ข้ามไปเนื้อหา

วิกิพีเดีย:โครงการวิกิสามก๊ก

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
• โครงการวิกิสามก๊ก •
Romance of the Three KingdomS

สามก๊กยุคสามก๊กจดหมายเหตุสามก๊กแคว้นวุยแคว้นจ๊กแคว้นง่อสามก๊ก ขุนศึกเลือดมังกรสามก๊ก โจโฉแตกทัพเรือสามก๊ก จีนแผ่นดินใหญ่สามก๊ก ฉบับการ์ตูนญี่ปุ่นสามก๊ก ฉบับการ์ตูนฮ่องกงสามก๊ก ฉบับมหาสนุก

สิบเสียงสีเนินหงส์ร่วงห้าขุนพลพยัคฆ์ตัวละครเนื้อเรื่องเหตุการณ์สำคัญกลศึกสงครามศิลปะการใช้คนข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์พี่น้องร่วมสาบานโจรโพกผ้าเหลืองตราหยก

สมาชิก
สารบัญ
สถิติบทความ
บทความสามก๊ก ความสำคัญ
ไม่มี ทั้งหมด
คุณภาพ
 บทความคัดสรร คัดสรร  1 1
 บทความคุณภาพ คุณภาพ  1 1
ดี 36 36
พอใช้ 62 62
โครง 178 178
รายชื่อ 27 27
จัดระดับแล้ว 305 305
ยังไม่ได้จัดระดับ 2 2
ทั้งหมด 307 307

โครงการวิกิสามก๊ก เป็นส่วนหนึ่งของโครงการวิกิวรรณศิลป์ มีจุดมุ่งหมายเพื่อรวบรวมเนื้อหาและรายละเอียดต่าง ๆ ของวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊ก บทประพันธ์โดยหลอกว้านจง ซึ่งเป็นที่รู้จักและได้รับความนิยมอย่างต่อเนื่อง จัดเป็นวรรณกรรมเพชรน้ำเอกของโลก เป็นมรดกทางปัญญาของปราชญ์ชาวตะวันออกที่สุดยอด มีการแปลเป็นภาษาต่าง ๆ มากกว่า 10 ภาษาและมีการตีพิมพ์อย่างแพร่หลายทั่วโลก มีเนื้อหาหลากหลายรสชาติ เต็มไปด้วยกลเล่ห์เพทุบาย กลศึกในการรบ การชิงรักหักเหลี่ยม ความเคียดแค้นชิงชัง ความซื่อสัตย์และการให้อภัย ซึ่งมีเนื้อหาและเรื่องราวในทางที่ดีและร้ายปะปนกัน มีตัวละครเป็นจำนวนมาก มีบุคลิกลักษณะที่แตกต่างกันออกไป รวมทั้งมีสถานที่ต่าง ๆ การศึกสงคราม ข้อเท็จจริงในประวัติศาสตร์ รวมทั้งศิลปะในการใช้คนในสามก๊ก

ด้วยความที่เป็นวรรณกรรมอิงประวัติศาสตร์ ซึ่งอ้างอิงประวัติศาสตร์ของจีนเป็นหลัก ทำให้สามก๊กมีตัวละครเป็นจำนวนมาก ซึ่งเป็นส่วนสำคัญที่สุดในสามก๊ก ซึ่งการจดจำตัวละครจำนวนมากในสามก๊กอาจเป็นเรื่องค่อนข้างยากสำหรับผู้ที่ไม่เคยสัมผัสกับสามก๊กมาก่อน ส่วนใหญ่จะคุ้นเคยกับตัวละครหลัก ๆ เช่นโจโฉ เล่าปี่ ซุนกวน ขงเบ้ง สุมาอี้ กวนอู จูล่ง เตียวหุย เป็นต้น โดยเน้นหลักที่บทความตัวละครในสามก๊กทุกตัวละคร ข้อมูลและข้อเท็จจริงต่าง ๆ ที่มีความแตกต่างกัออกไปตามแต่ลักษณะของตัวละคร การทำศึกสงครามรวมทั้งรายละเอียดปลีกย่อยที่ปรากฏในสามก๊ก เพื่อเป็นการรวบรวมรายละเอียดต่าง ๆ เนื้อหาของวรรณกรรม

สามก๊กเป็นวรรณกรรมที่ทรงคุณค่า อ่านสนุกจึงเป็นที่นิยมและรู้จักกันอย่างแพร่หลายในประเทศจีนและต่างประเทศ เต็มไปด้วยเล่ห์เหลี่ยม กลศึกและการวางแผน ดังเคยมีคำกล่าวไว้ว่า "ผู้ใดอ่านสามก๊กสามจบคบไม่ได้" อีกทั้งยังเป็นหนังสือที่อ่านง่ายสำหรับบุคคลทั่วไป แฝงอุดมการณ์และคติธรรมที่ดี เป็นวรรณกรรมที่ช่วยให้ผู้อ่านได้ชื่นชมคุณค่าของความกตัญญูกตเวที คุณธรรมจริยธรรมและวัฒนธรรมดั้งเดิมของจีน นอกจากนี้สามก๊กยังเหมาะที่จะใช้เป็นบทเรียนทางประวัติศาสตร์ แม้ในปัจจุบันการประเมินค่าของวรรณกรรมสามก๊กจะมีการเปลี่ยนแปลงไปบ้าง แต่สามก๊กยังคงเป็นที่นิยมของนักอ่านทั่วไปไม่เสื่อมคลายและมีความหมายในด้านการศึกษาพอสมควร

โครงการวิกิสามก๊กจึงเป็นโครงการที่ถือกำเนิดขึ้น สำหรับผู้ที่ชื่นชอบในเนื้อหาของประวัติศาสตร์จีน การสงคราม การบรรยายลักษระของกลศึกซ้อนกลศึก วาทศิลป์ การโต้ตอบอย่างชาญฉลาดที่มีความสนุก พิสดารน่าอ่านและน่าเชื่อถือในสามก๊ก ทำให้สามก๊กมีอิทธิพลต่อผู้ที่ได้อ่านหรือได้ฟังสามก๊กเป็นอย่างมาก สำหรับผู้ที่สนใจในการก้าวเข้าสู่โครงการวิกิสามก๊ก สามารถตรวจสอบดูเนื้อหาและรายละเอียดต่าง ๆ ที่สนใจเพิ่มเติมได้ที่ตัวละครในสามก๊กและสามก๊ก

สำรวจสามก๊ก

[แก้]

สำรวจสามก๊กเป็นการเกริ่นนำในส่วนของวรรณกรรมสามก๊ก (ฉบับหอพระสมุด) หรือสามก๊กฉบับเจ้าพระยาพระคลัง (หน) ซึ่งเป็นสามก๊กที่ออกมาปรากฏสู่สายตาบุคคลทั่วไปให้เป็นที่ชื่นชอบกันแล้ว นอกจากนี้ยังมีสามก๊ก ฉบับวณิพกของยาขอบ ซึ่งเป็นนักประพันธ์นวนิยายอมตะเรื่องผู้ชนะสิบทิศ โดยเขียนในรูปแบบของการนำเสนอรายละเอียดปลีกย่อยของตัวละครต่าง ๆ เช่น ตั๋งโต๊ะผู้ถูกแช่งทั้งสิบทิศ เล่าปี่ผู้พนมมือให้แก่ชนทุกชั้น โจโฉผู้ไม่ยอมให้โลกทรยศ ขงเบ้งผู้หยั่งรู้ฟ้าดิน จูล่งสุภาพบุรุษแห่งเสียงสาน จิวยี่ผู้ถ่มน้ำลายรดฟ้า กวนอูเทพเจ้าแห่งความสัตย์ซื่อ เตียวหุยคนชั่วช้าที่น่ารัก ยีเอ๋งผู้เปลือยกายตีกลอง ฯลฯ รวมทั้งพิชัยสงครามสามก๊กของมั่น พัธโนทัย และสามก๊ก ฉบับคนเดินดินเป็นต้น

