1 11.2 11.3 ค.ศ. 1807–1812
    12. ค.ศ. 1806–1815
    13. ค.ศ. 1808–1813
    14. ค.ศ. 1809–1813
    15. ค.ศ. 1807–1814
    16. ค.ศ. 1804–1807, 1812–1813
    17. ค.ศ. 1803–1808
    18. 18.0 18.1 จนถึงก่อนยุทธการไลพ์ซิกใน ค.ศ. 1813
    19. จนถึง ค.ศ. 1813

สงครามนโปเลียน (ฝรั่งเศส: Guerres napoléoniennes; ค.ศ. 1803 – 1815) เป็นหนึ่งในความขัดแย้งที่สำคัญในระดับโลกที่เกิดขึ้นระหว่างจักรวรรดิฝรั่งเศสและพันธมิตร ซึ่งนำโดยจักรพรรดินโปเลียนที่ 1 ต่อกรกับรัฐต่าง ๆ ในยุโรปที่ดูผันผวนซึ่งได้รวมตัวกันเป็นพันธมิตรที่หลากหลาย ซึ่งได้รับการสนับสนุนทางการเงินและนำโดยสหราชอาณาจักร และทำให้เกิดช่วงเวลาที่ฝรั่งเศสปกครองเหนือยุโรปภาคพื้นทวีปเป็นส่วนใหญ่ สงครามครั้งนี้เกิดจากข้อพิพาทที่ยังไม่ได้รับการแก้ไขที่เกี่ยวข้องกับการปฏิวัติฝรั่งเศสและผลลัพธ์ของความขัดแย้งครั้งนี้ สงครามมักแบ่งออกเป็นความขัดแย้งห้าครั้ง แต่ละครั้งจะเรียกตามชื่อสหสัมพันธมิตรที่ต่อสู้กับนโปเลียน ประกอบด้วย: สหสัมพันธมิตรครั้งที่สาม (ค.ศ. 1805-06) ครั้งที่สี่ (ค.ศ. 1806–07) ครั้งที่ห้า (ค.ศ. 1809) ครั้งที่หก (ค.ศ. 1813–14) และครั้งที่เจ็ด (ค.ศ. 1815) ซึ่งรวมไปถึงสงครามคาบสมุทร (ค.ศ. 1807–14) และการรุกรานรัสเซียโดยฝรั่งเศส (ค.ศ. 1812)

เมื่อนโปเลียนได้ก้าวขึ้นดำรงตำแหน่งกงสุลคนแรกของฝรั่งเศสใน ค.ศ. 1799 ได้รับช่วงต่อจากสาธารณรัฐอันวุ่นวาย ต่อมาเขาได้สร้างรัฐที่มีการเงินที่มั่นคง ระบบราชการที่แข็งแกร่ง และกองทัพที่ได้รับการฝึกฝนมาเป็นอย่างดี ใน ค.ศ. 1805 ออสเตรียและรัสเซียได้จัดตั้งสหสัมพันธมิตรครั้งที่สามและทำสงครามกับฝรั่งเศส ในการตอบโต้ นโปเลียนได้เอาชนะกองทัพรัสเซีย-ออสเตรียที่เป็นพันธมิตรกันที่เอาสเทอร์ลิทซ์ในเดือนธันวาคม ค.ศ. 1805 ซึ่งถือว่าเป็นชัยชนะที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของพระองค์ ในทางด้านทะเล บริติชได้เอาชนะกองทัพเรือร่วมกันของฝรั่งเศส-สเปนอย่างหนักหน่วงในยุทธนาวีที่ตราฟัลการ์ เมื่อวันที่ 21 ตุลาคม ค.ศ. 1805 ชัยชนะครั้งนี้ทำให้อังกฤษสามารถควบคุมทางทะเลและป้องกันเกาะอังกฤษจากการถูกบุกครอง ด้วยความกังวลเกี่ยวกับการเพิ่มอำนาจของฝรั่งเศส ปรัสเซียเป็นผู้นำในการก่อตั้งสหสัมพันธมิตรครั้งที่สี่กับรัสเซีย ซัคเซิน และสวีเดน และการเริ่มต้นของสงครามในเดือนตุลาคม ค.ศ. 1806 นโปเลียนได้เอาชนะปรัสเซียอย่างรวดเร็วที่เจนาและรัสเซียที่ฟรายด์ลันด์ ได้นำพาความสงบสุขที่ไม่สบายใจมาสู่ทวีป แม้ว่าสันติภาพจะล้มเหลว เมื่อสงครามได้ปะทุขึ้นมาใน ค.ศ. 1809 เมื่อสหสัมพันธมิตรครั้งที่ห้าซึ่งเตรียมการที่แย่ นำโดยออสเตรีย ซึ่งพ่ายแพ้อย่างรวดเร็วที่วากรัม

