ฐานบินหาดใหญ่
ฐานบินหาดใหญ่ | |||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|
ส่วนหนึ่งของกองทัพอากาศไทย | |||||||
หาดใหญ่ สงขลา | |||||||
พิกัด | 6°55′58″N 100°23′42″E / 6.93283°N 100.39500°E | ||||||
ประเภท | ฐานทัพอากาศ | ||||||
ข้อมูล | |||||||
ผู้ดำเนินการ | กองทัพอากาศไทย | ||||||
ควบคุมโดย | ฝูงบินผสม 536 (พ.ศ. 2518–2520) ฝูงบินอิสระปฏิบัติราชการสนาม 536 (หาดใหญ่) (พ.ศ. 2520–2523) กองบิน 56 (พลาง) (พ.ศ. 2523–2525) ฝูงบินอิสระปฏิบัติราชการสนาม 716 (หาดใหญ่) (พ.ศ. 2525–2526) กองบิน 56 (พ.ศ. 2526–ปัจจุบัน) | ||||||
สภาพ | ปฏิบัติการ | ||||||
เว็บไซต์ | wing56 | ||||||
ประวัติศาสตร์ | |||||||
สร้าง | 5 ตุลาคม พ.ศ. 2518 | ||||||
ข้อมูลสถานี | |||||||
กองทหารรักษาการณ์ | กองบิน 56 | ||||||
ข้อมูลลานบิน | |||||||
ข้อมูลระบุ | IATA: HDY, ICAO: VTSS[1] | ||||||
ความสูง | 90 ฟุต (27 เมตร) เหนือระดับ น้ำทะเล | ||||||
|
ฐานบินหาดใหญ่[2][3] (อังกฤษ: Hat Yai Air Force Base) เป็นฐานบินปฏิบัติการหน้า[4]และที่ตั้งทางทหารของกองบิน 56 กองทัพอากาศไทย ตั้งอยู่ที่ตำบลโคกม่วง อำเภอคลองหอยโข่ง จังหวัดสงขลา[5]
ประวัติ
[แก้]เนื่องจากความคับแคบของฐานบินสงขลาที่ไม่สามารถขยายเส้นทางวิ่งแล้ว และบริเวณโดยรอบเต็มไปด้วยชุมชน จึงมีการเสนอให้ก่อสร้างสนามบินแห่งใหม่ในปี พ.ศ. 2504 และว่าจ้าง บริษัท สเวอร์คลับ แอนด์ พาร์เชล โอเวอร์ซี จำกัด ให้สำรวจและออกแบบสนามบินแห่งใหม่ และพบว่าพื้นที่ที่มีความเหมาะสมที่สุดคือบริเวณบ้านควนลัง ตำบลคลองหอยโข่ง อำเภอหาดใหญ่ (ในเวลานั้น) เพราะอยู่ห่างไกลจากตัวเมือง และไม่ประสบปัญหาด้านการระบายน้ำ รวมถึงเป็นพื้นที่สงวนไว้ของจังหวัดสงขลาจึงทำให้ประหยัดงบประมาณแผ่นดินในการจัดซื้อที่ดิน และใช้ชื่อสนามบินแห่งใหม่ว่า สนามบินหาดใหญ่ ได้รับอนุญาตให้ใช้งานเป็นสนามบินอนุญาตเมื่อวันที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2514 สังกัดกรมการบินพาณิชย์ กระทรวงคมนาคม[6] ซึ่งในเวลาเดียวกันกองทัพอากาศยังคงใช้งานสนามบินสงขลาเป็นฐานบิน และประจำการฝูงบิน 531 จากกองบิน 53 ประจวบคีรีขันธ์[3]
ต่อมากองทัพอากาศได้ย้ายฝูงบิน 531 ซึ่งสังกัดกองบิน 53 ประจวบคีรีขันธ์ มายังที่ตั้งของฐานบินหาดใหญ่ในปัจจุบันเมื่อวันที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2518 ในชื่อ ฝูงบินผสม 536 (หาดใหญ่) และเปลี่ยนชื่อเป็น ฝูงบินอิสระปฏิบัติราชการสนาม 536 เมื่อวันที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2520[3]
