ข้ามไปเนื้อหา

ชาตินิยม

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก ลัทธิชาตินิยม)

ชาตินิยม (อังกฤษ: nationalism) เป็นความคิดและการเคลื่อนไหวที่ถือได้ว่าประเทศชาติควรจะสอดคล้องกับรัฐ[1][2] เนื่องจากการเคลื่อนไหวนี้ ลัทธิชาตินิยมมีแนวโน้มที่จะส่งเสริมผลประโยชน์ของชาติโดยเจาะจง (เช่น ในกลุ่มคน)[3] โดยเฉพาะอย่างยิ่งโดยมีจุดมุ่งหมายในการได้มาและรักษาอำนาจอธิปไตยของชาติ(การปกครองตนเอง) เหนือบ้านเกิดเพื่อสร้างรัฐชาติ ลัทธิชาตินิยมถือได้ว่าแต่ละประเทศควรที่จะปกครองตนเองโดยปราศจากการแทรกแซงจากภายนอก (การกำหนดการปกครองด้วยตนเอง) ว่าประเทศชาตินั้นเป็นพื้นฐานทางธรรมชาติและอุดมคติสำหรับการเมือง[4] และประเทศชาติเป็นแหล่งอำนาจทางการเมืองโดยชอบธรรมเท่านั้น[5][6] นอกจากนี้ยังมุ่งเป้าหมายในการสร้างและรักษาเอกลักษณ์ประจำชาติเพียงอย่างเดียว ตามลักษณะทางสังคมที่ใช้ร่วมกันของวัฒนธรรม ชาติพันธุ์ ที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ ภาษา การเมือง (หรือรัฐบาล) ศาสนา ประเพณี และความเชื่อในประวัติศาสตร์ของนามเอกพจน์ที่ใช้ร่วมกัน[7][8] และส่งเสริมความสามัคคีของชาติหรือภราดรภาพ(solidarity)[9] ลัทธิชาตินิยมจึงพยายามปกปักรักษาและอุปถัมภ์วัฒนธรรมอันเก่าแก่ของประเทศชาติ[10] มีคำจำกัดความต่าง ๆ ของคำว่า "ชาติ" ซึ่งนำไปสู่ลัทธิชาตินิยมประเภทต่าง ๆ มีสองรูปแบบที่แตกต่างกันคือ ลัทธิชาตินิยมที่เน้นทางชาติพันธุ์(ethnic nationalism) และลัทธิชาตินิยมแบบพลเมือง(civic nationalism)

ป้ายประกาศนโยบายรัฐนิยมเรื่องการแต่งกายในประเทศไทยช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง

