ข้ามไปเนื้อหา

รถโดยสารประจำทางด่วนพิเศษ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก บีอาร์ที)
รถโดยสารประจำทางด่วนพิเศษ ในเมืองกูรีตีบา ประเทศบราซิล เป็นระบบแรกที่มีของรถด่วนพิเศษที่มีแห่งแรกในโลก

รถโดยสารประจำทางด่วนพิเศษ หรือ บีอาร์ที เป็นระบบขนส่งมวลชนรูปแบบหนึ่งที่ใช้รถโดยสาร ให้บริการเร็วขึ้นและมีประสิทธิภาพมากขึ้นจากรถโดยสารประจำทางทั่วไป โดยพัฒนารูปแบบการเดินรถ ตัวรถโดยสาร ตารางการเดินรถ ระบบขนส่งอัจฉริยะ และที่สำคัญคือจะมีช่องทางวิ่งแยกออกมาจากถนนปกติเป็นช่องทางเฉพาะ โดยมีจุดมุ่งหมายให้มีคุณภาพของบริการเทียบเท่ากับระบบขนส่งมวลชนระบบราง ในความเร็วและความจุผู้โดยสารที่เทียบเท่ากับระบบรถไฟฟ้ารางเบา ในขณะที่ต้นทุนการก่อสร้างและการเดินรถโดยสารประจำทางที่ประหยัดกว่า ทั้งยังสามารถจัดเส้นทางการเดินรถได้ยืดหยุ่นมากกว่าระบบราง[1]

ชื่อเรียกของระบบขนส่งรูปแบบนี้มีหลากหลายเช่นในทวีปอเมริกาเหนือนิยมเรียกว่า bus rapid transit หรือ บีอาร์ที (BRT) ในทวีปยุโรป และออสเตรเลีย เรียกว่า "บัสเวย์" (อังกฤษ: busway) หรือมีการเรียกว่า รถโดยสารคุณภาพ (quality bus)

ความเร็วของระบบขนส่งรูปแบบนี้จะอยู่ประมาณ 30 - 45 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ซึ่งใกล้เคียงกับระบบรถไฟฟ้าขนาดเบา[2]

คุณสมบัติ

[แก้]
มีช่องทางเดินรถแยกต่างหาก
ช่องทางเดินรถจะมีช่องทางเฉพาะที่ไม่ปะปนกับรถประเภทอื่น มีทางเข้า-ออกจำกัดเฉพาะจุดที่กำหนด ซึ่งอาจเป็นเพียงการตีเส้นแบ่งจากช่องทางปกติเป็นช่องเดินรถมวลชน (diamond lane หรือ high-occupacy vehicle lane) หรือมีการกั้นช่องทางอย่างชัดเจน ซึ่งทางวิ่งเฉพาะจะช่วยให้การเดินรถเป็นไปอย่างรวดเร็วและแน่นอน
เส้นทางเดินรถ
เป็นการปรับปรุงจากโครงข่ายถนนเดิมที่มีอยู่แล้วและสามารถเชื่อมโยงพื้นที่ต่าง ๆ ได้อย่างทั่วถึง ให้กลายเป็นเส้นทางรถประจำทางที่มีจุดจอดไม่มากเกินไป เส้นทางไม่ซับซ้อน เข้าใจง่าย สามารถเชื่อมต่อกับระบบขนส่งมวลชนอื่น และรถประจำทางที่รับส่งภายในย่านต่าง ๆ ได้
ความถี่ในการเดินรถ
เดินรถด้วยความถี่สูงและเหมาะสมตลอดเวลาทำการ เพื่อให้ประสิทธิภาพในการให้บริการดีกว่าระบบขนส่งมวลชนรูปแบบอื่น และระบบมีโอกาสรองรับกลุ่มผู้โดยสารได้อย่างหลากหลาย
ระบบขนส่งอัจฉริยะ
มีศูนย์ควบคุมการเดินรถที่สามารถติดตามตำแหน่งของรถแต่ละคันได้ด้วยระบบจีพีเอส จึงสามารถให้บริการข้อมูลการเดินรถแก่ผู้โดยสารที่สถานี หรือบริการข้อมูลทางโทรศัพท์และอินเทอร์เน็ตได้อย่างทันสถานการณ์ ซึ่งรวมไปถึงข้อมูลรถที่กำลังมาถึงสถานี, การเดินรถล่าช้า และการวางแผนการเดินทางให้แก่ผู้โดยสาร
มาตรการให้ความสำคัญแก่รถโดยสารประจำทาง
เป็นผลจากระบบขนส่งอัจฉริยะ ทำให้สามารถกำหนดให้รถในเส้นทางที่ต้องเดินรถผ่านทางแยกที่มีสัญญาณไฟจราจรได้รับสัญญาณไฟเขียวโดยอัตโนมัติ
ระบบเก็บค่าโดยสาร
มีเทคโนโลยีบัตรโดยสารที่ทันสมัย มีการเก็บค่าโดยสารจากสถานีก่อนขึ้นรถ ดังนั้นการจ่ายค่าโดยสารแต่ละครั้งจึงสามารถใช้เดินทางเชื่อมต่อทั่วถึงทั้งระบบ
รถโดยสาร
มีประตูขึ้น-ลงหลายจุด ขึ้นลงสะดวก พื้นเสมอกับชานชาลา ภายในโอ่โถง จุผู้โดยสารได้มาก รูปทรงทันสมัย เครื่องยนต์ใช้พลังงานสะอาด ก่อมลพิษน้อย
สถานี
การออกแบบเน้นความสะดวกสบายและปลอดภัยทั้งภายในสถานีและทางเดินเข้าสู่สถานี มีประตูกั้นเพื่อความปลอดภัยขณะรถเทียบชานชาลา มีสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับผู้พิการ สามารถเดิน หรือใช้จักรยาน หรือโดยสารรถรับส่ง หรือขับรถส่วนตัวมาจอดที่จุดจอดแล้วจร (park and ride) เพื่อเข้าสู่สถานีได้อย่างสะดวกสบาย รูปลักษณ์มีความโดดเด่น ภูมิทัศน์โดยรอบสวยงาม
การใช้ประโยชน์ที่ดิน
มีการใช้ที่ดินสอดคล้องกับกิจกรรมการเดินทางของผู้โดยสาร
ภาคการตลาด
มีชื่อหรือสัญลักษณ์ของระบบที่โดดเด่นและแปลกใหม่

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. What is Bus Rapid Transit? Select Bus Service website, NY Metropolitan Transit Authority. Retrieved 2010-3-12
  2. Characteristics of BRT for decision making. เก็บถาวร 2016-04-15 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน page ES-5. Federal Transit Administration (August 2004).

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]