สงครามสหสัมพันธมิตรครั้งที่สาม
สงครามสหสัมพันธมิตรครั้งที่สาม | |||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|
ส่วนหนึ่งของ สงครามนโปเลียนและสงครามสหสัมพันธมิตร | |||||||
คลิกที่ภาพเพื่อดูบทความ ซ้ายไปขวา บนลงล่าง: ยุทธการที่อุล์ม, ตราฟัลการ์, ดือเรินชไทน์, เชินกราเบิร์น และเอาสเทอร์ลิทซ์ | |||||||
| |||||||
คู่สงคราม | |||||||
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ | |||||||
| |||||||
ความสูญเสีย | |||||||
จักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์: เสียชีวิตหรือบาดเจ็บ 20,000 นาย ถูกจับกุม 70,000 นาย รัสเซีย: เสียชีวิตหรือบาดเจ็บ 25,000 นาย ถูกจับกุม 25,000 นาย นาโปลี: เสียชีวิต บาดเจ็บ หรือถูกจับกุม 20,000 นาย รวม: เสียชีวิต บาดเจ็บ หรือถูกจับกุม 160,000 นาย |
ฝรั่งเศส: เสียชีวิต 13,500 นาย บาดเจ็บ 37,000 นาย ถูกจับกุม 5,000 นาย อิตาลี: เสียชีวิต 350 นาย บาดเจ็บ 1,900 นาย สเปน: เสียชีวิต 1,200 นาย บาดเจ็บ 1,600 นาย บาวาเรีย: เสียชีวิต 300 นาย บาดเจ็บ 1,200 นาย รวม: เสียชีวิต บาดเจ็บ หรือถูกจับกุม 62,050 นาย |
สงครามสหสัมพันธมิตรครั้งที่สาม[1] (อังกฤษ: War of the Third Coalition)[หมายเหตุ 1] เป็นสงครามในทวีปยุโรประหว่างปี ค.ศ. 1803 ถึง 1806 ฝรั่งเศสและพันธมิตรที่นำโดยนโปเลียน โบนาปาร์ต สามารถมีชัยเหนือกองทัพฝ่ายประสานมิตรที่นำโดยจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์และจักรวรรดิรัสเซียได้
อังกฤษขณะนั้นได้ทำสงครามกับฝรั่งเศสอยู่แล้ว หลังสนธิสัญญาสันติภาพระหว่างฝรั่งเศสและอังกฤษที่ทำไว้ในเดือนมีนาคม 1803 เป็นอันใช้ไม่ได้ ขณะเดียวกัน การที่นโปเลียนสถาปนาตัวเองเป็นกษัตริย์อิตาลีและการประหารดยุกแห่งอองเกียง ก็เป็นชนวนยั่วยุที่ทำให้จักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์และรัสเซียหันไปจับมือกับอังกฤษในการต่อต้านฝรั่งเศส อังกฤษต้องเป็นฝ่ายป้องกันตนจากการรุกรานของนโปเลียนจนถึงเดือนตุลาคม 1805 เมื่อกองเรือผสมฝรั่งเศส-สเปนของนโปเลียนพ่ายแพ้ในยุทธนาวีที่ตราฟัลการ์เป็นการปิดฉากหนทางบุกอังกฤษ เมื่อหมดหนทางบุกอังกฤษ นโปเลียนนำกองทัพใหญ่เคลื่อนพลไปทางตะวันออกและมีชัยเหนือกองกำลังผสมของออสเตรีย-รัสเซียได้อย่างเด็ดขาดในยุทธการที่เอาสเทอร์ลิทซ์ ซึ่งถือเป็นจุดจบของสงครามประสานมิตรครั้งที่สาม อย่างไรก็ตาม สถานภาพคู่สงครามระหว่างอังกฤษและฝรั่งเศสยังคงดำเนินต่อไป
