ฟุตบอลทีมชาติฝรั่งเศส
ฉายา | Les Bleus (สีน้ำเงิน) ตราไก่ (ฉายาในภาษาไทย) | ||
---|---|---|---|
สมาคม | สหพันธ์ฟุตบอลฝรั่งเศส (FFF) | ||
สมาพันธ์ | ยูฟ่า (ยุโรป) | ||
หัวหน้าผู้ฝึกสอน | ดีดีเย เดช็อง | ||
กัปตัน | กีลียาน อึมบาเป [1] | ||
ติดทีมชาติสูงสุด | อูว์โก โยริส (143) | ||
ทำประตูสูงสุด | ออลีวีเย ฌีรู (56) | ||
สนามเหย้า | สตาดเดอฟร็องส์ | ||
รหัสฟีฟ่า | FRA | ||
| |||
อันดับฟีฟ่า | |||
อันดับปัจจุบัน | 2 (20 มิถุนายน 2024)[2] | ||
อันดับสูงสุด | 1 (พฤษภาคม ค.ศ. 2001 – พฤษภาคม ค.ศ. 2002, สิงหาคม – กันยายน ค.ศ. 2018) | ||
อันดับต่ำสุด | 26 (กันยายน ค.ศ. 2010) | ||
เกมระดับนานาชาติครั้งแรก | |||
เบลเยียม 3–3 ฝรั่งเศส (อุกล์ ประเทศเบลเยียม; 1 พฤษภาคม ค.ศ. 1904) | |||
ชนะสูงสุด | |||
ฝรั่งเศส 14–0 ยิบรอลตาร์ (นิส ประเทศฝรั่งเศส; 19 พฤศจิกายน ค.ศ. 2023) | |||
แพ้สูงสุด | |||
เดนมาร์ก 17–1 ฝรั่งเศส (ลอนดอน ประเทศอังกฤษ; 22 ตุลาคม ค.ศ. 1908) | |||
ฟุตบอลโลก | |||
เข้าร่วม | 15 (ครั้งแรกใน 1930) | ||
ผลงานดีที่สุด | ชนะเลิศ (1998, 2018) | ||
ยูโร | |||
เข้าร่วม | 10 (ครั้งแรกใน 1960) | ||
ผลงานดีที่สุด | ชนะเลิศ (1984, 2000) | ||
เนชันส์ลีก รอบสุดท้าย | |||
เข้าร่วม | 1 (ครั้งแรกใน 2021) | ||
ผลงานดีที่สุด | ชนะเลิศ (2021) | ||
คอนเมบอล-ยูฟ่าคัพออฟแชมเปียนส์ | |||
เข้าร่วม | 1 (ครั้งแรกใน 1985) | ||
ผลงานดีที่สุด | ชนะเลิศ (1985) | ||
คอนเฟเดอเรชันส์คัพ | |||
เข้าร่วม | 2 (ครั้งแรกใน 2001) | ||
ผลงานดีที่สุด | ชนะเลิศ (2001, 2003) | ||
เกียรติยศ |
ฟุตบอลทีมชาติฝรั่งเศส (ฝรั่งเศส: Équipe de France de football) เป็นตัวแทนทีมฟุตบอลจากประเทศฝรั่งเศส ภายใต้การกำกับดูแลโดยสหพันธ์ฟุตบอลฝรั่งเศส เป็นสมาชิกของสหภาพสมาคมฟุตบอลยุโรปในการแข่งขันระดับทวีป และสมาชิกสหพันธ์ฟุตบอลนานาชาติในการแข่งขันระดับโลก มีสนามเหย้าคือสตาดเดอฟร็องส์ ตั้งอยู่ในเทศบาลแซ็ง-เดอนีในกรุงปารีส และสนามฝึกซ้อมตั้งอยู่ที่แกลร์ฟงแตน ออง อีฟเฟอลีน แคว้นอีล-เดอ-ฟร็องส์ สีประจำทีมคือสีน้ำเงินและสีแดงซึ่งมีต้นแบบมาจากธงชาติฝรั่งเศส และเป็นที่มีของฉายา Les Bleus (The Blues) สัญลักษณ์ฺทีมคือไก่ตัวผู้
ฝรั่งเศสเป็นทีมที่ประสบความสำเร็จทีมหนึ่งในทวีปยุโรป มีผลงานชนะเลิศฟุตบอลโลก 2 สมัย (ค.ศ. 1998 และ 2018), ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2 สมัย (ค.ศ. 1984 และ 2000), ฟีฟ่าคอนเฟเดอเรชันส์คัพ 2 สมัย (ค.ศ. 2001 และ 2003) ยูฟ่าเนชันส์ลีก 1 สมัย (ค.ศ. 2021), คอนเมบอล–ยูฟ่าคัพออฟแชมเปียนส์ 1 สมัย (ค.ศ. 1985) และเหรียญทองโอลิมปิก 1 สมัย (โอลิมปิกฤดูร้อน 1984)
ทีมชาติฝรั่งเศสก่อตั้งทีมใน ค.ศ. 1904 และเป็นหนึ่งในสี่ชาติของยุโรปที่ได้ร่วมแข่งขันฟุตบอลโลก 1930 ฝรั่งเศสภายใต้ผู้เล่นชื่อดังอย่าง เรมง โกปา และ ฌุสต์ ฟงแตน พาทีมคว้าอันดับสามในฟุตบอลโลก 1958 ทีมชาติฝรั่งเศสมียุคทองที่ประสบความสำเร็จสูงสุดสามช่วงเวลาด้วยกัน เริ่มต้นในทศวรรษ 1980 ตามด้วยปลายทศวรรษ 1990 ถึงต้นทศวรรษ 2000 และปลายทศวรรษ 2010 โดยใน ค.ศ. 1984 ฝรั่งเศสคว้าแชมป์ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 1984 ภายใต้การนำของนักเตะชื่อดังและเจ้าของรางวัลบาลงดอร์ 3 สมัยอย่างมิเชล พลาตินี่ ตามด้วยแชมป์คอนเมบอลในปีต่อมา ทีมชุดนี้ยังผ่านเข้าถึงรอบรองชนะเลิศฟุตบอลโลกได้สองสมัยติดต่อกันในฟุตบอลโลก 1982 และฟุตบอลโลก 1986