ด้วยความหวังที่จะแบ่งแยกและทำให้บริติชอ่อนแลลงทางเศรษฐกิจผ่านทางระบบภาคพื้นทวีป นโปเลียนได้เปิดฉากการบุกครองโปรตุเกสซึ่งเป็นพันธมิตรเพียงหนึ่งเดียวของอังกฤษที่เหลืออยู่ในทวีปยุโรป ภายหลังจากการยึดครองลิสบอนในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 1807 และด้วยกองทหารฝรั่งเศสจำนวนมากที่อยู่ในสเปน นโปเลียนจึงฉวยโอกาสในการจัดการกับสเปน อดีตพันธมิตรของพระองค์ ซึ่งได้ทำการขับไล่ราชวงศ์สเปนที่ปกครองอยู่ออกไปและประกาศให้พระเชษฐาของพระองค์ขึ้นครองราชย์เป็นพระมหากษัตริย์แห่งสเปนแทนใน ค.ศ. 1808 เป็นพระเจ้าโฮเซที่ 1 สเปนและโปรตุเกสได้ออกมาลุกฮือโดยได้รับการสนับสนุนจากบริติชและขับไล่ฝรั่งเศสออกจากคราบสมุทรไอบีเรียในปี ค.ศ. 1814 ภายหลังจากหกปีของการสู้รบ

ในขณะเดียวกัน รัสเซียไม่เต็มใจที่จะแบกรับผลกระทบทางเศรษฐกิจจากการค้าที่ลดลงและละเมิดระบบทวีปอยู่เป็นประจำ ทำให้นโปเลียนเปิดฉากการบุกครองรัสเซียครั้งใหญ่ในปี ค.ศ. 1812 ผลลัพธ์ของการทัพครั้งนี้ได้จบลงด้วยหายนะและความพินาศย่อยยับของกองทัพใหญ่ของนโปเลียน

ด้วยแรงบันดาลใจจากความพ่ายแพ้ ออสเตรีย ปรัสเซีย และรัสเซียได้ก่อตั้งสหสัมพันธมิตรครั้งที่หกและเริ่มการทัพครั้งใหม่เพื่อต่อกรกับฝรั่งเศส โดยเอาชนะนโปเลียนที่ไลพ์ซิชอย่างเด็ดขาดในเดือนตุลาคม ค.ศ. 1813 ภายหลังจากการสู้รบที่ยังหาบทสรุปไม่ได้หลายครั้ง จากนั้นฝ่ายสัมพันธมิตรก็ได้บุกครองฝรั่งเศสจากทางด้านตะวันออก ในขณะที่สงครามคาบสมุทรได้แผ่ขยายออกไปทางตะวันตกเฉียงใต้ของฝรั่งเศส กองทัพฝ่ายสัมพันธมิตรได้เข้ายึดกรุงปารีสไว้ได้ เมื่อปลายเดือนมีนาคม ค.ศ. 1814 และบีบบังคับให้นโปเลียนสละราชบังลังก์ในเดือนเมษายน พระองค์ถูกเนรเทศไปยังเกาะเอลบาและราชวงศ์บูร์บงได้รับการฟื้นฟูกลับมาเข้าสู่อำนาจอีกครั้ง แต่นโปเลียนได้หลบหนีออกมาในในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 1815 และกลับเข้ามาควบคุมฝรั่งเศสอีกครั้งจากราวหนึ่งร้อยวัน ภายหลังจากการก่อตั้งสหสัมพันธมิตรครั้งที่เจ็ด ฝ่ายสัมพันธมิตรได้เอาชนะพระองค์อย่างถาวรที่วอเตอร์ลูในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 1815 และเนรเทศพระองค์ไปยังเกาะเซนต์เฮเลนา ซึ่งพระองค์ได้สวรรคตในอีกหกปีต่อมา[30]