เนื่องจากภัยคุกคามของโจรจีนคอมมิวนิสต์ในพื้นที่ กองทัพภาคที่ 4 จึงได้อนุมัติให้พัฒนาฐานบินหาดใหญ่ขึ้นเป็นกองบินปกติเลขสองตัว (เพื่อพลางก่อน) และเปลี่ยนชื่อจาก ฝูงบินอิสระปฏิบัติราชการสนาม 536 (หาดใหญ่) เป็น กองบิน 56 ในวันที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2523 ทำให้วันนี้เป็นวันคล้ายวันสถาปนากองบิน 56 ต่อมาได้มีการโอนสายการบังคับบัญชาขึ้นต่อกองบิน 71 เปลี่ยนชื่อเป็น ฝูงบินอิสระปฏิบัติราชการสนาม 716 (หาดใหญ่) โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมได้อนุมัติให้กองทัพอากาศใช้อัตรากองบินหมายเลขสองตัว คือ กองบิน 56 และยกเลิกฝูงบินอิสระปฏิบัติราชการสนาม 716 (หาดใหญ่) เมื่อวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2526[3]
กองบิน 56 ได้รับโอนเครื่องบินแบบ ที-33 จำนวน 14 ลำ และเครื่องบินแบบ อาร์ที-33 จำนวน 3 ลำ จากกองบิน 1 ฝูงบิน 101 ฐานบินโคราชมาประจำการที่ฐานบินหาดใหญ่เมื่อวันที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2524 มีภารกิจในการลาดตระเวนทางอากาศและฝึกนักบินขับไล่/โจมตี และปลดประจำการเครื่องบินไปเมื่อวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2538 ปัจจุบันยังคงไม่มีอากาศยานเข้าประจำการในฝูงบินแต่อย่างใด[3]
บทบาทและปฏิบัติการ
[แก้]กองทัพอากาศไทย
[แก้]ฐานบินหาดใหญ่ เป็นฐานบินหลักสำหรับกองบิน 56 กองทัพอากาศไทยในการปฏิบัติงานใน 7 จังหวัดภาคใต้ตอนล่าง[3]รวมถึงเป็นฐานบินปฏิบัติการหน้า ซึ่งไม่มีเครื่องบินขับไล่ประจำการอยู่ถาวร แต่สามารถเคลื่อนย้ายมาวางกกำลังได้โดยมีอุปกรณ์อำนวยความสะดวกได้อย่างครบครัน[4] ซึ่งฐานบินหาดใหญ่ประกอบไปด้วยเครื่องบินโจมตีเบา 1 ฝูงบิน คือ
- ฝูงบิน 561 ปัจจุบันไม่มีอากาศยานเข้าประจำการ
- กองพันทหารอากาศโยธิน กองบิน 56 เป็นกำลังกองรักษาการณ์ฐานบินหาดใหญ่หลักในการป้องกันฐานบิน
และส่วนสนับสนุนอื่น ๆ ได้แก่ กองบังคับการ, แผนกการเงิน, แผนกสนับสนุนการบิน, กองเทคนิค, โรงพยาบาลกองบิน, แผนกช่างโยธา, แผนกขนส่ง, แผนกพลาธิการ, แผนกสวัสดิการ และกองร้อยทหารสารวัตร[7]
หน่วยปฏิบัติการฝนหลวงจังหวัดสงขลา
[แก้]ศูนย์ปฏิบัติการฝนหลวงภาคใต้ กรมฝนหลวงและการบินเกษตร ได้ใช้ฐานบินหาดใหญ่ในการปฏิบัติการฝนหลวงในพื้นที่ภาคใต้ตอนล่างหมุนเวียนกันมาประจำการ
หน่วยในฐานบิน
[แก้]หน่วยบินที่วางกำลังในฐานบินหาดใหญ่ ที่วางกำลังอยู่ในปัจจุบัน ประกอบไปด้วย
กองทัพอากาศ
[แก้]กองบิน 56
[แก้]- ฝูงบิน 561 – ปัจจุบันไม่มีอากาศยานเข้าประจำการ
- หน่วยบินปฏิบัติภารกิจฝนหลวงกองทัพอากาศ[9]
กรมฝนหลวงและการบินเกษตร
[แก้]ศูนย์ปฏิบัติการฝนหลวงภาคใต้
[แก้]- หน่วยปฏิบัติการฝนหลวงจังหวัดสงขลา – เซสนา 208 คาราวาน
สิ่งอำนวยความสะดวก