ในทศวรรษต่อมา ภายใต้นักเตะตัวหลักอย่างซีเนดีน ซีดาน และดีดีเย เดช็องกัปตันทีม ฝรั่งเศสคว้าแชป์ฟุตบอลโลก 1998 ในฐานะเจ้าภาพ ด้วยการชนะบราซิลในรอบชิงชนะเลิศ 3–0 ตามด้วยแชมป์ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2000 โดยเอาชนะอิตาลีในช่วงต่อเวลา 2–1 และคว้าแชมป์ฟีฟ่าคอนเฟเดอเรชันส์คัพอีกสองสมัยใน ค.ศ. 2001 และ 2003 และผ่านเข้าชิงชนะเลิศฟุตบอลโลก 2006 แต่แพ้จุดโทษอิตาลี[3] จากนั้น พวกเขาไม่ประสบความสำเร็จติดต่อกันหลายรายการ[4] ฝรั่งเศสเป็นเจ้าภาพฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2016 และเข้าชิงชนะเลิศแต่แพ้โปรตุเกสในช่วงต่อเวลา 0–1 ก่อนจะกลับสู่ความสำเร็จด้วยการคว้าแชมป์ฟุตบอลโลกสมัยที่สองใน ค.ศ. 2018[5] เอาชนะโครเอเชียในรอบชิงชนะเลิศ 4–2 ตามด้วยแชมป์ยูฟ่าเนชันส์ลีก 2021[6] เอาชนะสเปนในรอบชิงชนะเลิศ 2–1 และเข้าชิงชนะเลิศฟุตบอลโลก 2022 แต่แพ้อาร์เจนตินาในการดวลจุดโทษ 2–4
ฝรั่งเศสเคยเป็นทีมอันดับหนึ่งตามการจัดอันดับโดยฟีฟ่าในต้นทศวรรษ 2000 และปลายทศวรรษ 2010 พวกเขาเป็นชาติแรกของโลกที่ชนะเลิศการแข่งขันรายการสำคัญของฟีฟ่าครบทั้ง 3 รายการ ได้แก่ ฟุตบอลโลก, ฟีฟ่าคอนเฟเดอเรชันส์คัพ และกีฬาโอลิมปิก (เหรียญทอง) และเป็นชาติเดียวในยุโรปที่ชนะเลิศการแข่งขันของฟีฟ่าและยูฟ่าครบทุกรายการทั้งในฐานะทีมชาติชุดใหญ่และทีมเยาวชน[7] พวกเขายังเป็นหนึ่งในสองชาติร่วมกับบราซิล ที่ชนะเลิศการแข่งขันฟุตบอลชายของฟีฟ่าแบบผู้เล่น 11 คนในทุกรุ่นอายุ โดยชนะเลิศฟุตบอลโลก รุ่นอายุไม่เกิน 20 ปี และรุ่นอายุไม่เกิน 17 ปี ฝรั่งเศสมีชาติคู่ปรับหลายทีม ได้แก่ เบลเยียม, บราซิล[8], อังกฤษ[9], เยอรมนี, อิตาลี, โปรตุเกส และสเปน[10] ปัจจุบันฝรั่งเศสเป็นทีมอันดับ 1 ของทวีปยุโรป และอันดับ 2 ของโลกตามการจัดอันดับโดยฟีฟ่า
ประวัติทีม
[แก้]ยุคแรก (1900–1930)
[แก้]ทีมชาติฝรั่งเศสตั้งทีมขึ้นมาในช่วง ค.ศ. 1904 ในช่วงที่สหพันธ์ฟุตบอลระหว่างประเทศ (ฟีฟ่า) ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม ค.ศ. 1904[11] โดยลงเล่นในเกมอย่างเป็นทางการนัดแรกกับเบลเยียมในวันที่ 1 พฤษภาคม ค.ศ. 1904 ซึ่งเกมดังกล่าวจบลงด้วยผลเสมอ 3–3[12] ในขณะที่เดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 1905 ฝรั่งเศสได้ลงเล่นในเกมระดับชาติในสนามของตนเองอย่างเป็นทางการในเกมที่พบกับสวิตเซอร์แลนด์ที่สนามปาร์กเดแพร็งส์ ต่อหน้าผู้ชมราว 500 คน และพวกเขาเอาชนะไปได้ 1–0 จากประตูของแกสตัน ซีเปรส์ สืบเนื่องจากปัญหาความขัดแย้งระหว่างฟีฟ่าและสหภาพสมาคมกีฬากีฬาแห่งฝรั่งเศส (USFSA) ซึ่งทำหน้าที่เป็นองค์กรปกครองด้านกีฬาในฝรั่งเศส ในช่วงทศวรรษที่ 1890 และต้นทศวรรษ 1900 ทำให้อำนาจในการบริหารทีมของฝรั่งเศสยังคงไม่ชัดเจนในช่วงเวลานั้น ต่อมา ในวันที่ 9 พฤษภาคม ค.ศ. 1908 คณะกรรมการกีฬาแห่งฝรั่งเศส (CFI) ซึ่งเป็นองค์กรคู่แข่งของ USFSA มีมติให้ฟีฟ่าเป็นผู้รับผิดชอบการแข่งขันในกีฬาโอลิมปิกที่กำลังจะมาถึง และใน ค.ศ. 1919 คณะกรรมการกีฬาแห่งฝรั่งเศสได้กลายสภาพเป็นสหพันธ์ฟุตบอลฝรั่งเศส (FFF) ก่อนที่ USFSA จะควบรวมกับสหพันธ์ในอีกสองปีต่อมา
ใน ค.ศ. 1930 ฝรั่งเศสได้เข้าร่วมแข่งขันในฟุตบอลโลกที่จัดขึ้นที่ประเทศอุรุกวัย โดยเกมแรกในรายการนี้ของฝรั่งเศสคือถล่มทีมชาติเม็กซิโก 4–1 โดยลูว์เซียง โลร็อง ที่เป็นผู้ยิงประตูแรกของเกม กลายเป็นนักเตะที่ทำประตูแรกสุดของศึกฟุตบอลโลกอีกด้วย แต่ฝรั่งเศสกลับแพ้ 0–1 ใน 2 เกมต่อมากับอาร์เจนตินาและชิลี ทำให้ต้องตกรอบแรก ต่อมา ใน ค.ศ. 1934 ฝรั่งเศสยังคงต้องผิดหวังต่อไป เมื่อตกรอบแรกจากการแพ้ออสเตรีย[13] แต่พวกเขาทำผลงานได้ดีขึ้นในครั้งที่พวกเขาเป็นเจ้าภาพการแข่งขันฟุตบอลโลก 1938 โดยผ่านไปถึงรอบก่อนรองชนะเลิศก่อนจะแพ้ให้กับอิตาลี 1–3
