ไรชส์แวร์
ไรชส์แวร์ Reichswehr | |
---|---|
ธงศึกไรชส์แวร์ | |
ประจำการ | 1919–1935 |
ประเทศ | เยอรมนี (1919–1933) ไรช์เยอรมัน (1933–1935) |
เหล่า | |
บทบาท | กองกำลังป้องกันตนเอง |
กำลังรบ | 115,000 (1921) |
กองบัญชาการ | ซ็อสเซิน (ชานกรุงเบอร์ลิน) |
สีหน่วย | ดำ-แดง-ทอง |
ปฏิบัติการสำคัญ | การปฏิวัติเยอรมัน ปราบกบฏโรงเบียร์ การลุกฮือเรอห์ กบฏคัพพ์ (จำกัดความช่วยเหลือ) |
ผู้บังคับบัญชา | |
จอมทัพ | ฟรีดริช เอเบิร์ท เพาล์ ฟ็อน ฮินเดินบวร์ค |
ผบ. สำคัญ | ฮันส์ ฟ็อน เซคท์ แวร์เนอร์ ฟ็อน ฟริทช์ |
เครื่องหมายสังกัด | |
สัญลักษณ์ | กางเขนเหล็ก |
ไรชส์แวร์ (เยอรมัน: Reichswehr) หรือ กองป้องกันไรช์ เป็นชื่อเรียกกองกำลังป้องกันตนเองของเยอรมนีระหว่างปี 1919 ถึง 1935 ไรชส์แวร์เป็นกองทัพเยอรมันที่ถูกลดขนาดหลังสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่หนึ่งในปี 1919 ประกอบด้วยสองเหล่าทัพได้แก่ ไรชส์แฮร์ (กองกำลังทางบก) ซึ่งถูกจำกัดกำลังพลไม่เกิน 100,000 นาย และ ไรชส์มารีเนอ (กองกำลังทางทะเล) ซึ่งถูกจำกัดกำลังพลไม่เกิน 15,000 นาย
สนธิสัญญาแวร์ซายกำหนดห้ามไรชส์แวร์แต่งตั้งนายทหารชั้นนายพล, ห้ามมีปืนใหญ่ขนาดเกินกว่า 105 มิลลิเมตร, ห้ามมีรถหุ้มเกราะ, ห้ามมีเรือดำน้ำ, ห้ามมีเรือรบขนาดใหญ่ ฯลฯ ด้วยสภาพการณ์เช่นนี้ ไรชส์แวร์จึงเปรียบเสมือนกองกำลังป้องกันตนเองที่ไม่สามารถรุกรานผู้ใด ทำได้เพียงรักษาความสงบในประเทศและตามแนวชายแดน ต่อมาเมื่อพรรคนาซีเรืองอำนาจ ฮิตเลอร์บอกเลิกสนธิสัญญาแวร์ซายและทำการยกระดับไรชส์แวร์ขึ้นเป็นกองทัพแบบเต็มรูปแบบที่เรียกว่า แวร์มัคท์ ในปี 1935 พร้อมกับการเสริมสร้างแสนยานุภาพ
การจัดส่วนกำลัง
[แก้]- กองบัญชาการกลุ่มทัพ 1 เบอร์ลิน (Gruppenkommando 1 Berlin)
- กองพลที่ 1 เคอนิชส์แบร์ค
- กองพลที่ 2 ชแชตชิน
- กองพลที่ 3 เบอร์ลิน
- กองพลที่ 4 เดรสเดิน
- กองพลทหารม้าที่ 1 ฟรังค์ฟวร์ท (บรันเดินบวร์ค)
- กองพลทหารม้าที่ 2 เบร็สเลา
- กองบัญชาการกลุ่มทัพ 2 คัสเซิล (Gruppenkommando 2 Kassel)
- กองพลที่ 5 ชตุทท์การ์ท
- กองพลที่ 6 มึนส์เทอร์
- กองพลที่ 7 มิวนิก
- กองพลทหารม้าที่ 3 ไวมาร์
ดูเพิ่ม
[แก้]- กระทรวงไรชส์แวร์
- กองทัพประชาชนแห่งชาติ (เยอรมนีตะวันออก)
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ ไรชส์แวร์