ข้ามไปเนื้อหา

เตียวเสียน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก เตียวเสี้ยน)
เตียวเสียน
ภาพวาดเตียวเสียนในยุคราชวงศ์ชิง
อักษรจีนตัวเต็ม貂蟬
อักษรจีนตัวย่อ貂蝉

เตียวเสียน[a] หรือ เตียวเสี้ยน[b] มีชื่อในภาษาจีนกลางว่า เตียวฉาน (จีนตัวย่อ: 貂蝉; จีนตัวเต็ม: 貂蟬) เป็นหนึ่งในสี่ยอดพธูของจีนโบราณ เตียวเสียนต่างจากสาวงามคนอื่นอีกสามคนด้วยเหตุที่ไม่มีหลักฐานที่ยืนยันการมีตัวตนอย่างแน่ชัด เตียวเสียนจึงเป็นตัวละครสมมุติในนิยาย เตียวเสียนเป็นที่รู้จักจากบทบาทในนิยายอิงประวัติศาสตร์ในศตวรรษที่ 14 เรื่อง สามก๊ก ซึ่งมีเนื้อเรื่องอิงจากเหตุการณ์ช่วงปลายราชวงศ์ฮั่นตะวันออกและยุคสามก๊ก ในนิยายเตียวเสียนมีสัมพันธ์กับขุนศึกลิโป้และกระตุ้นให้ลิโป้ทรยศและสังหารพ่อบุญธรรมคือตั๋งโต๊ะขุนศึกทรราช เตียวเสียนมีฉายานามว่า "จันทร์หลบโฉมสุดา" (จีน: 闭月 พินอิน: bì yuè) ซึ่งหมายถึง "ความงามที่ทำให้แม้แต่ดวงจันทร์ยังต้องหลบเลี่ยงให้"

บันทึกทางประวัติศาสตร์ของจีนระบุว่าลิโป้ลอบมีสัมพันธ์กับสาวใช้คนหนึ่งของตั๋งโต๊ะ แล้วเกรงกลัวว่าตั๋งโต๊ะจะรู้ความจริง จึงกลายเป็นหนึ่งในเหตุผลที่ลิโป้ทรยศและสังหารตั๋งโต๊ะในปี ค.ศ. 192 อย่างไรก็ตามชื่อของสาวใช้คนนั้นไม่ได้ถูกบันทึกไว้ในประวัติศาตร์[2]

ประวัติ

[แก้]

เตียวเสียนเป็นหญิงรับใช้ที่พ่อแม่ตายแต่ยังเล็ก ได้อ้องอุ้นรับมาชุบเลี้ยง ปรากฏตัวครั้งแรกเมื่ออายุ 16 ปี ยามที่อ้องอุ้นถอนหายใจด้วยห่วงใยในสถานการณ์บ้านเมืองยามดึก แล้วออกมาพบเตียวเสียนนั่งร้องไห้กับเดือนอยู่ อ้องอุ้นถามว่า นังหนู ร้องไห้ด้วยเหตุใด อกหักเพราะความรักล่ะสิ เตียวเสียนตอบว่า มิได้ นางร้องไห้เพราะสงสารอ้องอุ้นที่เหมือนบิดาตนกลุ้มใจ เมื่ออ้องอุ้นได้เห็นโฉมหน้าของเตียวฉานอย่างชัดเจนแล้วจึงอุทานว่า แผ่นดินมีคนมาช่วยแล้ว

อ้องอุ้นวางแผนให้เตียวเสียนใช้มารยาหญิงทำให้ตั๋งโต๊ะและลิโป้แตกคอกันจนฆ่ากันเองในที่สุด โดยจะยกให้แก่ลิโป้ก่อน แล้วจึงยกให้ตั๋งโต๊ะ ซึ่งสุดท้ายทุกอย่างก็เป็นไปตามแผนที่อ้องอุ้นวางไว้ทุกประการ และหลังจากตอนนี้แล้ว เตียวเสียนก็ไปเป็นภรรยาคนที่สองของลิโป้ แต่การตายของเตียวเสียนก็ไม่ปรากฏแน่ชัด ตามในฉบับของสามก๊กของเจ้าพระยาพระคลัง(หน)บอกว่านางได้หายตัวไปหลังจากลิโป้ได้สังหารตั๋งโต๊ะ ในปัจจุบันมีการวิเคราะห์ว่า เตียวเสียนแตกต่างจากหญิงงามอีกสามคนในจำนวนหญิงงามสี่แผ่นดินของจีน เนื่องจากไม่ได้รับการยืนยันว่ามีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์ จึงเชื่อว่าไม่มีตัวตนจริง แต่ก็เชื่อว่าผู้แต่งได้แรงบันดาลใจมาจากหญิงงามอีกคนหนึ่งที่มีตัวตนจริง ที่เป็นเงื่อนไขที่ทำให้ลิโป้ต้องฆ่าเต๊งหงวน บิดาบุญธรรมของตน[3] กระทั่งเดือนสิงหาคม ค.ศ. 2022 ได้มีการค้นพบสุสานของผู้หญิงคนหนึ่งที่นครเฉิงตู โดยสันนิษฐานว่าเป็นสุสานของเตียวเสียน[4]

ในวีดีโอเกม

[แก้]
  • เตียวเสียนเป็นตัวละครฮีโร่ในเกม RoV โดยใช้ชื่อว่า Diao Chan เป็นฮีโร่ตำแหน่ง เมจ
  • เตียวเสียนเป็นตัวละครบังคับได้ในเกม tale of legends เรียกข้าว่าตำนาน มีพลังลับชื่อว่า ดอกบัวอัคคี
  • เตียวเสียนเป็นตัวละครหลักใน เกม dynasty warriors
  • เตียวเสียนเป็นตัวละครฮีโร่ในเกม Magic Rush Heroes โดยใช้ชื่อว่า Diao Chan เป็นฮีโร่ตำแหน่ง เมจ
  • เตียวเสียนเป็นตัวละครสาวงามในเกม Lord and Beauties เป็นสาวงามติดตามแม่ทัพลิโป้

ดูเพิ่ม

[แก้]

หมายเหตุ

[แก้]
  1. ชื่อสะกดตามสามก๊ก ฉบับเจ้าพระยาพระคลัง (หน) ตอนที่ 7[1]
  2. ชื่อที่สะกดตามความนิยมในวัฒนธรรมประชานิยมที่เกี่ยวข้องกับนิยายสามก๊กในประเทศไทย

อ้างอิง

[แก้]
  1. "สามก๊ก ตอนที่ ๗". วัชรญาณ. สืบค้นเมื่อ April 17, 2024.
  2. (卓常使布守中閤,布與卓侍婢私通,恐事發覺,心不自安。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 7.
  3. หน้า 3, พระนางสามผิว. "ชักธงรบ" โดย กิเลน ประลองเชิง. ไทยรัฐปีที่ 68 ฉบับที่ 21778: วันพุธที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2560 แรม 1 ค่ำ เดือน 10 ปีระกา
  4. The tomb of Diao Chan was found. Experts inspected Diao Chan's body and found that there was a man's semen in the body[ลิงก์เสีย]