ทศวรรษ 1950–1980
[แก้]ในยุคทศวรรษที่ 1950 นับเป็นยุคทองของวงการฟุตบอลของฝรั่งเศส จากการแจ้งเกิดของนักเตะชื่อดังอย่างฌุสต์ ฟงแตน เจ้าของตำแหน่งดาวซัลโวสูงสุดตลอดกาลของฟุตบอลโลก และแรมง กอปา ตำนานดาวยิงที่ประสบความสำเร็จอย่างสูงกับเรอัลมาดริด ใน ค.ศ. 1958 ฝรั่งเศสสามารถคว้าอันดับ 3 จากการถล่มทีมชาติเยอรมนีตะวันตก 6–3 โดยฟงแตนยิงคนเดียว 4 ประตู ใน ค.ศ. 1960 ฝรั่งเศสเป็นเจ้าภาพฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป เป็นครั้งแรก แต่พวกเขากลับทำได้แค่อันดับ 4 หลังจากแพ้เชโกสโลวาเกีย 0–2 และหลังจากนั้น ฝรั่งเศสเข้าสู่ยุคตกต่ำจากการเปลี่ยนผู้จัดการทีมบ่อยครั้ง และล้มเหลวในการผ่านเข้าไปเล่นในการแข่งขันเมเจอร์ และไม่สามารถคว้าแชมป์ใดได้เลยในช่วงทศวรรษที่ 1960 และ 1970
เข้าสู่ทศวรรษที่ 1980 ฝรั่งเศสกลับมาประสบความสำเร็จอีกครั้งจากการนำทัพของมีแชล ปลาตีนี ตัวทำเกมจอมเทคนิค และสามสุดยอดกองกลางอย่างฌ็อง ตีกานา, อาแล็ง ฌีแร็ส และลูยส์ แฟร์น็องแดซ ที่ประสานงานร่วมกันจนถูกขนานนามว่า สี่เหลี่ยมมหัศจรรย์ (Magic Square)[14] พวกเขาพาทีมคว้าแชมป์ได้สำเร็จในฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 1984 ที่ฝรั่งเศสเป็นเจ้าภาพ โดยปลาตีนีได้เป็นดาวซัลโวของรายการด้วยการยิงไปถึง 9 ประตู รวมถึงหนึ่งในประตูในเกมที่ชนะสเปน 2–0 ในนัดชิงชนะเลิศ มีแชล ไฮดาลโก ผู้ฝึกสอนในขณะนั้นอำลาตำแหน่งหลังการแข่งขัน และถูกแทนทีโดย อ็องรี มีแชล พาทีมชาติฝรั่งเศสยังสามารถคว้าเหรียญทองโอลิมปิก 1984 ตามด้วยการเอาชนะอุรุกวัยในนัดตัดสิน 2–0 ชนะเลิศรายการคอนเมบอล–ยูฟ่าคัพออฟแชมเปียนส์เป็นครั้งแรก (ถ้วยต้นแบบของรายการฟีฟ่าคอนเฟเดอเรชันส์คัพ) ได้สองประตูจากดอมีนิก โรเชตู และโชเซ ตูเร โดยฝรั่งเศสประสบความสำเร็จในการชนะเลิศการแข่งขันรายการสำคัญระดับนานาชาติได้ถึง 3 จาก 4 รายการ
ในปีถัดมาทำให้พวกเขาได้รับการยกให้เป็นทีมเต็งในฟุตบอลโลก 1986 แต่แพ้เยอรมนีตะวันตกในรอบรองชนะเลิศ และคว้าอันดับ 3 จากการชนะเบลเยียมด้วยผลประตู 4–2 ต่อมาใน ค.ศ. 1988 ฝรั่งเศสเปิดตัวศูนย์ฝึกฟุตบอลและสนามฝึกซ้อมเต็มรูปแบบในชื่อแกลร์ฟงแตน โดยได้รับเกียรติจากฟร็องซัว มีแตร็อง ประธานาธิบดีในขณะนั้น ผู้ฝึกสอนอย่างมีแชลถูกปลดในอีกห้าเดือนถัดมา และแทนที่โดยมีแชล ปลาตีนี แต่ฝรั่งเศสไม่ประสบความสำเร็จในการผ่านเข้าไปเล่นฟุตบอลโลก 1990
ยุคของซีดาน และแชมป์ฟุตบอลโลก & ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป
[แก้]เฌราร์ อูลีเย เข้ามาคุมทีมในปี 1992 แต่ฝรั่งเศสยังมีผลงานย่ำแย่โดยไม่ผ่านเข้าสู่ฟุตบอลโลก 1994 ทั้งที่ยังเหลือการแข่งขันอีก 2 นัดพบกับอิสรเอล และบัลแกเรีย แต่พวกเขาแพ้อิสราเอล 2–3 แม้จะออกนำไปก่อน 2–1 และแพ้บัลแกเรียในนัดสุดท้าย 1–2 นำไปสู่การประท้วงโดยแฟนบอลและอูลีเยลาออกจากตำแหน่ง ผู้ช่วยของเขาอย่างเอเม ฌาคเกต์ เข้ารับตำแหน่งแทน และทีมผลงานที่ดีขึ้นมาก โดยในฟุตบอลโลก 1994 ถือเป็นรายการแจ้งกเกิดของว่าที่ตำนานอย่างซีเนดีน ซีดาน กองกลางดาวรุ่งพรสวรรค์สูงแห่งวงการฟุตบอล ฝรั่งเศสผ่านเข้ารอบรองชนะเลิศในฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 1996 แต่แพ้สาธารณรัฐเช็ก ต่อมาในฟุตบอลโลก 1998 ที่พวกเขาเป็นเจ้าภาพ ฝรั่งเศสประสบความสำเร็จในการคว้าแชมป์โลกได้เป็นสมัยแรกด้วยการชนะบราซิลในนัดชิงชนะเลิศ 3–0[15] การแข่งขันมีขึ้น ณ สนามสตาดเดอฟร็องส์ในกรุงปารีส ฝรั่งเศสได้สองประตูจากซีดาน และประตูปิดท้ายในช่วงทดเวลาจากแอมานุแอล เปอตี ฌาคเกต์อำลาตำแหน่งหลังจบการแข่งขัน และผู้ช่วยของเขา โรเฌ เลอแมร์ เข้ามารับช่วงต่อ
