แอร์เอเชีย
บทความนี้อาจต้องการตรวจสอบต้นฉบับ ในด้านไวยากรณ์ รูปแบบการเขียน การเรียบเรียง คุณภาพ หรือการสะกด คุณสามารถช่วยพัฒนาบทความได้ |
| |||||||
ก่อตั้ง | 20 ธันวาคม พ.ศ. 2536 | ||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|
เริ่มดำเนินงาน | 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2539 | ||||||
ฐานการบิน | |||||||
สะสมไมล์ | BIG Loyalty Programme[1] | ||||||
บริษัทลูก | |||||||
ขนาดฝูงบิน | 255 (รวมบริษัทย่อย) | ||||||
จุดหมาย | 165 (รวมบริษัทย่อย) | ||||||
บริษัทแม่ | Tune Group | ||||||
การซื้อขาย | MYX: 5099 | ||||||
ISIN | MYL5099OO006 | ||||||
สำนักงานใหญ่ | ท่าอากาศยานนานาชาติกัวลาลัมเปอร์ อำเภอเซอปัง รัฐเซอลาโงร์ ประเทศมาเลเซีย | ||||||
บุคลากรหลัก |
| ||||||
รายได้ | 6.6 พันล้านริงกิต (2022)[3] | ||||||
รายได้สุทธิ | −2.48 พันล้านริงกิต (2022)[4] | ||||||
พนักงาน | 20,000 (2019) | ||||||
เว็บไซต์ | www |
แคปปิตอล เอ เบอร์ฮาด (อังกฤษ: Capital A Berhad; MYX: 5099) ดำเนินการในชื่อ แอร์เอเชีย (อังกฤษ: AirAsia; ในรูปแบบ airasia) เป็นบริษัทข้ามชาติสายการบินต้นทุนต่ำสัญชาติมาเลเซีย มีสำนักงานใหญ่อยู่ใกล้กัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย เป็นสายการบินที่ใหญ่ที่สุดในประเทศมาเลเซียเมื่อพิจารณาจากขนาดฝูงบินและจุดหมายปลายทาง แอร์เอเชียให้บริการเที่ยวบินภายในประเทศและระหว่างประเทศไปยังจุดหมายปลายทางมากกว่า 165 แห่ง ครอบคลุม 25 ประเทศ[5] ฐานการบินอยู่ที่ท่าอากาศยานนานาชาติกัวลาลัมเปอร์ 2 (klia2) ซึ่งเป็นอาคารผู้โดยสารสายการบินต้นทุนต่ำที่ท่าอากาศยานนานาชาติกัวลาลัมเปอร์ (KLIA) ในอำเภอเซอปัง รัฐเซอลาโงร์ ประเทศมาเลเซีย มีสายการบินในเครือ ได้แก่ แอร์เอเชียกัมพูชา ไทยแอร์เอเชีย อินโดนีเซียแอร์เอเชีย และแอร์เอเชียฟิลิปปินส์ ที่มีฐานการบินอยู่ที่ท่าอากาศยานพนมเปญ กรุงเทพฯ-ดอนเมือง จาการ์ตา-ซูการ์โน-ฮัตตา และมะนิลา-นินอย อากีโน ตามลำดับ อีกทั้งแอร์เอเชียเอ็กซ์ที่เป็นสายการบินเส้นทางระยะไกล แอร์เอเชียมีสำนักงานจดทะเบียนและสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่ท่าอากาศยานนานาชาติกัวลาลัมเปอร์
พ.ศ. 2550 เดอะนิวยอร์กไทมส์ระบุว่าสายการบินนี้เป็น "ผู้บุกเบิก" ของการเดินทางราคาประหยัดในเอเชีย[6] นอกจากนี้ยังได้รับเลือกให้เป็นสายการบินต้นทุนต่ำที่ดีที่สุดในโลกเป็นเวลา 13 ปีติดต่อกันโดยสกายแทร็กซ์ ในรางวัลการเดินทางและสายการบินระหว่างประเทศ ซึ่งรวมถึงรางวัลล่าสุดใน พ.ศ. 2565[7]
ประวัติ