สามก๊กเป็นวรรณกรรมที่มีเนื้อหาหลากหลาย ความหนาหลายพันหน้า ปรากฏสถานที่ต่าง ๆ เช่นเมือง หัวเมือง แม่น้ำ ภูเขาและเทือกเขาเป็นจำนวนมาก สำรวจสามก๊กจะเป็นตัวนำทางให้ผู้อ่านได้เข้าถึงวรรณกรรมสามก๊กอย่างเข้าใจ ละเอียดลึกซึ้งและเป็นการรู้จักตัวตนของสามก๊กได้อย่างดียิ่งขึ้น เช่นศึกสงครามต่าง ๆ ซึ่งเป็นเหตุการณ์จริงทางประวัติศาสตร์ของจีน เช่นศึกกัวต๋อ ศึกสะพานเตียงปันเกี้ยว ศึกทุ่งพกบ๋องหรือศึกเซ็กเพ็ก ซึ่งเป็นศึกสำคัญในประวัติศาสตร์ยุคสามก๊กที่เป็นตัวชี้ชัดอำนาจและความเป็นใหญ่ รวมทั้งเป็นการแบ่งแยกแผ่นดินจีนออกเป็นสามก๊กได้แก่ วุยก๊ก จ๊กก๊กและง่อก๊ก

สามก๊กเป็นวรรณกรรมที่ถ่ายทอดให้ผู้อ่านได้เห็นถึงสัจธรรมและแก่นแท้ของความเป็นมนุษย์ หลักปรัชญาทางทหาร การใช้ชีวิตและคติเตือนใจ แฝงแง่คิดไว้ในทุกบททุกตอน ทั้งนี้การสอดแทรกคติธรรมและข้อคิดต่าง ๆ ในสามก๊กที่สามารถนำไปใช้ในการดำรงชีวิตประจำวัน ขึ้นอยู่กับตัวของผู้อ่านสามก๊กเองว่าจะเลือกสรรนำคำสอน ข้อคิดต่าง ๆ ในสามก๊กจากบทใด ซึ่งนอกจากศึกสงครามที่ปรากฏตลอดทั้งเรื่องแล้ว ในสามก๊กยังมีการใช้กลศึกจำนวนมาก เล่ห์เหลี่ยมกลอุบายต่าง ๆ ในการทำศึก หลอกล่อศัตรูให้หลงต้องกลอุบายเพื่อให้ได้มาซึ่งชัยชนะ รวมทั้งรายละเอียดข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์ ซึ่งหลอ กว้านจงผู้ประพันธ์ได้นำมาสอดแทรกกับเรื่องราวจากจินตนาการของตนเอง เป็นต้น

ดัชนี

[แก้]

ดัชนี เป็นการรวบรวมเนื้อหาและรายละเอียดทั้งหมดในสามก๊ก ฉบับหอพระสมุด โดยแบ่งแยกออกเป็นหมวดหมู่ เพื่อเป็นการง่ายและสะดวกต่อการสืบค้นหา เช่น รายชื่อตัวละครในง่อก๊ก จะแสดงรายชื่อตัวละครที่ปรากฏในง่อก๊กทุกตัวละคร, กลศึกสามก๊ก จะแสดงรายชื่อกลศึกที่ใช้ในเรื่องสามก๊กจำนวน 36 กลศึก นอกจากนี้ยังรวบรวมรายละเอียดเกี่ยวกับสถานที่ต่าง ๆ เมือง อาวุธ ฯลฯ หากผู้ที่สนใจค้นคว้าหาข้อมูลและรายละเอียดต่าง ๆ ของตัวละครในสามก๊ก สามารถค้นหาและเพิ่มเติมรายชื่อตัวละครที่ต้องการได้ตลอดเวลา เพื่อโครงการวิกิสามก๊กเป็นแหล่งรวบรวมรายละเอียดต่าง ๆ ในสามก๊กที่สมบูรณ์ที่สุดในประเทศไทย

คู่มือการเขียนบทความ

[แก้]

คู่มือการเขียนบทความ เป็นคู่มือแนะนำหลักการเขียนบทความสามก๊กในวิกิพีเดีย จากจุดเริ่มต้นของการเขียนบทความ จนสามารถไต่ระดับของการเขียนจาก {{โครง}} เพื่อให้ได้ระดับ {{บทความคัดสรร}} โดย ใช้แม่แบบ {{Three Kingdoms infobox}} หรือ {{กล่องข้อมูล ตัวละครสามก๊ก}} สำหรับใช้ในการเขียนบทความสามก๊กในส่วนของตัวละคร ใช้แม่แบบ {{กล่องข้อมูล กลศึกสามก๊ก}} สำหรับใช้ในการเขียนบทความสามก๊กในส่วนของกลศึกสามก๊ก และใช้แม่แบบ {{กล่องข้อมูล สงครามสามก๊ก}} สำหรับใช้ในการเขียนบทความสามก๊กในส่วนของศึกสงครามที่ปรากฏในวรรณกรรม

การใช้กล่องข้อมูล ตัวละครสามก๊ก

[แก้]

การใช้กล่องข้อมูล ตัวละครสามก๊ก เป็นการแนะนำเบื้องต้นของการเริ่มเขียนบทความสามก๊กในส่วนของตัวละคร ทุก ๆ คนที่มีความสนใจที่จะเริ่มต้นการเขียนบทความสามก๊กในส่วนของตัวละครในวิกิพีเดีย สามารถเริ่มต้นก้าวแรกของบทความ ด้วยการคัดลอกเอา code ของกล่องข้อมูล ตัวละครสามก๊กจากบทความตัวละครสามก๊กจากวิกิพีเดียภาษาอังกฤษ และนำมาใช้งานในวิกิพีเดียไทยได้ทั้งหมด เพราะการแสดงผลของกล่องข้อมูล ถูกกำหนดค่าไว้ให้สามารถแสดงผลเป็นภาษาไทย โดยลักษณะเฉพาะของกล่องข้อมูล ตัวละครสามก๊ก มีรายละเอียดดังนี้