การประชุมใหญ่แห่งเวียนนาได้ทำให้ชายแดนของทวีปยุโรปได้ถูกเขียนขึ้นใหม่และนำมาซึ่งช่วงเวลาแห่งความสงบสุข สงครามได้ส่งผลกระทบอย่างมากต่อประวัติศาสตร์โลก รวมทั้งการแพร่กระจายของลัทธิชาตินิยมและเสรีนิยม การเถลิงอำนาจของบริติชในฐานะที่เป็นมหาอำนาจที่มีทั้งอำนาจควบคุมทางทะเลและเศรษฐกิจที่สำคัญที่สุดของโลก การปรากฏตัวของขบวนการเพื่อเรียกร้องเอกราชในละตินอเมริกา และการล่มสลายของจักรวรรดิสเปนและจักรวรรดิโปรตุเกสในเวลาต่อมา การปรับโครงสร้างพื้นฐานของดินแดนเยอรมันและอิตาลีทำให้กลายเป็นรัฐขนาดใหญ่มากขึ้น และการได้รับแนะนำวิธีการใหม่ ๆ ในการทำสงคราม แต่ยังรวมไปถึงกฎหมายทางแพ่งอีกด้วย

ภาพรวม

[แก้]

นโปเลียนได้กระทำการยึดอำนาจใน ค.ศ. 1799 ซึ่งก่อให้เกิดเผด็จการทหาร[31] โดยมีข้อคิดเห็นอยู่หลายประการเกี่ยวกับวันและเวลาที่จะนำมาใช้เป็นจุดเริ่มต้นของสงครามนโปเลียนอย่างเป็นทางการ ซึ่งวันที่ 18 พฤษภาคม ค.ศ. 1803 มักถูกนำไปใช้ หลังจากที่บริเตนและฝรั่งเศสยุติช่วงเวลาแห่งสันติภาพซึ่งเป็นเพียงแค่ระยะเวลาสั้น ๆ ที่ดำรงอยู่ระหว่าง ค.ศ. 1792 ถึง ค.ศ. 1814 เพียงเท่านั้น[32] สงครามนโปเลียนเริ่มต้นด้วยสงครามสหสัมพันธมิตรครั้งที่สาม ซึ่งเป็นสงครามสหสัมพันธมิตรที่ต่อกรกับสาธารณรัฐฝรั่งเศสที่หนึ่งเป็นครั้งแรก หลังจากที่นโปเลียนขึ้นมาเป็นผู้นำของฝรั่งเศส

บริเตนได้ยุติสนธิสัญญาอาเมียงและได้ประกาศสงครามกับฝรั่งเศสในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1803 ในบรรดาสาเหตุอยู่หลายประการ หนึ่งในนั้นคือการเปลี่ยนแปลงของนโปเลียนต่อระบบในยุโรปตะวันตก โดยเฉพาะในสวิตเซอร์แสนด์ เยอรมนี อิตาลีและเนเธอร์แลนด์ นักประวัติศาสตร์อย่าง เฟรเดอริค คากาน ได้ออกมาให้เหตุผลว่า บริเตนรู้สึกโกรธเคือง โดยเฉพาะกับการอ้างสิทธิ์เกี่ยวกับการควบคุมสวิตเซอร์แลนด์ของนโปเลียน นอกจากนี้ บริเตนยังรู้สึกเหมือนถูกเหยียดหยาม เมื่อนโปเลียนได้กล่าวว่า "ดินแดนของพวกเขาไม่สมควรที่จะมีสิทธิ์มีเสียงในกิจของยุโรป" ถึงแม้ว่าพระเจ้าจอร์จที่ 3 จะทรงเป็นผู้คัดเลือกของจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ก็ตาม ในส่วนของรัสเซียนั้น รัสเซียตัดสินใจที่จะเข้าแทรกแซงสวิตเซอร์แลนด์ ซึ่งเป็นการบ่งชี้ว่านโปเลียนไม่ได้มองหาข้อแก้ไขเกี่ยวกับความแตกต่างระหว่างนโปเลียน กับชาติมหาอำนาจในยุโรปอื่น ๆ โดยวิธีอย่างสันติ[32]