ความเห็นส่วนใหญ่ในท่ามกลางนักวิชาการคือประเทศชาติต่างถูกสร้างขึ้นโดยสังคมและอาจจะเกิดขึ้นตามประวัติศาสตร์[11] ตลอดช่วงประวัติศาสตร์ ผู้คนมีความผูกผันกับกลุ่มเครือญาติและจารีตประเพณี ผู้มีอำนาจปกครองดินแดนและบ้านเกิดของพวกเขา แต่ลัทธิชาตินิยมไม่ได้กลายเป็นอุดมการณ์ที่มีความโดดเด่นจนถึงปลายศตวรรษที่ 18[12] ทัศนคติที่โดดเด่นมีอยู่สามประการกับลัทธิชาตินิยม ลัทธิบรรพชนนิยม(Primordialism)(นิรันตรนิยม) ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงความคิดเห็นของลัทธิชาตินิยมเป็นที่นิยมแต่กลับไม่เป็นที่ยอมรับในท่ามกลางนักวิชาการส่วนใหญ่[13] ได้เสนอแนะว่าประเทศชาติมีอยู่เสมอมาและลัทธิชาตินิยมเป็นปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ สัญลักษณ์ประจำชาตินิยม (Ethnosymbolism) ได้อธิบายว่าลัทธิชาตินิยมเป็นปรากฏการณ์วิวัฒนนาการแบบไดนามิกและให้ความสำคัญของสัญลักษณ์ต่าง ตำนานปรัมปรา และประเพณีในการพัฒนาของประเทศชาติและลัทธิชาตินิยม ทฤษฎีความทันสมัย (Modernization Theory) ซึ่งได้เข้ามาแทนที่ลัทธิบรรพชนนิยมเป็นการอธิบายที่โดดเด่นของลัทธิชาตินิยม[14] การใช้แนวทางคอนสตรัคติวิสต์และเสนอแนะให้ลัทธิชาตินิยมได้กำเนิดขึ้น เนื่องจากกระบวนการของความทันสมัย เช่น อุตสาหกรรม การทำให้เป็นเมือง และการศึกษามวลชน ซึ่งทำให้เกิดมีจิตสำนึกของชาติเท่าที่เป็นไปได้[11][15] ผู้เสนอทฤษฏีถัดมานี้ได้บรรยายถึงประเทศชาติว่า เป็น"ชุมชนจินตกรรม"(imagined communities) และลัทธิชาตินิยมคือ "ประเพณีประดิษฐ์"(Invented tradition) ซึ่งความรู้สึกร่วมกันทำให้เกิดรูปแบบอัตลักษณ์ส่วนร่วมและเชื่อมโยงบุคคลเข้าด้วยกันในความเป็นภราดรภาพทางการเมือง "เรื่องราว" ที่เป็นรากฐานของประเทศชาติอาจถูกสร้างขึ้นจากการผสมผสานกันระหว่างคุณลักษณะ ค่านิยม และหลักการทางชาติพันธุ์ และอาจจะเชื่อมโยงอย่างใกล้ชิดกับการเล่าบรรยายถึงความเป็นเจ้าของ[11][16][17]

