ข้ามไปเนื้อหา

ปราบดา หยุ่น

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ปราบดา หยุ่น
เกิด2 สิงหาคม พ.ศ. 2516 (51 ปี)
กรุงเทพ , ประเทศไทย
อาชีพนักแต่งนวนิยาย , บรรณาธิการ , กราฟิกดีไซน์ , นักแสดง
สัญชาติไทย

ปราบดา หยุ่น (เกิด 2 สิงหาคม พ.ศ. 2516) เป็นนักเขียน ได้รับรางวัลซีไรต์ จากเรื่องความน่าจะเป็น เมื่อ พ.ศ. 2545

ประวัติ

[แก้]

ปราบดาเป็นบุตรชายของสุทธิชัย หยุ่น อดีตบรรณาธิการอำนวยการของเครือเนชั่น และนันทวัน หยุ่น อดีตบรรณาธิการนิตยสารลลนา มีชื่อเล่นว่า คุ่น สำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมต้นจากโรงเรียนเทพศิรินทร์ แล้วไปศึกษาต่อที่ประเทศสหรัฐอเมริกา สำเร็จการศึกษาชั้นปริญญาตรีจาก Cooper Union School for Advancemet of Science and Art ในปี พ.ศ. 2540 โดยปราบดาได้ทำงานด้านการออกแบบกราฟิกอยู่ที่แมนฮัตตัน ก่อนจะกลับมาเกณฑ์ทหารในประเทศไทย

หลังจากนั้น ปราบดาได้ทำงานเป็นคอลัมนิสต์ให้กับนิตยสารเนชั่นสุดสัปดาห์ และเป็นคนเขียนบทให้กับรายการโทรทัศน์เรื่องปมไหม (Silk Knot) ซึ่งมีเนื้อหาเกี่ยวกับการหายตัวไปอย่างลึกลับของจิม ทอมป์สัน ผู้ผลิตผ้าไหมรายใหญ่ของไทย

ผลงานของปราบดาเช่น บทภาพยนตร์เรื่อง เรื่องรัก น้อยนิด มหาศาล (พ.ศ. 2546) และเรื่องคำพิพากษาของมหาสมุทร (พ.ศ. 2549) กำกับโดย เป็นเอก รัตนเรือง

ปราบดาได้รับรางวัลซีไรต์ในปี พ.ศ. 2545 เมื่อเขามีอายุได้ 29 ปี จากเรื่องความน่าจะเป็น

ต้นเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2554 ปราบดาและนักเขียนอีก 6 คน ซึ่งรวมถึง ซะการีย์ยา อมตยา, บินหลา สันกาลาคีรี และวาด รวี ได้เสนอ "จดหมายเปิดผนึกถึงเพื่อนนักเขียนไทย เรื่องขอเชิญร่วมลงชื่อเรียกร้องแก้ไขมาตรา 112" (ตามรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550)[1]

ผลงาน

[แก้]

เรื่องสั้น

[แก้]
  • เมืองมุมฉาก (2543) (City of Right-Angles, 2000)
  • ความน่าจะเป็น (2543) (Probability, 2000)
  • อุทกภัยในดวงตา (2544) (Flood in the Eyes, 2001)
  • ส่วนที่เคลื่อนไหว (2544) (The Parts That Move, 2001)
  • เรื่องนี้เกิดขึ้นจริง (2545) (The Story Really Happened, 2002)
  • กระทบไหล่เขา (2547) (Crashing Into Shoulders of Mountains, 2004)
  • ความสะอาดของผู้ตาย (2548) (Cleaning the Dead, 2005)
  • ดาวดึกดำบรรพ์ (2554) (Ancient Planet, 2011)

เรื่องสั้นขนาดยาว

[แก้]
  • แสงสลาย (2552)
  • พาไรโดเลียรำลึก

นวนิยาย

[แก้]
  • ชิทแตก! (2545) (Chit-tak!, 2002)
  • แพนด้า (2547) (Panda, 2004)
  • ฝนตกตลอดเวลา (2548) (Rain Lessons, 2005)
  • นอนใต้ละอองหนาว (2549) (Under the Snow, 2006)

อัลบั้มประกอบละคร

[แก้]

รวมบทความและความเรียง

[แก้]
  • ภาพไม่นิ่ง (2544) (Unstill Pictures, 2001)
  • น้ำใส่กะโหลก (2545) (Water For the Skull, 2002)
  • อย่าอ่านเลย ก็แล้วกัน (2545) (Please Don't Read, Carefully, 2002)
  • เป็น: เรียงความว่าด้วยลมหายใจในตัวหนังสือ (2546) (Be: About the Breath of Words, 2003)
  • สมมุติสถาน (2548) (Imagined Landscape, 2005)
  • (เปิดไป) หน้าศูนย์ (2549)
  • เรื่องตบตา (2549)
  • เขียนถึงญี่ปุ่น (2550)
  • ดนตรีที่มีน้ำตา (2551)

วินทร์ เลียววาริณ

[แก้]
  • ความน่าจะเป็นบนเส้นขนาน 1 (กับ วินทร์ เลียววาริณ) (2545) (Parallel Probability Vol. 1, with Win Leowarin, 2002)
  • ความน่าจะเป็นบนเส้นขนาน 2 (กับ วินทร์ เลียววาริณ) (2547) (Parallel Probability Vol. 2, with Win Leowarin, 2004)
  • ความน่าจะเป็นบนเส้นขนาน 3 (กับ วินทร์ เลียววาริณ) (2548) (Parallel Probability Vol. 3, with Win Leowarin, 2005)
  • ความน่าจะเป็นบนเส้นขนาน 4 (กับ วินทร์ เลียววาริณ) (2549) (Parallel Probability Vol. 4, with Win Leowarin, 2006)
  • ความน่าจะเป็นบนเส้นขนาน 5 (กับ วินทร์ เลียววาริณ) (2550) (Parallel Probability Vol. 5, with Win Leowarin, 2007)
  • ความน่าจะเป็นบนเส้นขนาน 6 (กับ วินทร์ เลียววาริณ) (2550) (Parallel Probability Vol. 6, with Win Leowarin, 2008)
  • ความน่าจะเป็นบนเส้นขนาน 7 (กับ วินทร์ เลียววาริณ) (2550) (Parallel Probability Vol. 7, with Win Leowarin, 2009)

บทภาพยนตร์

[แก้]

หนังสือแปล

[แก้]
  • คนหัวหมา (2546) (Dogwalker โดย Arthur Bradford, 2003)
  • จะเป็นผู้คอยรับไว้ไม่ให้ใครร่วงหล่น (2552) (The Catcher in the Rye โดย เจ. ดี. แซลินเจอร์, 1951)
  • ห.ส.ร. (หุ่นยนต์สากลราวี) (2553) (R.U.R. (Rossum's Universal Robots) โดย กาเรล ชาเปก, 1921)
  • คนไขลาน (2554) (A Clockwork Orange โดย Anthony Burgess, 1962)
  • เก้าเรื่องสั้น (2556) (Nine stories โดย เจ. ดี. แซลินเจอร์, 1953)

อ้างอิง

[แก้]
  1. ""สุทธิชัย" ปัดตอบ "ปราบดา" แกนนำล่ารายชื่อถอน ม.112 บอกไม่มีอะไรจะพูด". mgronline.com. 2011-06-22.
  2. อัลบั้ม ชิทแตก! - บัวหิมะ..

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]