ข้ามไปเนื้อหา

แพทยสภา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
แพทยสภา
ก่อตั้ง9 ตุลาคม พ.ศ. 2511; 56 ปีก่อน (2511-10-09)[1]
ประเภทสภาวิชาชีพ
วัตถุประสงค์กำกับดูแลมาตรฐานการประกอบวิชาชีพแพทย์ในประเทศไทย
สํานักงานใหญ่อาคารมหิตลาธิเบศร 88/19 ซอยสาธารณสุข 8 กระทรวงสาธารณสุข ตำบลตลาดขวัญ อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี 11000
ภูมิภาคที่รับผิดชอบ
ประเทศไทย
สมาชิก
66,636 (ณ ปี 2566)[2]
นายกแพทยสภา
สมศรี เผ่าสวัสดิ์[3]
เว็บไซต์www.tmc.or.th

แพทยสภา เป็นสภาวิชาชีพสำหรับแพทย์ในประเทศไทย ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2511 และมีสำนักงานใหญ่อยู่ที่จังหวัดนนทบุรี[1] มีหน้าที่ในการกำกับดูแลมาตรฐานวิชาชีพของแพทย์, เป็นผู้ออกใบอนุญาตผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมในประเทศไทย[4] และเป็นผู้รับรองหลักสูตรการศึกษาที่เกี่ยวข้อง[1] สำหรับสาธารณชน แพทยสภามีบริการให้ความรู้ทางสุขภาพ, บริการตรวจสอบแพทย์ และมีบทบาทในการสอบสวนหากมีการร้องเรียนแพทย์[5]

แพทยสภามีหน่วยงานในสังกัดประกอบด้วย ศูนย์ประเมินและรับรองความรู้ความสามารถตามมาตรฐานวิชาชีพเวชกรรมของแพทยสภา, สถาบันมหิตลาธิเบศร, ศูนย์ส่งเสริมการวิจัย และราชวิทยาลัย/วิทยาลัยซึ่งดูแลแพทย์เฉพาะทางในสาขาต่าง ๆ ประกอบด้วย ราชวิทยาลัยวิสัญญีแพทย์แห่งประเทศไทย, ราชวิทยาลัยพยาธิแพทย์แห่งประเทศไทย, ราชวิทยาลัยศัลยแพทย์แห่งประเทศไทย, ราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศไทย, ราชวิทยาลัยจักษุแพทย์แห่งประเทศไทย, ราชวิทยาลัยแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัวแห่งประเทศไทย, ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย, ราชวิทยาลัยออร์โธปิดิกส์แพทย์แห่งประเทศไทย, ราชวิทยาลัยรังสีแพทย์แห่งประเทศไทย, ราชวิทยาลัยแพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟูแห่งประเทศไทย, ราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทย, ราชวิทยาลัยประสาทศัลยแพทย์แห่งประเทศไทย, ราชวิทยาลัยจิตแพทย์แห่งประเทศไทย, ราชวิทยาลัยโสต ศอ นาสิกแพทย์แห่งประเทศไทย และ วิทยาลัยแพทย์ฉุกเฉินแห่งประเทศไทย[6]

แพทยสภามักถูกเรียกร้องจากแพทย์ให้มีการกำหนดชั่วโมงการทำงานและการปรับปรุงความเป็นอยู่ของแพทย์โดยเฉพาะในโรงพยาบาลรัฐบาล[7][8][9][10]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 1.2 "ประวัติความเป็นมาของแพทยสภา". แพทยสภา.
  2. แพทยสภา (2024-08-23). "ข้อมูลการเลือกตั้งกรรมการแพทยสภา วาระ พ.ศ.2566 - 2568".
  3. ""หมอสมศรี" นั่งนายกแพทยสภา พร้อมเปิดตัวคณะผู้บริหารชุดใหม่". HFocus. สืบค้นเมื่อ 2021-02-04.
  4. "แจงชัด! แพทย์ต่างชาติหากปฏิบัติงานในประเทศไทย ต้องผ่านเกณฑ์ ผ่านการรับรอง เหตุมีกฎหมายบังคับชัดเจน". HFocus. 2022-05-08.
  5. "ผอ.รพ.แม่ลาว เผยสาเหตุ 'หมอทุบหลัง' พบ 'เครียดภาระงานหนัก' เตรียมสอบ 21 ส.ค.นี้". The Coverage.
  6. "ข้อบังคับแพทยสภา (องค์กรภายใต้แพทยสภา)". แพทยสภา.
  7. "แพทยสภาแจงประกาศกำหนดเวลาทำงานแพทย์ไม่ควรเกิน 40 ชม./สัปดาห์ เน้นหมอเพิ่มพูนทักษะ เพราะอะไร..." HFocus. 2022-06-18.
  8. สิทธิรังสรรค์, วารุณี (2022-06-27). "กลุ่มหมอขอสิทธิ์ "ชั่วโมงการทำงานแพทย์" ออกเป็นกฎหมายควบคุม แก้ปัญหาภาระงานวนลูปหลายสิบปี". HFocus.
  9. "แพทยสภา' ประกาศแนวทาง กำหนดกรอบชั่วโมงทำงานแพทย์ 'เวรฉุกเฉิน-นอกเวลา-ชม.พักผ่อน'". The Coverage.
  10. "'ชลน่าน' ประชุม 'แพทยสภา' นัดแรก ขอความร่วมมือขับเคลื่อนนโยบาย เตรียมแก้ปัญหาขาดแคลน 'บุคลากรแพทย์' 'เพิ่มคน-ลดภาระงาน-ออกจาก ก.พ.'". 2023-09-08.