ใน ค.ศ. 2000 ฝรั่งเศสยังคงรักษาความฟอร์มที่ดีไว้ได้อย่างต่อเนื่องด้วยการคว้าแชมป์ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2000 ภายใต้การนำทัพของซีดาน เจ้าของรางวัลนักฟุตบอลยอดเยี่ยมของโลกแห่งปีด้วยการชนะอิตาลี 2–1 ในนัดชิงชนะเลิศ[16] ทำให้พวกเขาทำสถิติเป็นชาติแรกที่ครองแชมป์ทั้งฟุตบอลโลกและฟุตบอลยูโรนับตั้งแต่ที่เยอรมนีตะวันตกเคยทำได้เมื่อปี 1974 และยังเป็นทีมแชมป์ฟุตบอลโลกทีมแรกในทวีปยุโรป ที่ชนะเลิศฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรปต่อจากฟุตบอลโลก นอกจากนี้ ฝรั่งเศสยังขึ้นไปอันดับ 1 ในการจัดอันดับโลกตามการจัดอันดับโดยฟีฟ่า
อย่างไรก็ตาม ฝรั่งเศสเริ่มกลับสู่ความตกต่ำอีกครั้ง หลังจากไม่สามารถป้องกันแชมป์ฟุตบอลโลก 2002 ได้ โดยพวกเขาต้องหยุดอยู่ที่รอบแบ่งกลุ่มเท่านั้น โดยไม่สามารถชนะทีมใดได้เลย โดยแพ้เดนมาร์กในนัดสุดท้าย 0–2 ถือเป็นทีมที่ 2 ในประวัติศาสตร์ที่ตกรอบแบ่งกลุ่มฟุตบอลโลกในฐานะทีมแชมป์เก่า[17] ก่อนที่ผลงานจะดีขึ้นมาในฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2004 โดยผ่านเข้าสู่รอบก่อนรองชนะเลิศ แต่ก็ปราชัยต่อกรีซ แชมป์ในรายการนั้น[18] ต่อมา ภายใต้การคุมทีมโดยแรมง ดอแมแน็ก ใน ค.ศ. 2006 ฝรั่งเศสเกือบจะไม่ผ่านไปเล่นในรอบคัดเลือกฟุตบอลโลก 2006 ที่เยอรมนี แต่ยังดีที่บรรดานักเตะรุ่นเก่าที่เคยประกาศตัดสินใจอำลาทีมชาติเปลี่ยนใจกลับมาช่วยทีมอีกครั้ง ผ่านเข้ารอบสุดท้ายจากการชนะไซปรัส 4–0 และพวกเขาก็ยังทำผลงานได้ดีในรอบสุดท้าย และเข้าถึงรอบชิงชนะเลิศพบอิตาลีอีกครั้ง โดยมีเหตุการณ์ที่น่าสนใจและเป็นที่จดจำมากที่สุดครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์ฟุตบอลโลก เมื่อซีดานได้รับใบแดงจากการใช้ศีรษะโขกมาร์โก มาเตรัซซี กองหลังอิตาลี แม้ฝรั่งเศสจะได้ประตูออกไปก่อนจากลูกจุดโทษของซีดานในครึ่งเวลาแรก แต่ก็เสียประตูตีเสมอจากการโหม่งทำประตูโดยมาเตรัซซี เกมจบลงด้วยผลเสมอในเวลาปกติ และกาารต่อเวลาพิเศษ 1–1 ฝรั่งเศสแพ้ในการดวลจุดโทษ 3–5 และนั่นคือการลงสนามครั้งสุดท้ายของซีดาน ก่อนจะประกาศเกษียนณตนเองการการเล่นฟุตบอล
ตกต่ำ และสร้างทีมใหม่ (2007–2012)
[แก้]ต่อมาในฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2008 ฝรั่งเศสต้องตกรอบแรก เนื่องจากถูกจับให้อยู่ในกลุ่มที่มีทีมเต็งแชมป์ทั้งเนเธอร์แลนด์ อิตาลี และโรมาเนีย[19] มีเพียง 1 คะแนนจากการเสมอโรมาเนีย 0–0[20][21] ฝรั่งเศสเกือบจะไม่ผ่านเข้าไปเล่นในฟุตบอลโลก 2010 โดยจบเพียงอันดับ 2 ในรอบคัดเลือก และต้องลงแข่งเพลย์ออฟพบทีมชาติไอร์แลนด์ พวกเขาเอาชนะได้ในนัดแรก 1–0 และเสมอ 1– 1 ในนัดตัดสินจากประตูของตีแยรี อ็องรี ซึ่งเป็นที่วิจารณ์จากการใช้มือช่วยอย่างขัดเจน แต่ผู้ตัดสินกลับให้ประตูอย่างค้านสายตา อย่างไรก็ตาม พวกเขาก็มีช่วงเวลาเลวร้ายต่อเนื่องในฟุตบอลโลก 2010 นับเป็นอีกครั้งที่ต้องตกรอบแบ่งกลุ่ม และไม่ชนะทีมใดจากการเสมออุรุกวัย 0–0 ตามด้วยการแพ้เม็กซิโก 0–2 และแพ้เจ้าภาพอย่างแอฟริกาใต้ในนัดสุดท้าย 1–2[22] และยังมีปัญหาภายในทีมระหว่างนักเตะ และดอแมแน็กโดยเฉพาะกรณีปัญหากับนีกอลา อาแนลกา และนักเตะอีกหลายรายที่ประท้วงด้วยการไม่ลงฝึกซ้อม[23][24] จากความล้มเหลวดังกล่าวนำไปสู่การลาออกของฌ็อง-ปีแยร์ เอสกาแล็ต ประธานสหพันธ์ฟุตบอลฝรั่งเศส