เมื่อจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์พ่ายแพ้ในยุทธการที่เอาสเทอร์ลิทซ์ ก็จำยอมต้องลงนามในสนธิสัญญาเพร็สบวร์ค ณ นครเพร็สบวร์ค (บราติสลาวาในปัจจุบัน) ดินแดนบางส่วนในอิตาลีและบาวาเรียซึ่งถูกปกครองโดยจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ ตกเป็นดินแดนของฝรั่งเศส นอกจากนี้ยังเสียหลายรัฐเยอรมันให้พันธมิตรของฝรั่งเศสอย่างกษัตริย์บาวาเรีย, กษัตริย์เวือร์ทเทิมแบร์ค และเจ้าแห่งบาเดิน นอกจากนี้ยังเสียทีโรลและโฟราร์ลแบร์กให้แก่บาวาเรีย เสียเวเนเชีย, อิสเตรีย และแดลเมเชีย ให้แก่อิตาลีของนโปเลียน การสูญเสียดินแดนครั้งนี้ทำให้จักรพรรดิฟรันซ์ที่ 2 ประกาศยุบจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ และสถาปนาจักรวรรดิออสเตรียขึ้นแทน
ระยะเวลา
[แก้]นักประวัติศาสตร์นิพนธ์มีความเห็นต่างกันว่าสงครามสหสัมพันธมิตรครั้งที่สามเกิดขึ้นและสิ้นสุดเมื่อใด โดยมุมมองอังกฤษถือว่าสงครามเริ่มต้นเมื่ออังกฤษประกาศสงครามต่อฝรั่งเศสในวันที่ 18 พฤษภาคม ค.ศ. 1803 แต่ยังไม่ได้ทำอะไรมาก จนกระทั่งเดือนธันวาคม ค.ศ. 1804 ที่สวีเดนเข้าร่วมเป็นพันธมิตรกับสหราชอาณาจักร กระทั่งรัสเซียเข้าเป็นพันธมิตรในวันที่ 11 เมษายน ค.ศ. 1805 กระทั่งอังกฤษและรัสเซียให้สัตยาบันความเป็นพันธมิตรในวันที่ 16 กรกฎาคม และจนกระทั่งหลังจากออสเตรีย (9 สิงหาคม) และนาโปลี–ซิซิลี (11 กันยายน) เข้าเป็นพันธมิตรอย่างสมบูรณ์[2]
ในขณะเดียวกัน บาวาเรียเข้าข้างฝรั่งเศสในวันที่ 25 สิงหาคม และเวือร์ทเทิมแบร์คเข้าร่วมกับนโปเลียนในวันที่ 5 กันยายน ไม่มีความเป็นปรปักษ์ระหว่างฝรั่งเศสกับสมาชิกสหสัมพันธมิตรนอกจากอังกฤษ (การทัพตราฟัลการ์ในเดือนมีนาคม–พฤศจิกายน 1805) จนกระทั่งในการทัพอุล์ม[2]
เช่นเดียวกัน ไม่มีสงครามใหญ่เกิดขึ้นหลังยุทธการที่เอาสเทอร์ลิทซ์และในการลงนามสนธิสัญญาเพร็สบวร์คในวันที่ 26 ธันวาคม ค.ศ. 1805 ซึ่งบังคับให้ออสเตรียออกจากฝ่ายสหสัมพันธมิตรและหยุดความเป็นปรปักษ์ต่อฝรั่งเศส นักประวัติศาสตร์นิพนธ์บางคนสรุปว่าการออกจากสมาชิกของออสเตรีย "ทำลายสหสัมพันธมิตรครั้งที่สามเป็นเสี่ยง ๆ"[2] และ "สิ้นสุดสงครามสหสัมพันธมิตรครั้งที่สาม"[3]
รายงานนี้ทิ้งส่วนที่ฝรั่งเศสรุกรานนาโปลี (กุมภาพันธ์–กรกฎาคม ค.ศ. 1806) ซึ่งทำให้กองทัพอังกฤษ-รัสเซียที่ประจำการต้องอพยพออกไป และกองทัพนาโปลียอมจำนนอย่างรวดเร็ว นักวิชาการคนอื่นโต้แย้งว่าควรรวมการทัพในอิตาลีตอนใต้ลงในสงครามสหสัมพันธมิตรครั้งที่สอง และวิจารณ์การละทิ้งแนวรบเมดิเตอร์เรเนียนด้วยการมุ่งเน้นเฉพาะการสู้รบบนพื้นดินในยุโรปกลางและการทัพที่ตราฟัลการ์[4]
