ข้ามไปเนื้อหา

แยกสาทร-นราธิวาส

พิกัด: 13°43′19″N 100°31′49″E / 13.721873°N 100.530283°E / 13.721873; 100.530283
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก แยกสาทร–นราธิวาส)
สี่แยก สาทร–นราธิวาส
สกายวอล์กช่องนนทรี เหนือแยกสาทร–นราธิวาส
ชื่ออักษรไทยสาทร–นราธิวาส
ชื่ออักษรโรมันSathon–Naradhiwas
รหัสทางแยกN254 (ESRI), 220 (กทม.)
ที่ตั้งแขวงสีลมและแขวงทุ่งมหาเมฆ เขตสาทรและเขตบางรัก กรุงเทพมหานคร
ทิศทางการจราจร
ถนนนราธิวาสราชนครินทร์
» แยกรัชดา–นราธิวาส
ถนนสาทรเหนือ
» แยกสาทร–สุรศักดิ์
ถนนนราธิวาสราชนครินทร์
» แยกสีลม–นราธิวาส
ถนนสาทรเหนือ
» แยกวิทยุ

แยกสาทร–นราธิวาส เป็นสี่แยกในแขวงสีลม เขตบางรัก และแขวงทุ่งมหาเมฆ เขตสาทร กรุงเทพมหานคร เป็นจุดตัดระหว่างถนนนราธิวาสราชนครินทร์กับถนนสาทรเหนือและถนนสาทรใต้[1] ตั้งอยู่ในย่านแหล่งธุรกิจ ตึกระฟ้าที่เป็นที่ตั้งของสำนักงาน ธุรกิจ และโรงแรม ที่สำคัญมากที่สุดแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร และนับว่าเป็นจุดหมายเด่นอีกแห่งหนึ่งของประเทศไทย

สกายวอล์กช่องนนทรี

[แก้]

สกายวอล์กช่องนนทรี สะพานช่องนนทรี หรือ สกายวอล์กนราธิวาสตัดสาทร เป็นทางเดินลอยฟ้าและลานกิจกรรมที่ตั้งอยู่เหนือแยกสาทร–นราธิวาส เปิดใช้ในครั้งแรกในปี พ.ศ. 2553 โดยกลุ่มบริษัทเอกชนที่อยู่ใกล้เคียงก่อนจะมอบให้อยู่ภายใต้การดูแลของกรุงเทพมหานคร เป็นเป็นทางเดินเชื่อมต่อระหว่างสถานีช่องนนทรีของรถไฟฟ้าบีทีเอส สถานีสาทรของบีอาร์ที ออฟฟิศ โรงแรม และที่พักอาศัยในบริเวณดังกล่าว เช่น ตึกเอ็มไพร์ สาทรสแควร์ เป็นต้น[2]

วัฒนธรรมร่วมสมัย

[แก้]
สกายวอล์กช่องนนทรี

สถานที่แห่งนี้นับว่าเป็นสัญลักษณ์แห่งความทันสมัยและความหรูหราของกรุงเทพมหานคร เป็นสถานที่ถ่ายทำละครโทรทัศน์ ภาพยนตร์ โฆษณา และ มิวสิกวิดีโอจากทั่วโลกมากมาย เช่น เคยปรากฏเป็นส่วนหนึ่งของฉากในภาพยนตร์บอลลีวูด เช่น Rascals, Bloody Isshq และยังปรากฏในมิวสิควีดีโอ เพลง “My Side” ของสเตรย์คิดส์จากเกาหลี, เพลง “ทิ้งไว้กลางทาง” ของโปเตโต้จากไทย และยังเป็นที่แสดงกิจกรรมสำคัญ ๆ ที่จัดขึ้นในกรุงเทพมหาคร เช่น งานจัดแสดงรูปปั้นแพนด้า 1,600 ตัวในชื่อ 1600 แพนด้าพลัส เวิลด์ ทัวร์ อิน ไทยแลนด์[3]

สถานที่สำคัญบริเวณทางแยก

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. https://www.google.co.th/maps/place/แยกสาทร-นราธิวาส/
  2. https://www.baanlaesuan.com/74635/design/lifestyle/skywalk-sathorn
  3. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-09-24. สืบค้นเมื่อ 2020-03-30.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]

13°43′19″N 100°31′49″E / 13.721873°N 100.530283°E / 13.721873; 100.530283