  1. Royalty เป็นส่วนที่ใช้กำหนดสถานะชื่อของตัวละคร โดยแบ่งเป็น yes และ no ถ้าตัวละครมีสถานะเป็นพระราชวงศ์ ให้กำหนดค่าในส่วนนี้ = yes เช่นพระเจ้าเหี้ยนเต้ สถานะจะกำหนดเป็น
    | Royalty = yes
    ถ้าตัวละครเป็นสามัญชนธรรมดา ให้กำหนดค่าในส่วนนี้ = no เช่นเตียวเสี้ยน สถานะจะกำหนดเป็น
    | Royalty = no
  2. Name เป็นการกำหนดชื่อของตัวละคร ให้กำหนดค่าในส่วนนี้เช่น ตั๋งโต๊ะ ลิโป้ ลกซุน กองซุนจ้าน งักจิ้น เป็นต้น
  3. Title เป็นการกำหนดตำแหน่งของตัวละคร ให้กำหนดค่าในส่วนนี้ตามตำแหน่งของตัวละคร เช่น เจ้าเมือง, แม่ทัพ, ขุนพล, เสนาธิการ, กวี, หมอดู ผู้เป็นใหญ่ ฯลฯ ตามแต่ตำแหน่งของตัวละคร เป็นต้น
  4. Kingdom เป็นการกำหนดอาณาจักร เขตแดน ราชวงศ์ ให้กำหนดค่าในส่วนนี้ เช่น วุยก๊ก ราชวงศ์ฮั่น เจ้าเมืองปักเพ้ง เป็นต้น
  5. Belong เป็นการกำหนดสังกัดของตัวละคร ว่าเป็นขุนพลของผู้ใด เช่น กิเหลงเป็นขุนพลของอ้วนสุด เป็นต้น
  6. Image เป็นภาพที่ใช้แสดงประกอบบทความ ให้กำหนดค่าในส่วนนี้ เช่น ภาพ:Cao Cao Portrait.jpg เป็นต้น
    • การนำภาพตัวของละครในสามก๊กมาใช้ประกอบบทความ ในส่วนของกล่องข้อมูล ตัวละครสามก๊ก สามารถใช้ได้ทั้งภาพแนวตั้งและแนวนอน โดยกำหนดขนาดของภาพที่นำมาใช้ที่ขนาด 250px
    • หากต้องการภาพของตัวละครในสามก๊กในภาพอื่น ๆ สามารถนำภาพตัวละครจากวิกิคอมมอนส์ อาณาจักรสามก๊กมาประกอบบทความ
  7. Image_size เป็นการกำหนดขนาดของภาพที่ใช้แสดบประกอบบทความ ซึ่งหากไม่กำหนดขนาดของภาพในส่วนนี้ ภาพที่นำมาใช้ประกอบบทความจะถูกกำหนดขนาดโดยอัตโนมัติที่ 250px
  8. Caption เป็นคำบรรยายที่ใช้ในการอธิบายรายละเอียดภาพ แหล่งที่มาหรืออื่น ๆ ถ้าไม่สามารถกำหนดคำบรรยายได้ ให้ปล่อยว่างไว้ เช่นตัวอย่างคำบรรยายของภาพ "ภาพวาดโจโฉในสมัยราชวงศ์ฮั่น"
  9. Born เป็นการกำหนดวัน เดือน ปีเกิดของตัวละคร เช่น ไทสูจู้ เกิดในปี พ.ศ. 709 โดยให้กำหนดเพียงแค่ปี พ.ศ. เท่านั้นเป็นต้น
  10. Birth_place เป็นการกำหนดสถานที่เกิดของตัวละคร เช่น จงโฮย เกิดที่ตำบลฉางเซ่อ เมืองอิงชวน มณฑลเหอนาน ประเทศจีน เป็นต้น
  11. Died เป็นการกำหนดวัน เดือน ปีเสียชีวิตของตัวละคร เช่น จูล่ง ตายในปี พ.ศ. 772 โดยให้กำหนดเพียงแค่ปี พ.ศ. เท่านั้นเป็นต้น
  12. Death_place เป็นการกำหนดสถานที่เสียชีวิตของตัวละคร เช่นโตเกี๋ยมเสียชีวิตที่ซีจิ๋ว เป็นต้น
  13. Predecessor เป็นการกำหนดรายชื่อบุคคลที่ดำรงตำแหน่งในสมัยก่อน เช่น พระเจ้าเลนเต้ทรงดำรงตำแหน่งก่อนพระเจ้าหองจูเปียน เป็นต้น
  14. Successor เป็นการกำหนดรายชื่อบุคคลที่ดำรงตำแหน่งในสมัยถัดไป เช่น พระเจ้าโจผีทรงดำรงตำแหน่งต่อจากพระเจ้าโจโฉ เป็นต้น
  15. Simp เป็นการกำหนดอักษรจีนตัวย่อของตัวละคร เช่น ขงเบ้ง มีชื่ออักษรจีนตัวย่อ = 诸葛亮
  16. Trad เป็นการกำหนดอักษรจีนตัวเต็มของตัวละคร เช่น กวนลอ มีชื่ออักษรจีนตัวเต็ม = 管輅
  17. Pinyin เป็นการกำหนดอักษรจีนพินอินของตัวละคร เช่น สุมาอี้ มีชื่ออักษรจีนพินอิน = Sīmǎ Yì
  18. WG เป็นการกำหนดอักษรจีนเวด-ไจลส์ของตัวละคร เช่น เตียวคับ มีชื่อักษรเวด-ไจลส์ = Chang Ho
  19. Putonghua เป็นการกำหนดคำอ่านของชื่อตัวละครเป็นจีนกลาง เช่น กองซุนจ้าน กำหนดคำอ่านตามสำเนียงจีนกลาง = กงซุนจ้าน
  20. Minnan เป็นการกำหนดคำอ่านของชื่อตัวลครตามคำอ่านสำเนียงฮกเกี้ยน ตามฉบับของสามก๊ก (ฉบับหอพระสมุด) เช่น กาเซี่ยง กำหนดคำอ่านตามสำเนียงฮกเกี้ยน = กาเซี่ยง
  21. Zi เป็นการกำหนดชื่อรองของตัวละคร เช่น กวนอู มีชื่อรองหวินฉาง หรือ หยุนฉาง หรือ หุนเตี๋ยง (雲長) -- ทีฆเมฆา ฉางเซิง (長生) -- ทีฆชีวิน
  22. Post เป็นการกำหนดสมัญญานามของตัวละครหลังเสียชีวิต เช่นสมัญญานามของกวนอูหลังจากเสียชีวิตคือ จ้วงโหมวโห (壯繆侯) -- เจ้าพระยาจ้วงโหมว
  23. Buddhism เป็นการกำหนดชื่อในคติพุทธศาสนามหายานของตัวละคร เช่นกวนอูมีชื่อในทางคติพุทธศาสนามหายานคือสังฆรามโพธิสัตว์ เฉียหลันปู๋ซ่า (伽藍菩薩)
  24. Deity = เป็นการกำหนดเทพนามของตัวละครซึ่งเป็นชื่อที่ให้แก่บุคคลในฐานะเทพเจ้าเมื่อวายชนม์ไปแล้ว เช่นกวนอูมีเทพนามคือ กวนเซิ่งตี้จุน (關聖帝君) เทพกษัตริย์กวนอวี่
  25. Other = เป็นการกำหนดชื่ออื่น ๆ ของตัวละคร เช่น กวนอูมีชื่อเรียกอื่น ๆ คือกวนกง (關公) พระยากวนอวี่ กวนเอ้อเหยฺ (關二爺) ท่านปู่รองกวนอวี่ เหม่ยหรันกง (美髯公) พระยาผู้มีหนวดงาม กวนตี้ หรือกวนเต้ (關帝) สมเด็จพระจักรพรรดิกวนอวี่
    • ในกรณีที่ไม่สามารถกำหนดค่าในพารามิเตอร์ใดในแม่แบบได้ ให้เว้นว่างไว้โดยไม่ต้องกำหนดค่า การแสดงผลของพารามิเตอร์จะไม่ปรากฏในหน้าของบทความ

วิธีการใช้งานกล่องข้อมูล

[แก้]

วิธีใช้งานกล่องข้อมูล ตัวละครสามก๊ก สำหรับบทความตัวละครในสามก๊ก ให้ทำการคัดลอกข้อมูลทางด้านล่างนี้ แล้วนำไปใส่ไว้ในส่วนบนสุดของบทความที่เริ่มดำเนินการเขียน

code ของกล่องข้อมูลตัวละครสามก๊ก ที่นำมาใส่ในหน้าบทความ รายละเอียดของตัวละครที่ปรากฏ
 
{{กล่องข้อมูล ตัวละครสามก๊ก
| Royalty = 
| Name = 
| Title = 
| Kingdom = 
| Image = 
| Image_size = 
| Caption = 
| Born = 
| Birth_place = 
| Died = 
| Death_place = 
| Predecessor = 
| Successor = 
| Simp = 
| Trad = 
| Pinyin = 
| WG = 
| Putonghua = 
| Minnan = 
| Zi = 
| Post = 
| Buddhism = 
| Deity = 
| Other = 
}}
=   yes
=   โจโฉ
=   จักรพรรดิ
=   ราชวงศ์วุย
=   Cao Cao Portrait.jpg
=   250px
=   สมเด็จพระจักรพรรดิเฉาเชาแห่งราชวงศ์เฉาเว่ย
=   [[พ.ศ. 698]]
=   เมืองโป๋โจว มณฑลอันฮุย ประเทศจีน
=   [[15 มีนาคม]] [[พ.ศ. 763]] 
=   เมืองลั่วหยาง มณฑลเหอหนาน ประเทศจีน
=   [[ตั๋งโต๊ะ]]
=   [[โจผี]]
=   曹操
=   曹操
=   Cáo Cāo
=   Ts'ao² Ts'ao¹
=   เฉาเชา
=   โจโฉ
=   เมิ่งเต๋อ (孟德)
=   หวู่ (武)
=   หวู่ตี้ (武帝) "ยุทธราชัน" ไท่จู่ (太祖)"พระเจ้าปู่"
=   '''พระนามขณะทรงพระเยาว์''' อาหมาน (阿瞞) จี๋ลี่ (吉利) 
=   <!---ถ้าตัวละครไม่มีชื่ออื่น ๆ ให้เว้นว่างไว้--->
ตัวอย่างการใช้งานกล่องข้อมูล ตัวละครสามก๊ก
[แก้]
ตำแหน่งจักรพรรดิ   ตำแหน่งเจ้าเมือง   ตำแหน่งเสนาธิการ   ตำแหน่งแม่ทัพ   ตำแหน่งขุนพล   ตัวละครอื่น ๆ    


การใช้กล่องข้อมูล สงครามสามก๊ก

[แก้]

