ข้ามไปเนื้อหา

แวร์มัคท์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก เวร์มัคท์)
แวร์มัคท์
Wehrmacht
เครื่องหมายกางเขนเหล็ก บัลเคนครอยซ์
และตราทางการของ แวร์มัคท์
ธงศึกไรช์ (ค.ศ. 1938–1945)
คำขวัญ"หนึ่งชน หนึ่งไรช์ หนึ่งฟือเรอร์"
ก่อตั้ง16 มีนาคม ค.ศ. 1935
ยุบเลิก20 กันยายน ค.ศ. 1945
เหล่ากองทัพบก (แฮร์)
กองทัพเรือ (ครีคส์มารีเนอ)
กองทัพอากาศ (ลุฟท์วัฟเฟอ)
กองบัญชาการวึนส์ดอร์ฟ (Wünsdorf)
ผู้บังคับบัญชา
ผบ.สส.แวร์มัคท์อดอล์ฟ ฮิตเลอร์
กำลังพล
อายุเริ่มบรรจุ18 ถึง 45 ปี
ยอดประจำการ18,000,000 (ทั้งหมดที่เคยรับประจำการ)
บทความที่เกี่ยวข้อง
ยศตารางเทียบยศทหารเหล่าทัพแวร์มัคท์
ตารางเทียบยศทหารบกกับเอ็สเอ็ส

แวร์มัคท์ (เยอรมัน: Wehrmacht), แปลว่า กองกำลังป้องกัน) เป็นชื่อเรียกกองทัพของนาซีเยอรมนี ดำรงอยู่ตั้งแต่ปีค.ศ. 1935 ถึง 1945 ประกอบด้วยแฮร์ (กองทัพบก), ครีคส์มารีเนอ (กองทัพเรือ) และลุฟท์วัฟเฟอ (กองทัพอากาศ) แวร์มัคท์ถูกตั้งขึ้นมาทดแทนกองกำลังป้องกันประเทศที่เรียกว่า ไรชส์แวร์ การก่อตั้งแวร์มัคท์ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในแผนงานฟื้นฟูแสนยานุภาพของเยอรมนีในระดับที่เกินกว่าข้อบังคับของสนธิสัญญาแวร์ซาย[1]

ภายหลังจากนาซีเถลิงอำนาจในปี ค.ศ. 1933 หนึ่งในความเคลื่อนไหวที่โจ่งแจ้งและไม่เกรงกลัวของอดอล์ฟ ฮิตเลอร์คือการก่อตั้งแวร์มัคท์ กองทัพที่มีความทันสมัยและมีประสิทธิภาพอย่างมากในการรุกราน เพื่อบรรลุเป้าหมายระยะยาวของระบอบนาซีในการฟื้นฟูดินแดนที่เสียไปรวมทั้งการได้รับดินแดนใหม่และครอบครองประเทศเพื่อนบ้านที่อยู่ใกล้เคียง ด้วยความต้องการสิ่งนี้จึงได้มีการฟื้นฟูการเกณฑ์ทหารขึ้นมาใหม่ และการลงทุนขนาดใหญ่ และค่าใช้จ่ายด้านการป้องกันในโรงงานอุตสาหกรรมการผลิตอาวุธ[2]

แวร์มัคท์ได้กลายเป็นหัวใจสำคัญของอำนาจทางการเมือง-ทางทหารของเยอรมนี ในช่วงต้นของสงครามโลกครั้งที่สอง แวร์มัคท์ได้คิดค้นกลยุทธ์กองกำลังรวมผสม(การสนับสนุนทางอากาศอย่างใกล้ชิด รถถัง และทหารราบ) เพื่อมีประสิทธิภาพการทำลายล้างในสิ่งที่ได้เป็นที่รู้จักกันเป็นอย่างดีคือ บลิทซ์ครีค (สงครามสายฟ้าแลบ) ที่การทัพในฝรั่งเศส(1940) สหภาพโซเวียต(1941) และแอฟริกาเหนือ(1941/42) ได้ถือว่าเป็นการกระทำที่อาจหาญ[3] ในเวลาเดียวกันการรุกแผ่ขยายอย่างกว้างใหญ่ไพศาลทำให้ขีดความสามารถของแวร์มัคท์ได้ถึงจุดแตกหักลง ซึ่งถึงที่สุดแล้วในความปราชัยครั้งใหญ่เป็นครั้งแรกในยุทธการที่มอสโก (1941) ในปลายปี ค.ศ. 1942 เยอรมนีได้สูญเสียการรุกในทุกเขตสงคราม ยุทธศิลป์นั้นไม่เท่าเทียบกับความสามารถในการทำสงครามของประเทศที่ร่วมมือกันของฝ่ายสัมพันธมิตร จึงทำให้กลายเป็นจุดอ่อนของแวร์มัคท์ในหลักสูตรทางด้านกลยุทธ์ และทางด้านโลจิสติกส์ที่ปรากฏให้เห็นอย่างชัดเจน[4]

