ฮัวโต๋
ฮัวโต๋ (ฮฺว่า ถัว) 華佗 | |
---|---|
ภาพวาดฮัวโต๋สมัยราชวงศ์ชิง | |
เกิด | ราว ค.ศ. 140[1] เมืองปั๋วโจว มณฑลอานฮุย |
เสียชีวิต | ค.ศ. 208 (อายุ 68 ปี)[1] |
ชื่ออื่น | ยฺเหวียนฮฺว่า (元化) |
อาชีพ | แพทย์ |
ฮัวโต๋ (ฮฺว่า ถัว) | |||||||
อักษรจีนตัวเต็ม | 華佗 | ||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|
อักษรจีนตัวย่อ | 华佗 | ||||||
| |||||||
ยฺเหวียนฮฺว่า | |||||||
ภาษาจีน | 元化 | ||||||
|
ฮัวโต๋ (ราว ค.ศ. 140-208) หรือชื่อภาษาจีนกลางว่า ฮฺว่า ถัว (จีนตัวย่อ: 华陀; จีนตัวเต็ม: 華佗; พินอิน: Huà Tuó; เวด-ไจลส์: Hua T'o) เป็นแพทย์ชาวจีนที่มีชีวิตอยู่ในช่วงปลายราชวงศ์ฮั่นตะวันออก[1] บันทึกประวัติศาสตร์จดหมายเหตุสามก๊กและพงศาวดารฮั่นยุคหลังบันทึกว่าฮัวโต๋เป็นคนแรกในประเทศจีนที่ใช้ยาชาในระหว่างการผ่าตัด โดยใช้ยาชาที่ทำจากสุราผสมกับยาสมุนไพรต้มที่เรียกว่าหมาเฟ่ยซ่าน (麻沸散) นอกจากฮัวโต๋จะได้รับการยกย่องในเรื่องความเชี่ยวชาญในการผ่าตัดและการใช้ยาชาแล้ว ฮัวโต๋ยังมีชื่อเสียงในด้านความสามารถในการฝังเข็ม การรมยา การใช้ยาสมุนไพร และกายบริหารทางการแพทย์แบบเต๋าอิ่น ฮัวโต๋ยังพัฒนาอู่ฉินซี่ (五禽戲; แปลว่า "กายบริหารของสัตวห้าชนิด") จากการศึกษาการเคลื่อนไหวของเสือ กวาง หมี ลิง และนกกระเรียน
ประวัติ
[แก้]ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
ในนวนิยายสามก๊ก
[แก้]ฮัวโต๋เป็นหมอที่มีจรรยาแพทย์ รักษาคนโดยไม่หวังตอบแทนตั้งแต่ชาวบ้านจนถึงคนใหญ่คนโต เป็นที่เลื่องลือไปทั่วแผ่นดินจีน ในสมัยที่ซุนเซ็กครองแคว้นกังตั๋ง จิวท่าย ทหารเอกของซุนเซ็กช่วยซุนกวนฝ่าวงล้อมของกลุ่มโจรป่า จิวท่ายพาซุนกวนฝ่าวงล้อมไปได้ แต่ตนเองต้องอาวุธโจรนับสิบกว่าแผล งีห้วนแนะนำฮัวโต๋ให้มารักษาจิวท่าย ซุนเซ็กจึงได้เชิญตัวมารักษา ใช้เวลาแค่ 3 เดือน บาดแผลก็หายสนิท
ครั้งหนึ่งกวนอูได้ยกทัพมาตีเมืองอ้วนเซียที่มีโจหยิน ทหารเอกโจโฉรักษาไว้อยู่ กวนอูถูกลูกเกาทัณฑ์อาบยาพิษของข้าศึกที่ไหล่ขวาจึงต้องถอนทัพกลับค่าย กวนเป๋งเป็นผู้ไปตามตัวฮัวโต๋มาช่วยรักษา โดยการผ่าเนื้อที่ไหล่แล้วเอายาใส่และเย็บเนื้อให้เป็นเหมือนเดิม โดยที่กวนอูไม่แสดงอาการเจ็บปวดให้เห็น กวนอูได้สรรเสริญว่าฮัวโต๋เป็นหมอเทวดา ฝ่ายฮัวโต๋ได้ชื่นชมกวนอูว่า เป็นคนไข้ที่อดทนต่อความเจ็บปวดได้ดี เมื่อโจโฉป่วยเป็นโรคประสาทมีอาการปวดศีรษะอย่างรุนแรง ได้เชิญฮัวโต๋มารักษา ซึ่งบอกกับโจโฉว่าต้องผ่าศีรษะรักษาจึงจะหาย โจโฉโกรธหาว่าฮัวโต๋สมรู้ร่วมคิดกับกวนอูคิดฆ่าตน จึงให้นำตัวไปขังไว้จนเสียชีวิตในคุก
ฮัวโต๋ได้แต่งตำราแพทย์ไว้เล่มหนึ่ง ชื่อว่า ชิงหนั่ง เผื่อว่าเมื่อตนสิ้นบุญ จะได้มีผู้สืบทอดวิชาการแพทย์ เมื่อฮัวโต๋ถูกโจโฉจับขังคุก มีผู้คุมชื่อ หงออาย ได้ส่งข้าวปลาอาหารให้ฮัวโต๋มิได้ขาด ฮัวโต๋รู้คุณหงออาย จึงเขียนจดหมายให้หงออายเอาไปให้ภรรยาของฮัวโต๋ ให้นางภรรยาฮัวโต๋นำตำราแพทย์นั้นให้หงออาย ฮัวโต๋ก็ได้สอนวิชาแพทย์ให้หงออายในคุก แล้วมอบตำรานั้นให้หงออาย ต่อมา ฮัวโต๋เสียชีวิตในคุก ภรรยาของหงออายเห็นว่าตำราแพทย์นั้นไร้ค่า จึงเผาทิ้งเสีย หงออายกลับบ้านมาเห็นเข้า ฉวยมาได้สองสามแผ่น เป็นแต่ตำราตอนเป็ดตอนไก่ ที่เหลือสูญไปสิ้น หงออายโกรธจึงร้องด่าภรรยาว่า "เหตุใดมึงจึงเอาตำราไปเผาไฟเสีย" ภรรยาหงออายว่า "ฮัวโต๋ครูของท่านที่นับว่าดีนักก็ตายในคุก ท่านจะเอาตำราไว้ต้องการอะไร" หงออายจึงได้แต่นั่งถอนหายใจแล้วคิดว่า "ตำราเอกฝ่ายแพทย์อย่างนี้ แต่นี้ไปเบื้องหน้าหามีไม่แล้ว"