เริ่มต้น
[แก้]ยุโรปอยู่ในสถานะพัวพันในสงครามปฏิวัติฝรั่งเศสมาตั้งแต่ ค.ศ. 1792 หลังจากทำสงครามเป็นเวลา 5 ปี สาธารณรัฐฝรั่งเศสทำให้กองทัพของฝ่ายสหสัมพันธมิตรครั้งที่หนึ่งพ่ายแพ้ใน ค.ศ. 1797 จากนั้นจึงมีการจัดตั้งสหสัมพันธมิตรครั้งที่สองใน ค.ศ. 1798 แต่กลับพ่ายแพ้ใน ค.ศ. 1801 คงเหลือเพียงอังกฤษที่เป็นศัตรูของคณะกงสุลฝรั่งเศสใหม่[5]
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
ผลที่ตามมา
[แก้]เอาสเทอร์ลิทซ์และการทัพในช่วงหลังเป็นจุดเปลี่ยนทางการเมืองของยุโรป ฝรั่งเศสพิชิตเวียนนา ทำลายสองกองทัพ และทำให้จักรวรรดิออสเตรียต่ำต้อยภายใน 3 เดือน เหตุการณ์เหล่านี้สร้างความแตกต่างอย่างมากต่อโครงสร้างอำนาจที่เข้มงวดในคริสต์ศตวรรษที่ 18 โดยไม่เคยมีเมืองหลวงสำคัญ ๆ ของยุโรปถูกยึดครองจากกองทัพศัตรู เอาสเทอร์ลิทซ์ถือเป็นจุดเริ่มต้นของการปกครองของฝรั่งเศสเหนือทวีปยุโรปเกือบทศวรรษ แต่หนึ่งในผลกระทบที่เกิดในทันทีคือการกระตุ้นให้ปรัสเซียเข้าสู่สงครามใน ค.ศ. 1806
ฝรั่งเศสและออสเตรียลงนามสงบศึกในวันที่ 4 ธันวาคม และหลังจากนั้น 22 วัน จึงได้จัดทำสนธิสัญญาเพร็สบวร์ค ออสเตรียยอมรับดินแดนที่ฝรั่งเศสยึดครองตามสนธิสัญญา Campo Formio (1797) และ Lunéville (1801) โดยยกดินแดนให้บาวาเรีย เวือร์ทเทิมแบร์ค และบาเดิน ซึ่งเป็นพันธมิตรฝ่ายเยอรมัน และต้องจ่ายค่าชดเชยสงคราม 40 ล้านฟรังก์ ยกเวเนโตให้ราชอาณาจักรอิตาลี แม้ว่าจะเป็นจุดจดที่โหดร้ายสำหรับออสเตรีย แต่ไม่ได้ถึงขั้นเป็นสันติภาพที่หายนะ กองทัพรัสเซียได้รับอนุญาตให้ถอนกองทัพกลับไปแผ่นดินแม่ และฝ่ายฝรั่งเศสตั้งค่ายที่เยอรมนีตอนล่าง
ในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 1806 นโปเลียนทรงจัดตั้งสมาพันธรัฐแห่งแม่น้ำไรน์ รัฐบริวารเยอรมมันที่เป็นพันธมิตรต่อฝรั่งเศส ให้คำมั่นว่าจะยกกองทัพที่มีมหาร 63,000 นาย โดยมีนโปเลียนเป็น "ผู้พิทักษ์" สมาพันธรัฐเหล่านั้นต้องออกจากจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งหลังจากนั้นไม่นานก็ล่มสลาย[6] ปรัสเซียเห็นว่าการเคลื่อนไหวเหล่านี้และการเคลื่อนไหวอื่น ๆ เป็นการดูหมิ่นสถานะของตนในฐานะมหาอำนาจหลักของยุโรปกลาง และได้ทำสงครามกับฝรั่งเศสใน ค.ศ. 1806