บริเตนบังคับให้รีบปิดล้อมทะเลของฝรั่งเศส เพื่อให้ฝรั่งเศสขาดแคลนทรัพยากร นโปเลียนจึงได้ทำการตอบโต้ด้วยการคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจต่อบริเตน และพยายามที่จะกำจัดพันธมิตรภาคพื้นทวีปของบริเตน เพื่อทำลายพันธมิตรที่จะต่อต้านนโปเลียน ในชื่อ ระบบภาคพื้นทวีป ในขณะเดียวกัน ก็มีการก่อตั้งสันนิบาตกองกำลังไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใดขึ้น เพื่อขัดขวางการปิดล้อมทางทะเลของบริเตนและการบังคับใช้การค้าเสรีกับฝรั่งเศส บริเตนจึงตอบโต้ด้วยการยึดกองเรือเดนมาร์กเพื่อเป็นการทำลายสันนิบาต และในเวลาต่อมาบริเตนได้ครอบครองอำนาจเหนือทะเล ทำให้บริเตนสามารถดำเนินกลยุทธ์ได้อย่างอิสระ แต่นโปเลียนกลับได้รับชัยชนะในสงครามสหสัมพันธมิตรครั้งที่สามที่เอาสเทอร์ลิทซ์ ซึ่งเป็นการบังคับให้จักรวรรดิออสเตรียออกจากสงคราม และทำการยุบจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์อย่างเป็นทางการ ซึ่งภายในเวลาไม่กี่เดือน ปรัสเซียได้ทำการประกาศสงครามต่อฝรั่งเศส ก่อให้เกิดสงครามสหสัมพันธมิตรครั้งที่สี่ สงครามครั้งนี้จบลงด้วยความย่อยยับของปรัสเซีย ซึ่งภายใน 19 วัน นับตั้งแต่เริ่มการทัพ ปรัสเซียได้รับความพ่ายแพ้และถูกยึดครองดินแดน ต่อมานโปเลียนสามารถเอาชนะรัสเซียที่ฟรีดลันด์ ซึ่งสามารถสร้างรัฐบริวารที่มีอำนาจในยุโรปตะวันออก และทำให้สงครามสหสัมพันธมิตรครั้งที่สี่สิ้นสุดลง

ในขณะเดียวกัน การที่โปรตุเกสปฏิเสธที่จะเข้าร่วมระบบภาคพื้นทวีปและสเปนล้มเหลวในการรักษาระบบดังกล่าว จึงส่งผลให้เกิดสงครามคาบสมุทร และทำให้สงครามสหสัมพันธมิตรครั้งที่ห้าก็ได้ปะทุขึ้น ฝรั่งเศสได้เข้ายึดครองสเปนและสถาปนาราชอาณาจักรบริวารสเปน ซึ่งทำให้ความเป็นพันธมิตรระหว่างทั้งสองสิ้นสุดลง ภายหลังจากที่ความพยายามในการยึดเมืองแอนต์เวิร์ปนั้นล้มเหลวได้ไม่นานนัก บริเตนก็ได้แทรกแซงจำนวนมากในสงครามที่สู้รบกันคาบสมุทรไอบีเรีย นโปเลียนได้เข้ามาควบคุมสถานการณ์ในคาบสมุทรไอบีเรีย ฝรั่งเศสสามารถเอาชนะสเปนและขับไล่บริเตนให้ออกจากคาบสมุทร ออสเตรียซึ่งกระตือรือร้นกับการกอบกู้ดินแดนที่สูญเสียไปในสงครามสหสัมพันธมิตรครั้งที่สาม ก็ได้รุกรานรัฐบริวารของฝรั่งเศสซึ่งอยู่ในยุโรปตะวันออก นโปเลียนสามารถเอาชนะสหสัมพันธมิตรครั้งที่ห้าที่วากรัม

เนื่องด้วยความโกรธเคืองของสหรัฐต่อการกระทำของกองเรือบริเตน นั่นจึงทำให้สหรัฐประกาศสงครามต่อสหราชอาณาจักร ในชื่อสงคราม ค.ศ. 1812 แต่สหรัฐกลับไม่ได้เป็นพันธมิตรของฝรั่งเศส และด้วยความคับข้องใจเกี่ยวกับการปกครองโปแลนด์ ประกอบกับการที่รัสเซียถอนตัวออกจากระบบภาคพื้นทวีป จึงนำไปสู่การรุกรานรัสเซียโดยนโปเลียนในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 1812 การรุกรานในครั้งนี้ถือว่าเป็นหายนะอย่างไม่ลดละสำหรับนโปเลียน ด้วยกลยุทธ์ผลาญภพ การถอยทัพเข้าไปในดินแดนลึกของรัสเซีย ความล้มเหลวทางกลยุทธ์ของฝรั่งเศส และการเริ่มต้นฤดูหนาวของรัสเซีย จึงทำให้นโปเลียนต้องถอยทัพพร้อมกับความสูญเสียอย่างมหาศาล นโปเลียนต้องประสบกับความพ่ายแพ้ที่เพิ่มมากขึ้น เมื่ออำนาจของฝรั่งเศสที่อยู่ในคาบสมุทรไอบีเรียถูกทำลายลงในยุทธการที่บิตอเรีย ในฤดูร้อนของปีถัดมา และสหสัมพันธมิตรครั้งใหม่ก็ได้เริ่มต้นสงครามสหสัมพันธมิตรครั้งที่หก

