อุยสิง่าน
อุยสิง่าน (หฺวาง เฉิงเยี่ยน) 黃承彥 | |
---|---|
![]() ภาพวาดของอุยสิง่าน สมัยราชวงศ์ชิง | |
เกิด | ไม่ทราบ นครหงหู มณฑลหูเป่ย์ |
เสียชีวิต | ไม่ทราบ |
อาชีพ | บันฑิต |
คู่สมรส | พี่สาวของชัวมอและชัวฮูหยิน |
บุตร | อุ๋ยซี |
อุยสิง่าน | |||||||
ภาษาจีน | 黃承彥 | ||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|
|
อุยสิง่าน[a] หรือ ฮองเสงหงัน[b] มีชื่อในภาษาจีนกลางว่า หฺวาง เฉิงเยี่ยน (จีนตัวย่อ: 黄承彦; จีนตัวเต็ม: 黃承彥; พินอิน: Huáng Chéngyàn) เป็นบัณฑิตเร้นกายที่มีชีวิตในช่วงปลายยุคราชวงศ์ฮั่นตะวันออกของจีน เป็นชาวเมืองเหมี่ยนหนาน (沔南) ในมณฑลเกงจิ๋ว ปัจจุบันอยู่บริเวณเมืองหงหู มณฑลหูเป่ย์ มีชื่อเสียงจากการที่เป็นคนสบาย ๆ และมีจิตใจกว้างขวาง[3]
ครอบครัว
[แก้]อุยสิง่านแต่งงานกับลูกสาวคนโตของไช่ เฟิ่ง (蔡諷) อุยสิง่านกับภรรยามีบุตรสาวซึ่งในบันทึกทางประวัติศาสตร์ไม่ระบุชื่อ แต่เป็นที่รู้จักในชื่อสมมติว่า "หฺวาง เยฺว่อิง" ส่วนในสามก๊ก ฉบับเจ้าพระยาพระคลัง (หน) เรียกว่า "อุ๋ยซี" อุ๋ยซีแต่งงานกับจูกัดเหลียง อัครมหาเสนาบดีและผู้สำเร็จราชการแห่งจ๊กก๊กในยุคสามก๊ก[3] ลูกสาวคนรองของไช่ เฟิ่งแต่งงานกับเล่าเปียว ข้าหลวงมณฑลเกงจิ๋วในช่วงปลายยุคราชวงศ์ฮั่นตะวันออก ไช่ เฟิ่งยังมีลูกชายชื่อชัวมอ[4]
ในนิยายสามก๊ก
[แก้]อุยสิง่านปรากฏเป็นตัวละครในนิยายอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊ก ปรากฏตัวครั้งแรกในตอนที่ 37[c] เมื่อเล่าปี่ กวนอู และเตียวหุยเดินทางมาเยี่ยมบ้านของจูกัดเหลียง และได้ปรากฏตัวอีกครั้งในตอนที่ 84[d] หลังศึกอิเหลง อุยสิง่านได้ช่วยพาลกซุนออกจากค่ายกลศิลาของจูกัดเหลียง
ดูเพิ่ม
[แก้]หมายเหตุ
[แก้]- ↑ ชื่อที่ปรากฏในสามก๊ก ฉบับเจ้าพระยาพระคลัง (หน) ตอนที่ 33[1]
- ↑ ชื่อที่ปรากฏในสามก๊ก ฉบับเจ้าพระยาพระคลัง (หน) ตอนที่ 65[2]
- ↑ ตรงกับในสามก๊ก ฉบับเจ้าพระยาพระคลัง (หน) ตอนที่ 33[1]
- ↑ ตรงกับในสามก๊ก ฉบับเจ้าพระยาพระคลัง (หน) ตอนที่ 65[2]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 "สามก๊ก ตอนที่ ๓๓". วัชรญาณ. สืบค้นเมื่อ June 2, 2023.
- ↑ 2.0 2.1 "สามก๊ก ตอนที่ ๖๕". วัชรญาณ. สืบค้นเมื่อ June 2, 2023.
- ↑ 3.0 3.1 (襄陽記曰:黃承彥者,高爽開列,為沔南名士,謂諸葛孔明曰:「聞君擇婦;身有醜女,黃頭黑色,而才堪相配。」孔明許,即載送之。時人以為笑樂,鄉里為之諺曰:「莫作孔明擇婦,止得阿承醜女。」) อรรถาธิบายจากเซียงหยางจี้ ในสามก๊กจี่ เล่มที่ 35.
- ↑ (漢末,諸蔡最盛,蔡諷姊適太尉張溫,長女為黃承彥妻,小女為劉景升後婦,瑁之姊也。) เซียงหยางฉีจิ้วจี้ เล่มที่ 1.
บรรรณานุกรม
[แก้]- ตันซิ่ว (ศตวรรษที่ 3). สามก๊กจี่ (ซานกั๋วจื้อ).
- เผย์ ซงจือ (ศตวรรษที่ 5). อรรถาธิบายสามก๊กจี่ (ซานกั๋วจื้อจู้).
- ล่อกวนตง (ศตวรรษที่ 14). สามก๊ก (ซานกั๋วเหยี่ยนอี้).
- สี จั้วฉื่อ (ศตวรรษที่ 4). เซียงหยางฉีจิ้วจี้ (襄陽耆舊記).
- เจ้าพระยาพระคลัง (หน). สามก๊ก ฉบับเจ้าพระยาพระคลัง (หน)