คุณค่าทางศีลธรรมของลัทธิชาตินิยม ความสัมพันธ์ระหว่างลัทธิชาตินิยมกับความรักประเทศชาติ และการเข้าด้วยกันได้ของลัทธิชาตินิยมและความเป็นพลเมืองโลก(Cosmopolitanism) ล้วนเป็นหัวข้อของการอภิปรายเชิงปรัชญา[11] ลัทธิชาตินิยมสามารถรวมเข้ากับเป้าหมายและอุดมการณ์ทางการเมืองที่มีความหลากหลาย เช่น อนุรักษ์นิยม(ชาติอนุรักษ์นิยมและปีกขวาประชานิยม) และสังคมนิยม(ลัทธิชาตินิยมปีกซ้าย)[4][18][19] ในทางปฏิบัติ ลัทธิชาตินิยมสามารถเป็นทั้งเชิงบวกหรือเชิงลบได้ ขึ้นอยู่กับอุดมการณ์และผลลัพธ์ที่ออกมา ลัทธิชาตินิยมเป็นลักษณะอย่างหนึ่งของการเคลื่อนไหวเพื่อเสรีภาพ และความยุติธรรม ซึ่งมีความเกี่ยวข้องกับการฟื้นฟูวัฒนธรรม,[20] และส่งเสริมความภาคภูมิใจในความสำเร็จของประเทศชาติ[21] นอกจากนี้ยังถูกนำมาใช้เพื่อการแบ่งแยกเชื้อชาติ ชาติพันธุ์ และศาสนาโดยชอบด้วยกฎหมาย การปราบปรามหรือโจมตีชนกลุ่มน้อยและบ่อนทำลายสิทธิมนุษยชนและวัฒนธรรมประชาธิปไตย[11] ลัทธิชาตินิยมหัวรุนแรงรวมเข้ากับความเกลียดชังทางเชื้อชาติเป็นปัจจัยที่สำคัญในฮอโลคอสต์ซึ่งถูกกระทำโดยนาซีเยอรมนี[22]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Hechter, Michael (2000). Containing Nationalism (ภาษาอังกฤษ). Oxford University Press. ISBN 978-0-19-829742-0.
  2. Gellner, Ernest (2008). Nations and Nationalism (ภาษาอังกฤษ). Cornell University Press. ISBN 978-0-8014-7500-9.
  3. Smith, Anthony. Nationalism: Theory, Ideology, History. Polity, 2010. pp. 9, 25–30; James, Paul (1996). Nation Formation: Towards a Theory of Abstract Community. London: Sage Publications.
  4. 4.0 4.1 Finlayson, Alan (2014). "5. Nationalism". ใน Geoghegan, Vincent; Wilford, Rick (บ.ก.). Political Ideologies: An Introduction. Routledge. pp. 100-102. ISBN 978-1-317-80433-8.
  5. Smith, Anthony. Nationalism: Theory, Ideology, History. Polity, 2010. pp. 9, 25–30; James, Paul (1996). Nation Formation: Towards a Theory of Abstract Community. London: Sage Publications.
  6. Yack, Bernard. Nationalism and the Moral Psychology of Community. University of Chicago Press, 2012. p. 142
  7. Triandafyllidou, Anna (1998). "National Identity and the Other". Ethnic and Racial Studies. 21 (4): 593–612. doi:10.1080/014198798329784.
  8. Smith, A.D. (1981). The Ethnic Revival in the Modern World. Cambridge University Press.
  9. Smith, Anthony. Nationalism: Theory, Ideology, History. Polity, 2010. pp. 9, 25–30; James, Paul (1996). Nation Formation: Towards a Theory of Abstract Community. London: Sage Publications.
  10. Smith, Anthony. Nationalism: Theory, Ideology, History. Polity, 2010. pp. 6–7, 30–31, 37
  11. 11.0 11.1 11.2 11.3 11.4 Mylonas, Harris; Tudor, Maya (2021). "Nationalism: What We Know and What We Still Need to Know". Annual Review of Political Science. 24 (1): 109–132. doi:10.1146/annurev-polisci-041719-101841.
  12. Kohn, Hans (2018). Nationalism. Encyclopedia Britannica.
  13. Coakley, John (April 2018). "'Primordialism' in nationalism studies: theory or ideology?: 'Primordialism' in nationalism studies". Nations and Nationalism. 24 (2): 327–347. doi:10.1111/nana.12349.
  14. Woods, Eric Taylor; Schertzer, Robert; Kaufmann, Eric (April 2011). "Ethno-national conflict and its management". Commonwealth & Comparative Politics. 49 (2): 154. doi:10.1080/14662043.2011.564469. S2CID 154796642.
  15. Smith, Deanna (2007). Nationalism (2nd ed.). Cambridge: polity. ISBN 978-0-7456-5128-6.
  16. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ Anderson
  17. Hobsbawm, E.; Ranger, T. (1983). The Invention of Tradition. Cambridge, UK: Cambridge Univ. Press.
  18. Bunce, Valerie (2000). "Comparative Democratization: Big and Bounded Generalizations". Comparative Political Studies (ภาษาอังกฤษ). 33 (6–7): 703–734. doi:10.1177/001041400003300602. ISSN 0010-4140. S2CID 153875363.
  19. Kocher, Matthew Adam; Lawrence, Adria K.; Monteiro, Nuno P. (2018). "Nationalism, Collaboration, and Resistance: France under Nazi Occupation". International Security. 43 (2): 117–150. doi:10.1162/isec_a_00329. ISSN 1531-4804. S2CID 57561272.
  20. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ Smith - culture
  21. Nairn, Tom; James, Paul (2005). Global Matrix: Nationalism, Globalism and State-Terrorism. London and New York: Pluto Press.
  22. Pierre James (2001). The Murderous Paradise: German Nationalism and the Holocaust. Greenwood. ISBN 978-0-275-97242-4.