โตบี
โตบี (ตู้ เวย์) | |
---|---|
杜微 | |
ขุนนางผู้เสนอและทัดทาน (諫議大夫 เจี้ยนอี้ต้าฟู) | |
ดำรงตำแหน่ง ค.ศ. 224 – ค.ศ. ? | |
กษัตริย์ | เล่าเสี้ยน |
ก่อนหน้า | จูกัดเหลียง |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | ไม่ทราบ นครเหมี่ยนหยาง มณฑลเสฉวน |
เสียชีวิต | ไม่ทราบ |
อาชีพ | ขุนนาง |
ชื่อรอง | กั๋วฝู่ (國輔) |
โตบี[1] (มีบทบาทในช่วงทศวรรษ 190 – ทศวรรษ 220) มีชื่อในภาษาจีนกลางว่า ตู้ เวย์ (จีน: 杜微; พินอิน: Dù Wēi) ชื่อรอง กั๋วฝู่ (จีน: 國輔; พินอิน: Guófǔ) เป็นบัณฑิตผู้ปฏิเสธการเข้ารับราชการ รวมไปถึงการแกล้งป่วย ก่อนในที่สุดจะกลายมาเป็นขุนนางของรัฐจ๊กก๊กในยุคสามก๊กของจีน
ประวัติ
[แก้]โตบีเป็นชาวอำเภอโปยเสีย (涪縣 ฝูเซี่ยน) เมืองจื่อถง (梓潼郡 จื่อถงจฺวิ้น) ซึ่งปัจจุบันคือนครเหมี่ยนหยาง มณฑลเสฉวน โตบีเกิดในช่วงกลางหรือปลายราชวงศ์ฮั่นตะวันออก ในวัยเยาว์โตบีเรียนตำรากับเริ่น อาน (任安; ค.ศ. 124–202) บัณฑิตและพหูสูตที่มีชื่อเสียง โตบีกลายเป็นบัณฑิตผู้ถือวิถีสันโดษเช่นเดียวกับเริ่น อานผู้เป็นอาจารย์[2][3] เล่าเจี้ยง เจ้ามณฑลของมณฑลเอ๊กจิ๋ว (ครอบคลุมพื้นที่มณฑลเสฉวนและนครฉงชิ่งในปัจจุบัน) ได้ยินชื่อเสียงของโตบีจึงเสนอให้โตบีมาดำรงตำแหน่งเป็นเจ้าหน้าที่ผู้ช่วย (從事 ฉงชื่อ) ประจำที่ว่าการเมือง แต่โตบีอ้างว่าตนป่วยและปฏิเสธข้อเสนอ[4]ในปี ค.ศ. 214[5]หลังจากขุนศึกเล่าปี่ยึดครองมณฑลเอ๊กจิ๋วจากเล่าเจี้ยง เล่าปี่ต้องการรับโตบีมารับราชการ แต่โตบีอ้างว่าตนไม่สามารถรับราชการได้เพราะตนหูหนวก และยังคงอยู่กับบ้าน[6]
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
ดูเพิ่ม
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ ("เจาจิ๋วก็ห้ามปรามเปนหลายครั้ง ขงเบ้งก็มิได้ฟัง จึงสั่งให้ กุยฮิวจี๋ บิฮุย ตันอุ๋น เฮียงทง ตันจีน เจียวอ้วน เตียวฮี เตาเขง โตบี เอียวฮอง เบงก๋อง ไลบิน อินเบด ลิจวน ฮุยสี เจาจิ๋ว กับขุนนางผู้ใหญ่ร้อยเศษ คุมทหารอยู่รักษาเมืองเสฉวน") "สามก๊ก ตอนที่ ๗๐". วัชรญาณ. สืบค้นเมื่อ August 10, 2023.
- ↑ (杜微字國輔,梓潼涪人也。少受學於廣漢任安。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 42.
- ↑ Farmer, J.Michael (2007). The Talent of Shu: Qiao Zhou and the Intellectual World of Earl Medieval Sichuan (ภาษาอังกฤษ). Albany: State University of New York Press. pp. 23. ISBN 978-0-7914-7163-0.
- ↑ (劉璋辟為從事,以疾去官。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 42.
- ↑ จือจื้อทงเจี้ยน เล่มที่ 67.
- ↑ (及先主定蜀,微常稱聾,閉門不出。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 42.
บรรณานุกรม
[แก้]- ตันซิ่ว (ศตวรรษที่ 3). จดหมายเหตุสามก๊ก (ซานกั๋วจื้อ).
- ซือหม่า กวาง (1084). จือจื้อทงเจี้ยน.
- de Crespigny, Rafe (2007). A Biographical Dictionary of Later Han to the Three Kingdoms 23-220 AD. Leiden: Brill. p. 184. ISBN 9789004156050.