การใช้กล่องข้อมูล สงครามสามก๊ก เป็นการแนะนำเบื้องต้นของการเริ่มเขียนบทความสามก๊กในส่วนของการเกิดศึกสงครามในยุคสามก๊ก ทุก ๆ คนที่มีความสนใจที่จะเริ่มต้นการเขียนบทความสามก๊กในส่วนของศึกสงครามสามก๊กในวิกิพีเดีย สามารถเริ่มต้นก้าวแรกของบทความ ด้วยการคัดลอกเอา code ของ{{กล่องข้อมูล สงครามสามก๊ก}}จากบทความศึกสงครามสามก๊กจากวิกิพีเดียภาษาอังกฤษ และนำมาใช้งานในวิกิพีเดียไทยได้ทั้งหมด เพราะการแสดงผลของกล่องข้อมูล ถูกกำหนดค่าไว้ให้สามารถแสดงผลเป็นภาษาไทย โดยลักษณะเฉพาะของกล่องข้อมูล สงครามสามก๊ก มีรายละเอียดดังนี้

  1. name เป็นการกำหนดชื่อศึกสงครามที่ปรากฏในสามก๊ก ให้กำหนดชื่อศึกสงคราม เช่น ศึกสะพานเตียงปันเกี้ยว, ศึกเซ็กเพ็ก, ศึกทุ่งพกบ๋อง เป็นต้น
  2. partof เป็นการกำหนดสถานะของศึกสงคราม ซึ่งจะปรากฏชื่อของศึกสงครามเป็นส่วนหนึ่งของสงครามสามก๊ก เช่นศึกหับป๋าเป็นส่วนหนึ่งของสงครามสามก๊ก เป็นต้น
  3. image เป็นภาพที่ใช้แสดงประกอบบทความ ให้กำหนดค่าในส่วนนี้ เช่น ภาพ:Zhaoyunfightsatchangban.jpg เป็นต้น
    • การนำภาพตัวของสงครามในสามก๊กมาใช้ประกอบบทความ ในส่วนของกล่องข้อมูล สงครามสามก๊ก สามารถใช้ได้ทั้งภาพแนวตั้งและแนวนอน โดยกำหนดขนาดของภาพที่นำมาใช้ที่ขนาด 250px
    • หากต้องการภาพของสงครามในสามก๊กในภาพอื่น ๆ สามารถนำภาพสงครามต่าง ๆ ในยุคสามก๊กจากวิกิคอมมอนส์ อาณาจักรสามก๊กมาประกอบบทความ
  4. caption เป็นคำบรรยายที่ใช้ในการอธิบายรายละเอียดภาพ แหล่งที่มาหรืออื่น ๆ ถ้าไม่สามารถกำหนดคำบรรยายได้ ให้ปล่อยว่างไว้ เช่นตัวอย่างคำบรรยายของภาพ "ภาพวาดเล่าปี่ กวนอู เตียวหุยรุมลิโป้ในศึกปราบลิโป้"
  5. date เป็นการกำหนดวัน เดือน ปีเกิดของการเกิดศึกสงคราม เช่น ศึกสะพานเตียงปันเกี้ยว เกิดขึ้นในปี พ.ศ. 751 เป็นต้น
  6. place เป็นการกำหนดสถานที่เกิดศึกสงคราม เช่น ศึกสะพานเตียงปันเกี้ยวเกิดขึ้นที่เตียงปัน มณฑลหูเป่ย ประเทศจีน เป็นต้น
  7. territory เป็นการกำหนดอาณาเขตแดนของการทำศึกสงคราม เช่น ศึกสะพานเตียงปันเกี้ยวมีอาณาเขตแดนที่บริเวณสะพานเตียงปันเกี้ยว เมืองกังเหลง เป็นต้น
  8. result เป็นการกำหนดผลลัพธ์ของศึกสงคราม เช่น ศึกสะพานเตียงปันเกี้ยวโจโฉเป็นฝ่ายชนะ เล่าปี่ต้องอพยพหลบหนี เป็นต้น
  9. combatant1 เป็นการกำหนดผู้เข้าร่วมทำศึกสงคราม สามารถกำหนดผู้เข้าร่วมทำศึกได้ 3 ฝ่ายด้วยกัน เช่นผู้เข้าร่วมทำศึกเซ็กเพ็กฝ่ายที่ 1 ได้แก่เล่าปี่
  10. combatant2 เป็นการกำหนดผู้เข้าร่วมทำศึกสงคราม สามารถกำหนดผู้เข้าร่วมทำศึกได้ 3 ฝ่ายด้วยกัน เช่นผู้เข้าร่วมทำศึกเซ็กเพ็กฝ่ายที่ 2 ได้แก่โจโฉ
  11. combatant3 เป็นการกำหนดผู้เข้าร่วมทำศึกสงคราม สามารถกำหนดผู้เข้าร่วมทำศึกได้ 3 ฝ่ายด้วยกัน เช่นผู้เข้าร่วมทำศึกเซ็กเพ็กฝ่ายที่ 3 ได้แก่ซุนกวน
  12. commander1 เป็นการกำหนดผู้บัญชาการกองทัพ สามารถกำหนดผู้บัญญาการกองทัพได้ 3 ฝ่ายด้วยกัน โดยหมายเลข 1 2 3 จะเป็นตัวกำหนดฝ่ายของผู้ร่วมทำศึก เช่นผู้บัญญาการกองทัพในศึกเซ็กเพ็ก ฝ่ายที่ 1 ได้แก่กวนอู, เตียวหุย, จูล่ง
  13. commander2 เป็นการกำหนดผู้บัญชาการกองทัพ สามารถกำหนดผู้บัญญาการกองทัพได้ 3 ฝ่ายด้วยกัน เช่นผู้บัญญาการกองทัพในศึกเซ็กเพ็ก ฝ่ายที่ 2 ได้แก่เทียเภา, เตียวเลี้ยว
  14. commander3 เป็นการกำหนดผู้บัญชาการกองทัพ สามารถกำหนดผู้บัญญาการกองทัพได้ 3 ฝ่ายด้วยกัน เช่นผู้บัญญาการกองทัพในศึกเซ็กเพ็ก ฝ่ายที่ 3 ได้แก่โลซก, จิวยี่
  15. strength1 เป็นการกำหนดกองกำลังของทหารในแต่ะฝ่าย เช่นกองกำลังทหารในศึกสะพานเตียงปันเกี้ยว ฝ่ายที่ 1 มีกองกำลังทหารราบ 10,000 คน ,ทหารม้า 5,000 คน
  16. strength2 เป็นการกำหนดกองกำลังของทหารในแต่ะฝ่าย เช่นกองกำลังทหารในศึกสะพานเตียงปันเกี้ยว ฝ่ายที่ 2 มีกองกำลังทหารราบ 10,000 คน
  17. casualties1 เป็นการกำหนดความสูญเสียที่เกิดจากสงครามในแต่ละฝ่าย โดยหมายเลข 1 2 3 จะเป็นตัวกำหนดค่าของความสูญเสียจากสงคราม
    • ในกรณีที่ไม่สามารถกำหนดค่าในพารามิเตอร์ใดในแม่แบบได้ ให้เว้นว่างไว้โดยไม่ต้องกำหนดค่า การแสดงผลของพารามิเตอร์จะไม่ปรากฏในหน้าของบทความ

วิธีการใช้งานกล่องข้อมูล

[แก้]

วิธีใช้งานกล่องข้อมูล สงครามครสามก๊ก สำหรับบทความสงครามในสามก๊ก ให้ทำการคัดลอกข้อมูลทางด้านล่างนี้ แล้วนำไปใส่ไว้ในส่วนบนสุดของบทความที่เริ่มดำเนินการเขียน

code ของกล่องข้อมูล สงครามสามก๊ก ที่นำมาใส่ในหน้าบทความ รายละเอียดของสงครามที่ปรากฏ
 
{{กล่องข้อมูล สงครามสามก๊ก
| name = 
| partof = 
| image = 
| caption = 
| date = 
| place = 
| territory = 
| result = 
| combatant1 = 
| combatant2 = 
| combatan3 = 
| commander1 = 
| commander2 = 
| commander3 = 
| strength1 = 
| strength2 = 
| strength3 = 
}}
=   ศึกสะพานเตียงปันเกี้ยว
=   [[สงครามสามก๊ก]]
=   ภาพ:Zhaoyunfightsatchangban.jpg
=   ภาพศึกสะพานเตียงปันเกี้ยว
=   [[พ.ศ. 751]] 
=   เตียงปัน [[มณฑลหูเป่ย]] [[ประเทศจีน]]
=   สะพานเตียงปันเกี้ยว เมืองกังเหลง
=   โจโฉเป็นฝ่ายชนะ เล่าปี่ต้องอพยพหลบหนี
=   [[เล่าปี่]]
=   [[โจโฉ]]
=   <!---ถ้าไม่มีผู้เข้าร่วมสงครามฝ่ายที่ 3 ให้เว้นว่างไว้--->
=   [[กวนอู]], [[เตียวหุย]], [[จูล่ง]]
=   [[โจหยิน]], [[เคาทู]]
=   <!---ถ้าไม่มีผู้เข้าร่วมสงครามฝ่ายที่ 3 ให้เว้นว่างไว้--->
=   ทหารราบ 10,000 คน  ทหารม้า 5,000 คน
=   ทหาราบ 10,000 คน
=   <!---ถ้าไม่มีผู้เข้าร่วมสงครามฝ่ายที่ 3 ให้เว้นว่างไว้--->