การให้ความร่วมมืออย่างใกล้ชิดกับหน่วยเอ็สเอ็สและไอน์ซัทซ์กรุพเพิน กองทัพเยอรมันได้ก่ออาชญกรรมสงครามและการกระทำอย่างโหดร้ายเอาไว้หลายครั้ง อย่างไรก็ตามในภายหลังได้มีการออกมากล่าวปฏิเสธและส่งเสริมเรื่องปรัมปราถึงความบริสุทธิ์ของแวร์มัคท์[5] อาชญกรรมสงครามส่วนใหญ่เกิดขึ้นในสหภาพโซเวียต โปแลนด์ ยูโกสลาเวีย กรีซ และอิตาลี ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของสงครามการทำลายล้างต่อสหภาพโซเวียต ฮอโลคอสต์ และการสงครามความมั่นคงของนาซี

ในช่วงสงคราม มีทหารจำนวนประมาณ 18 ล้านนายที่ประจำการในกองทัพแวร์มัคท์[6] ในช่วงเวลาที่สงครามได้ยุติลงในทวีปยุโรปในเดือนพฤษภาคม ปี ค.ศ. 1945 กองทัพเยอรมัน(ประกอบไปด้วยกองทัพบก กองทัพเรือ และลุฟท์วัฟเฟอ วัฟเฟิน-เอ็สเอ็ส ฟ็อลคส์ชตวร์ม และหน่วยทหารต่างชาติที่ให้ความร่วมมือ) ได้สูญเสียไปประมาณ 11,300,000 นาย[7] ซึ่งจำนวนประมาณครึ่งนึงของทหารที่เป็นผู้สูญหายหรือเสียชีวิตในช่วงระหว่างสงคราม มีผู้นำระดับชั้นสูงของกองทัพแวร์มัคท์เพียวไม่กี่คนที่ถูกนำตัวขึ้นศาลสำหรับข้อหาอาชญากรรมสงคราม แม้ว่าจะมีหลักฐานที่บ่งชี้ว่าได้มีส่วนเกี่ยวข้องในการปฏิบัติหน้าที่ที่ผิดกฏ[8][9] ส่วนใหญ่ของทหารแวร์มัคท์จำนวนสามล้านนายที่ได้เข้าร่วมในการรุกรานสหภาพโซเวียตซึ่งได้มีส่วนร่วมในการก่ออาชญากรรมสงคราม[10]

โครงสร้าง

[แก้]
 
 
 
 
 
 
 
 
 
กองบัญชาการใหญ่แห่งแวร์มัคท์
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
กองบัญชาการใหญ่
กองทัพบก
 
 
กองบัญชาการใหญ่
กองทัพเรือ
 
 
กองบัญชาการใหญ่
กองทัพอากาศ
 
 
 
 
 
 

จอมทัพโดยตำแหน่งประมุขแห่งไรช์

[แก้]
  • ผู้บัญชาการสูงสุดแห่งแวร์มัคท์ (Oberste befehlshaber der Wehrmacht)

ผู้ทำการแทนจอมทัพโดยตำแหน่งนายทหารสูงสุด

[แก้]
  • รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการสงครามและผู้บัญชาการใหญ่แห่งแวร์มัคท์ (Reichskriegsminister und Oberbefehlshabers der Wehrmacht)
  • หัวหน้ากองบัญชาการใหญ่แห่งแวร์มัคท์ (Chef des Oberkommandos der Wehrmacht)

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Taylor 1995, pp. 90–119.
  2. Kitchen 1994, pp. 39–65.
  3. Van Creveld 1982, p. 3.
  4. Müller 2016, pp. 58–59.
  5. Hartmann 2013, pp. 85–108.
  6. Overmans 2004, p. 215; Müller 2016, p. 16; Wette 2006, p. 77.
  7. Fritz 2011, p. 470.
  8. Wette 2006, pp. 195–250.
  9. USHMM n.d.
  10. Kershaw 1997, p. 150.