ดอแมแน็กอำลาทีมหลังหมดสัญญา และโลร็องต์ บล็องก์ เข้ามาคุมทีมต่อ และต่อมาสหพันธ์ฟุตบอลฝรั่งเศสได้ปฏิบัติตามการร้องขอของบล็องก์ในการสั่งแบนผู้เล่นทั้ง 23 คนจากฟุตบอลโลก 2010 ในการแข่งขันกระชับมิตรกับนอร์เวย์ ผู้เล่น 5 คนที่มีส่วนในการประท้วงงดการฝึกซ้อมได้รับบทลงโทษทางวินัย และอาแนลกาได้รับโทษแบนสูงสุด 18 นัด ส่งผลให้เขาประกาศอำลาทีมชาติ[25][26] ต่อมาในฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2012 ฝรั่งเศสก็เริ่มทำผลงานดีขึ้น โดยผ่านเข้าถึงรอบ 16 ทีมสุดท้ายก่อนจะแพ้สเปน 0–2 และ ดีดีเย เดช็อง เข้ามารับตำแหน่งผู้จัดการทีมต่อ
ยุคของเดช็อง และกลับมาประสบความสำเร็จ (2012–ปัจจุบัน)
[แก้]ในฟุตบอลโลก 2014 ฝรั่งเศสผ่านเข้ารอบ 8 ทีมสุดท้าย ก่อนจะแพ้เยอรมนี 0–1 ต่อมา ในฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2016 พวกเขาเอาชนะเยอรมนีในรอบรองชนะเลิศ 2–0 ถือเป็นชัยชนะครั้งแรกที่มีต่อเยอรมนีในการแข่งขันรายการเมเจอร์นับตั้งแต่ ค.ศ. 1958 ฝรั่งเศสผ่านเข้าชิงชนะเลิศแต่แพ้โปรตุเกสในช่วงต่อเวลา 0–1[27] และในฟุตบอลโลก 2018 ที่ประเทศรัสเซีย ฝรั่งเศสภายใต้นักเตะแกนหลักอย่าง กีลียาน อึมบาเป, อ็องตวน กรีแยซมาน และ ปอล ปอกบา ทำผลงานยอดเยี่ยมผ่านเข้าไปชิงชนะเลิศกับทีมชาติโครเอเชีย และคว้าแชมป์ได้เป็นสมัยที่ 2 โดยเอาชนะไป 4–2 และพวกเขายังประสบความสำเร็จต่อเนื่องด้วยการคว้าแชมป์ยูฟ่าเนชันส์ลีก สมัยแรกใน ค.ศ. 2021 จากการชนะสเปน 2–1[28]
ในฟุตบอลโลก 2022 ที่ประเทศกาตาร์ ฝรั่งเศสลงป้องกันแชมป์ในฐานะหนึ่งในทีมเต็งแชมป์ พวกเขาทำผลงานยอดเยี่ยมด้วยการเป็นแชมป์กลุ่ม และเอาชนะโปแลนด์, อังกฤษ และโมร็อคโกในรอบแพ้คัดออก ผ่านเข้าชิงชนะเลิศฟุตบอลโลกเป็นครั้งที่ 4 แต่แพ้อาร์เจนตินาในการดวลจุดโทษภายหลังเสมอกันด้วยผลประตู 3–3 ต่อมาในฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2024 ฝรั่งเศสเข้ารอบเป็นอันดับ 2 ของกลุ่มจากผลงานชนะ 1 และเสมอ 2 นัด ตามด้วยการชนะเบลเยียม 1–0 ในรอบ 16 ทีมสุดท้าย และเอาชนะโปรตุเกสจากการดวลจุดโทษ 5–3 หลังจากเสมอกันในเวลาปกติ 0–0 แต่แพ้สเปนซึ่งเป็นทีมแชมป์ในครั้งนี้ในรอบรองชนะเลิศ 1–2[29] ต่อมาในการแข่งขันยูฟ่าเนชันส์ลีก ฤดูกาล 2024–25 ฝรั่งเศสในฐานะทีมในกลุ่มลีก A ผ่านเข้ารอบก่อนรองชนะเลิศจากผลงานชนะ 4 นัดในรอบแบ่งกลุ่มเข้าไปพบกับโครเอเชียใน ค.ศ. 2025
เกียรติประวัติ
[แก้]- แชมป์ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 1984, 2000
- แชมป์ฟุตบอลโลก 1998, 2018
- แชมป์ฟีฟ่าคอนเฟเดอเรชันส์คัพ ปี 2001 และ ปี 2003
- แชมป์ยูฟ่าเนชันส์ลีก 2021
- เหรียญทองโอลิมปิกฤดูร้อน 1984
ผู้เล่น
[แก้]ผู้เล่นชุดปัจจุบัน
[แก้]รายชื่อผู้เล่นที่ถูกเรียกตัวเพื่อลงแข่งขันฟุตบอลโลก 2022 ที่ประเทศกาตาร์
สถิติทีมชาตินับถึงวันที่ 26 พฤศจิกายน 2022 หลังจบการแข่งขันกับเดนมาร์ก
# | ตำแหน่ง | ผู้เล่น | วันเกิด (อายุ) | ลงเล่น | ประตู | สโมสร |
---|---|---|---|---|---|---|
1 | GK | อูว์โก โยริส | 26 ธันวาคม ค.ศ. 1986 | 141 | 0 | แม่แบบ:Country data FRE ลอสแอนเจลิส |
16 | GK | สแตฟว์ ม็องด็องดา | 28 มีนาคม ค.ศ. 1985 | 34 | 0 | แรน |
23 | GK | อาลฟงส์ อาเรออลา | 27 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1993 | 5 | 0 | เวสต์แฮม ยูไนเต็ด |
2 | DF | แบ็งฌาแม็ง ปาวาร์ | 28 มีนาคม ค.ศ. 1996 | 47 | 2 | ไบเอิร์น มิวนิก |
3 | DF | แอ็กแซล ดิซาซี | 11 มีนาคม ค.ศ. 1998 | 0 | 0 | อาแอ็ส มอนาโก |
4 | DF | ราฟาแอล วาราน | 25 เมษายน ค.ศ. 1993 | 88 | 5 | แมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด |
5 | DF | ฌูล กูนเด | 12 พฤศจิกายน ค.ศ. 1998 | 14 | 0 | บาร์เซโลนา |
17 | DF | วีลียาม ซาลิบา | 24 มีนาคม ค.ศ. 2001 | 7 | 0 | อาร์เซนอล |
18 | DF | ดาโย อูว์ปาเมกาโน | 27 ตุลาคม ค.ศ. 1998 | 9 | 1 | ไบเอิร์น มิวนิก |
21 | DF | ลูกัส แอร์น็องแดซ | 14 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1996 | 33 | 0 | ไบเอิร์น มิวนิก |
22 | DF | ตีโอ แอร์น็องแดซ | 6 ตุลาคม ค.ศ. 1997 | 9 | 1 | เอซี มิลาน |
24 | DF | อีบราอีมา โกนาเต | 25 พฤษภาคม ค.ศ. 1999 | 4 | 0 | ลิเวอร์พูล |
6 | MF | มาเตโอ แกนดูซี | 14 เมษายน ค.ศ. 1999 | 6 | 1 | มาร์แซย์ |
8 | MF | โอเรเลียง ชัวเมนี | 27 มกราคม ค.ศ. 2000 | 16 | 1 | เรอัล มาดริด |
13 | MF | ยูซุฟ โฟฟานา | 10 มกราคม ค.ศ. 1999 | 4 | 0 | อาแอ็ส มอนาโก |
14 | MF | อาเดรียง ราบีโย | 3 เมษายน ค.ศ. 1995 | 31 | 3 | ยูเวนตุส |
15 | MF | ฌอร์ด็อง แวร์ตู | 1 มีนาคม ค.ศ. 1993 | 5 | 0 | มาร์แซย์ |
25 | MF | เอดัวร์โด กามาวีงกา | 10 พฤศจิกายน ค.ศ. 2002 | 4 | 0 | เรอัล มาดริด |
7 | FW | อ็องตวน กรีแยซมาน | 21 มีนาคม ค.ศ. 1991 | 112 | 42 | อัตเลติโก มาดริด |
9 | FW | ออลีวีเย ฌีรู | 30 กันยายน ค.ศ. 1986 | 116 | 51 | เอซี มิลาน |
10 | FW | กีลียาน อึมบาเป (กัปตัน) | 20 ธันวาคม ค.ศ. 1998 | 61 | 31 | เรอัล มาดริด |
11 | FW | อุสมาน แดมเบเล | 15 พฤษภาคม ค.ศ. 1997 | 30 | 4 | บาร์เซโลนา |
12 | FW | ร็องดาล กอโล มัวนี | 5 ธันวาคม ค.ศ. 1998 | 2 | 0 | ไอน์ทรัคท์ฟรังค์ฟวร์ท |
20 | FW | กีงส์แล กอมาน | 13 มิถุนายน ค.ศ. 1996 | 42 | 5 | ไบเอิร์น มิวนิก |
26 | FW | มาร์คัส ตูราม | 6 ตุลาคม ค.ศ. 1997 | 6 | 0 | เมินเชินกลัทบัค |
ถูกเรียกตัวเมื่อเร็ว ๆ นี้
[แก้]รายชื่อผู้เล่นที่เคยถูกเรียกตัวเมื่อเร็ว ๆ นี้
ตำแหน่ง | ผู้เล่น | วันเกิด (อายุ) | ลงเล่น | ประตู | สโมสร | ถูกเรียกครั้งล่าสุด |
---|---|---|---|---|---|---|
GK | สแตฟว์ ม็องด็องดา | 28 มีนาคม ค.ศ. 1985 | 34 | 0 | มาร์แซย์ | v. ฟินแลนด์, 16 พฤศจิกายน 2021 |
GK | เบอร์นัวต์ กอสตีล | 3 กรกฎาคม ค.ศ. 1987 | 1 | 0 | บอร์โด | v. ฟินแลนด์, 16 พฤศจิกายน 2021 |
DF | ดาโย อูว์ปาเมกาโน | 27 ตุลาคม ค.ศ. 1998 | 6 | 1 | ไบเอิร์น มิวนิก | v. ฟินแลนด์, 16 พฤศจิกายน 2021 |
DF | เกลม็อง ล็องแกล | 17 มิถุนายน ค.ศ. 1995 | 15 | 1 | บาร์เซโลนา | v. ฟินแลนด์, 16 พฤศจิกายน 2021 |
DF | ลีโอ ดูบัวส์ | 14 กันยายน ค.ศ. 1994 | 13 | 0 | โอลิมปิก ลียง | v. ฟินแลนด์, 16 พฤศจิกายน 2021 |
DF | กูร์ต ซูมา | 27 ตุลาคม ค.ศ. 1994 | 11 | 1 | เวสต์แฮม ยูไนเต็ด | v. ฟินแลนด์, 16 พฤศจิกายน 2021 |
DF | นอร์ดี มูคิเอเล | 1 พฤศจิกายน ค.ศ. 1997 | 1 | 0 | ไลพ์ซิช | v. ฟินแลนด์, 16 พฤศจิกายน 2021 |
MF | ปอล ปอกบา | 15 มีนาคม ค.ศ. 1993 | 91 | 11 | แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด | v. แอฟริกาใต้, 29 มีนาคม 2022 |
MF | ฌอด็อง แวร์ตูร์ | 1 มีนาคม ค.ศ. 1993 | 5 | 0 | โรมา | v. ฟินแลนด์, 16 พฤศจิกายน 2021 |
MF | ตอมา เลอมาร์ | 12 พฤศจิกายน ค.ศ. 1995 | 27 | 4 | อัตเลติโก มาดริด | v. ฟินแลนด์, 16 พฤศจิกายน 2021 |
MF | กอร็องแต็ง ตอลีโซ | 3 สิงหาคม ค.ศ. 1994 | 28 | 2 | ไบเอิร์นมิวนิก | v. บอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา, 1 กันยายน 2021 |
MF | มูซา ซีซอโก | 16 สิงหาคม ค.ศ. 1989 | 71 | 2 | วอตฟอร์ด | ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2020 |