ฝ่ายสหสัมพันธมิตรสามารถเอาชนะนโปเลียนที่ไลพ์ซิช ซึ่งทำให้พระองค์ทรงสูญเสียพระอำนาจ และในท้ายที่สุด พระองค์ก็ทรงสละราชสมบัติในวันที่ 6 เมษายน ค.ศ. 1814 ฝ่ายของผู้ชนะในสงครามได้เนรเทศนโปเลียนไปยังเกาะเอลบา และทำการฟื้นฟูราชวงศ์บูร์บง นโปเลียนสามารถหลบหนีออกจากเกาะเอลบาได้ใน ค.ศ. 1815 โดยได้ทำการรวบรวมการสนับสนุน เพื่อให้มีมากพอสำหรับการล้มล้างราชาธิปไตยของพระเจ้าหลุยส์ที่ 18 อันก่อให้เกิดสหสัมพันธมิตรครั้งที่เจ็ด และเป็นครั้งสุดท้ายที่ต่อกรกับนโปเลียน นโปเลียนพ่ายแพ้อย่างราบคาบที่วอเตอร์ลู และพระองค์ก็ทรงสละราชสมบัติอีกครั้งในวันที่ 22 มิถุนายน นโปเลียนได้ยอมจำนนต่อบริเตนที่เมืองรอชฟอร์ในวันที่ 15 กรกฎาคม และถูกเนรเทศไปยังเกาะเซนต์เฮเลนาอันห่างไกลเป็นการถาวร สนธิสัญญาปารีสได้รับการลงนามในวันที่ 20 พฤศจิกายน ค.ศ. 1815 อันเป็นการยุติสงครามนโปเลียนอย่างเป็นทางการ

ภูมิหลัง

[แก้]

วันเริ่มของสงครามและการตั้งชื่อ

[แก้]

กลยุทธ์การรบของนโปเลียน

[แก้]