[แก้]ฐานบินหาดใหญ่ประกอบด้วยพื้นที่ 2 ส่วนด้วยกันคือ พื้นที่ฐานบินของกองทัพอากาศ และพื้นที่พลเรือนของท่าอากาศยานหาดใหญ่ การท่าอากาศยาน
ลานบิน
[แก้]ฐานบินหาดใหญ่ประกอบไปด้วยทางวิ่งความยาว 3,050 เมตร (10,007 ฟุต) ความกว้าง 45 เมตร (148 ฟุต) อยู่เหนือจากระดับน้ำทะเล 90 ฟุต (27 เมตร) ทิศทางรันเวย์คือ 08/26 หรือ 082° และ 262° พื้นผิวคอนกรีตและแอสฟอลต์คอนกรีต[10]
โรงพยาบาลกองบิน 56
[แก้]โรงพยาบาลกองบิน 56 เป็นโรงพยาบาลในกองบิน 56 อยู่ภายใต้สังกัดกรมแพทย์ทหารอากาศ กระทรวงกลาโหม ประกอบด้วยเตียงผู้ป่วยขนาด 10 เตียง[11] สำหรับตรวจรักษาข้าราชการทหาร ลูกจ้าง พนักงาน ครอบครัว และประชาชนบริเวณกองบิน และดำเนินการด้านเวชศาสตร์ป้องกันและเวชศาสตร์การบิน[7]
ดูเพิ่ม
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ รายชื่อสนามบินในประเทศไทย (โค้ด)
- ↑ "ประกาศกองทัพอากาศ เรื่อง กำหนดชื่อเรียกฐานที่ตั้งหน่วยบินต่าง ๆ". เอกสารประกอบการบรรยาย วิชา แบบธรรมเนียมทหาร พ.ศ. 2567 (PDF). กรมสารวรรณทหารอากาศ. 2567. p. 329. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2024-05-31. สืบค้นเมื่อ 2024-05-31.
- ↑ 3.0 3.1 3.2 3.3 3.4 3.5 "ประวัติความเป็นมา บน.๕๖ – กองบิน56". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2024-05-30. สืบค้นเมื่อ 2024-05-30.
- ↑ 4.0 4.1 "Royal Thai Air Force | ยุทโธปกรณ์ในกองทัพอากาศไทย". thaiarmedforce. 2019-05-02.
- ↑ "ติดต่อเรา – กองบิน56" (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2024-05-30. สืบค้นเมื่อ 2024-05-30.
- ↑ "รู้หรือไม่... ก่อนที่จะมีสนามบินหาดใหญ่ จังหวัดสงขลามีสนามบินสงขลามาก่อน". www.hatyaifocus.com.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ 7.0 7.1 ประวัติหน่วยทหาร (ส่วนราชการในกองทัพอากาศ) (PDF). กองประวัติศาสตร์และพิพิธภัณฑ์ทหาร กองบัญชาการสถาบันวิชาการป้องกันประเทศ. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2022-03-08. สืบค้นเมื่อ 2024-05-30.
- ↑ "พิธีส่งหน่วยบินปฏิบัติภารกิจฝนหลวงกองทัพอากาศ ประจำปี 2567". welcome-page.rtaf.mi.th.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "ผบ.ทอ. ส่งหน่วยบิน 7 ลำ ขึ้นปฏิบัติการฝนหลวง เพื่อช่วยเหลือภัยแล้ง". www.thairath.co.th. 2024-03-12.
- ↑ "Aedrome/Heliport VTSS". aip.caat.or.th (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). 2019-09-26. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2024-05-30. สืบค้นเมื่อ 2024-05-30.
- ↑ แผนพัฒนาจังหวัดสงขลา 4 ปี (พ.ศ. 2561-2564) (PDF). มหาวิทยาลัยทักษิณ.