[แก้]แอร์เอเชียก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2536 และเริ่มดำเนินการเมื่อ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2539 ก่อตั้งขึ้นโดยหน่วยงานรัฐวิสาหกิจ DRB-Hicom ของรัฐบาลมาเลเซีย หลังจากดำเนินงานประสบปัญหาขาดทุนอย่างหนัก และมีหนี้สินจำนวนมาก และเมื่อ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2544 กลุ่มบริษัท ทูนแอร์ โดยผู้บริหารคือ นายโทนี เฟอร์นานเดส ได้เข้าซื้อหนี้ของสายการบินแอร์เอเชีย และเข้ามาบริหารงาน โดยเริ่มเปิดเส้นทางบินใหม่จาก ท่าอากาศยานนานาชาติกัวลาลัมเปอร์ และตีคู่แข่งอย่าง มาเลเซียแอร์ไลน์ ด้วยค่าโดยสารเริ่มต้นที่ 1 ริงกิตมาเลเซีย หรือประมาณ 0.27 ดอลลาร์สหรัฐ
ท่าอากาศยานรอง
[แก้]ในปี พ.ศ. 2546 แอร์เอเชียได้เปิดตัวท่าอากาศยานรองแห่งที่สองที่ ท่าอากาศยานนานาชาติเซไน ใน รัฐยะโฮร์ บาห์รู ซึ่งใกล้กับประเทศสิงคโปร์และเปิดตัวเที่ยวบินระหว่างประเทศเป็นครั้งแรกด้วย โดยบินตรงสู่กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย และเริ่มมีการจัดตั้งสายการบินไทยแอร์เอเชีย เปิดเส้นทางบินสู่ประเทศสิงคโปร์, มาเก๊า, เซียะเหมิน ประเทศจีน, กรุงมะนิลา, ประเทศเวียดนาม ประเทศกัมพูชา และ ประเทศพม่า ในปัจจุบันแอร์เอเชียมาเลเซีย มีท่าอากาศยานรองอีกสองแห่งในมาเลเซียตะวันออก ได้แก่ ท่าอากาศยานนานาชาติกูชิง ตั้งอยู่ในเมืองกูชิง รัฐซาราวัก และ ท่าอากาศยานนานาชาติโกตากีนาบาลู ตั้งอยู่ในเมืองโกตากีนาบาลู รัฐซาบะฮ์
จุดหมายปลายทาง
[แก้]ในปัจจุบัน แอร์เอเชียมาเลเชียมีเส้นทางบินตรงสู่ 58 จุดหมายปลายทาง ครอบคลุมประเทศในกลุ่มอาเซียน เอเชียตะวันออก เอเชียใต้ และ ออสเตรเลีย ด้วยฐานการบินหลักจาก ท่าอากาศยานนานาชาติกัวลาลัมเปอร์ อาคาร KLIA2
- แอร์เอเชียมาเลเชีย ได้ทำการบินตรงไปยังจุดหมายปลายทางดังต่อไปนี้
- ประเทศมาเลเซีย
- กัวลาลัมเปอร์ - ท่าอากาศยานนานาชาติกัวลาลัมเปอร์ ฐานการบินหลัก
- ปีนัง - ท่าอากาศยานนานาชาติปีนัง ฐานการบินหลัก
- โจโฮร์บะฮ์รู - ท่าอากาศยานนานาชาติเซนัยฐานการบินหลัก
- โกตากีนาบาลู - ท่าอากาศยานนานาชาติโกตากีนาบาลู ฐานการบินหลัก
- อลอร์สตาร์ - ท่าอากาศยานอลอร์สตาร์
- บินตูลู - ท่าอากาศยานบินตูลู
- โกตาบารู - ท่าอากาศยานสุลตานอิสมาอีล เปตรา
- กัวลาเตอเริงกานู - ท่าอากาศยานกัวลาเตอเริงกานู
- ลาบวน - ท่าอากาศยานลาบวน
- มีรี - ท่าอากาศยานมีรี
- กูชิง - ท่าอากาศยานนานาชาติกูชิง
- ซันดากัน - ท่าอากาศยานซันดากัน
- ซิบู - ท่าอากาศยานซิบู
- ตาเวา - ท่าอากาศยานตาเวา
- เกาะลังกาวี - ท่าอากาศยานนานาชาติลังกาวี
- ประเทศไทย
- กรุงเทพมหานคร - ท่าอากาศยานดอนเมือง
- ภูเก็ต - ท่าอากาศยานภูเก็ต
- กระบี่ - ท่าอากาศยานนานาชาติกระบี่
- เชียงใหม่ - ท่าอากาศยานนานาชาติเชียงใหม่
- พัทยา - ท่าอากาศยานนานาชาติอู่ตะเภา กลับมาบินอีกครั้ง 17 มิ.ย. 67
- ประจวบคีรีขันธ์ -ท่าอากาศยานหัวหิน ยกเลิกก่อน กลับมาในอนาคต
- เชียงราย - ท่าอากาศยานนานาชาติแม่ฟ้าหลวง เริ่ม 2 พ.ย. 67
- สาธารณรัฐอินโดนีเซีย
- บันดาอาเจะฮ์ - ท่าอากาศยานนานาชาติ สุลต่านอีสกันดาร์มูด้า
- เมดาน - ท่าอากาศยานนานาชาติกัวลานามู
