สะพานมัฆวานรังสรรค์
สะพานมัฆวานรังสรรค์ | |
---|---|
สะพานมัฆวานรังสรรค์ | |
เส้นทาง | ถนนราชดำเนินนอก |
ข้าม | คลองผดุงกรุงเกษม |
ที่ตั้ง | แขวงบางขุนพรหม เขตพระนคร, แขวงวัดโสมนัส เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย และแขวงดุสิต เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร |
ผู้ดูแล | กรุงเทพมหานคร |
สถานะ | เปิดใช้งาน |
เหนือน้ำ | สะพานคู่ขนานสะพานมัฆวานรังสรรค์ฝั่งเหนือ |
ท้ายน้ำ | สะพานคู่ขนานสะพานมัฆวานรังสรรค์ฝั่งเหนือฝั่งใต้ |
ข้อมูลจำเพาะ | |
ประเภท | สะพานแบบคาน |
วัสดุ | โครงเหล็ก |
ทางเดิน | 2 |
จำนวนตอม่อ | 2 |
ประวัติ | |
วันเปิด | พ.ศ. 2446 |
ชื่ออักษรไทย | มัฆวาน |
ชื่ออักษรโรมัน | Makkhawan |
รหัสทางแยก | N111 (ESRI), 011 (กทม.) |
ทิศทางการจราจร | |
↑ | ถนนราชดำเนินนอก » แยกสวนมิสกวัน |
→ | ถนนนครสวรรค์, ถนนลูกหลวง » แยกเทวกรรม |
↓ | ถนนราชดำเนินนอก » แยก จปร. |
← | ถนนนครราชสีมา, ถนนลูกหลวง » แยกประชาเกษม |
ชื่อที่ขึ้นทะเบียน | สะพานมัฆวานรังสรรค์ |
ขึ้นเมื่อ | 18 มีนาคม พ.ศ. 2518 |
เป็นส่วนหนึ่งของ | โบราณสถานในเขตกรุงเทพมหานคร |
เลขอ้างอิง | 0000011 |
ที่ตั้ง | |
สะพานมัฆวานรังสรรค์ เป็นสะพานข้ามคลองผดุงกรุงเกษม ที่สร้างขึ้นพร้อมกับการสร้างถนนราชดำเนินนอก ซึ่งเป็นถนนขนาดใหญ่ แบบที่เรียกว่า Avenue ของทวีปยุโรป อยู่ในพื้นที่เขตพระนคร, เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย และเขตดุสิต กรุงเทพมหานคร ผู้ออกแบบคือนายการ์โล อัลเลกรี นายช่างชาวอิตาลี สร้างตามสถาปัตยกรรมอิตาลีและสเปน[1] ใช้เวลา 3 ปี ลักษณะเป็นสะพานโครงสร้างคานเหล็กพื้นคอนกรีต ส่วนประดับคือรางสะพานที่เป็นเหล็กหล่อและดวงตรารูปช้างเอราวัณ ที่กลางสะพานมีเสาหินอ่อน มุมสะพานรองรับโคมไฟสำริด ผนังเชิงลาดสะพานประดับด้วยหินอ่อน สะพานแห่งนี้ได้ชื่อว่าเป็นสะพานที่สวยงามสะพานหนึ่งในกรุงเทพฯ รัชกาลที่ 5 ได้เสด็จพระราชดำเนินมาทรงเปิดเมื่อ พ.ศ. 2446 และพระราชทานนามว่า สะพานมัฆวานรังสรรค์ มีความหมายว่า "สะพานที่พระอินทร์เป็นผู้สร้าง" (โดยเดิมจะพระราชทานนามว่า สะพานมัฆวานรังรักษ์) [2]
อนึ่ง สะพานที่สร้างข้ามคลองผดุงกรุงเกษมนี้มีชื่อเรียกคล้องจองกัน คือ สะพานเทเวศรนฤมิตร, สะพานวิศสุกรรมนฤมาณ, สะพานมัฆวานรังสรรค์, สะพานเทวกรรมรังรักษ์ และสะพานจตุรพักตร์รังสฤษดิ์ ซึ่งทั้งหมดแปลว่า "สะพานที่สร้างโดยเทวดา" ต่อมาในปี พ.ศ. 2537 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชมีพระราชดำริให้สร้างสะพานเสริมที่ด้านข้างสะพานมัฆวานรังสรรค์เดิม เพื่อแก้ปัญหาการจราจรติดขัดในบริเวณดังกล่าว โดยเป็นส่วนหนึ่งในโครงการจตุรทิศเพื่อการแก้ไขปัญหาการจราจรในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล
นอกจากสะพานมัฆวานรังสรรค์ในกรุงเทพมหานครแล้ว ยังมีสะพานมัฆวานรังสรรค์ นครนายก ตั้งอยู่ที่ตำบลพรหมณี อำเภอเมืองนครนายก จังหวัดนครนายก
อ้างอิง
[แก้]- ↑ รายการ 100 ปี ไกลบ้าน ตามรอยพระพุทธเจ้าหลวง, สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส
- ↑ "มัฆวานรังสรรค์ (๒๗ มิถุนายน ๒๕๕๓)". ราชบัณฑิตยสถาน. 2010-06-27.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- แผนที่และภาพถ่ายทางอากาศของ สะพานมัฆวานรังสรรค์
- ภาพถ่ายดาวเทียมจากวิกิแมเปีย หรือกูเกิลแมปส์
- แผนที่จากลองดูแมป หรือเฮียวีโก
- ภาพถ่ายทางอากาศจากเทอร์ราเซิร์ฟเวอร์
13°45′48″N 100°30′35″E / 13.763453°N 100.50978°E
สะพานข้ามคลองผดุงกรุงเกษมในปัจจุบัน | |||
---|---|---|---|
เหนือน้ำ สะพานคนเดินข้ามคลองผดุงกรุงเกษม หน้าวัดมกุฎกษัตริยาราม |
สะพานมัฆวานรังสรรค์ |
ท้ายน้ำ สะพานคนเดินข้ามคลองผดุงกรุงเกษม บริเวณวัดโสมนัสราชวรวิหาร |