FW | อ็องตอนี มาร์ซียาล | 5 ธันวาคม ค.ศ. 1995 | 30 | 2 | เซบิยา | v. สเปน, 10 ตุลาคม 2021 |
สถิติเกี่ยวกับผู้เล่น
[แก้]ผู้เล่นที่ลงเล่นให้ทีมชาติมากที่สุด
[แก้]แถบสีฟ้าคือผู้เล่นที่ยังคงเล่นให้ทีมชาติอยู่ในปัจจุบัน
ผู้เล่นที่ยิงประตูให้ทีมชาติมากที่สุด
[แก้]แถบสีฟ้าคือผู้เล่นที่ยังคงเล่นให้ทีมชาติอยู่ในปัจจุบัน
อันดับ | ชื่อ | ช่วงเวลา | ประตู | จำนวนนัดที่ลงเล่น | สโมสร | ค่าเฉลี่ย |
---|---|---|---|---|---|---|
1 | ออลีวีเย ฌีรู | 2011–2024 | 57 | 137 | มงเปอลีเย อาร์เซนอล เชลซี เอซี มิลาน |
0.42 |
2 | ตีแยรี อ็องรี | 1997–2010 | 51 | 123 | อาแอส มอนาโก ยูเวนตุส อาร์เซนอล บาร์เซโลนา |
0.42 |
3 | อ็องตวน กรีแยซมาน | 2014–ปัจจุบัน | 42 | 112 | เรอัลโซซิเอดัด อัตเลติโก มาดริด บาร์เซโลนา |
0.39 |
4 | มีแชล ปลาตีนี | 1976–1987 | 41 | 72 | น็องซี แซ็งต์-เตเตียน ยูเวนตุส |
0.57 |
5 | การีม แบนเซมา | 2007–ปัจจุบัน | 37 | 97 | โอลิมปิก ลียง เรอัลมาดริด |
0.38 |
6 | ดาวิด เตรเซเแก | 1998–2008 | 34 | 71 | อาแอส มอนาโก ยูเวนตุส |
0.47 |
7 | ซีเนดีน ซีดาน | 1994–2006 | 31 | 106 | บอร์โด ยูเวนตุส เรอัลมาดริด |
0.28 |
กีลียาน อึมบาเป | 2017– | 31 | 61 | ปารีส แซ็ง-แฌร์แม็ง | 0.47 | |
9 | ฌุสต์ ฟงแตน | 1953–1960 | 30 | 21 | โอเฌเซ นิส แร็งส์ |
1.42 |
ฌ็อง-ปีแยร์ ปาแป็ง | 1986–1995 | 30 | 54 | โอลิมปิก มาร์แซย์ เอซี มิลาน บาเยิร์นมิวนิก |
0.55 | |
11 | ยูริ จอร์เกฟฟ์ | 1993–2002 | 28 | 82 | อาแอส มอนาโก ปารีส แซ็ง-แฌร์แม็ง อินเตอร์ มิลาน ไคเซอร์สเลาเทิร์น โบลตัน |
0.34 |
12 | ซิลแว็ง วิลตอร์ | 1999–2006 | 26 | 92 | บอร์โด อาร์เซนอล โอลิมปิก ลียง |
0.28 |
13 | ฌ็อง แว็งซ็อง | 1953–1961 | 22 | 46 | ลีล สตาด เดอ แร็งส์ |
0.47 |
14 | ฌ็อง นีกอลา | 1933–1938 | 21 | 25 | รูอ็อง | 0.84 |
15 | ปอล นีกอลา | 1920–1931 | 20 | 35 | เรด สตาร์ แอฟเซ | 0.57 |
เอริก ก็องโตนา | 1987–1995 | 20 | 45 | โอลิมปิก มาร์แซย์ มงเปอลีเย ลีดส์ ยูไนเต็ด แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด |
0.38 | |
17 | ฌ็อง บาแร็ตต์ | 1944–1952 | 19 | 32 | ลีล | 0.57 |
18 | โรเฌร์ ปีอ็องโตนี | 1952–1961 | 18 | 37 | น็องซี แร็งส์ |
0.48 |
แรมง กอปา | 1952–1962 | 18 | 45 | แร็งส์ เรอัลมาดริด |
0.40 | |
20 | โรล็อง บล็องก์ | 1989–2000 | 16 | 97 | มงเปอลีเย นาโปลี นีม แซ็ง-เตเตียน โอแซร์ บาร์เซโลนา โอลิมปิก มาร์แซย์ อินเตอร์ มิลาน |
0.16 |
ฟร็องก์ รีเบรี | 2006–2014 | 16 | 81 | โอลิมปิก มาร์แซย์ บาเยิร์นมิวนิก |
0.20 | |
22 | เออแฌน มาแอส | 1911–1913 | 15 | 11 | เรด สตาร์ แอฟเซ | 1.36 |
แอฟวร์ แรเวลลี | 1966–1975 | 15 | 30 | แซ็ง-เตเตียน นีซ |
0.50 | |
ดอมีนิก รอเชโต | 1975–1986 | 15 | 49 | แซ็ง-เตเตียน ปารีส แซ็ง-แฌร์แม็ง |
0.30 | |
|
อดีตผู้เล่นคนสำคัญ
[แก้]- ฟาเบียง บาร์แตซ
- โลร็อง บล็อง
- มีแชล ปลาตีนี
- เอริก กองโตนา
- ซีเนดีน ซีดาน
- ลีลีย็อง ตูว์ราม
- ดีดีเย เดช็อง
- ฌุสต์ ฟงแตน
- ฌ็อง-ปีแยร์ ปาแป็ง
- แอมานุแอล เปอตี
- ดาวิด ฌีโนลา
- รอแบร์ ปีแร็ส
- นีกอลา อาแนลกา
- ตีแยรี อ็องรี
- ดาวิด เทรเซแก
- มาร์แซล เดอซายี
- อาแล็ง ฌีแร็ส
- ฌ็อง ตีกานา
- ลูยส์ แฟร์น็องแดซ
- สเตฟาน กีวาร์ช
- แรมง กอปา
- ญูริ จอร์เกฟฟ์
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "เดส์ชองส์ตั้ง "เอ็มบัปเป้" กัปตันทีมชาติฝรั่งเศสคนใหม่". pptvhd36.com. สืบค้นเมื่อ 21 March 2023.