หมายเหตุ

[แก้]
  1. The term "Austrian Empire" came into use after Napoleon crowned himself Emperor of the French in 1804, whereby Francis II, Holy Roman Emperor took the title Emperor of Austria (Kaiser von Österreich) in response. The Holy Roman Empire was dissolved in 1806, and consequently "Emperor of Austria" became Francis' primary title. For this reason, "Austrian Empire" is often used instead of "Holy Roman Empire" for brevity's sake when speaking of the Napoleonic Wars, even though the two entities are not synonymous.
  2. ทั้งออสเตรียและปรัสเซียเป็นพันธมิตรกับฝรั่งเศสอยู่ชั่วระยะหนึ่งและส่งกองทัพไปสนับสนุนการรุกรานรัสเซียของฝรั่งเศสในปี ค.ศ. 1812
  3. รัสเซียเป็นพันธมิตรกับฝรั่งเศสหลังจากสนธิสัญญาทิลซิทในปี ค.ศ. 1807 แต่มายุติลงในปี ค.ศ. 1810 ที่ทำให้ฝรั่งเศสเข้ารุกรานรัสเซียในปี ค.ศ. 1812 ในช่วงนั้นรัสเซียก็ทำสงครามกับสวีเดน (ค.ศ. 1808-1809) และกับ จักรวรรดิออตโตมัน (ค.ศ. 1806-1812) และบางส่วนกับบริเตน (ค.ศ. 1807-1812)
  4. สเปนเป็นพันธมิตรกับฝรั่งเศสจนกระทั่งฝรั่งเศสรุกรานในปี ค.ศ. 1808 จากนั้นฝรั่งเศสก็ต่อสู้ในสงครามคาบสมุทร
  5. สวีเดนประกาศสงครามกับสหราชอาณาจักรหลังจากพ่ายแพ้แก่รัสเซียในสงครามฟินแลนด์ (ค.ศ. 1808–1809)
  6. แฮโนเฟอร์เป็นรัฐร่วมประมุขร่วมกับสหราชอาณาจักร
  7. The Kingdom of Hungary participated in the war with separate Hungarian regiments[1][2] in the Imperial and Royal Army, and also by a traditional army ("insurrectio").[3] The Hungarian Diet voted to join in war and agreed to pay one third of the war expenses.
  8. The Ottoman Empire fought against Napoleon in the French Campaign in Egypt and Syria as part of the French Revolutionary Wars. During the Napoleonic era of 1803 to 1815, the Empire participated in two wars against the Allies: against Britain in the Anglo-Turkish War (1807–1809) and against Russia in the Russo-Turkish War (1806–1812). Russia was allied with Napoleon 1807–1810.
  9. ราชวงศ์กอญัรทำสงครามกับรัสเซียใน ค.ศ. 1804 ถึง 1813 ในขณะที่รัสเซียยังคงเป็นพันธมิตรกับนโปเลียนใน ค.ศ. 1807–1812.
  10. ซิซิลีที่ยังยังเป็นสหอาณาจักรกับเนเปิลส์กลายมาเป็นรัฐบริวารของฝรั่งเศสหลังจากยุทธการแคมโพเทเนเซในปี ค.ศ. 1806
  11. จักรวรรดิฝรั่งเศสผนวกราชอาณาจักรฮอลแลนด์ใน ค.ศ. 1810 กองทหารดัตช์ต่อสู้กับนโปเลียนในสมัยร้อยวันในปี ค.ศ. 1815
  12. จักรวรรดิฝรั่งเศสผนวกราชอาณาจักรอีทรูเรียใน ค.ศ. 1807
  13. ราชอาณาจักรเนเปิลส์เป็นพันธมิตรกับออสเตรียอยู่ชั่วระยะหนึ่งใน ค.ศ. 1814, เป็นพันธมิตรกับฝรั่งเศสอีกครั้งและต่อสู้กับออสเตรียระหว่างสงครามเนเปิลส์ในปี ค.ศ. 1815
  14. นโปเลียนก่อตั้งดัชชีวอร์ซอปกครองโดย ราชอาณาจักรแซกโซนีในปี ค.ศ. 1807 ก่อนหน้านั้นกองทัพของโปแลนด์ก็เข้าร่วมการต่อสู้ในกองทัพฝรั่งเศสแล้ว
  15. รัฐเยอรมันสิบหกรัฐที่เป็นพันธมิตรกับฝรั่งเศส (รวมทั้งบาวาเรียและเวิร์ตเต็มแบร์ก) ก่อตั้งเป็นสมาพันธรัฐแห่งลุ่มแม่น้ำไรน์ในเดือนกรกฎาคมปี ค.ศ. 1806 หลังจากยุทธการเอาสเทอร์ลิทซ์ (ธันวาคม ค.ศ. 1805) และหลังจากยุทธการเยนา-เออร์ชเต็ดท์ (ตุลาคม ค.ศ. 1806) รัฐเยอรมันอื่นที่เดิมต่อสู้ร่วมกับฝ่ายต่อต้านฝรั่งเศสรวมทั้งแซกโซนีและเวสต์ฟาเลียก็หันกลับมาเป็นพันธมิตรกับฝรั่งเศสและเข้าร่วมในสมาพันธรัฐ แต่แซกโซนีก็เปลี่ยนข้างอีกครั้งในปี ค.ศ. 1813 ระหว่างยุทธการไลพ์ซิกที่ทำให้รัฐอื่นรีบทำตามและประกาศสงครามกับฝรั่งเศส
  16. ทั้งสี่รัฐนี้[ไหน?] เป็นรัฐนำของสมาพันธ์ แต่สมาพันธ์ประกอบด้วยอาณาเขตของราชรัฐ, ราชอาณาจักรและดัชชี่ รวมทั้งหมด 43 แห่ง
  17. เดนมาร์ก-นอร์เวย์ยังคงรักษาความเป็นกลางมาจนถึงยุทธการโคเปนเฮเกน (ค.ศ. 1807) เดนมาร์กถูกบังคับให้ยกนอร์เวย์ให้แก่สวีเดนตามสนธิสัญญาคีลในปี ค.ศ. 1814 หลังจากการรบทางทหารของสวีเดนต่อนอร์เวย์ นอร์เวยก็รวมเป็นสหอาณาจักรกับสวีเดน