ส่วนในอิตาลี สถานการณ์ทางการเมืองยังคงไม่เปลี่ยนแปลงจนกระทั่ง ค.ศ. 1815 เมื่อกองทัพอังกฤษและซิซิลีเฝ้าประจำการแฟร์ดีนันด์ กษัตริย์ของบูร์บงที่ซิซิลี และกษัตริย์แห่งนาโปลีของนโปเลียนควบคุมแผ่นดินใหญ่ ใน ค.ศ. 1808 ฌออากีม มูว์รากลายเป็นกษัตริย์แห่งนาโปลี หลังโฌแซ็ฟ โบนาปาร์ตกลายเป็นพระมหากษัตริย์สเปน มูว์ราพยายามข้ามช่องแคบซิซิลีหลายครั้ง แต่ทั้งหมดกลับล้มเหลว แม้ว่าเขาเคยตั้งหลักในซิซิลีมาก่อนก็ตาม
ความเสียหายและสูญเสีย
[แก้]ฝรั่งเศสสูญเสียทหาร 12,000 นาย, บาดเจ็บ 22,200 นาย และถูกจับกุม 5,000 นายใน ค.ศ. 1805 ซึ่งรวมผู้ที่เสียชีวิต 5,300 นายและบาดเจ็บ 22,200 นายในการทัพออสเตรียต่อฝ่ายฮาพส์บวร์คและรัสเซีย ในการทัพอิตาลีมีทหารเสียชีวิต 2,100 นายและบาดเจ็บ 5,300 นาย ในยุทธนาวีมีทหารเสียชีวิต 4,300 นายและบาดเจ็บ 3,700 นาย ในอาณานิคมมีทหารเสียชีวิต 200 นายและบาดเจ็บ 400 นาย และในฝ่ายที่มีหน้าที่ป้องกันชายฝั่งมีทหารเสียชีวิต 100 นายและบาดเจ็บ 400 นาย[7][8] การทัพในนาโปลีเมื่อ ค.ศ. 1806 ทำให้ทหารฝรั่งเศสเสียชีวิต 1,500 นายและบาดเจ็บ 5,000 นาย[8] ฝ่ายสเปนในยุทธนาวีมีทหารเสียชีวิต 1,200 นายและบาดเจ็บ 1,600 นาย บาวาเรียสูญเสียทหาร 300 นายและบาดเจ็บ 1,200 นายในการทัพออสเตรีย และราชอาณาจักรอิตาลีสูญเสียทหาร 100 นายและบาดเจ็บ 400 นายในการทัพอิตาลี และในการทัพนาโปลีมีทหารเสียชีวิต 250 นายและบาดเจ็บ 1,500 นาย[8]
ฝ่ายออสเตรียมีทหารที่เสียชีวิตและบาดเจ็บ 20,000 นาย และถูกคุมตัวเป็นนักโทษ 70,000 นาย[7] ฝ่ายรัสเซียมีทหารที่เสียชีวิตและบาดเจ็บ 25,000 นาย และถูกจับกุม 25,000 นาย[7] กองทัพนาโปลีถูกฝ่ายฝฝรั่งเศสกำจัดไป 22,000 นายใน ค.ศ. 1806 เหลือเพียง 2,000 นายที่หลบหนีไปยังซิซิลี
ดูเพิ่ม
[แก้]หมายเหตุ
[แก้]- ↑ ความขัดแย้งนี้มีหลายชื่อ:
- ในประวัติศาสตร์นิพนธ์รัสเซีย มีชื่อเรียกว่า สงครามรัสเซีย-ออสเตรีย-ฝรั่งเศส (รัสเซีย: Русско-австро-французская война)
- มีอีกชื่อว่า การทัพออสเตรียใน ค.ศ. 1805 (ฝรั่งเศส: Campagne d'Autriche de 1805) หรือ การทัพเยอรมันใน ค.ศ. 1805 (ฝรั่งเศส: Campagne d'Allemagne de 1805)
อ้างอิง
[แก้]- ↑ ราชบัณฑิตยสถาน. สารานุกรมประวัติศาสตร์สากลสมัยใหม่ : ยุโรป เล่ม ๕ อักษร L-O ฉบับราชบัณฑิตยสถาน. กรุงเทพฯ : ราชบัณฑิตยสถาน, 2551. 896 หน้า. หน้า 587. ISBN 978-974-287-672-2
- ↑ 2.0 2.1 2.2 Rosenberg, Chaim M. (2017). Losing America, Conquering India: Lord Cornwallis and the Remaking of the British Empire. McFarland. p. 168. ISBN 978-1-4766-6812-3. สืบค้นเมื่อ 18 October 2018.