การใช้กล่องข้อมูลกลศึกสามก๊ก

[แก้]
กลยุทธ์ตีชิงตามไฟ
ผู้วางกลศึกตั๋งโต๊ะ
ผู้ต้องกลศึกพระเจ้าหองจูเหียบ
ผู้ร่วมกลศึกลิโป้, ลิยู
ประเภทกลยุทธ์ชนะศึก
หลักการฉวยโอกาสซ้ำเติมศัตรูยามเสียเปรียบ
สาเหตุตั๋งโต๊ะซึ่งมีจิตใจหยาบช้าและเต็มไปด้วยความทะเยอทะยาน มองเห็นโอกาสที่จะฉกฉวยแย่งชิงเอาราชสมบัติมาเป็นของตน
สถานที่วังหลวง
ผลลัพธ์ตั๋งโต๊ะเข้ายึดอำนาจมาเป็นของตน
กลศึกก่อนหน้ากลยุทธ์รอซ้ำยามเปลี้ย
กลศึกถัดไปกลยุทธ์ส่งเสียงบูรพาฝ่าตีประจิม

การใช้กล่องข้อมูล กลศึกสามก๊ก เป็นการแนะนำเบื้องต้นของการเริ่มเขียนบทความสามก๊กในส่วนของกลศึกที่ใช้ในสงครามยุคสามก๊ก ทุก ๆ คนที่มีความสนใจที่จะเริ่มต้นการเขียนบทความสามก๊กในส่วนของกลศึกสามก๊กในวิกิพีเดีย สามารถเริ่มต้นก้าวแรกของบทความ ด้วยการคัดลอกเอา code ของ{{กล่องข้อมูล กลศึกสามก๊ก}} โดยลักษณะเฉพาะของกล่องข้อมูล กลศึกสามก๊ก มีรายละเอียดดังนี้

  1. ชื่อ เป็นการกำหนดชื่อกลศึกสงครามที่ปรากฏในสามก๊ก ให้กำหนดชื่อศึกสงคราม เช่น กลยุทธ์ปิดฟ้าข้ามทะเล, กลยุทธ์หลบหนี, กลยุทธ์ตีชิงตามไฟ เป็นต้น
  2. ภาพ, ภาพ2 เป็นภาพที่ใช้แสดงประกอบบทความ ให้กำหนดค่าในส่วนนี้ เช่น ภาพกลยุทธ์ยามพ่าย.jpg ซึ่งในเป็นภาพที่จัดหมวดหมู่ของกลยุทธ์ต่าง ๆ เป็นต้น
  3. คำอธิบายภาพ, คำอธิบายภาพ2 เป็นคำบรรยายที่ใช้ในการอธิบายรายละเอียดภาพ ถ้าไม่มีการอธิบายรายละเอียดให้เว้นว่างไว้
  4. ผู้วางกลศึก เป็นการกำหนดชื่อของผู้วางแผนกลศึก เช่น ผู้วางแผนกลยุทธยุทธ์หลบหนีคือขงเบ้ง เป็นต้น
  5. ผู้ต้องกลศึก เป็นการกำหนดชื่อของผู้ต้องกลศึก เช่น ผู้ต้องกลยุทธ์หลบหนีคือจิวยี่ เป็นต้น
  6. ผู้ร่วมกลศึก
  7. ประเภท เป็นการกำหนดประเภทของกลศึกสามก๊ก ซึ่งมีทั้งหมด 6 หมวดหมู่ได้แก่ กลยุทธ์ชนะศึก กลยุทธ์เผชิญศึก กลยุทธ์เข้าตี กลยุทธ์ติดพัน กลยุทธ์ร่วมรบ กลยุทธ์ยามพ่าย ซึ่งประกอบไปด้วยกลศึก 36 กลศึกได้แก่
  8. หลักการ เป็นการกำหนดลักษณะขอบเขตของกลศึก เช่น กลยุทธ์หลบหนีใช้ลักษณะขอบเขตถอยหนีมิผิด เป็นวิสัยแห่งสงคราม เป็นต้น
  9. สาเหตุ
  10. สถานที่ เป็นการกำหนดสถานที่ในการวางแผนกลศึก เช่น สถานที่ที่ขงเบ้งใช้กลยุทธ์หลบหนี เอาตัวรอดจากจิวยี่คือลำเขาปินสาน เป็นต้น
  11. ผลลัพธ์ เป็นการกำหนดผลลัพธ์ของการใช้กลศึก เช่น ผลลัพธ์ของการใช้กลยุทธ์หลบหนีคือขงเบ้งสามารถลอบหลบหนีกจาการปองร้ายจากจิวยี่ได้อย่างปลอดภัย เป็นต้น
  12. กลศึกก่อนหน้า
  13. กลศึกถัดไป
  14. หมายเหตุ
    • ในกรณีที่ไม่สามารถกำหนดค่าในพารามิเตอร์ใดในแม่แบบได้ ให้เว้นว่างไว้โดยไม่ต้องกำหนดค่า การแสดงผลของพารามิเตอร์จะไม่ปรากฏในหน้าของบทความ

วิธีการใช้งานกล่องข้อมูล

[แก้]

วิธีใช้งานกล่องข้อมูล กลศึกสามก๊ก สำหรับบทความกลศึกในสามก๊ก ให้ทำการคัดลอกข้อมูลทางด้านล่างนี้ แล้วนำไปใส่ไว้ในส่วนบนสุดของบทความที่เริ่มดำเนินการเขียน

{{กล่องข้อมูล กลศึกสามก๊ก
| ชื่อ = 
| ภาพ = 
| คำอธิบายภาพ = 
| ภาพ2 = 
| ผู้วางกลศึก = 
| ผู้ต้องกลศึก = 
| ผู้ร่วมกลศึก = 
| ประเภท = 
| หลักการ = 
| สาเหตุ = 
| สถานที่ = 
| ผลลัพธ์ = 
| กลศึกก่อนหน้า = 
| กลศึกถัดไป = 
| หมายเหตุ = 
}}

การตั้งชื่อบทความ

[แก้]

การตั้งชื่อบทความในสามก๊ก ใช้หลักการตั้งชื่อตามวรรณกรรมอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊กฉบับเจ้าพระยาพระคลัง (หน) เป็นหลัก โดยยึดเอาชื่อตัวละคร เหตุการณ์ สถานที่หรือส่วนต่าง ๆ ที่ปรากฏในสามก๊กเป็นแนวทางการตั้งขื่อบทความ โดยพิจารณาการตั้งชื่อให้เหมาะสมกับเหตุการณ์ สถานที่ที่ปรากฏในเรื่องสามก๊ก

การอ้างอิง

[แก้]

การอ้างอิงการเขียนบทความในโครงการวิกิสามก๊ก ให้ใช้การอ้างอิงจากวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊ก ฉบับเจ้าพระยาพระคลัง (หน) เป็นหลัก และอ้างอิงจากหนังสือหรือเว็บไซต์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับตัวบทความ ตัวละคร เหตุการณ์และสถานที่ที่สามารถตรวจสอบความถูกต้องของบทความได้

หลักวิธีการเขียนบทความสามก๊ก

[แก้]

หลักวิธีการเขียนบทความในสามก๊ก เป็นการกำหนดทิศทางของบทความเพื่อให้ทุก ๆ คนที่สนใจร่วมเขียนบทความในสามก๊กเช่นบทความตัวละครสามก๊ก สามารถเขียนบทความที่มีเนื้อหาและรายละเอียดครบถ้วนและสมบูรณ์ จนถึงได้รับคัดเลือกให้เป็นบทความคุณภาพและบทความคัดสรรของวิกิพีเดียไทย เช่นกวนอู หรือการเขียนบทความสงครามในสามก๊ก เช่นศึกเซ็กเพ็ก ศึกทุ่งพกบ๋อง หรือการเขียนบทความกลศึกสามก๊ก เช่นกลยุทธ์ปิดฟ้าข้ามทะเล กลยุทธ์ลูกโซ่ กลยุทธ์จูงแพะติดมือ ซึ่งต้องมีเนื้อหาและรายละเอียดครบถ้วนตามหลักวิธีการเขียนบทความ การเขียนบทความในสามก๊กในวิกิพีเดีย ควรมีหลักการและเนื้อหาในการเขียนดังนี้