อ้างอิง

[แก้]
  1. Arnold 1995, p. 36.
  2. The Austrian Imperial-Royal Army (Kaiserliche-Königliche Heer) ค.ศ. 1805 – 1809: The Hungarian Royal Army [1] เก็บถาวร 22 กุมภาพันธ์ 2014 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  3. Fisher, Todd (2001). The Napoleonic Wars: The Empires Fight Back 1808–1812. Oshray Publishing. ISBN 9781841762982. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 30 September 2015. สืบค้นเมื่อ 18 June 2015.
  4. John Sainsbury (1842). Sketch of the Napoleon Museum. London. p. 15. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 December 2018. สืบค้นเมื่อ 13 January 2018.
  5. "The Royal Navy". Britannica Online. Encyclopædia Britannica. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 December 2018. สืบค้นเมื่อ 15 February 2016.
  6. Schäfer 2002, p. 137.
  7. Edward et al., pp. 522–524
  8. "De Grondwet van 1815". Parlement & Politiek (ภาษาดัตช์). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 December 2018. สืบค้นเมื่อ 26 June 2014.
  9. Dwyer, Philip G. (4 February 2014). The Rise of Prussia 1700–1830. ISBN 9781317887034. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 May 2020. สืบค้นเมื่อ 5 September 2017.
  10. Collier, Martin (2003). Italian unification, 1820–71. Heinemann Advanced History (First ed.). Oxford: Heinemann. p. 2. ISBN 0-435-32754-2. The Risorgimento is the name given to the process that ended with the political unification of Italy in 1871
  11. Riall, Lucy (1994). The Italian Risorgimento: state, society, and national unification (First ed.). London: Routledge. p. 1. ISBN 0-203-41234-6. The functional importance of the Risorgimento to both Italian politics and Italian historiography has made this short period (1815–60) one of the most contested and controversial in modern Italian history
  12. Walter, Jakob; Raeff, Marc (1996). The diary of a Napoleonic foot soldier. Princeton, N.J.
  13. Martyn Lyons p. 234–36
  14. Payne 1973, pp. 432–433.
  15. Esdaile 2009, p. [ต้องการเลขหน้า].
  16. Riehn 1991, p. 50.
  17. Leggiere 2014.
  18. Chandler & Beckett, p. 132
  19. John France (2011). Perilous Glory: The Rise of Western Military Power. Yale UP. p. 351. ISBN 978-0300177442.
  20. White 2014 cites Clodfelter
  21. 21.0 21.1 21.2 White 2014 cites Danzer
  22. 22.0 22.1 White 2014, Napoleonic Wars cites Urlanis 1971
  23. Canales 2004.
  24. 24.0 24.1 White 2014 cites Dumas 1923 citing Hodge
  25. White 2014 cites Payne
  26. Clodfelter
  27. White 2014.
  28. 28.0 28.1 28.2 Philo 2010.
  29. Bodart 1916, p. แม่แบบ:Page missing.
  30. Zamoyski, Adam (16 October 2018). Napoleon: A Life. London: Basic Books. p. 480. ISBN 9780465055937. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 August 2020. สืบค้นเมื่อ 7 November 2018.
  31. Jones 1994, pp. 193–194.
  32. 32.0 32.1 Kagan 2007, pp. 42–43.

บรรณานุกรม

[แก้]

หนังสืออ่านเพิ่ม

[แก้]

หนังสือเกี่ยวกับเรื่องทั่วไปและหนังสืออ้างอิง

[แก้]
  • Bruun, Geoffrey. Europe and the French Imperium, 1799–1814 (1938) online, political and diplomatic context
  • Bruce, Robert B. et al. Fighting Techniques of the Napoleonic Age 1792–1815: Equipment, Combat Skills, and Tactics (2008) excerpt and text search
  • Gates, David. The Napoleonic Wars 1803–1815 (NY: Random House, 2011)
  • Gulick, E.V. “The final coalition and the Congress of Vienna, 1813–15,” in C.W. Crawley, ed. The New Cambridge Modern History: IX. War and Peace in an age of upheaval 1793–1830 (Cambridge University Press, 1965) pp. 629–668; online.
  • Markham, Felix. “The Napoleonic Adventure” in C.W. Crawley, ed. The New Cambridge Modern History: IX. War and Peace in an age of upheaval 1793–1830 (Cambridge University Press, 1965) pp. 307–336; online.
  • Pope, Stephen (1999). The Cassel Dictionary of the Napoleonic Wars. Cassel. ISBN 0-304-35229-2.
  • Ross, Steven T. European Diplomatic History, 1789–1815: France Against Europe (1969)
  • Ross, Steven T. The A to Z of the Wars of the French Revolution (Rowman & Littlefield, 2010); 1st edition was Historical dictionary of the wars of the French Revolution (Scarecrow Press, 1998)
  • Rothenberg, Gunther E. (1988). "The Origins, Causes, and Extension of the Wars of the French Revolution and Napoleon". Journal of Interdisciplinary History. 18 (4): 771–793. doi:10.2307/204824. JSTOR 204824.
  • Rothenberg, E. Gunther. The Art of Warfare in the Age of Napoleon (1977)
  • Schneid, Frederick C. (2011). The French Revolutionary and Napoleonic Wars. Mainz: Institute of European History.
  • Schneid, Frederick C. Napoleon's Conquest of Europe: The War of the Third Coalition (2005) excerpt and text search
  • Schneid, Frederick C. Napoleonic Wars: The Essential Bibliography (2012) excerpt and text search 121 pp. online review in H-FRANCE
  • Smith, Digby George. The Greenhill Napoleonic Wars Data Book: Actions and Losses in Personnel, Colours, Standards, and Artillery (1998)
  • Stirk, Peter. "The concept of military occupation in the era of the French Revolutionary and Napoleonic Wars." Comparative Legal History 3#1 (2015): 60–84.

