เตียวจุ๋น
เตียวจุ๋น (จาง จุน) | |
---|---|
張遵 | |
ราชเลขาธิการ (尚書 ช่างชู) | |
ดำรงตำแหน่ง ค.ศ. ? – ค.ศ. 263 | |
กษัตริย์ | เล่าเสี้ยน |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | ไม่ทราบ |
เสียชีวิต | ป. พฤศจิกายน ค.ศ. 263[a] นครเหมียนจู๋ มณฑลเสฉวน |
บุพการี |
|
ญาติ |
|
อาชีพ | ขุนนาง |
เตียวจุ๋น[1] (เสียชีวิต ป. พฤศจิกายน ค.ศ. 263)[a] มีชื่อในภาษาจีนกลางว่า จาง จุน (จีน: 張遵; พินอิน: Zhāng Zūn) เป็นขุนนางของรัฐจ๊กก๊กในยุคสามก๊กของจีน
ประวัติ
[แก้]เตียวจุ๋นเป็นบุตรชายของเตียวเปา และเป็นหลานปู่ของเตียวหุยขุนพลผู้รับใช้ขุนศึกเล่าปี่ในช่วงปลายยุคราชวงศ์ฮั่นตะวันออกและเป็นขุนพลของรัฐจ๊กก๊กในยุคสามก๊ก เตียวจุ๋นยังเป็นหลานอาของเตียวเซียขุนนางจ๊กก๊กผู้เป็นน้องชายของเตียวเปา
ตัวเตียวจุ๋นถือเป็นพระญาติฝ่ายพระมเหสีของเล่าเสี้ยนจักรพรรดิแห่งจ๊กก๊ก ได้รับราชการในราชสำนักจ๊กก๊กในตำแหน่งราชเลขาธิการ (尚書 ช่างชู)
ในปี ค.ศ. 263 เตงงายขุนพลจากวุยก๊กที่เป็นรัฐอริของจ๊กก๊กนำกำลังทหารโจมตีจ๊กก๊ก และปรากฏที่อำเภอโปยเสีย (涪縣 ฝูเซี่ยน; ในนครเหมียนหยาง มณฑลเสฉวนในปัจจุบัน) หลังจากใช้ทางลัดจากอิมเป๋ง (陰平 อินผิง; ปัจจุบันคืออำเภอเหวิน นครหล่งหนาน มณฑลกานซู่) จูกัดเจี๋ยมขุนพลจ๊กก๊กนำทัพจ๊กก๊กมาที่อำเภอโปยเสียเพื่อต้านข้าศึกแต่ล่าถอยมายังอำเภอกิมก๊ก (緜竹 เหมียนจู๋) หลังทราบข่าวว่าทัพหน้าของจ๊กก๊กถูกตีแตกพ่าย เวลานั้นเตียวจุ๋นได้ติดตามจูกัดเจี๋ยมมาที่กิมก๊กด้วย ในการรบที่ที่กิมก๊ก ทัพจ๊กก๊กถูกตีแตกพ่าย ทั้งจูกัดเจี๋ยมและเตียวจุ๋นถูกสังหารในที่รบ[2]
ดูเพิ่ม
[แก้]หมายเหตุ
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 บทชีวประวัติของจูกัดเจี๋ยมในสามก๊กจี่บันทึกว่าจูกัดเจี๋ยมเสียชีวิตในฤดูหนาว (เดือน 10 ถึง 12) ของศักราชจิ่งเย่า (景耀) ปีที่ 6 ในรัชสมัยของเล่าเสี้ยน เทียบได้กับช่วงเวลาระหว่างวันที่ 19 พฤศจิกายน ค.ศ. 263 ถึง 14 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 264 ในปฏิทินจูเลียน เตียวจุ๋นเสียชีวิตในช่วงเวลาเดียวกันนี้ อย่างไรก็ตาม เตียวจุ๋นและเสียชีวิตก่อนการยอมจำนนของจ๊กก๊ก ดังนั้น เตียวจุ๋นน่าจะเสียชีวิตในช่วงปลายเดือนพฤศจิกายนหรือต้นเดือนธันวาคม ค.ศ. 263
อ้างอิง
[แก้]- ↑ ("ครั้นปรึกษาเสร็จแล้วก็ตั้งให้จูกัดสงกับเตียวจุ๋นอยู่รักษาเมือง จูกัดเจี๋ยมก็คุมทหารสามพันให้เปิดประตูเมืองทั้งสามด้านยกออกมารบด้วยเตงงาย") "สามก๊ก ตอนที่ ๘๖". วัชรญาณ. สืบค้นเมื่อ November 19, 2024.
- ↑ (苞子遵為尚書,隨諸葛瞻於綿竹,與鄧艾戰,死。) สามก๊กจี่ เล่มที่ 36.
บรรณานุกรม
[แก้]- ตันซิ่ว (คริสต์ศตวรษที่ 3). จดหมายเหตุสามก๊ก (ซันกั๋วจื้อ).