เหตุการณ์

[แก้]

การเขียนเหตุการณ์ต่าง ๆ ในสามก๊กซึ่งเป็นวรรณกรรม ให้ผู้เขียนเขียนโดยยึดเนื้อหาและรายละเอียดต่าง ๆ ที่ปรากฏในวรรณกรรมเป็นหลักเช่นคำสาบานในสวนท้อ ซึ่งเป็นเหตุการณ์หนึ่งที่ปรากฏในสามก๊ก การร่วมสาบานเป็นพี่น้องระหว่างเล่าปี่ กวนอูและเตียวหุย ซึ่งจากหลักฐานอ้างอิงทางประวัติศาสตร์ระบุว่าไม่มีเหตุการณ์นี้จริง ให้ผู้เขียนบทความสามก๊กเขียนในลักษณะของการเขียนในส่วนวรรณกรรมและเพิ่มเติมในส่วนของข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์ เป็นต้น

ตัวละคร

[แก้]
  1. บทนำ : เป็นส่วนแรกของเนื้อหา เพื่อเกริ่นให้รู้ถึงเนื้อหาและรายละเอียดคร่าว ๆ ของบทความตัวละครในสามก๊ก เช่น กวนอู (จีนตัวย่อ: 关羽; จีนตัวเต็ม: 關羽; พินอิน: Guān Yǔ; เวด-ไจลส์: Kuan Yu) เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊กที่มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์ในยุคสามก๊ก เกิดเมื่อวันที่ 24 เดือน 6 จีนศักราชเอี่ยงฮี ปี พ.ศ. 703 ในรัชสมัยของพระเจ้าฮั้งซวงตี่ เสียชีวิตเมื่อวันที่ 12 เดือนที่ 7 จีนศักราชเคี่ยงเซ้ง ปี พ.ศ. 762 ในรัชสมัยของพระเจ้าฮั้งเหี่ยงตี่
    • การกำหนดลักษณะคำอธิบายของตัวละครที่มีตัวตนจริงทางประวัติศาสตร์ ให้พิจารณาจากปี พ.ศ. เกิดและเสียชีวิตของตัวละคร เช่น
      • จิวยี่ (อังกฤษ: Zhou Yu; จีน: 周瑜; พินอิน: Zhōu Yú) เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊กที่มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์ยุคสามก๊ก แม่ทัพคนสำคัญของง่อก๊ก ขุนพลผู้ปราดเปรื่อง และเป็นคู่ปรับคนสำคัญของขงเบ้ง เป็นชาวเมืองลู่เจียนซู มีกำเนิดในครอบครัวขุนนางเก่า ชื่อรองกงจิ้น ลักษณะเป็นบุรุษรูปงาม หน้าขาว เมื่อวัยเด็กได้เรียนรู้วิชาอย่างแตกฉาน ทั้งการทหารและศิลปะแขนงต่าง ๆ
    • การกำหนดลักษณะคำอธิบายของตัวละครที่เกิดจากจินตนาการ ให้พิจารณาจากปี พ.ศ. เกิดและเสียชีวิตของตัวละคร ถ้าไม่มีการกำหนดปี พ.ศ. ให้พิจารณาจัดเป็นตัวละครที่เกิดจากจินตนาการ เช่น
  2. เนื้อหาของบทความ : เนื้อหาของบทความตัวละครในสามก๊ก เป็นส่วนหลักสำคัญที่เก็บรายละเอียดต่าง ๆ ทั้งหมด เช่น กวนอูมีชื่อรองว่า "หุนเตี๋ยง" (จีน: 云长) เป็นชาวอำเภอไก่เหลียง ลักษณะตามคำบรรยายในวรรณกรรมสามก๊ก กวนอูเป็นผู้มีรูปร่างสูงใหญ่ 9 ฟุตจีนหรือประมาณ 6 ศอก ใบหน้าแดงเหมือนผลพุทราสุก นัยน์ตายาวรี คิ้วดั่งหนอนไหม หนวดเครางามถึงอก มีง้าวรูปจันทร์เสี้ยว ยาว 11 ศอก หนัก 82 ชั่ง เป็นอาวุธประจำกายเรียกว่า "ง้าวมังกรเขียว" หรือ "ง้าวมังกรจันทร์ฉงาย" เชี่ยวชาญและเก่งกาจวิทยายุทธ จงรักภักดี กตัญญูรู้คุณ มีคุณธรรมและซื่อสัตย์เป็นเลิศ เป็นต้น โดยมีองค์ประกอบสำคัญของบทความ ดังนี้
    • ประวัติ
    • ลักษณะนิสัย (ถ้ามี)
    • ครอบครัว
    • อาวุธ (ถ้ามี)
  3. อ้างอิง : อ้างอิง เป็นส่วนสำคัญที่สุดของการเขียนบทความ เพื่อเป็นการยืนยันและเพิ่มความน่าเชื่อถือให้แก่บทความ การอ้างอิงในบทความตัวละครสามก๊ก สามารถใช้เอกสารอ้างอิงภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษ แต่เน้นไปทางการอ้างอิงทางหนังสือสามก๊ก (ฉบับหอพระสมุด) หนังสือสามก๊กฉบับวณิพกและหนังสืออื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกันสามก๊ก
  4. ดูเพิ่ม : ใช้ในกรณีที่ในวิกิพีเดียมีบทความที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหา เพื่อเป็นการแนะนำให้ผู้อ่านสามารถค้นคว้าอ่านเพิ่มเติม
  5. แหล่งข้อมูลอื่น : ใช้สำหรับแนะนำแหล่งข้อมูลอื่นที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาและบทความตัวละครสามก๊ก
  6. แม่แบบเชื่อมโยงบทความ : แม่แบบเชื่อมโยงบทความ ใช้สำหรับเชื่อมโยงบทความที่ลักษณะใกล้เคียงกันผ่านทางแม่แบบ อาจอยู่ทางด้านขวามือหรือทางด้านล่างสุดของบทความเช่น แม่แบบ:ตัวละครในสามก๊ก
  7. หมวดหมู่ : ใช้สำหรับจัดหมวดหมู่บทความสามก๊ก เรียงลำดับตามความสำคัญเช่น กวนอู มีการจัดหมวดหมู่คือ หมวดหมู่:ตัวละครในสามก๊กหมวดหมู่:จ๊กก๊กหมวดหมู่:เทพเจ้าจีนหมวดหมู่:บุคคลในคริสต์ศตวรรษที่ 2หมวดหมู่:บุคคลในคริสต์ศตวรรษที่ 3 เป็นต้น
  8. โครง : ใส่ {{โครงสามก๊ก}} ในส่วนล่างสุดของบทความตัวละครสามก๊ก สำหรับบทความตัวละครในสามก๊กที่ยังไม่สมบูรณ์
  9. ลิงก์ข้ามภาษา : ใช้สำหรับเชื่อมโยงบทความตัวละครไปยังบทความตัวละครเรื่องเดียวกันในวิกิพีเดียภาษาอื่น เช่น en:Guan Yues:Guan Yufr:Guan Yu