หนังสือเกี่ยวกับนโปเลียนและฝรั่งเศส

[แก้]
  • Chandler, David G., ed. Napoleon's Marshals (1987) short scholarly biographies
  • Dwyer, Philip. Napoleon: The Path to Power (2008) excerpt vol 1
  • Elting, John R. Swords Around a Throne: Napoleon's Grand Armee (1988).
  • Forrest, Alan I. Napoleon's Men: The Soldiers of the Empire Revolution and Empire (2002).
  • Forrest, Alan. Conscripts and Deserters: The Army and French Society during Revolution and the Empire (1989) excerpt and text search
  • Gallaher, John G. Napoleon's Enfant Terrible: General Dominique Vandamme (2008). excerpt
  • Griffith, Paddy. The Art of War of Revolutionary France, 1789–1802 (1998) excerpt and text search
  • Haythornthwaite, Philip J. Napoleon's Military Machine (1995) excerpt and text search
  • Hazen, Charles Downer. The French Revolution and Napoleon (1917) online free เก็บถาวร 2018-09-22 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  • Nester, William R. Napoleon and the Art of Diplomacy: How War and Hubris Determined the Rise and Fall of the French Empire (2011). excerpt
  • Parker, Harold T. "Why Did Napoleon Invade Russia? A Study in Motivation and the Interrelations of Personality and Social Structure," Journal of Military History (1990) 54#2 pp. 131–46 in JSTOR.
  • Riley, Jonathon P. Napoleon as a General (Hambledon Press, 2007)
  • Mikaberidze, Alexander. The Napoleonic Wars: A Global History (Oxford University Press) February 2020
  • Wilkin Bernard and Wilkin René: Fighting for Napoleon: French Soldiers’ Letters 1799–1815 Pen and Sword Military (2016)
  • Wilkin Bernard and Wilkin René: Fighting the British: French Eyewitness Accounts from the Napoleonic Wars Pen and Sword Military (2018)

หนังสือเกี่ยวกับบทบาทของออสเตรีย, ปรัสเซีย และรัสเซีย

[แก้]
  • Haythornthwaite, Philip J. The Russian Army of the Napoleonic Wars (1987) vol 1: Infantry 1799–1814; vol 2: Cavalry, 1799–1814
  • Lieven, D. C. "Russia and the Defeat of Napoleon (1812–14)," Kritika: Explorations in Russian and Eurasian History (2006) 7#2 pp. 283–308.
  • Rothenberg, Gunther E. Napoleon's Great Adversaries: The Archduke Charles and the Austrian Army 1792–1814 (1982)
  • Schneid, Frederick C. ed. European Armies of the French Revolution, 1789–1802 (2015) Nine essays by leading scholars.

หนังสือเกี่ยวกับประวัติศาสตร์นิพนธ์และความทรงจำ

[แก้]
  • Esdaile, Charles. "The Napoleonic Period: Some Thoughts on Recent Historiography," European History Quarterly, (1993) 23: 415–32 online[ลิงก์เสีย]
  • Forrest, Alan et al. eds. War Memories: The Revolutionary and Napoleonic Wars in Modern European Culture (2013)
  • Hyatt, Albert M.J. "The Origins of Napoleonic Warfare: A Survey of Interpretations." Military Affairs (1966) 30#4 pp. 177–185.
  • Linch, Kevin. "War Memories: The Revolutionary and Napoleonic Wars in Modern European Culture." Social History 40#2 (2015): 253–254.
  • Martin, Jean-Clément. "War Memories. The Revolutionary and Napoleonic Wars in Modern European Culture." Annales Historiques De La Revolution Francaise. (2015) No. 381.
  • Messenger, Charles, บ.ก. (2001). Reader's Guide to Military History. Routledge. pp. 391–427. ISBN 9781135959708. evaluation of the major books on Napoleon and his wars published by 2001.
  • Mikaberidze, Alexander. "Recent Trends in the Russian Historiography of the Napoleonic Wars," Journal of Military History (2010) 74#1 pp. 189–194.

แหล่งข้อมูลปฐมภูมิ

[แก้]
  • Dwyer, Philip G. "Public remembering, private reminiscing: French military memoirs and the revolutionary and Napoleonic wars," French Historical Studies (2010) 33#2 pp. 231–258 online
  • Kennedy, Catriona. Narratives of the Revolutionary and Napoleonic Wars: Military and Civilian Experience in Britain and Ireland (Palgrave Macmillan, 2013)
  • Leighton, James. Witnessing the Revolutionary and Napoleonic Wars in German Central Europe (2013), diaries, letters and accounts by civilians Online review

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]