- เปกันบารู - ท่าอากาศยานนานาชาติ สุลต่าน Syarif Qasim
- ปาดัง - ท่าอากาศยานนานาชาติปาดัง
- ปาเล็มบัง - ท่าอากาศยานนานาชาติปาเล็มบัง
- จาการ์ตา - ท่าอากาศยานนานาชาติซูการ์โน-ฮัตตา
- บันดุง - ท่าอากาศยานนานาชาติฮุสเซอิน ซัสตราเนการ่า
- ยอกยาการ์ตา - ท่าอากาศยานนานาชาติอดิสุจิบโต
- เซมารัง - ท่าอากาศยานนานาชาติ Achmad Yani
- สุราบายา - ท่าอากาศยานนานาชาติจวนดา
- บาหลี - ท่าอากาศยานนานาชาติงูระห์ไร เดนปาซาร์
- ลอมบอก - ท่าอากาศยานนานาชาติลอมบอก
- บาลิก์ปาปัน - ท่าอากาศยานนานาชาติบาลิก์ปาปัน
- มากัซซาร์ - ท่าอากาศยานนานาชาติมากัซซาร์ อูจุง ปาดัง
- โซโล (สุราการ์ตา) - ท่าอากาศยานนานาชาติโซโล(Adisumarmo)
- สาธารณรัฐสิงคโปร์
- ประเทศบรูไน
- ประเทศฟิลิปปินส์
- ประเทศพม่า
- ประเทศลาว
- สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม
- ประเทศกัมพูชา
- สาธารณรัฐประชาชนจีน
- เขตบริหารพิเศษฮ่องกง
- เขตบริหารพิเศษมาเก๊า
- สาธารณรัฐจีน
- ประเทศอินเดีย
- ( ไทยแอร์เอเชีย FD, แอร์เอเชียมาเลเซีย AK, อินโดนีเซียแอร์เอเชีย QZ, ให้บริการ ณ ท่าอากาศยานนานาชาติดอนเมือง ตั้งแต่ในวันที่ 1 ตุลาคม 2555 )
จุดหมายปลายทางที่เคยทำการบิน
[แก้]ฝูงบิน
[แก้]ข้อมูลเมื่อ มกราคม 2023[update] ฝูงบินของแอร์เอเชีย (มาเลเซีย) ประกอบด้วยเครื่องบินดังต่อไปนี้:[9][10][11]
เครื่องบิน | ประจำการ | สั่งซื้อ | จำนวนผู้โดยสาร | หมายเหตุ | ||
---|---|---|---|---|---|---|
แอร์บัส เอ320-200 | 70 | 4 | 180 | |||
แอร์บัส เอ320นีโอ | 29 | — | 186 | |||
แอร์บัส เอ321นีโอ | 2[12] | 362[13] | 236 | บางส่วนจะถูกเปลี่ยนเป็น เอ320นีโอ เมื่อจำเป็น[14]จะมีการส่งมอบอีกครั้งในปี 2024[15] | ||
รวม | 101 | 366 |
อดีตฝูงบิน
[แก้]แอร์เอเชียเคยให้บริการเครื่องบินดังต่อไปนี้:[11]
เครื่องบิน | รวม | ประจำการ | ปลดประจำการ | เปลี่ยน | หมายเหตุ |
---|---|---|---|---|---|
โบอิง 737-300 | 32 | 1996 | 2009 | แอร์บัส เอ320-200 | |
โบอิง 747-200บี | 2 | 2000 | 2000 | ไม่มี | เช่าจาก Tower Air |
3 | 2003 | 2003 | เช่าจาก Air Atlanta Icelandic และ European Aviation Air Charter | ||
แมคดอนเนลล์ ดักลาส เอ็มดี-11ER | 1 | 1999 | 2000 | เช่าจาก World Airways |
การบริการบนเครื่องบิน
[แก้]การให้บริการบนเครื่องบินของแอร์เอเชีย เป็นการจำหน่ายอาหารและเครื่องดื่มบนเครื่องบิน (เดิมทีบริการนี้มีชื่อเรียกว่า "Snack Attack"[16] แต่ต่อมาได้ยกเลิกชื่อเรียกนี้ไป) และการให้สั่งจองอาหารพร้อมชำระเงินล่วงหน้าก่อนเริ่มเที่ยวบินไม่น้อยกว่า 24 ชั่วโมง