ศึกสงคราม

[แก้]
  1. บทนำ : เป็นส่วนแรกของเนื้อหา เพื่อเกริ่นให้รู้ถึงเนื้อหาและรายละเอียดคร่าว ๆ ของบทความศึกสงครามในสามก๊ก ศึกผาแดง (อังกฤษ: Battle of Red Cliffs; จีน: 赤壁之戰) หรือ ศึกเซ็กเพ็ก (Battle of Chìbì) ศึกเปี๊ยะเชี๊ยะหรือ ศึกชื่อปี้ เป็นสงครามที่มีความสำคัญที่สุดสงครามหนึ่งในสมัยยุคสามก๊ก ศึกผาแดงนี้เกิดขึ้นในปี พ.ศ. 751 โดยฝั่งหนึ่งเป็นกองทัพพันธมิตรของเล่าปี่และซุนกวนทางตอนใต้ และอีกฝั่งคือทัพของโจโฉทางตอนเหนือ ซุนกวนและเล่าปี่นั้นได้ชัยชนะเหนือโจโฉ ทำให้ความพยายามในการยึดดินแดนทางใต้ของโจโฉต้องล้มเหลวลง โดยจุดแตกหักเกิดขึ้น ณ ตำบลที่เรียกว่า "เซ็กเพ็ก" ริมแม่น้ำแยงซีเกียง ศึกผาแดงนี้นับว่าเป็นศึกที่มีชื่อเสียงมากที่สุดในสามก๊กและประวัติศาสตร์จีน
  2. เนื้อหาของบทความ : เนื้อหาของบทความศึกสงครามในสามก๊ก เป็นส่วนหลักสำคัญที่เก็บรายละเอียดต่าง ๆ ทั้งหมด เช่น ในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊ก เล่าปี่ต้องทิ้งเมืองซินเอี๋ยและอ้วนเซีย อพยพราษฎรจำนวนมาก เพื่อหนีการตามล่าจากโจโฉไปอยู่ที่เมืองแฮเค้าของเล่ากี๋ จากนั้นจึงส่งขงเบ้งไปเป็นทูตเจรจาขอให้ซุนกวนร่วมกันต้านโจโฉ ขณะที่โจโฉสามารถยึดเกงจิ๋วที่เดิมเป็นของเล่าเปียวได้สำเร็จ เพราะชัวมอคิดทรยศยอมยกเมืองให้โจโฉ ซึ่งภายหลังโจโฉก็สั่งสังหารเล่าจ๋องและชัวฮูหยินเสีย และประหารชัวมอและเตียวอุ๋น ตามแผนของจิวยี่ แม่ทัพใหญ่ฝ่ายง่อก๊ก เป็นต้น โดยมีองค์ประกอบสำคัญของบทความ ดังนี้
    • จุดเกิดของศึกสงคราม
    • ความเป็นจริงทางประวัติศาสตร์ (ถ้ามี)
    • ศึกสงครามในสามก๊ก (ถ้ามี)
    • ผลของศึกสงคราม (ถ้ามี)
  3. อ้างอิง : อ้างอิง เป็นส่วนสำคัญที่สุดของการเขียนบทความ เพื่อเป็นการยืนยันและเพิ่มความน่าเชื่อถือให้แก่บทความ การอ้างอิงในบทความศึกสงครามสามก๊ก สามารถใช้เอกสารอ้างอิงภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษ แต่เน้นไปทางการอ้างอิงทางหนังสือสามก๊ก (ฉบับหอพระสมุด) หนังสือสามก๊กฉบับวณิพกและหนังสืออื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกันสามก๊ก
  4. ดูเพิ่ม : ใช้ในกรณีที่ในวิกิพีเดียมีบทความที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหา เพื่อเป็นการแนะนำให้ผู้อ่านสามารถค้นคว้าอ่านเพิ่มเติม
  5. แหล่งข้อมูลอื่น : ใช้สำหรับแนะนำแหล่งข้อมูลอื่นที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาและบทความศึกสงครามสามก๊ก
  6. แม่แบบเชื่อมโยงบทความ : แม่แบบเชื่อมโยงบทความ ใช้สำหรับเชื่อมโยงบทความที่ลักษณะใกล้เคียงกันผ่านทางแม่แบบ อาจอยู่ทางด้านขวามือหรือทางด้านล่างสุดของบทความเช่น แม่แบบ:สงครามสามก๊ก
  7. หมวดหมู่ : ใช้สำหรับจัดหมวดหมู่บทความสามก๊ก เรียงลำดับตามความสำคัญเช่น ศึกเซ็กเพ็ก มีการจัดหมวดหมู่คือ หมวดหมู่:สงครามสามก๊กหมวดหมู่:พ.ศ. 751 เป็นต้น
  8. โครง : ใส่ {{โครงสามก๊ก}} ในส่วนล่างสุดของบทความศึกสงครามสามก๊ก สำหรับบทความศึกสงครามที่ยังไม่สมบูรณ์
  9. ลิงก์ข้ามภาษา : ใช้สำหรับเชื่อมโยงบทความศึกสงครามไปยังบทความศึกสงครามเรื่องเดียวกันในวิกิพีเดียภาษาอื่น เช่น de:Schlacht von Chibien:Battle of Red Cliffsfr:Bataille de la Falaise rougeid:Pertempuran Chibi

กลศึก

[แก้]
  1. บทนำ : เป็นส่วนแรกของเนื้อหา เพื่อเกริ่นให้รู้ถึงเนื้อหาและรายละเอียดคร่าว ๆ ของบทความกลศึกในสามก๊ก เช่น กลยุทธ์หลบหนี หรือ โจ่วเหวยซ่าง (จีนตัวย่อ: 走为上; จีนตัวเต็ม: 走為上; พินอิน: Zǒu wéi shàng) เป็นหนึ่งในกลศึกสามก๊ก เป็นกลยุทธ์ที่หมายความถึงเมื่อทำการศึกสงครามกับศัตรู หากศัตรูมีกองกำลังทหารที่เข้มแข็ง มีกองทัพที่แข็งแกร่ง ชำนาญภูมิศาสตร์ เป็นต่อในทุก ๆ ด้านไม่มีช่องโหว่ให้พลิกเอาชัยชนะแม้แต่น้อย ขึนนำกำลังเข้าต่อสู้ก็มีแต่สูญเสีย การถอยหนีย่อมเป็นทางเลือกที่ดีกว่า
  2. เนื้อหาของบทความ : เนื้อหาของบทความกลศึกในสามก๊ก เป็นส่วนหลักสำคัญที่เก็บรายละเอียดต่าง ๆ ทั้งหมด เช่น กลศึกยุทธ์หลบหนี ตามคัมภีร์อี้จิงกล่าวว่า "ถอยหนีมิผิด เป็นวิสัยแห่งสงคราม" ซึ่งเป็นการชี้ชัดว่าการถอยหนีในการทำสงครามนั้นมิใช่ความผิดผลาด หากแต่เป็นเรื่องธรรมดาสามัญในการทำศึกที่มักจะพบเห็นเสมอ นอกจากนี้ยังมีคำกล่าวว่า "การพ่ายแพ้หมายถึงความล้มเหลวในทุก ๆ ด้าน การยอมสงบศึกหมายถึงการล้มเหลวในบางด้าน แต่การหนีมิได้หมายความว่าล้มเหลวเลย" ดังนั้นการถอยหนีเป็นการถอยเพื่อหาหนทางหลีกเลี่ยงความเสียหาย แลหาโอกาสชิงตอบโต้ในภายหลัง มิใช่เป็นการถอยหนีอย่างสิ้นเชิง ตัวอย่างการนำเอากลยุทธ์หลบหนีไปใช้ได้แก่ขงเบ้งที่ลอบหลบหนีจิวยี่ภายหลังจากทำพิธีเรียกลมตะวันออกเฉียงใต้ที่ลำเขาลำปินสานเพื่อใช้ไฟเผากองทัพเรือโจโฉในคราวศึกเซ็กเพ็กเป็นต้น โดยมีองค์ประกอบสำคัญของบทความ ดังนี้
    • ตัวอย่างกลยุทธ์
  3. อ้างอิง : อ้างอิง เป็นส่วนสำคัญที่สุดของการเขียนบทความ เพื่อเป็นการยืนยันและเพิ่มความน่าเชื่อถือให้แก่บทความ การอ้างอิงในบทความตัวละครสามก๊ก สามารถใช้เอกสารอ้างอิงภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษ แต่เน้นไปทางการอ้างอิงทางหนังสือสามก๊ก (ฉบับหอพระสมุด) หนังสือสามก๊กฉบับวณิพกและหนังสืออื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกันสามก๊ก
  4. ดูเพิ่ม : ใช้ในกรณีที่ในวิกิพีเดียมีบทความที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหา เพื่อเป็นการแนะนำให้ผู้อ่านสามารถค้นคว้าอ่านเพิ่มเติม
  5. แหล่งข้อมูลอื่น : ใช้สำหรับแนะนำแหล่งข้อมูลอื่นที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาและบทความตัวละครสามก๊ก
  6. แม่แบบเชื่อมโยงบทความ : แม่แบบเชื่อมโยงบทความ ใช้สำหรับเชื่อมโยงบทความที่ลักษณะใกล้เคียงกันผ่านทางแม่แบบ อาจอยู่ทางด้านขวามือหรือทางด้านล่างสุดของบทความเช่น แม่แบบ:กลศึกสามก๊ก
  7. หมวดหมู่ : ใช้สำหรับจัดหมวดหมู่บทความสามก๊ก เรียงลำดับตามความสำคัญเช่น กวนอู มีการจัดหมวดหมู่คือ หมวดหมู่:กลศึกสามก๊ก เป็นต้น
  8. โครง : ใส่ {{โครงสามก๊ก}} ในส่วนล่างสุดของบทความตัวละครสามก๊ก สำหรับบทความตัวละครที่ยังไม่สมบูรณ์
  9. ลิงก์ข้ามภาษา : ใช้สำหรับเชื่อมโยงบทความตัวละครไปยังบทความตัวละครเรื่องเดียวกันในวิกิพีเดียภาษาอื่น เช่น zh:走為上計

การจัดระดับบทความ

[แก้]

ทุกคนสามารถช่วยจัดระดับบทความสามก๊กตามระดับการจัดบทความ โดยติดป้ายบทความสามก๊กตามระดับการเขียนบทความ ในหน้าพูดคุยของบทความนั้น ๆ ดังนี้

การพิจารณาในการจัดระดับบทความสามก๊กในโครงการวิกิสามก๊ก ใช้ระดับการพิจารณาดังต่อไปนี้

  • ระดับรายชื่อ

การจัดระดับบทความสามก๊กในระดับรายชื่อ ใช้จัดระดับสำหรับบทความสามก๊กที่เป็นดัชนีรายชื่อ มีเนื้อหาแสดงรายชื่อของตัวละครในก๊กต่าง ๆ เช่น รายตัวละครในจ๊กก๊ก รายชื่อตัวละครในง่อ๊ก ฯลฯ ทุกคนที่ทำการจัดระดับบทความสามก๊กในระดับรายชื่อ ให้ใส่ {{บทความสามก๊ก|ระดับ=รายชื่อ}} ในหน้าพูดคุยของบทความนั้น ดังตัวอย่าง

การจัดระดับรายชื่อ แม่แบบสามก๊กที่ปรากฏ
{{บทความสามก๊ก|ระดับ=รายชื่อ}}
  • ระดับโครง

การจัดระดับบทความสามก๊กในระดับโครง ใช้จัดระดับสำหรับบทความสามก๊กที่มีเพียงกล่องข้อมูล {{กล่องข้อมูล ตัวละครสามก๊ก}} หรือ {{กล่องข้อมูล สงครามสามก๊ก}} หรือ {{กล่องข้อมูล กลศึกสามก๊ก}} ที่มีเนื้อหาแสดงเพียงแค่ชื่อของบทความสามก๊ก ขาดเนื้อหาในส่วนสำคัญ ๆ ตามหลักการเขียนบทความสามก๊ก สามารถเขียนรายละเอียดเพิ่มเติมได้ตลอดเวลา หรือถ้าในกรณีที่ทุกคนที่เริ่มเขียนบทความสามก๊ก มีข้อมูลและรายละเอียดครบถ้วน สามารถนำมาเขียนใหม่ได้ทั้งหมด โดยแก้ไขปรับเปลี่ยนเนื้อหาและรายละเอียดบางส่วน เช่นจิวฉอง จิวท่าย จูกัดกิ๋น ฯลฯ ทุกคนที่ทำการจัดระดับบทความสามก๊กในระดับรายชื่อ ให้ใส่ {{บทความสามก๊ก|ระดับ=โครง}} ในหน้าพูดคุยของบทความนั้น ดังตัวอย่าง

การจัดระดับโครง แม่แบบสามก๊กที่ปรากฏ
{{บทความสามก๊ก|ระดับ=โครง}}
  • ระดับพอใช้

การจัดระดับบทความสามก๊กในระดับพอใช้ ใช้จัดระดับสำหรับบทความสามก๊กที่มี{{กล่องข้อมูล ตัวละครสามก๊ก}} หรือ {{กล่องข้อมูล สงครามสามก๊ก}} หรือ {{กล่องข้อมูล กลศึกสามก๊ก}} ที่มีเนื้อหาในส่วนบทนำ เนื้อหาส่วนสำคัญมีค่อนข้างละเอียดแต่อาจจะไม่ครบถ้วนเท่าที่ควร ขาดรายละเอียดของบทความในบางส่วน สามารถแก้ไขเพิ่มเติมเนื้อหาในบางส่วนให้สมบูรณ์ แต่สรุปโดยรวมคือเมื่อผู้อ่านได้อ่านบทความสามก๊กแล้ว เห็นว่าพอที่จะให้ประโยชน์แก่ผู้อ่านพอสมควร เช่น กวนลอ กองซุนจ้าน จิวยี่ ฯลฯ ทุกคนที่ทำการจัดระดับบทความสามก๊กในระดับรายชื่อ ให้ใส่ {{บทความสามก๊ก|ระดับ=พอใช้}} ในหน้าพูดคุยของบทความนั้น ดังตัวอย่าง

การจัดระดับพอใช้ แม่แบบสามก๊กที่ปรากฏ
{{บทความสามก๊ก|ระดับ=พอใช้}}
  • ระดับดี

การจัดระดับบทความสามก๊กในระดับดี ใช้จัดระดับสำหรับบทความสามก๊กที่มี{{กล่องข้อมูล ตัวละครสามก๊ก}} หรือ {{กล่องข้อมูล สงครามสามก๊ก}} หรือ {{กล่องข้อมูล กลศึกสามก๊ก}} ที่มีเนื้อหาในส่วนบทนำ เนื้อหาส่วนสำคัญครบถ้วนตามหลักวิธีการเขียนบทความ ข้อมูลอ้างอิงและแหล่งข้อมูลอื่นสำหรับผู้อ่านที่สนใจติดตามอ่านในส่วนรายละเอียดอื่น ๆ ของบทความ เนื้อหาสำคัญของบทความสามารถแก้ไขเพิ่มเติมและปรุบปรุงนิดหน่อย เพื่อเป็นการให้ประโยชน์แก่ผู้อ่านได้อย่างครบถ้วน เช่น กลศึกสามก๊ก ฯลฯ ทุกคนที่ทำการจัดระดับบทความสามก๊กในระดับรายชื่อ ให้ใส่ {{บทความสามก๊ก|ระดับ=ดี}} ในหน้าพูดคุยของบทความนั้น ดังตัวอย่าง

การจัดระดับดี แม่แบบสามก๊กที่ปรากฏ
{{บทความสามก๊ก|ระดับ=ดี}}
  • ระดับคุณภาพ

การจัดระดับบทความสามก๊กในระดับคุณภาพ ใช้จัดระดับสำหรับบทความสามก๊กที่มีการส่งบทความเข้าคัดเลือกเพื่อให้เป็นบทความคุณภาพของวิกิพีเดีย โดยมีเนื้อหาและรายละเอียดครบถ้วน ให้ประโยชน์แก่ผู้อ่านได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตัวอย่างบทความสามก๊กในระดับคุณภาพและต่อมาได้รับการคัดเลือกให้เป็นบทความคัดสรร ทุกคนที่ทำการจัดระดับบทความสามก๊กในระดับรายชื่อ ให้ใส่ {{บทความสามก๊ก|ระดับ=คุณภาพ}} ในหน้าพูดคุยของบทความนั้น ดังตัวอย่าง

การจัดระดับคุณภาพ แม่แบบสามก๊กที่ปรากฏ
{{บทความสามก๊ก|ระดับ=คุณภาพ}}
  • ระดับคัดสรร

การจัดระดับบทความสามก๊กในระดับคัดสรร ใช้จัดระดับสำหรับบทความสามก๊กที่มีการส่งบทความเข้าคัดเลือกเพื่อให้เป็นบทความคัดสรร ซึ่งถือว่าเป็นบทความที่ดีที่สุดของวิกิพีเดีย โดยมีเนื้อหาและรายละเอียดครบถ้วน ให้ประโยชน์แก่ผู้อ่านได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตัวอย่างบทความสามก๊กในระดับคัดสรรเช่นกวนอู ได้รับการคัดเลือกให้เป็นบทความคัดสรร ทุกคนที่ทำการจัดระดับบทความสามก๊กในระดับรายชื่อ ให้ใส่ {{บทความสามก๊ก|ระดับ=คัดสรร}} ในหน้าพูดคุยของบทความนั้น ดังตัวอย่าง

การจัดระดับคัดสรร แม่แบบสามก๊กที่ปรากฏ
{{บทความสามก๊ก|ระดับ=คัดสรร}}