- ↑ Encarta Encyclopaedia Winkler Prins (1993–2002) s.v. "Pressburg, Vrede van". Microsoft Corporation/Het Spectrum.
- ↑ Pagedas, Constantine A., 'Counterpoint to Trafalgar: The Anglo-Russian Invasion of Naples, 1805-1806 (review)' in Mediterranean Quarterly, Volume 16, Number 1, Winter 2005, pp. 120–122.
- ↑ For the diplomatic history see Paul W. Schroeder, The Transformation of European Politics 1763–1848 (1996). pp 210–86
- ↑ Eric Dorne Brose, German History, 1789–1871. From the Holy Roman Empire to the Bismarckian Reich, Berghahn Books, 2008 (paperback edition), p. 51.
- ↑ 7.0 7.1 7.2 Bodart 1916, p. 43.
- ↑ 8.0 8.1 8.2 Bodart 1916, p. 128.
ข้อมูลและอ่านเพิ่ม
[แก้]- Bodart, G. (1916). Losses of Life in Modern Wars, Austria-Hungary; France. ISBN 978-1-371-46552-0.
- Brooks, Richard, บ.ก. (2000). Atlas of World Military History. London: HarperCollins. ISBN 0-7607-2025-8.
- Chandler, David G. (1995). The Campaigns of Napoleon. New York: Simon & Schuster. ISBN 0-02-523660-1.
- Dupuy, Trevor N. (1993). Harper Encyclopedia of Military History. New York: HarperCollins. ISBN 0-06-270056-1.
- Fisher, Todd; Fremont-Barnes, Gregory (2004). The Napoleonic Wars: The Rise and Fall of an Empire. Oxford: Osprey Publishing. ISBN 1-84176-831-6.
- Kagan, Frederick W. (2006). The End of the Old Order. Cambridge: Da Capo Press. ISBN 0-306-81137-5.
- Knight. Roger. Britain Against Napoleon: The Organisation of Victory. 1793–1815 (2013)
- Masséna, André; Koch, Jean Baptiste Frédéric (1848–50). Mémoires de Masséna (ภาษาฝรั่งเศส). Vol. V. Paris: Paulin et Lechevalier. สืบค้นเมื่อ 20 May 2009.
- McLynn, Frank (1997). Napoleon: A Biography. New York: Arcade Publishing. ISBN 1-55970-631-7.
- Schroeder, Paul W. (1996). The Transformation of European Politics 1763–1848. Oxford U.P. pp. 210–86. ISBN 978-0-19-820654-5., diplomatic history of Europe
- Schneid, Frederick C. Napoleon's conquest of Europe: the War of the Third Coalition (Greenwood, 2005).
- Uffindell, Andrew (2003). Great Generals of the Napoleonic Wars. Kent: Spellmount. ISBN 1-86227-177-1.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- Maude, Frederic Natusch (1911). . สารานุกรมบริตานิกา ค.ศ. 1911. Vol. 19 (11 ed.). pp. 212–236.