- ↑ "The FIFA/Coca-Cola World Ranking". FIFA. 20 มิถุนายน 2024. สืบค้นเมื่อ 20 มิถุนายน 2024.
- ↑ "FIFA". fifa.com (ภาษาอังกฤษ).
- ↑ Davis, Dan (2017-08-29). "The mutiny of Les Bleus: how France capitulated at the 2010 World Cup". These Football Times (ภาษาอังกฤษแบบบริติช).
- ↑ https://www.bbc.co.uk/sport/football/44754965
- ↑ https://www.eurosport.com/football/uefa-nations-league-finals/2020-2021/spain-v-france-follow-live-coverage_sto8576173/story.shtml
- ↑ "Member Associations". www.fifa.com (ภาษาอังกฤษ).[ลิงก์เสีย]
- ↑ Kay, Oliver. "Messi, Mbappe and an uncomfortable rivalry defined by mutual respect". The Athletic (ภาษาอังกฤษ).
- ↑ "France fans savour 'brilliant' World Cup win over England". web.archive.org. 2022-12-22. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-12-22. สืบค้นเมื่อ 2024-03-20.
- ↑ Okwonga, Musa (2021-10-11). "France's Win Over Spain Was a Prelude to an Epic Rivalry in the Making". The Ringer (ภาษาอังกฤษ).
- ↑ "History of Football in France". Sports and Leisure in France.
- ↑ "Fédération Française de Football". www.fff.fr.
- ↑ "Football World Cup 1934 in Italy". www.footballhistory.org.
- ↑ UEFA.com (2016-04-06). "France's 'Magic Square' – the best ever midfield?". UEFA.com (ภาษาอังกฤษ).
- ↑ "FIFA". fifa.com (ภาษาอังกฤษ).
- ↑ UEFA.com (2003-10-06). "Trezeguet's golden goal sinks Italy as France make history and win the EURO 2000 final". UEFA.com (ภาษาอังกฤษ).
- ↑ 161385360554578 (2018-06-05). "Remembering France's hilariously bad World Cup defence in 2002". Dream Team FC (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).
{{cite web}}
: CS1 maint: numeric names: authors list (ลิงก์) - ↑ "France 0-1 Greece" (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). 2004-06-25. สืบค้นเมื่อ 2021-10-22.
- ↑ UEFA.com (2008-06-13). "Dominant Netherlands stun France in Group C to reach EURO 2008 knockouts in style". UEFA.com (ภาษาอังกฤษ).
- ↑ "Romania 0-0 France" (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). 2008-06-09. สืบค้นเมื่อ 2024-12-14.
- ↑ "France 0-2 Italy" (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). 2008-06-17. สืบค้นเมื่อ 2024-12-14.
- ↑ "France 1-2 South Africa". news.bbc.co.uk.
- ↑ "The Associated Press: Brazil advances, Italy held to another WCup draw". web.archive.org. 2010-06-25. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-06-25. สืบค้นเมื่อ 2024-12-14.
{{cite web}}
: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์) - ↑ "Fédération Française de Football". www.fff.fr.
- ↑ "Anelka laughs off 'nonsense' ban" (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). 2010-08-18. สืบค้นเมื่อ 2024-12-14.
- ↑ Davies, Lizzy (2010-08-17). "Nicolas Anelka suspended for 18 matches by France over World Cup revolt". The Guardian (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). ISSN 0261-3077. สืบค้นเมื่อ 2024-12-14.
- ↑ "Germany 0-2 France: Antoine Griezmann's double sees Didier Deschamps' side into Euro 2016 final". Sky Sports (ภาษาอังกฤษ).
- ↑ UEFA.com (2021-10-10). "Spain 1-2 France: Les Bleus seal trophy with another comeback". UEFA.com (ภาษาอังกฤษ).
- ↑ "France crash out of Euro 2024, Spain goes through to final". France 24 (ภาษาอังกฤษ). 2024-07-09.
- ↑ Luis Fernando Passo Alpuin. "Goals for Venezuela National Team". RSSSF. สืบค้นเมื่อ 2013-07-24.
- ↑ Luis Fernando Passo Alpuin. "Goals for Venezuela National Team". RSSSF. สืบค้นเมื่อ 2013-07-24.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- เว็บไซต์ทางการ (ในภาษาฝรั่งเศสและอังกฤษ)
- ฝรั่งเศส ที่ยูฟ่า
- ฝรั่งเศส ที่ฟีฟ่า