ท่าอากาศยานหาดใหญ่ หรือ สนามบินหาดใหญ่ (IATA: HDY, ICAO: VTSS) เป็นท่าอากาศยานที่ให้บริการเที่ยวบินระหว่างประเทศ (International Airport)[1] ตั้งอยู่เลขที่ 99 หมู่ 3 ถนนสนามบิน ตำบลคลองหลา อำเภอคลองหอยโข่ง จังหวัดสงขลา 90115 บริหารงานโดย บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) โดยมีผู้อำนวยการท่าอากาศยานหาดใหญ่ดูแล เป็นท่าอากาศยานที่สำคัญ เนื่องจากเป็นประตูสำหรับชาวมุสลิมที่ต้องการไปแสวงบุญที่นครมักกะฮ์ ประเทศซาอุดีอาระเบีย ท่าอากาศยานหาดใหญ่มีเที่ยวบินมากเป็นอันดับ 5 ของประเทศ รองจาก ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ท่าอากาศยานดอนเมือง ท่าอากาศยานภูเก็ต ท่าอากาศยานเชียงใหม่ ตามลำดับ ปัจจุบันมีผู้โดยสารประมาณ 4,800,000 คน โดยเส้นทางในประเทศและต่างประเทศ เที่ยวบิน 9,203 เที่ยวบินและสินค้าประมาณ 12,965 ตันใช้บริการท่าอากาศยานแห่งนี้ ทั้งนี้ ท่าอากาศยานนานาชาติหาดใหญ่ มีความสามารถในการรองรับเที่ยวบินได้ 48 เที่ยวบิน/ชม. รองรับผู้โดยสารได้ปีละ 3,000,000 คน และรองรับสินค้าได้ ปีละ 41,800 ตัน รองรับเครื่องบินขนาดใหญ่ได้สูงสุด Boeing 747-400
- บริเวณตรงกลางของตึกเป็นโถงผู้โดยสารขาเข้า
- สายพานที่ 1 และ 2 สำหรับผู้โดยสารภายในประเทศ
- สายพานที่ 3 สำหรับผู้โดยสารระหว่างประเทศ และผู้โดยสาร CIQ
- มีร้านค้าขายสินค้าที่ระลึก ร้านหนังสือ ร้านอาหาร และบริษัทรถเช่า
- สำนักงานประชาสัมพันธ์ ท่าอากาศยานหาดใหญ่ (ทอท.)
- ด้านทิศตะวันออกเป็นทางเข้าสู่ตัวอาคารผูโดยสารอีกทางหนึ่ง
- ห้องสุขา
- มีเคาน์เตอร์เช็คอินของไทยแอร์เอเชีย สกู๊ต
- สำนักแพทย์(ห้องพยาบาล) ท่าอากาศยานหาดใหญ่ (ทอท.)
- เป็นที่ตั้งของไปรษณีย์ไทย สาขาท่าอากาศยานหาดใหญ่
อาคารผู้โดยสารชั้นที่ 2
[แก้]
ก่อนเข้าประตู (Gate)
[แก้]
- ร้าน Thai Coffee (กาแฟไท)
- ร้าน คุณโจ ของฝาก
- จุดคัดกรองเอกสารรับวัคซีน COVID-19
- บริเวณตรงกลางเป็นห้องอาหารเหิรนภา
- ห้องรับรองพิเศษ Coral Executive Lounge
- ด้านทิศตะวันออกเป็นส่วนของผู้โดยสารขาเข้าระหว่างประเทศ
- รองรับการ Transfer ของผู้โดยสารที่มีเที่ยวบินต่อไปยังต่างประเทศของ การบินไทย ไทยแอร์เอเชีย ไทยไลอ้อนแอร์ และนกแอร์
- ด่านตรวจคนเข้าเมืองท่าอากาศยานหาดใหญ่
- จุดตรวจความปลอดภัย วัตถุอันตราย DGR
- ร้านสินค้าปลอดภาษี King Power
- มีประตูทางออก 2 ประตู โดยประตูทางออก 5 และ 6 เป็นสะพานเชื่อมเข้าสู่เครื่องบิน ที่รองรับเครื่องบินตั้งแต่ Airbus330 จนถึง Boeing 747-400
- ด่านตรวจสัตว์น้ำท่าอากาศยานหาดใหญ่
- ด่านศุลกากรท่าอากาศยานหาดใหญ่
บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) (ทอท.) ตระหนักถึงความสำคัญการดำเนินธุรกิจท่าอากาศยานโดยเฉพาะอย่างยิ่งโครงการพัฒนาท่าอากาศยานหาดใหญ่ จะเป็นการพัฒนาเพื่อเพิ่มขีดความสามารถของท่าอากาศยานหาดใหญ่ให้สามารถรองรับปริมาณการจราจรทางอากาศและผู้โดยสารที่เพิ่มขึ้นได้จนถึงปี 2568 กล่าวคือ จะพัฒนาเพิ่มขีดความสามารถของระบบทางวิ่งทางขับจากเดิม 20 เที่ยวบินต่อชั่วโมง ให้เพิ่มเป็น 34 เที่ยวบิน ต่อชั่วโมง, ปรับปรุงอาคารผู้โดยสารให้สามารถรองรับผู้โดยสารได้เพิ่มขึ้นจาก 2.55 ล้านคนต่อปีเป็น 5 ล้านคนต่อปี, ปรับปรุงอาคารคลังสินค้า ให้สามารถรองรับได้เพิ่มขึ้นจาก 13,800 ตันต่อปี เป็น 25,000 ต่อปี และขยายพื้นที่จอดรถยนต์ให้รองรับเพิ่มขึ้นจาก 650 คัน เป็น 1,100 คัน โดยมีเนื้องานตามโครงการพัฒนาท่าอากาศยานหาดใหญ่ (ปี 2558-2560) ดังนี้
- โครงการงานออกแบบก่อสร้างทางขับขนานเส้นใหม่ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถของทางวิ่ง จำนวน 2 เส้น (อยู่ระหว่างพิจารณาว่าจะดำเนินการเป็นแบบ Partial Parallel Taxiway หรือ Parallel Taxiway)
- โครงการงานออกแบบก่อสร้างอาคารผู้โดยสารใหม่ จำนวน 2 หลัง
- โครงการงานออกแบบก่อสร้าง ขยายและปรับปรุงลานจอดอากาศยานให้สามารถรองรับอากาศยานได้พร้อมกัน 15 หลุมจอด
- โครงการงานออกแบบก่อสร้างอาคารคลังสินค้าใหม่งานออกแบบก่อสร้างอาคารสนับสนุน เช่น อาคาร/ลานจอดรถยนต์โดยสาร อาคารศูนย์รักษาความปลอดภัย อาคาร GSE อาคารอเนกประสงค์
- โครงการงานออกแบบและก่อสร้างระบบสาธารณูปโภค ทหญ. ซึ่งประกอบด้วยระบบไฟฟ้า ระบบน้ำประปา ระบบบำบัดน้ำเสีย ระบบสื่อสาร และระบบเก็บขยะ
การเดินทางเข้าสู่ตัวเมือง
[แก้]
- ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 4135 หรือถนนสนามบินพาณิชย์
- รถลีมูซีน
- รถสองแถวเข้าสู่ตัวเมืองหาดใหญ่
- มินิบัส หาดใหญ่-สนามบินหาดใหญ่ 60 บาทตลอดสาย
- รถตู้สายโสภา
สายการบินที่ให้บริการ
[แก้]
สายการบินที่เคยให้บริการ
[แก้]
สายการบิน |
จุดหมายปลายทาง
|
เดินอากาศไทย |
กรุงเทพ,ภูเก็ต,สุราษฎร์ธานี,ตรัง,ปัตตานี,นราธิวาส,ปีนัง,กัวลาลัมเปอร์
|
การบินไทย |
กัวลาลัมเปอร์,เชียงใหม่,นราธิวาส,บันดาร์เซอรีเบอกาวัน,ภูเก็ต,สิงคโปร์
|
นกแอร์ |
ภูเก็ต,เชียงใหม่,อุบลราชธานี
|
ภูเก็ตแอร์ |
ภูเก็ต
|
มาเลเซียแอร์ไลน์ |
กัวลาลัมเปอร์,ปีนัง
|
ซิลค์แอร์ |
สิงคโปร์
|
แฮปปี้แอร์ |
ภูเก็ต
|
กานต์แอร์ |
อู่ตะเภา
|
ไทยไลอ้อนแอร์ |
สุบังจายา,เมดาน,หัวหิน,สุราษฎร์ธานี,เชียงใหม่
|
ไทยแอร์เอเชีย |
ยะโฮร์บะฮ์รู,เชียงราย,อู่ตะเภา
|
แอร์เอเชีย |
กัวลาลัมเปอร์
|
คุนหมิงแอร์ไลน์ |
คุนหมิง
|
บาติกแอร์ มาเลเซีย |
ปีนัง,สุบัง
|
เจ็ทสตาร์เอเชียแอร์เวย์ |
สิงคโปร์
|
ไทยเวียดเจ็ทแอร์ |
เชียงราย
|
ไทยสมายล์ |
กรุงเทพฯ-สุวรรณภูมิ
|
ปี (พ.ศ.) |
ผู้ใช้บริการ (คน) |
เปลี่ยนแปลง |
จำนวนเที่ยวบิน
|
2551
|
1,284,866 |
|
-
|
2552
|
1,389,873 |
8.17% |
-
|
2553
|
1,505,906 |
8.35% |
-
|
2554
|
1,869,113 |
24.12% |
14,032
|
2555
|
2,127,483 |
13.82% |
-
|
2556
|
2,465,370 |
15.88% |
17,056
|
2557
|
3,147,281 |
47.66% |
22,319
|
2558
|
3,568,093 |
21.19% |
24,258
|
2559
|
3,871,468
|
8.50%
|
26,862
|
ที่มา: บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน)[3]
|
อุบัติเหตุ/อุบัติการณ์
[แก้]
- วันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ.2530 เดินอากาศไทย เที่ยวบินที่ 365 โดยเครื่องบินออกเดินทางจากท่าอากาศยานนานาชาติหาดใหญ่ไปยังท่าอากาศยานนานาชาติภูเก็ต เครื่องบินได้ตกบริเวณทะเลภูเก็ตโดยมีลูกเรือ 9 คน และผู้โดยสาร 74 คน เสียชีวิตทั้งหมดและไม่พบผู้รอดชีวิต [4] [อุบัติเหตุ]
- 3 เมษายน 2548 กลุ่มแบ่งแยกดินแดนปัตตานีได้มีการวางระเบิดห้องผู้โดยสารขาออก ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิต2ราย และบาดเจ็บ10ราย
- 2 พฤษภาคม พ.ศ.2558 เมื่อเวลาประมาณ 10.30 น. เครื่องบินโบอิ้ง 737-900ER HS-LTQ สายการบินไทยไลอ้อนแอร์ (Thai Lion Air) เที่ยวบินที่ SL8531 ประสบเหตุตกร่องพื้นอ่อนของรันเวย์ ระหว่างจะนำเครื่องขึ้น เพื่อมุ่งหน้าสู่ท่าอากาศยานดอนเมืองไม่มีผู้ได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิต [อุบัติการณ์]
- 4 ธันวาคม พ.ศ.2559 สายการบินไทยไลออนแอร์ เที่ยวบิน SL703 เครื่องบินโบอิ้ง 737-900ER ขณะที่กำลังจะออกเดินทาง มีผู้โดยสารวัยรุ่นกลุ่มหนึ่งคุยเล่นกันว่า มีระเบิดบนเครื่องบิน ภายหลังการตรวจสอบไม่พบว่า มีสิ่งผิดปกติแต่อย่างใด ส่งผลให้เที่ยวบินล่าช้ากว่ากำหนด 1 ชั่วโมง และผู้โดยสารกลุ่มดังกล่าวถูกดำเนินคดีตามกฎหมาย[5]
- 14 มกราคม พ.ศ.2560 เครื่องบินขับไล่กริพเพ่น 39 ตกที่กองบิน 56 สนามบินหาดใหญ่ ขณะขึ้นบินแสดงโชว์ผาดโผน เนื่องในโอกาสวันเด็กแห่งชาติ ปี 2560 นักบินเสียชีวิต1ราย [อุบัติเหตุ]
- 20 เมษายน พ.ศ.2562 : สายการบินไทยแอร์เอเชีย เที่ยวบิน FD3111 เครื่องบินแอร์บัส เอ320-216 ทะเบียน HS-ABN เส้นทางจากท่าอากาศยานหาดใหญ่ ไปยังท่าอากาศยานดอนเมือง เกิดเหตุเครื่องบินขัดข้อง สายการบินได้เปลี่ยนลำโดยสลับนำเครื่องบินอีกลำหนึ่ง ทะเบียน HS-BBA ของเที่ยวบินถัดไปเปลี่ยนมารับ ผู้โดยสารของเที่ยวบินนี้แทน รวมแล้วเที่ยวบินล่าช้ากว่ากำหนดเวลาเดิม 2 ชั่วโมง 35 นาที ส่วนลำเดิมที่ขัดข้องก็ได้แก้ไขแล้วเสร็จและใช้บินเที่ยวบินใหม่แทน
- 11 กุมภาพันธ์ 2564 มีชายสติไม่ดีโทรขู่วางระเบิดถึง3 ครั้ง สุดท้ายตำรวจ ส.ภ.คลอยหอยโข่ง ได้ดำเนินคดีเรียบร้อย
- 27 มกราคม 2565 มีทหารเรืออ้างเป็นองครักษ์ ขู่พกระเบิด20 ลูก,ปืน,มีด บอกว่าจะเคลียร์กับนายกให้ ล่าสุดสั่งลงโทษทางวินัยเรียบร้อยแล้ว
- 21 ตุลาคม 2567 มีเด็กวัยรุ่นกลุ่มหนึ่ง พูดเล่นกัน จะวางระเบิดสนามบินหาดใหญ่
- 6 เมษายน 2563 เที่ยวบินพิเศษ SL117 สายการบินไทยไลอ้อนแอร์ ทะเบียน HS-LUH B737-800NG จากท่าอากาศยานนานาชาติซูการ์โน-ฮัตตา นำผู้โดยสารติดเชื้อโควิด19 กลับมาประเทศไทย จำนวน 61 ราย (ดาวะห์) และนักบินไทยไลอ้อนแอร์ ที่ตกค้างในประเทศอินโดนีเซีย กลับมากักตัว ณ ประเทศไทย
|
---|
กรุงเทพและปริมณฑล | |
---|
ภาคเหนือ | |
---|
ภาคใต้ | |
---|
|
|
---|
อำเภอ | | |
---|
ประวัติศาสตร์ | |
---|
ภูมิศาสตร์ | |
---|
เศรษฐกิจ | |
---|
สังคม | การศึกษา | |
---|
วัฒนธรรม | |
---|
กีฬา | |
---|
การเมือง | |
---|
การทหาร | |
---|
|
---|
|