เล่าเอียว
เล่าเอียว (หลิว เหยา) 劉瑤 | |||||
---|---|---|---|---|---|
อ๋องแห่งฮันเต๋ง (安定王 อานติ้งหวาง) | |||||
ดำรงฐานันดรศักดิ์ | กุมภาพันธ์ ค.ศ. 238 – ธันวาคม ค.ศ. 263 | ||||
ประสูติ | ไม่ทราบ | ||||
สวรรคต | ไม่ทราบ | ||||
| |||||
พระราชบิดา | เล่าเสี้ยน |
เล่าเอียว[1] มีชื่อในภาษาจีนกลางว่า หลิว เหยา (จีน: 劉瑤; พินอิน: Liú Yáo) เป็นเจ้าชายของรัฐจ๊กก๊กในยุคสามก๊กของจีน เป็นพระโอรสองค์รองของเล่าเสี้ยนจักรพรรดิลำดับที่ 2 และลำดับสุดท้ายของจ๊กก๊ก เล่าเอียวเป็นพระอนุชาของเล่ายอยรัชทายาทแห่งจ๊กก๊ก
พระประวัติ
[แก้]ในปี ค.ศ. 238 ฤดูใบไม้ผลิ เดือน 1 ของศักราชเหยียนซี (延熙; ค.ศ. 238-257) ปีที่ 1 เล่าเสี้ยนทรงแต่งตั้งบุตรสาวคนรองของเตียวหุยเป็นจักรพรรดินี โปรดให้นิรโทษกรรมทั่วแผ่นดิน ทรงแต่งตั้งให้เล่ายอยพระโอรสองค์โตเป็นรัชทายาท และทรงแต่งตั้งให้เล่าเอียวพระโอรสองค์รองเป็นอ๋องแห่งฮันเต๋ง (安定王 อานติ้งหวาง)[2]
หลังการล่มสลายของจ๊กก๊กในปี ค.ศ. 263 เล่าเอียวพร้อมด้วยเล่าเสี้ยนรวมถึงพระโอรสและพระญาติองค์อื่น ๆ ของเล่าเสี้ยนย้ายไปประทับที่ลกเอี๋ยง (洛陽 ลั่วหยาง) นครหลวงของรัฐวุยก๊ก เนื่องจากเล่ายอยพระเชษฐาของเล่ายอยสิ้นพระชนม์ในเหตุการณ์กบฏจงโฮยเมื่อต้นปี ค.ศ. 264 เล่าเอียวที่เป็นพระโอรสองค์รองของเล่าเสี้ยนจึงควรเป็นทายาทของเล่าเสี้ยน แต่เล่าเสี้ยนโปรดเล่าสุนที่เป็นโอรสองค์ที่ 6 จึงทรงตั้งให้เล่าสุนเป็นทายาทโดยไม่ฟังคำทัดทานของเหวิน ลี่ (文立) เล่าสุนจึงได้สืบทอดบรรดาศักดิ์อ่านลกก๋ง (安樂公 อานเล่อกง) ของเล่าเสี้ยน[3]
ลูกหลานของเล่าเอียวทั้งหมดเสียชีวิตในช่วงวิบัติหย่งเจียในปี ค.ศ. 311[4]
ดูเพิ่ม
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ ("แลขณะนั้นเมื่อพระเจ้าเล่าเสี้ยนจะให้ไปอ่อนน้อมแก่ข้าศึก ฝ่ายเล่ายอยเล่าเอียวเล่าจ้องเล่าจ้านเล่าสุนเล่ากี๋ ผู้บุตรเล่าเสี้ยนทั้งหกคนนี้จะได้ทัดทานประการใดหามิได้") "สามก๊ก ตอนที่ ๘๖". วัชรญาณ. สืบค้นเมื่อ November 19, 2024.
- ↑ (延熙元年春正月,立皇后張氏。大赦,攻元。立子睿為太子,子瑤為安定王。) สามก๊กจี่ เล่มที่ 33.
- ↑ (初,安樂思公世子早沒,次子宜嗣,而思公立所愛者。立亟諫之,不納。及愛子立,驕暴。) หฺวาหยางกั๋วจื้อ เล่มที่ 11.
- ↑ (璿弟,瑤、琮、瓚、諶、恂、璩六人。蜀敗,諶自殺,餘皆內徙。值永嘉大亂,子孫絕滅。) อรรถาธิบายจากฉู่ชื่อผู่ในสามก๊กจี่ เล่มที่ 34.
บรรณานุกรม
[แก้]- ตันซิ่ว (คริสต์ศตวรษที่ 3). จดหมายเหตุสามก๊ก (ซันกั๋วจื้อ).
- เผย์ ซงจือ (คริสต์ศตวรรษที่ 5). อรรถาธิบายสามก๊กจี่ (ซานกั๋วจื้อจู้).