อย่างไรก็ดี หมอฮัวโต๋มีลูกศิษย์อยู่ 2 คน คนแรกนั้นชื่อ โงโพ้ คนที่สองนั้นชื่อ ฮ่วมอา
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 1.2 de Crespigny (2007), p. 332.
- Chen Jinhua 陈金华. 2007. Philosopher, Practitioner, Politician: The Many Lives of Fazang (643-712). Brill.
- Chen Yinke 陈寅恪. 1977. "Sanguozhi Cao Chong Hua Tuo zhuan yu fojiao gushi" (Biographies of Cao Chong and Hua Tuo in the Sanguozhi and their relationship with Buddhist legends), Chen Yinque xiansheng quan ji (Collected works of Chen Yinque), Jiushi chuban. (จีน)
- DeWoskin, Kenneth J. 1983. Doctors, Diviners and Magicians of Ancient China: Biographies of Fang-Shih. Columbia University Press.
- Fan, Ka Wai. 2004. "On Hua Tuo's Position in the History of Chinese Medicine," The American Journal of Chinese Medicine, 32.2:313-320.
- Giles, Herbert A. 1897. A Chinese Biographical Dictionary. Kelly & Walsh.
- Giles, Lionel. 1912. Taoist Teachings from the Book of Lieh-Tzŭ. Wisdom of the East.
- Giles, Lionel. 1948. A Gallery of Chinese Immortals. J. Murray.
- Li Hui-Lin. 1973. "The Origin and Use of Cannabis in Eastern Asia: Linguistic-Cultural Implications", Economic Botany 28.3:293-301.
- Lu Gwei-Djen and Joseph Needham. 2002. Celestial Lancets: A History and Rationale of Acupuncture and Moxa. Routledge.
- Mair, Victor H., tr. 1994. "The Biography of Hua-t'o from the History of the Three Kingdoms, in The Columbia Anthology of Traditional Chinese Literature, ed. by Victor H. Mair. Columbia University Press. 688-696.
- Salguero, C. Pierce. 2009. "The Buddhist medicine king in literary context: reconsidering an early medieval example of Indian influence on Chinese medicine and surgery"[ลิงก์เสีย], History of Religions 48.3:183-210.
- Schuessler, Axel. 2007. An Etymological Dictionary of Old Chinese. University of Hawaii Press.
- Smith, Frederick P. 1871. Contributions towards the Materia Medica and Natural History of China. Trubner & Co.
- Veith, Ilza. 1966. Huang Ti Nei Ching Su Wen; The Yellow Emperor's Classic of Internal Medicine. University of California Press.
- Wang Zhenguo and Ping Chen. 1999. History and Development of Traditional Chinese Medicine. IOS Press.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- “ตำราห้าสัตว์หวูชิงซี” (五禽戲, Wu Qin Xi)
- Hua Tuo, Subhuti Dharmananda
- Hua Tuo: A miraculous healer in ancient China เก็บถาวร 2010-12-22 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, Association for Asian Research
- Hua Tuo (Yuanhua), Sanguozhi biography, tr. Giao Chau
- A Brief Biography of Hua Tuo[ลิงก์เสีย], John Chen