ข้ามไปเนื้อหา

วงเวียนโอเดียน

พิกัด: 13°44′13″N 100°30′44″E / 13.736972°N 100.512259°E / 13.736972; 100.512259
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ซุ้มประตูเฉลิมพระเกียรติ 6 รอบพระชนมพรรษา
แผนที่
ประเภทซุ้มประตู
เริ่มก่อสร้างพ.ศ. 2542
อุทิศแด่พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 5 ธันวาคม 2542 และระลึกถึงความสัมพันธ์ไทย–จีน
วงเวียน ทางแยก
ซุ้มประตูเฉลิมพระเกียรติทรงไผฟางและวัดไตรมิตรวิทยารามวรวิหาร
ชื่ออักษรไทยโอเดียน
ชื่ออักษรโรมันOdean
ที่ตั้งแขวงสัมพันธวงศ์ เขตสัมพันธวงศ์
กรุงเทพมหานคร
ทิศทางการจราจร
ถนนเจริญกรุง
» ถนนกลันตัน
ถนนมิตรภาพไทย-จีน
» แยกไมตรีจิตต์
ถนนเจริญกรุง
» ถนนข้าวหลาม
ถนนมิตรภาพไทย-จีน
» วัดปทุมคงคาราชวรวิหาร
ถนนเยาวราช
» แยกลำพูนไชย

วงเวียนโอเดียน เป็นวงเวียนตั้งอยู่บริเวณหัวถนนเยาวราช เป็นจุดตัดของถนนเจริญกรุง, ถนนเยาวราช และถนนมิตรภาพไทย-จีน อยู่ในเขตสัมพันธวงศ์ กรุงเทพมหานคร เป็นวงเวียนที่มีประวัติความเป็นมาคู่กับถนนเยาวราช เคยเป็นศูนย์รวมสถานบันเทิง เดิมเป็นวงเวียนน้ำพุ เป็นที่พักผ่อนหย่อนใจของประชาชน ปัจจุบันปรับปรุงเป็นที่ตั้งของ ซุ้มประตูเฉลิมพระเกียรติ 6 รอบพระชนมพรรษา

ร้านค้าในย่านนี้ เรียกว่า ร้านค้าย่านโอเดียน เป็นย่านเก่าแก่เป็นที่มาของชื่อ เซียงกง แหล่งเครื่องยนต์มือสอง และอะไหล่มือสองจากญี่ปุ่นยุคแรก ปัจจุบัน ยังมีร้านค้าเหล่านี้อยู่บ้าง เช่น ร้านค้าอะไหล่รถยนต์ อะไหล่แทรกเตอร์ ร้านค้าโลหะ และร้านค้าเครื่องเรือ

ประวัติ

[แก้]

ชื่อวงเวียนโอเดียน ได้มาจากชื่อโรงภาพยนตร์โอเดียนของค่ายรามา เจ้าของโรงภาพยนตร์โอเดียนรามาและสิริรามา ปัจจุบันเลิกกิจการและรื้อทิ้งไปแล้ว

วงเวียนโอเดียน เดิมเป็นวงเวียนน้ำพุ สร้างขึ้น และทำพิธีเปิดโดย จอมพลประภาส จารุเสถียร

ซุ้มประตูเฉลิมพระเกียรติ 6 รอบพระชนมพรรษา

[แก้]
ซุ้มประตูเฉลิมพระเกียรติด้านจารึกภาษาไทย
ซุ้มประตูเฉลิมพระเกียรติด้านจารึกอักษรจีน

เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 5 ธันวาคม 2542 ชาวไทยเชื้อสายจีน บริษัท ห้างร้าน กลุ่มมวลชน หน่วยงานราชการได้ร่วมใจกันจัดสร้างซุ้มประตูวัฒนธรรมไทย–จีน หรือ ซุ้มประตูเฉลิมพระเกียรติ เพื่อถวายเป็นราชสดุดีแด่พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และเป็นสัญลักษณ์ของไชนาทาวน์

ซุ้มประตูเฉลิมพระเกียรติฯ ออกแบบโดยช่างผู้ชำนาญด้านศิลปกรรมของจีน มีความสวยงามด้านสถาปัตยกรรมและปฏิมากรรม ยอดหลังคาซุ้มประตู ประกอบด้วยมังกร 2 ตัว ชูตราสัญลักษณ์ "พระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 5 ธันวาคม 2542" และทองคำบริสุทธิ์หนัก 99 บาท ที่หุ้มพระปรมาภิไธยย่อ ภปร. หมายถึง ชาวไทยเชื้อสายจีนที่เทิดทูนพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรไว้เหนือเกล้า ใต้หลังคาซุ้มประตูเป็นแผ่นจารึกนามซุ้มประตู ที่ได้รับพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร โดยจารึกเป็นภาษาไทยด้านหนึ่ง อีกด้านหนึ่งเป็นลายพระหัตถ์ของสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี จารึกอักษรจีน "เซิ่ง โซ่ว อู๋ เจียง" (圣寿无疆) หมายถึง "ทรงพระเจริญยิ่งยืนนาน" พร้อมนามาภิไธย "สิรินธร"

อ้างอิง

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]

13°44′13″N 100°30′44″E / 13.736972°N 100.512259°E / 13.736972; 100.512259