หยางกุ้ยเฟย์
หยางกุ้ยเฟย์ 楊貴妃 | |
---|---|
หยางกุ้ยเฟย์ออกจากอ่างอาบน้ำ โดย Gu Jianlong (1606–หลัง ค.ศ. 1689) | |
ประสูติ | ค.ศ. 719 หย่งเล่อ ประเทศจีน หยาง อฺวี้-หฺวัน (楊玉環) |
สวรรคต | 15 กรกฎาคม ค.ศ. 756 สถานี Mawei เซี่ยนหยาง มณฑลฉ่านซี ประเทศจีน | (37 ปี)
ฝังพระศพ | สถานี Mawei เซี่ยนหยาง มณฑลฉ่านซี (สุสานยังไม่ได้รับการขุดค้น) |
คู่อภิเษก | หลี่ เม่า จักรพรรดิถังเสฺวียนจง |
พระราชบิดา | หยาง เสฺวียนเหยี่ยน |
พระราชมารดา | พระนาง Liang |
หยางกุ้ยเฟย์ | |||||||||
อักษรจีนตัวเต็ม | 楊貴妃 | ||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
อักษรจีนตัวย่อ | 杨贵妃 | ||||||||
ความหมายตามตัวอักษร | พระมเหสีเอกหยาง | ||||||||
| |||||||||
หยาง อฺวี้-หฺวัน (พระนามส่วนพระองค์) | |||||||||
อักษรจีนตัวเต็ม | 楊玉環 | ||||||||
อักษรจีนตัวย่อ | 杨玉环 | ||||||||
|
หยางกุ้ยเฟย์ ตามสำเนียงกลาง หรือ เอียกุยฮุย ตามสำเนียงฮกเกี้ยน (จีน: 楊玉環, กุ้ยเฟย์/กุยฮุย เป็นพระยศสูงที่สุดของระบบพระมเหสีในขณะนั้น; ค.ศ. 719[1] – 15 กรกฎาคม ค.ศ. 756[2]) ชื่อตัวว่า หยาง อฺวี้-หฺวัน (จีน: 楊玉環) และชื่อเมื่อบวชเป็นนักพรตเต๋าว่า ไท่เจิน (太真)[3] เป็นพระมเหสีเอกของจักรพรรดิเสฺวียนจงแห่งราชวงศ์ถัง และเป็นหนึ่งในสี่ยอดพธู
ในปลายรัชกาลจักรพรรดิเสฺวียนจง แม่ทัพอาน ลู่ชาน (安祿山) ก่อกบฏ จักรพรรดิและข้าราชการหนีจากเมืองฉางอานไปเมืองเฉิงตู บรรดาทหารขอให้จักรพรรดิประหารพระมเหสีหยางเสีย เพราะเชื่อว่า หยาง กั๋วจง (楊國忠) ญาติของพระมเหสีหยาง เป็นตัวการกบฏ จักรพรรดิจึงสั่งให้ขันทีเกา ลี่ชื่อ (高力士) รัดคอพระมเหสีหยางจนสิ้นชีวิต
ภูมิหลัง
[แก้]หยางประสูติใน ค.ศ. 719 ในช่วงต้นรัชสมัยจักรพรรดิเสฺวียนจงแห่งราชวงศ์ถัง หยาง วัง (楊汪) พ่อทวดของพระนาง เป็นขุนนางคนสำคัญในรัชสมัยจักรพรรดิสุยหยาง และหลังราชวงศ์สุยหล่มสลาย เขาจึงรับใช้หวัง ชื่อชง หนึ่งในผู้เข้าชิงราชบัลลังก์สุย หยาง วังถูกสังหารเมื่อกองทัพถังเข้าปราบหวัง ชื่อชงใน ค.ศ. 621[4] หยาง วังมาจากหฺวายิน (華陰; ปัจจุบันคือเว่ย์หนาน มณฑลฉ่านซี) แต่ตระกูลของเขาภายหลังย้ายไปที่หย่งเล่อ (永樂; ปัจจุบันคือยฺวิ่นเฉิง มณฑลฉ่านซี)
หยาง เสฺวียนเหยี่ยน (楊玄琰) พระบิดาของหยางกุ้ยเฟย์ ดำรงตำแหน่งเจ้าหน้าที่สำรวจสำมะโนแห่งฉู่ชู (蜀州; ปัจจุบันคือเฉิงตู มณฑลเสฉวน) และครอบครัวของเขาย้ายไปที่นั่น เขาไม่มีบุตรชายแต่มีบุตรสาว 4 คนเท่าที่ปรากฏในประวัติศาสตร์ นั่นคือ หยาง อฺวี้-หฺวันกับพี่สาว 3 คน[5] หยาง เสฺวียนเหยี่ยนเสียชีวิตตอนที่หยาง อฺวี้-หฺวันยังเป็นเด็ก ดังนั้นพระนางจึงได้รับการเลี้ยงดูจากหยาง เสฺวียนเจี่ยว (楊玄璬) ลุงของพระนางที่เป็นขุนนางชั้นล่างแห่งเหอหนานฝู่ (河南府; ปัจจุบันคือลั่วหยาง)
เจ้าหญิงและนักพรตเต๋า
[แก้]ณ วันที่ 10 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 736[6] หยาง อฺวี้-หฺวันตอนอายุ 17 ปีสมรสกับหลี่ เม่า โช่ว์อ๋องและพระราชโอรสในจักรพรรดิถังเสฺวียนจงกับพระมเหสีอู๋
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
พระมเหสีเอก
[แก้]ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
อ้างอิง
[แก้]- ↑ พระราชประวัติของหยางกุ้ยเฟยในซินถังชูเล่มที่ 76 บันทึกว่า ตอนสิ้นพระชนม์พระนางมีพระชนมายุ 38 พรรษา (ตามการนับอายุแบบเอเชียตะวันออก)
- ↑ จือจื้อทงเจี้ยนเล่มที่ 218 บันทึกว่า หยางกุ้ยเฟยถูกปลงพระชนม์ในวัน bing'shen เดือน 6 ปีที่ 1 ของศักราช Zhi'de ในรัชสมัยถังซู่จง วันที่นี้ตรงกับวันที่ 15 กรกฎาคม ค.ศ. 756 ตามปฏิทินกริกอเรียน
- ↑ จิ้วถังชู, vol. 51 เก็บถาวร 2008-10-18 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ↑ สุยชู, vol. 56 เก็บถาวร 2012-02-10 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน.
- ↑ Yang Yuhuan's three older sisters were described as having had birth ranks first, third, and eighth, implying that Yang Xuanyan might have had nine or more daughters, but it was also possible that their ranks were combined with their female cousins.
- ↑ ([开元二十三年]十二月,乙亥,册故蜀州司戸杨玄琰女为寿王妃。) จือจื้อทงเจี้ยน เล่มที่ 214
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- The Yang Kwei-fei story Yang Kwei-fei and The Song of Eternal Sorrow in The Tale of Genji