แอร์เอเชียเป็นสายการบินที่ได้รับการรับรองจาก the KL Syariah Index หรือหน่วยงานที่ควบคุมดูแลเรื่องอาหารให้สอดคล้องกับหลักศาสนาอิสลาม ในเที่ยวบินของแอร์เอเชียจะไม่จำหน่ายอาหารประเภทหมู และไม่บริการเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ ยกเว้นเที่ยวบินภายในประเทศบางประเทศ[17]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "AirAsia BIG Loyalty Programme". Airasia.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 May 2014. สืบค้นเมื่อ 31 May 2014.
- ↑ "Aireen Omar dilantik CEO AirAsia in Malaysia". 18 June 2012. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 20 June 2012. สืบค้นเมื่อ 18 June 2012.
- ↑ "CAPITAL A FOURTH QUARTER 2022 FINANCIAL RESULTS". AirAsia Newsroom. 28 February 2023. สืบค้นเมื่อ 6 March 2023.
- ↑ "AirAsia parent posts Q4 profit; expects China reopening boost". CNA. 28 February 2023. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-03-07. สืบค้นเมื่อ 6 March 2023.
- ↑ "AirAsia, the leading and largest low-cost carrier in Asia, services the most extensive network with over 165 routes covering destinations in and around Asia". routsonline.com. 7 October 2016. สืบค้นเมื่อ 1 January 2017.
- ↑ Kurlantzick, Joshua (23 December 2007). "Does Low Cost Mean High Risk?". The New York Times. สืบค้นเมื่อ 28 April 2010.
- ↑ "AirAsia Voted World's Best Low-Cost Airline for 13th straight year". Newsroom AirAsia. 2022. สืบค้นเมื่อ 3 October 2022.
- ↑ "Annual Report 2020"[1] ; 01 ABOUT US, 10 ; Vision and Mission, 11 ; AirAsia Group Key Highlights, 12 ; Our Netwrok & Statistics, 14 ; 2020 Highlights, 16.
- ↑ "Global Airline Guide 2019 (Part One)". Airliner World. October 2019: 20.
- ↑ AirAsia up-gauges with a 100 A321neo order; outlook improves and China in its sights CAPA, 14 July 2016
- ↑ 11.0 11.1 "AirAsia Fleet Details and History". Planespotters.net. สืบค้นเมื่อ May 13, 2021.
- ↑ "AirAsia to reach greater heights with Airbus A321neo planes | New Straits Times".
- ↑ "Air Asia coverts 253 A320neo to 362A321neo". Airbus. 18 June 2019. สืบค้นเมื่อ 19 June 2020.
- ↑ Airbus Orders and Deliveries (XLS), monthly updated, accessed via "Orders & deliveries". Airbus. Airbus SAS. 31 October 2022.
- ↑ https://simpleflying.com/airasia-airbus-a320neo-deliveries-from-2024/
- ↑ AirAsia. "Snack Attack". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-09-02. สืบค้นเมื่อ 2017-07-14.
- ↑ AirAsia X Snack Attack เก็บถาวร 2009-02-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. airasia.com. Retrieved 23 February 2009.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- AirAsia
- AirAsia mobile website เก็บถาวร 2012-07-19 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน